เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3 หดตัว -1.2% QoQ saar จากผลของภัยพิบัติทางธรรมชาติ มองไตรมาส 4 กลับมาขยายตัว

เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3 หดตัว -1.2% QoQ saar จากผลของภัยพิบัติทางธรรมชาติ มองไตรมาส 4 กลับมาขยายตัว

BF Economic Research เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3/2018 พลิกกลับมาหดตัวที่ -1.2% QoQ saar (-0.3% QoQ) หลังจากขยายตัวสูงในไตรมาส 2 ถึง +3.0% QoQ saar จากผลของภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งแผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น และอากาศร้อนจัดเป็นประวัติการณ์ ที่กระทบการจับจ่ายใช้สอยซึ่งคิดเป็น 60% ของ GDP และการลงทุนในประเทศ ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนก็เป็นปัจจัยกดดันการส่งออกในไตรมาส 3 เรามองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 จะขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้ง เนื่องจากปัจจัยเชิงลบในไตรมาส 3 เป็นเพียงผลกระทบชั่วคราวเท่านั้น ภาพตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้นจะเป็นตัวหนุนการบริโภคในประเทศในไตรมาส 4 จนถึงปี 2019 บวกกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อบรรเทาผลของการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (Consumption Tax) ในเดือนต.ค. 2019 น่าจะทำให้ผลของการขึ้นภาษีไม่ร้ายแรงเท่ากับครั้งก่อนที่ปรับขึ้นในปี 2014

GDP ฟิลิปปินส์ไตรมาส 3/2018 โต 6.1% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.2% YoY และต่ำสุดในรอบ 3 ปี

GDP ฟิลิปปินส์ไตรมาส 3/2018 โต 6.1% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.2% YoY และต่ำสุดในรอบ 3 ปี

BF Economic Research GDP ของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 6.1% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 6.2% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 6.2% YoY การเติบโตที่ชะลอลงของการบริโภคและการลงทุน ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศอ่อนแอลง ขณะที่ การส่งออกสุทธิ (Net Export) ที่ลดลงยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์   GDP ของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 6.1% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 6.2% YoY ต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องมาจากการบริโภคซึ่งที่ขยายตัวชะลอลงที่ 5.2% YoY (Prev.+5.9% YoY) ประกอบกับการลงทุนที่ขยายตัวชะลอลงเช่นกันที่ 16.7% YoY (Prev.+21.5% YoY) ในทางตรงกันข้าม การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้นที่ 14.3 % YoY (Prev.+11.9% […]

เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนต.ค. ขยายตัว 6.7% YoY  ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา

เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนต.ค. ขยายตัว 6.7% YoY ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนต.ค. ขยายตัวที่ 6.7% YoY ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา แต่เหนือกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.5% โดยเป็นการขยายตัวเหนือกรอบเป้าหมายของ BSP เป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน  ราคาอาหารและพลังงานยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ ทว่าแรงกดดันที่มาจากราคาอาหารซึ่งมีน้ำหนักในตะกร้าเงินเฟ้อกว่า 38.3% ลดลงเล็กน้อยจากราคาข้าวที่มีทิศทางที่ชะลอลง ทั้งนี้ ยังคงคาดว่า อัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีนี้น่าจะชะลอลง โดย BSP ได้ประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2018 ทั้งปีที่ 5.2% YoY อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ขยายตัวที่ 6.7% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.5% YoY และเหนือกรอบเป้าหมายของ BSP ที่ตั้งไว้ที่ 2-4% เป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ราคาอาหารและพลังงานยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ ทว่าแรงกดดันที่มาจากราคาอาหารซึ่งมีน้ำหนักในตะกร้าเงินเฟ้อกว่า 38.3% ลดลงเล็กน้อยจากราคาข้าวที่มีทิศทางที่ชะลอลง เนื่องจากการนำข้าวจากต่างประเทศเริ่มทยอยเข้าสู่ตลาด นอกจากนี้ ราคาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบก็ชะลอลงเล็กน้อยเช่นกัน ทั้งนี้ […]

เศรษฐกิจอินโดนีเซียไตรมาส 3 โต 5.17% YoY ชะลอตัวจากไตรมาส 2 ตามที่ตลาดคาด จากการส่งออกสุทธิที่ลดลง

เศรษฐกิจอินโดนีเซียไตรมาส 3 โต 5.17% YoY ชะลอตัวจากไตรมาส 2 ตามที่ตลาดคาด จากการส่งออกสุทธิที่ลดลง

BF Economic Research เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัว 5.17% YoY ในไตรมาส 3/2018 ชะลอลงจาก 5.27% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด จากการส่งออกสุทธิที่ลดลง หลังดุลการค้าของอินโดนีเซียขาดดุลต่อเนื่องในเดือนก.ค.และส.ค. บวกกับการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัวลงเช่นกัน   ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียได้เลื่อนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าสูงอย่างการลงทุนโรงไฟฟ้าออกไป และขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าบริโภคเพื่อลดการขาดดุลทางการค้า และพยุงค่าเงินรูเปียห์ที่กำลังอ่อนค่า ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลในไตรมาส 1/2019 เป็นต้นไป ในขณะที่ ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank of Indonesia: BI) ก็ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นถึง 150 bps นับตั้งแต่เดือนพ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อพยุงค่าเงินเช่นเดียวกัน     อย่างไรก็ดี แม้เศรษฐกิจในไตรมาส 3 จะเติบโตชะลอลงมาเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะไตรมาส 3 จะเห็นได้ว่า ปี 2018 นับเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี […]

1 พ.ย. 2018 เศรษฐกิจไทยในเดือนก.ย.ชะลอจากเกือบทุกเครื่องชี้

1 พ.ย. 2018 เศรษฐกิจไทยในเดือนก.ย.ชะลอจากเกือบทุกเครื่องชี้

BF Economic Research เศรษฐกิจไทยในเดือนก.ย.ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนชะลอจากยอดขายรถยนต์ การลงทุนภาคเอกชนไม่ขยายตัว การส่งออกสินค้าหดตัว กระทบการผลิตภาคอุตสาหกรรม  ส่วนการท่องเที่ยวชะลอเช่นกันเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนยังหดตัวต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้น ตามการลดลงของการนำเข้าทองคำเศรษฐกิจไทยในเดือนก.ย.ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนชะลอจากยอดขายรถยนต์ การลงทุนภาคเอกชนไม่ขยายตัว การส่งออกสินค้าหดตัว กระทบการผลิตภาคอุตสาหกรรม  ส่วนการท่องเที่ยวชะลอเช่นกันเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนยังหดตัวต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้น ตามการลดลงของการนำเข้าทองคำ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหรือ Manufacturing Production Index (MPI)  หดตัว -2.6% YoY (prev. 0.8 %YoY) จาก • หมวดยานยนต์ที่หดตัว -4.5% YoY สอดคล้องกับภาวะการส่งออกยานยนต์ที่หดตัว • หมวดยางและพลาสติกหดตัว -8.9% YoY ตามการส่งออกยางแผ่นที่ลดลง • หมวดเครื่องจักรที่หดตัวตามการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า • หมวดอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัวได้ที่ 7.1% YoY แต่ชะลอจากเดือนก่อน  หนุนโดยความต้องการใช้ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า […]

ธนาคารกลางญี่ปุ่นคงนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง มองเงินเฟ้อต่ำกว่า 2% จนถึงปี 2021

ธนาคารกลางญี่ปุ่นคงนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง มองเงินเฟ้อต่ำกว่า 2% จนถึงปี 2021

BF Economic Research ธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan: BoJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยและวงเงินซื้อสินทรัพย์ไว้ในการประชุมเดือนต.ค. ด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 2 ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวยังอยู่ที่ระดับใกล้ระดับศูนย์ และอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ที่ระดับ -0.10% โดยเป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ (เป้าหมายเงินเฟ้อของ BoJ อยู่ที่ 2%) ทั้งนี้ BoJ ส่งสัญญาณว่าจะเพิ่มสัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลไว้ที่ระดับ 80 ล้านล้านเยนต่อปี และจะไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณการซื้อสินทรัพย์ รวมทั้งได้ปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อเป็นเวลา 3 ปีงบประมาณจนถึงปีงบประมาณ 2020 การคงนโยบายการเงินของ BoJ ทำให้เกิดความแตกต่างในการดำเนินนโยบายมากขึ้นระหว่างธนาคารกลางสำคัญอย่าง Fed ECB และ BoJ เนื่องจากในปัจจุบัน Fed และ ECB ต่างกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวแล้ว นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องและยาวนานอาจนำไปสู่ปัญหาทางการเงินในญี่ปุ่น เนื่องจากงบดุล (Balance Sheet) ของ BoJ […]

GDP ยูโรโซน Q3/2018 ขยายตัว 0.2% QoQ SA ต่ำสุดในรอบ 4 ปี

GDP ยูโรโซน Q3/2018 ขยายตัว 0.2% QoQ SA ต่ำสุดในรอบ 4 ปี

BF Economic Research GDP (Preliminary estimate)  ยูโรโซน Q2/2018 โต 0.2% QoQ SA ชะลอลงจาก Q1/2018 ที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 0.4% QoQ SA ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.4 % QoQ SA และต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี หากเทียบกับไตรมาสเดืยวกันของปีที่ผ่านมา GDP ยูโรโซน (EA-19) Q2/2018 จะขยายตัว 1.7% YoY ชะลอลงจาก Q2/2018 ที่ขยายตัว 2.2% YoY ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ประมาณการการเติบโตทางศรษฐกิจของยูโรโซนปี 2018 ไว้ที่ 2.0% YoY GDP (Preliminary estimate) ยูโรโซน […]

สหรัฐฯเตรียมประกาศขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าจีนเพิ่มเติม, จีนเตรียมปรับลดภาษีขายรถยนต์ ,ผู้นำเยอรมัน Step Down

สหรัฐฯเตรียมประกาศขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าจีนเพิ่มเติม, จีนเตรียมปรับลดภาษีขายรถยนต์ ,ผู้นำเยอรมัน Step Down

BF Economic Research สหรัฐฯ: รัฐบาลเตรียมประกาศขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าจีนเพิ่มเติมในเดือน ธ.ค. หากการเจรจาระหว่างปธน. Trump และปธน. Xi ในปลายเดือน พ.ย. ไม่มีความคืบหน้า รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมประกาศ (ณ ตอนนี้ยังไม่ประกาศ) ขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าจีนเพิ่มเติมมูลค่า 2.57 แสนล้านดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นเดือน ธ.ค. หากเห็นว่าการเจรจาการค้าระหว่างปธน. Donald Trump และปธน. Xi Jinping ของจีนในปลายเดือน พ.ย.นี้ (การประชุม G-20 ที่ประเทศอาเจนตินา) ไม่มีความคืบหน้าและความตึงเครียดทางการค้าระหว่างกันไม่ลดลง หากสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าจีนเพิ่มเติมมูลค่าราว 2.57 แสนล้านดอลลาร์ฯ จะเท่ากับว่าสหรัฐฯ จะขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าจีนทั้งหมด (สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากจีนราว 5.05 แสนล้านดอลลาร์ฯในปี 2017) หลังจากที่ได้ขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าจีนไปแล้ว 2.5 แสนล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งแบ่งเป็น มูลค่า […]

Economic Review ตุลาคม-พฤศจิกายน 2018 : ความตึงเครียดทางการค้าส่งผลต่อมุมมองทางเศรษฐกิจในปี 2019

Economic Review ตุลาคม-พฤศจิกายน 2018 : ความตึงเครียดทางการค้าส่งผลต่อมุมมองทางเศรษฐกิจในปี 2019

BF Economic Research Fund Management Group IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจ ปี 2018-2019 ลง มาที่ 3.7% IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจ ปี 2018-2019 ลง มาที่ 3.7% เป็นการปรับลดจากประมาณการครั้งที่แล้ว (เดือนก.ค.) ที่ 3.9% ทั้งสองปี  ในการประมาณการรอบนี้ IMF ให้เหตุผลว่าแม้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ดี แต่พบ “ความไม่สมดุลของการขยายตัว  (Less-balanced Growth)” โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โลกได้เผชิญกับปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงขาลง (Downside Risks) มากขึ้น ขณะที่ปัจจัยที่เป็นแรงสนับสนุน กลับอ่อนแรงลง ทั้งนี้ IMF ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจให้ขยายตัวชะลอลงเพราะเครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือนในหลายประเทศมีโมเมนตัมที่ชะลอลง ขณะที่ประเด็นด้านความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศเริ่มให้ผลเชิงประจักษ์ในช่วงเดือนเม.ย.-ก.ย. สำหรับภาพของเศรษฐกิจในกลุ่มตลาดเกิดใหม่หรือ EM มีความอ่อนแอเชิงโครงสร้างอยู่แล้วเป็นทุนเดิม (เช่น ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล […]

ยุโรปเผชิญปัจจัยท้าทายหลายด้าน แต่ยังน่าสนใจลงทุนหากปมการเมืองคลี่คลาย

ยุโรปเผชิญปัจจัยท้าทายหลายด้าน แต่ยังน่าสนใจลงทุนหากปมการเมืองคลี่คลาย

BF Economic Research รมณ ไชยวรรณ Macro Analyst Fund Management Group เศรษฐกิจยูโรโซนในครึ่งแรกของปี 2018 ขยายตัว 2.3% YoY ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการส่งออกสุทธิที่ได้รับแรงกดดันจากเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเป็นประเด็นฉุดรั้งหลัก ขณะที่ การลงทุนและการบริโภคในประเทศยังคงสามารถขยายตัวได้ สำหรับเศรษฐกิจของยูโรโซนในช่วงที่เหลือของปี 2018 นี้ น่าจะเติบโตชะลอลงจากครึ่งปีแรก เนื่องจากยังคงมีประเด็นท้าทายโดยเฉพาะการเมืองภายในภูมิภาคและเศรษฐกิจที่เปราะบางในบางประเทศสมาชิก อย่างไรก็ดี หากตัดภาพความวุ่นวายทางการเมืองออกไปจะพบว่า ตัวเลขเศรษฐกิจรายตัวเริ่มปรับตัวดีขึ้นเห็นได้จากตลาดแรงงานฟื้นตัวได้ดี ประกอบกับปริมาณสินเชื่อของยูโรโซนและเงินเฟ้อที่เริ่มปรับตัวขึ้น พร้อมกันที่ ECB ได้ประกาศยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณทางการเงิน หรือ QE ในสิ้นปี 2018 นี้ ซึ่งสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่กำลังทยอยฟื้นตัว ทั้งนี้ ในปี 2019 จะเข้าสู่ทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งหากยูโรโซนเข้าสู่วงจรดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว ก็น่าจะสามารถดึงดูดเงินลงทุนให้ไหลเข้าสู่ภูมิภาคยุโรปได้ เศรษฐกิจสหภาพยุโรปช่วงที่เหลือของปี 2018 อาจจะชะลอลงจากการส่งออกแต่การบริโภคยังขยายตัวดี เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2018 […]