อัพเดทเศรษฐกิจอาเซียนเดือน มิ.ย.-ก.ค. 2018

อัพเดทเศรษฐกิจอาเซียนเดือน มิ.ย.-ก.ค. 2018

BF Economic Research Monthly Economic Review June-July 2018 ASEAN THIS MONTH      • ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 4.50% เป็น 4.75% ในการประชุมวันที่ 30 พ.ค. โดยเป็นการประชุมนอกรอบ หลังผู้ว่าการคนใหม่เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 24 พ.ค. ซึ่งก่อนหน้านี้ BI ภายใต้ผู้ว่าการคนก่อนหน้าได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไปแล้ว 1 ครั้งจาก 4.25% เป็น 4.5% ในวันที่ 17 พ.ค. เป็นการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของผู้ว่าการคนปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์เป็นหลัก ทั้งนี้ เราคาดว่า BI จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งจนถึงสิ้นปีนี้ ถ้าหากค่าเงินรูเปียห์ไม่ได้อ่อนค่าลงไปอีกมาก โดย BI น่าจะหันมาใช้การผ่อนคลาย Macro-Prudential […]

ส่งออกสิงคโปร์โตต่อเนื่องที่ 15.5% YoY ในเดือนพ.ค.

ส่งออกสิงคโปร์โตต่อเนื่องที่ 15.5% YoY ในเดือนพ.ค.

BF Economic Research การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (NODX) ของสิงคโปร์เดือนพ.ค.ขยายตัว 15.5% YoY ตลาดสินค้าที่ไม่รวมน้ำมันของสิงคโปร์ที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป (EU) สหรัฐฯ และญี่ปุ่น การส่งออกโดยรวมของสิงคโปร์ขยายตัว 10.1% YoY และการนำเข้าขยายตัว 9.6% YoY การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (NODX) ของสิงคโปร์เดือนพ.ค. ขยายตัวเร่งขึ้นที่ 15.5% YoY จากที่ขยายตัว 11.8 % YoY ในเดือนเม.ย. โดยได้รับแรงหนุนของการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวสูง 26.2% YoY นำโดยเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง, อาหารปรุงแต่ง (food preparations) (+132.7%) และเวชภัณฑ์ (+32.1%) ขณะที่ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวลง -7.8% YoY เนื่องจากฐานที่สูงของปีที่ผ่านมา หากเทียบเป็นรายเดือนหลังปรับค่าตามฤดูกาลแล้ว ยอดส่งออกสินค้า NODX เดือนพ.ค.ปรับตัวขึ้น […]

สหรัฐฯ ประกาศตอบโต้การค้า จีนตอบโต้เช่นกัน

สหรัฐฯ ประกาศตอบโต้การค้า จีนตอบโต้เช่นกัน

BF Economic Research สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่ารวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ มีผลบังคับใช้ 6 ก.ค.นี้ จีนโต้ตอบด้วยการเก็บภาษีในปริมาณที่เท่ากัน สภาผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 1,102 รายการ มูลค่ารวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ที่อัตรา 25% โดยจะแบ่งการมีผลบังคับใช้เป็น 2 รอบ ขณะที่รัฐบาลจีนได้ออกมาโต้ตอบโดยจะขึ้นภาษีในปริมาณที่เท่ากันกับสินค้าสหรัฐฯ 659 รายการ โดยได้แบ่งออกเป็น 2 รอบเช่นเดียวกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางด้านล่าง นอกจากนี้ สหรัฐฯ กล่าวว่ากำลังพิจารณาการขึ้นภาษีสินเข้านำเข้ากับจีนอีก 1 แสนล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดสินค้าออกมา แต่คาดว่าจะเป็นกลุ่มสินค้าบริโภค เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เสื้อผ้า และเฟอร์นิเจอร์ รัฐบาลจีนกล่าวว่าจะยกเลิกข้อเสนอที่ประกาศไปก่อนหน้านี้กับสหรัฐฯ ทั้งหมด ได้แก่ การนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.5 […]

ส่งออกญี่ปุ่นโตต่อเนื่อง…ยังเสี่ยงกีดกันการค้าจากสหรัฐฯ

ส่งออกญี่ปุ่นโตต่อเนื่อง…ยังเสี่ยงกีดกันการค้าจากสหรัฐฯ

BF Economic Research การส่งออกญี่ปุ่นในเดือนพ.ค. ขยายตัว 8.1% YoY มากกว่าที่ตลาดคาด จากการส่งออกรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และเซมิคอนดักเตอร์ เรามองว่า การกลับมาเติบโตได้ดีของการส่งออก น่าจะทำให้จีดีพีของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 กลับมาขยายตัวได้ ในระยะข้างหน้า การกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ยังเป็นปัจจัยความเสี่ยงต่อการส่งออกของญี่ปุ่น การส่งออกญี่ปุ่นในเดือนพ.ค. ขยายตัว 8.1% YoY มากกว่าที่ตลาดคาด และเป็นการเติบโตต่อเนื่องจากเดือนเม.ย. ที่ 7.8% YoY จากการส่งออกรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และเซมิคอนดักเตอร์ โดยการส่งออกไปเอเชีย โดยเฉพาะจีนขยายตัวในระดับสูง (13.9% YoY) ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ เติบโต 5.8% YoY ทั้งนี้ การนำเข้าในเดือนพ.ค. เติบโตถึง 14.1% YoY จาก 5.9% YoY ในเดือนเม.ย. ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลับมาขาดดุลการค้า 5.78 […]

ธนาคารกลางยุโรป ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและ จะยุติมาตรการ QE ภายในปี 2018

ธนาคารกลางยุโรป ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและ จะยุติมาตรการ QE ภายในปี 2018

BF Economic Research ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะเดียวกัน ได้ประกาศจะยุติมาตรการ QE ภายในสิ้นปี 2018 นี้ นอกจากนี้ ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ขยายตัวเศรษฐกิจยูโรโซน เหลือ 2.1% และปรับตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อยูโรโซนสู่ระดับ 1.7% ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% พร้อมกับคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.40% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% โดยจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนถึงช่วงฤดูร้อนของปีหน้า ส่งผลให้ยูโรเทียบดอลลาร์ฯ อ่อนลงล่าสุดแตะระดับ 0.8647 หลังการประกาศตรึงดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน ECB ยังได้ประกาศคงวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน จนถึงเดือน ก.ย. อย่างไรก็ดี จะปรับลดวงเงิน QE สู่ระดับ 1.5 หมื่นล้านยูโร/เดือน ในเดือน […]

(Update) BoJ ปรับลดประมาณการเงินเฟ้อ ส่งผลเยนอ่อนค่าลง

(Update) BoJ ปรับลดประมาณการเงินเฟ้อ ส่งผลเยนอ่อนค่าลง

BF Economic Research  ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) คงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม พร้อมทั้งปรับลดประมาณการอัตราเงินเฟ้อลง การประกาศคงนโยบายการเงินของ BoJ นับว่ายิ่งสร้างความแตกต่างของทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักอย่าง Fed และ ECB ภายหลังการประกาศของ BoJ ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงแตะ 110.8 เยนต่อดอลลาร์ฯ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) คงนโยบายการเงินไว้ตามเดิมที่อัตราดอกเบี้ย -0.1% และมีเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 0% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ พร้อมทั้งปรับลดประมาณการอัตราเงินเฟ้อลง โดยมองว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะอยู่ในกรอบ 0.5-1.0% จากที่เคยระบุว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.0% การประกาศคงนโยบายการเงินของ BoJ นับว่ายิ่งสร้างความแตกต่างของทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักอย่าง Fed และ ECB (Monetary Policy Divergence) หลัง Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งจาก 1.75% เป็น 2.0% ในวันที่ 13 มิ.ย. ที่ผ่านมา ส่วน […]

ทุนสำรองระหว่างประเทศฟิลิปปินส์ ลดลงในรอบ 3 ปี  ขณะที่ค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์ดิ่งลงต่ำสุดในรอบ 12 ปี

ทุนสำรองระหว่างประเทศฟิลิปปินส์ ลดลงในรอบ 3 ปี ขณะที่ค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์ดิ่งลงต่ำสุดในรอบ 12 ปี

BF Economic Research  ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) เปิดเผยว่า ปริมาณทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงสู่ระดับพันล้านดอลลาร์ฯ สู่ระดับ 7.897 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในเดือน พ.ค. ต่ำสุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ ค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์ดิ่งลงแตะระดับ 53.26 เปโซฟิลลิปปินส์เทียบกับดอลาร์ฯ ต่ำสุดในรอบ 12 ปี เมื่อวานนี้ (13 มิ.ย.) ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) เปิดเผยว่า ปริมาณทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง 0.641 พันล้านดอลลาร์ฯ สู่ระดับพันล้านดอลลาร์ฯ สู่ระดับ 7.897 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในเดือน พ.ค. จากระดับ 7.961 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือน เม.ย. โดยเป็นการลดลงสู่ระดับที่ต่ำสุดในรอบ 3 ปี ระดับทุนสำรองระหว่างประเทศดังกล่าว สามารถรองรับการนำเข้าได้ 7.7 เดือน ขณะที่ ค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์ดิ่งลงแตะระดับ […]

Fed มีมติปรับดอกเบี้ย 1.75-2.0% Dot Plot สะท้อนทั้งปีปรับ 4 ครั้ง

Fed มีมติปรับดอกเบี้ย 1.75-2.0% Dot Plot สะท้อนทั้งปีปรับ 4 ครั้ง

BF Economic Research  คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 1.75-2.0% (จากที่ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้นในครั้งก่อนเมื่อเดือน มี.ค.) ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด ขณะที่ FOMC มีมติปรับขึ้น Fed Fund Rate 0.25% แต่กลับปรับขึ้น IOER 0.2% เป็นผลให้ IOER ขยับขึ้น 1.95% ต่ำกว่า Fed Fund Rate 0.05% พร้อมกันนี้ FOMC ได้กล่าวว่า ได้เริ่มการลดงบดุลตามแผนที่ได้เคยระบุไว้ในเดือน มิ.ย. 2017 ในการประชุมดังกล่าวได้เผยประมาณการเศรษฐกิจ (GDP, Unemployment, และ Inflation) ส่วนใหญ่เป็นการปรับประมาณการเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ให้ระยะกลาง-ยาว เท่าเดิม (สะท้อนว่า Fed มองว่า […]

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯขยายตัว 0.2% MoM เท่าเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบรายปี ทะยานขึ้นมาที่ 2.8% YoY

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯขยายตัว 0.2% MoM เท่าเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบรายปี ทะยานขึ้นมาที่ 2.8% YoY

BF Economic Research  อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯขยายตัว 0.2% MoM เท่าเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบรายปี ทะยานขึ้นมาที่ 2.8% YoY (prev. 2.5% YoY) เป็นผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานเป็นหลัก หากไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯอยู่ที่ 2.2% YoY (prev. 2.1% YoY) หรือ 0.2% MoM (prev. 0.1%MoM) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับมาที่ 2.96% ส่วน DXY อยู่ที่ 93.86 ไม่เปลี่ยนแปลงนักจากวันก่อน สะท้อนว่าตลาดรอความชัดเจนของแผนการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในช่วงหลังของปี โดยผลการประชุม FOMC จะมีขึ้นในวันที่ 13 มิ.ย. นี้ ที่มา: BLS, ASPEN, Bloomberg

ตามคาด เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 1 หดตัว -0.2% จากไตรมาสก่อนหน้า

ตามคาด เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 1 หดตัว -0.2% จากไตรมาสก่อนหน้า

BF Economic Research เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัว -0.2% QoQ ในไตรมาส 1/2018 ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจต่างปรับลดการใช้จ่ายลง จีดีพีญี่ปุ่นในไตรมาส 1/2018 หดตัว -0.2% QoQ (-0.6% QoQ Annualized) ไม่เปลี่ยนแปลงจากประมาณการเบื้องต้น ซึ่งเป็นการเติบโตแบบติดลบครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี เนื่องจากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจต่างปรับลดการใช้จ่ายลง โดยการบริโภคภาคเอกชนที่มีสัดส่วนถึง 60% ของจีดีพีหดตัว -0.1% QoQ จาก 0.2% QoQ ในไตรมาส 4/2017 เนื่องจากการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าสมาร์ทโฟนและรถยนต์ลดลง ส่วนการลงทุนภาครัฐได้ปรับลดลงจากประมาณการเบื้องต้นที่ทรงตัว เป็น -0.1% QoQ ขณะที่ตัวเลขการส่งออกขยายตัวเพียง 0.6% QoQ ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ 2.2% QoQ ปัจจัยเดียวที่เติบโตดีขึ้นจากประมาณการเบื้องต้นคือ การลงทุนภาคเอกชน (Private Non-resident Investment) ที่ขยายตัว 0.3% […]