สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ค. 2018
เศรษฐกิจไทยในเดือน พ.ค. ขยายตัวดี ตามการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูง สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่ขยายตัวดีและราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่องในทุกหมวดการใช้จ่าย ส่งผลให้การผลิต ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน กลุ่มยานยนต์ เคมี และ HDD ยังเติบโตแข็งแกร่ง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในทุกหมวดแต่ชะลอจากเดือน เม.ย. ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลงจากผลของเทศกาลฟุตบอลและรอมฎอนเหลื่อมปี การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวที่ 5.6% YoY (prev. 5.3% YoY) หรือ 0.9% MoM sa ตามการใช้จ่ายในทุกหมวด ภาพรวมของกำลังซื้อโดยรวมมีทิศทางปรับดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยรายได้ ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมและรายได้รวมลูกจ้างนอกภาคเกษตรกรรม ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัว 9.5% YoY (prev. 11.2% YoY) หรือ 0.3% MoM sa จากยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ ขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์หดตัว การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัว 2.9% YoY (prev. 4.2% […]
เงินเฟ้อสิงคโปร์เดือนพ.ค.ขยายตัวเร่งขึ้นที่ 0.4% YoY
BF Economic Research ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Price Index) ของสิงคโปร์ ใน เดือนพ.ค. 2018 ขยายตัว 0.4% YoY เร่งขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 0.1% YoY สำหรับ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (MAS Core Inflation) ขยายตัว 1.5% YoY เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.3% YoY ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Price Index) ในเดือน พ.ค. 2018 ขยายตัว 0.4% YoY เร่งขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 0.1% YoY เป็นผลมาจากต้นทุนด้านการขนส่งที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ประกอบกับต้นทุนด้านการบริการ และต้นทุนราคาสินค้าปลีกที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (MAS Core Inflation) ซึ่งไม่รวมต้นทุนค่าที่อยู่อาศัยและต้นทุนการขนส่งทางถนนส่วนบุคคลขยายตัว […]
ดุลการค้าอินโดนีเซียขาดดุลต่อเนื่อง กดดันรูเปียห์อ่อนค่า แต่คาดประชุมครั้งหน้าแบงก์ชาติยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย
BF Economic Research อินโดนีเซียขาดดุลการค้า 1,523.6 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือน พ.ค. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 1,629.3 ล้านดอลลาร์ฯ แต่เป็นการขาดดุลที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องของรูเปียห์ อาจส่งผลให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25bps อย่างไรก็ดี เรามองว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซียจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และคงไว้ที่ 4.75% ในการประชุมวันที่ 27-28 มิ.ย. ที่กำลังจะถึงนี้ อินโดนีเซียขาดดุลการค้า 1,523.6 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือน พ.ค. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 1,629.3 ล้านดอลลาร์ฯ แต่เป็นการขาดดุลที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากการนำเข้าที่เติบโตถึง 28.17% YoY โดยการนำเข้าน้ำมันขยายตัวสูงตามราคาในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ การนำเข้าเครื่องจักรในเดือนพ.ค. ก็เพิ่มสูงขึ้นในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. สอดคล้องกับสินค้าทุนที่เติบโตถึง 43.4 %YoY เป็นสัญญาณที่ดีว่าการลงทุนในประเทศน่าจะขยายตัวได้ดีในไตรมาส 2 ส่วนการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคก็ขยายตัวสูงเช่นเดียวกัน […]
จีน: PBoC ประกาศลดอัตราส่วนเงินกันสำรองขั้นต่ำสำหรับธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% มีผลบังคับใช้วันที่ 5 ก.ค.
BF Economic Research ธนาคารกลางจีน (PBoC) ประกาศลดอัตราส่วนเงินกันสำรองขั้นต่ำ (Reserve Requirement Ratio: RRR) ลง 0.5% เป็น 15.5% สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และเป็น 13.5% สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 5 ก.ค. การปรับลดอัตราส่วนเงินกันสำรองดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลให้ภาคธนาคารมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น 7 แสนล้านหยวน โดยแบ่งเป็น 5 แสนล้านหยวน อยู่ที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 12 แห่ง เพื่อสนับสนุนโครงการแปลงหนี้เป็นทุน (Debt-to-Equity Swap) และอีก 2 แสนล้านหยวนจะอยู่ที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กเพื่อให้นำไปปล่อยกู้ให้กับธุรกิจขนาดกลางและย่อม (MSEs) Implication: เรามองการปรับลด RRR ลงครั้งนี้ สะท้อนถึงการกลับมาผ่อนคลายนโยบายการเงินลงเพื่อหนุนเศรษฐกิจ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจเดือน พ.ค. ออกมาค่อนข้างชะลอตัว หมายเหตุ: ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน เม.ย. ธนาคารกลางจีน […]
ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50%
BF Economic Research ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ในการประชุมเมื่อวานนี้ (21 มิ.ย.) ภายหลังการประชุมของ BoE ค่าเงินปอนด์มีทิศทางที่แข็งขึ้นทันทีที่0.4 % อยู่ที่ราว 1.143 เทียบกับยูโรวานนี้ ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ในการประชุมเมื่อวานนี้ (21 มิ.ย.) แต่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ลงมติไม่เป็นเอกฉันท์ในการประชุมครั้งนี้ด้วยคะแนนเสียง 6-3 ซึ่ง 3 เสียงมีความเห็นให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 0.75% พร้อมกับการคงระดับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ระดับ 435 พันล้านปอนด์ เอาไว้ที่ระดับเดิม การประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นไปตามที่ตลาดคาด หลังจากที่ BoE ได้ออกมาแถลงอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ในเดือนพ.ค.ที่ระดับ 2.4% ซึ่งต่ำกว่าที่คาด ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมของ BoE ค่าเงินปอนด์มีทิศทางที่แข็งขึ้นทันที 0.4% มาอยู่ที่ราว […]
เงินเฟ้อพื้นฐานญี่ปุ่น พ.ค. ยังต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ของ BoJ
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งหักราคาอาหารสดที่ผันผวนออก และเป็นเป้าหมายของ BoJ ที่ 2% ขยายตัวเพียง 0.7% YoY ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้ออย่างช้าๆ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังคงยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ของญี่ปุ่นขยายตัว 0.7% YoY ในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 0.6% YoY ในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ซึ่งหักราคาอาหารสดที่ผันผวนออก และเป็นเป้าหมายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่ 2% ขยายตัวเพียง 0.7% YoY ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า โดยแม้ราคาน้ำมันจะเป็นปัจจัยเร่งให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น แต่ราคาสาธารณูปโภคอย่างค่าไฟฟ้า ราคาเฟอร์นิเจอร์ และราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ชะลอตัวลง ทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในทิศทาง Sideway การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้ออย่างช้าๆ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ BoJ ยังคงยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย […]
ส่งออกไทยเดือนพ.ค. มีมูลค่า 22,256 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว11.4%
BF Economic Research การส่งออกไทยเดือนพ.ค. มีมูลค่า 22,256 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 11.4% YoY (prev. 12.34% YoY) ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 21,053 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 11.72% YoY (prev. 20.84% YoY) ทำให้ดุลการค้าพลิกมาเกินดุล 1,203 ล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว – 1,283.3 ล้านดอลลาร์ฯการส่งออกไทยเดือนพ.ค. มีมูลค่า 22,256 ล้านดอลลาร์ฯ โตขยายตัว11.4% YoY (prev. 12.34% YoY) ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 21,053 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 11.72% YoY (prev. 20.84% YoY) ทำให้ดุลการค้าพลิกมาเกินดุล 1,203 ล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว […]
EU จะเริ่มดำเนินมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในวันพรุ่งนี้
BF Economic Research EU จะเริ่มดำเนินมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้า 25% จากสหรัฐฯ ในวันศุกร์ที่ 22 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ มูลค่าภาษีต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ มีมูลค่า 2.8 พันล้านยูโร (3.24 พันล้านดอลลาร์ฯ) ในสินค้าเกษตร (ข้าว ข้าวโพดหวาน ถั่ว) ยีนส์ วิสกี้ (bourbon) รถจักรยานยนต์ เหล็ก และอลูมิเนียม คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU) ได้ออกมาแถลงว่า จะเริ่มดำเนินมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้า 25% จากสหรัฐฯ ในวันศุกร์ที่ 22 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ EU จะเรียกเก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 2.8 พันล้านยูโร (3.24 พันล้านดอลลาร์ฯ) โดยสินค้าดังกล่าวรวมถึงสินค้าเกษตร (ข้าว ข้าวโพดหวาน ถั่ว) […]
เงินเฟ้อมาเลเซียเดือนพ.ค.เร่งตัวขึ้น คาดชะลอลงใน 2-3 เดือนหน้า
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อมาเลเซียขยายตัว 1.8% YoY ในเดือนพ.ค. จากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารในช่วงถือศีลอด และค่าขนส่งจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบรายปี มองไปข้างหน้า เราคาดว่า อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียน่าจะปรับตัวลดลง โดยเฉพาะในช่วงเดือนมิ.ย.-ส.ค. ภายหลังรัฐบาลชุดใหม่ประกาศลดภาษี GST (Good and Services Tax) ลงเหลือ 0% อัตราเงินเฟ้อมาเลเซียขยายตัว 1.8% YoY ในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นจาก 1.4% YoY ในเดือนก่อนหน้า จากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (2.2% YoY) ในช่วงการถือศีลอด และราคาบ้าน/สาธารณูปโภค (2.1% YoY) รวม ไปถึงค่าขนส่งที่ขยายตัวถึง 3.8% YoY เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีกเมื่อเทียบรายปี แม้จะมีการควบคุมราคาน้ำมันขายปลีกบางประเภทในช่วงการเลือกตั้งเดือนพ.ค. มองไปข้างหน้า เราคาดว่า อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียน่าจะปรับตัวลดลง โดยเฉพาะในช่วงเดือนมิ.ย.-ส.ค. ภายหลังรัฐบาลชุดใหม่ประกาศลดภาษี GST (Good and […]
ฟิลิปปินส์ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี
BF Economic Research ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จาก 3.25% เป็น 3.50% BSP ได้ปรับประมาณอัตราเงินเฟ้อในปี 2018 เป็น 4.5% ซึ่งอยู่เหนือกรอบเป้าหมาย 2.0-4.0% กองทุนบัวหลวง มองว่า BSP อาจพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกอย่างน้อย 1 ครั้งในปีนี้ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 3.25% เป็น 3.50% ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา หลังการปรับขึ้นในการประชุมเดือนก่อนหน้าไปแล้ว 25bps เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทะลุกรอบเป้าหมายของ BSP ที่ 2.0-4.0% มา 2 เดือนติดต่อกัน อันเป็นผลจากการปรับขึ้นภาษีสินค้าบางรายการตามมาตราการปฏิรูปภาษีที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ม.ค. ที่ผ่านมา รวมไปถึงการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องค่าเงินเปโซ จากดุลการค้าที่มีแนวโน้มขาดดุล จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกชะลอตัวลง […]