คาดราคาน้ำมัน WTI ครึ่งปีหลัง 2018 อยู่ในกรอบ 65-77 ดอลลาร์/บาร์เรล
Upside Risk ระยะสั้นของราคาน้ำมันจากปัญหา Geopolitics นับจากนี้ไปจนถึงปลายปี ราคาน้ำมันมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากปัจจัยกดดันด้านปัญหา Geopolitics ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ส่งผลให้ Supply น้ำมันปรับตัวลดลง และไปกดดันราคาน้ำมันให้เพิ่มขึ้นในระยะสั้น ยกตัวอย่างเช่น การถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันของอิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก หรือราว 4.0% ของ Supply น้ำมันโลกทั้งหมด และปัญหาในเวเนซุเอลาที่ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของเวเนซุเอลายังคงปรับลดลงต่อเนื่อง มาแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 30 ปี ที่ราว 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นต้น นอกจากนี้ ความกังวลว่า ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก มีแนวโน้มปรับเพิ่มกำลังการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการประชุมเดือน มิ.ย. นี้ หากตลาดน้ำมันเริ่มเข้าสู่สภาวะสมดุลมากขึ้น ก็นับเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันในช่วงครึ่งหลังของปี สำหรับในครึ่งปีหลังของ 2018 นี้เรามองว่าราคาน้ำมัน WTI จะอยู่ในกรอบ 65-77 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล โดยมีปัจจัยที่ต้องจับตามอง ได้แก่ 1) การผ่อนคลายข้อตกลงลดการผลิตของ ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก, […]
ครึ่งปีหลัง 2018 พื้นฐานเศรษฐกิจทั่วโลกยังอยู่ในเกณฑ์ดี
BF Economic Research “ในช่วงครึ่งหลังของปี 2018 กองทุนบัวหลวงมองว่าพื้นฐานเศรษฐกิจทั่วโลกยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ตลาดอาจจะเคลื่อนไหวผันผวนเนื่องมาจาก โลกเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นจากหลายปัจจัย อาทิ สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ปัญหา Geopolitics ราคาน้ำมัน และความคาดหวังของตลาดต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง” เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ดีในช่วงปี 2017 ต่อเนื่องถึงครึ่งปีแรกของ 2018 ที่โมเมนตัมเริ่มชะลอลงบ้าง ทำให้นักลงทุนมีความกังวลต่อวัฏจักรของเศรษฐกิจโลกที่อาจเข้าสู่ช่วงขาลง มีผลให้สินทรัพย์เสี่ยงเคลื่อนไหวในทิศทางที่ผันผวน กระนั้น กองทุนบัวหลวงยังมองว่าเศรษฐกิจโลกยังสามารถขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าทิศทางของการดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในบางประเทศ ประเด็นที่เปลี่ยนแปลงไปจากครึ่งปีแรกของปี 2018 คือ ความผันผวน หรือ Volatility จะเป็นตัวแปรหลักที่อาจจะกระทบกับผลตอบแทนของการลงทุน และความเสี่ยงอยู่ในทิศทางขาลงเช่น Geopolitical Risks หรือความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ประทุหนักขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี อาทิ สงครามการค้า การเมืองในอิตาลีและสเปน ในบริบทของการลงทุนดังกล่าวไว้ข้างต้น ทำให้กองทุนบัวหลวงคาดว่า อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นทั้งในยุโรปและสหรัฐฯเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจต่อไป ค่าเงินดอลลาร์ฯน่าจะเคลื่อนไหวแข็งค่าในระยะสั้น ส่วนค่าเงินยูโรมีสิทธิที่จะแข็งค่าขึ้นได้ในช่วงท้ายของปีหากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจประกาศยุติโครงการ QE ขณะที่การผันผวนของราคาน้ำมันจะเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่เปลี่ยนทิศทางความคาดหวังของตลาดที่มีต่ออัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงครึ่งหลังของปี […]
GDP อินเดียเติบโตแข็งแกร่ง 7.7% YoY ในไตรมาส 1/2018
BF Economic Research GDP เร่งขึ้นในไตรมาส 1/2018 เป็น 7.7% YoY หลังโตได้ 7.0% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า เพราะการเติบโตภาคการลงทุนและการบริโภคออกมาค่อนข้างดี GVA เร่งขึ้น 7.6% YoY จาก 6.6% YoY ด้วยแรงผลักดันในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเป็นหลัก ธนาคารกลางอินเดีย มีแนวโน้มเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงิน ด้วยการถอนคันเร่งนโยบายการเงินออก ส่งผลให้สภาพการอาจตึงตัวขึ้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอินเดีย เร่งขึ้นในไตรมาส 1/2018 เป็น 7.7% YoY หลังโตได้ 7.0% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า สืบเนื่องจากการลงทุนและการบริโภคเอกชนที่เติบโตได้ถึง 14.4% YoY และ 6.7% YoY ตามลำดับ สื่อถึงวงจรการฟื้นตัวภายหลังมีการเปลี่ยนธนบัตรใหม่ (Remonetisation) และปัจจัยลบจาก GST คลายตัวลง […]
ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าเม.ย.แตะ 3.6 พันล้านดอลลาร์ สูงสุดในรอบ 4 เดือน
BF Economic Research การส่งออกฟิลิปปินส์ เดือนเม.ย. 2018 อยู่ที่ 5,114.5 ล้านดอลลาร์ฯ หรือหดตัว -8.5% ขณะที่ การนำเข้าอยู่ที่ 8,729.2 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัวสูงถึง +22.2% ส่งผลให้ฟิลิปปินส์ขาดดุลสูงถึง -3,614.7 ล้านดอลลาร์ฯ มากที่สุดในรอบ 4 เดือน การส่งออกฟิลิปปินส์เดือนเม.ย.อยู่ที่ 5,114.5 ล้านดอลลาร์ หดตัว -8.5% ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 8,729.2 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัว +22.2% YoY ส่งผลให้การขาดดุลสุงถึง -3,614.7 ล้านดอลลาร์ฯ การส่งออกสินค้า ในเดือนเม.ย. ซึ่งหดตัวนำโดยสินค้าเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง (-45.%) ทองคำ (-25.2%) ชุดสายไฟที่ใช้ในรถยนต์ (-24.4%) น้ำมันมะพร้าว (-23.9%) สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ (-1.0%) อย่างไรก็ดี […]
GDP ยูโรโซน (EA-19) Q1/2018 โต 0.4% QoQ SA ไม่เปลี่ยนแปลงจากคาดการณ์เดิม
BF Economic Research GDP ยูโรโซน (EA-19) Q1/2018 โต 0.4% QoQ SA ไม่เปลี่ยนแปลงจากการคาดการณ์เบื้องต้นที่ได้มีการเปิดเผยในเดือนที่ผ่านมา โดยชะลอลงจาก Q4/2017 ที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 0.7% QoQ SA GDP ยูโรโซน (EA-19) Q1/2018 เติบโต 0.4% QoQ SA ไม่เปลี่ยนแปลงจากประมาณการเดิมที่ได้เปิดเผยเมื่อเดือนที่ผ่านมา ชะลอลงจาก Q4/2017 ซึ่งขยายตัว 0.7% QoQ SA โดยได้รับแรงหนุนจากการบริโภคภาคครัวเรือนซึ่งขยายตัวเร่งขึ้นที่ 0.5% QoQ SA (prev. 0.2% QoQ SA) การลงทุนที่ขยายตัวชะลอลงที่ 0.5% QoQ SA (prev. 1.3% QoQ SA) และการใช้จ่ายภาครัฐซึ่งขยายตัวเท่ากับไตรมาสที่ผ่านที่ […]
Bond Yield ยุโรปปรับเพิ่มขึ้นแรงหลังคณะกรรมการ ECB กล่าวจะพิจารณาแผนการลด QE ในการประชุมวันที่ 14 มิ.ย.นี้
BF Economic Research นาย Peter Praet หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า คณะกรรมการ ECB จะหารือถึงแผนการลด QE ในการประชุมวันที่ 14 มิ.ย. นี้ ปัจจุบัน ECB มีกำหนดเข้าซื้อสินทรัพย์ที่อัตรา 3 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนไปจนถึงเดือน ก.ย. ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า ECB จะต่ออายุมาตรการ QE ออกไปอีก 3 เดือนและจะยุติมาตรการดังกล่าวในเดือน ธ.ค. โดยนาย Jenns Weidmann คณะกรรมการ ECB ได้กล่าวเมื่อวานนี้ว่า การคาดการณ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้ ท่าทีที่ Hawkish ของคณะกรรมการ ECB ส่งผลให้ Bond Yield ในยุโรปปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง โดย Bond Yield เยอรมนี […]
เงินเฟ้อฟิลิปปินส์ พ.ค.ขยายตัว 4.6% YoY ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 4.9% YoY
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ในเดือนพ.ค. 2018 ขยายตัว 4.6% YoY ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 4.5% YoY อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อดังกล่าว ยังต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 4.9% อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ในเดือน พ.ค. 2018 ขยายตัว 4.6% YoY ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 4.5% YoY โดยเป็นการยืนเหนือกรอบเป้าหมาย 2.0-4.0% เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน แม้ว่า BSP จะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 basis point เป็น 3.25% เมื่อ วันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมาแล้วก็ตาม โดยราคาเนื้อปลา อาหารทะเล พลังงาน ขนมปัง และแป้งสาลี เป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น […]
เงินเฟ้ออินโดนีเซียพ.ค. ชะลอลงมาจากเดือนก่อนหน้า
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้ออินโดนีเซียในเดือนพ.ค. 2018 ขยายตัว 3.23 % YoY ชะลอลงมาจากในเดือนเม.ย. ที่ 3.41% YoY ราคาเนื้อไก่ ไข่ไก่ และราคาตั๋วเครื่องบิน เป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น ขณะที่ ราคาข้าว และพริกชี้ฟ้าเป็นตัวฉุดเงินเฟ้อในเดือน พ.ค. อัตราเงินเฟ้ออินโดนีเซียในเดือนพ.ค. 2018 ขยายตัว 3.23 % YoY น้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้เล็กน้อยที่ 3.28% YoY และชะลอลงมาจากในเดือนเม.ย. ที่ 3.41% YoY ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ซึ่งหักลบราคาสินค้าควบคุม และราคาอาหารที่มีความผันผวน อยู่ที่ 2.75% YoY เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 2.69% YoY ในเดือนก่อนหน้า โดยราคาสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากการอ่อนค่าของรูเปียห์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในประเทศมากนัก ราคาเนื้อไก่ ไข่ไก่ […]
ตลาดแรงงานสหรัฐฯขยายตัวแข็งแกร่ง
BF Economic Research การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm Payroll Employment) เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น +2.2 แสนราย ดีกว่าเดือนก่อนหน้าที่ +1.6 แสนราย ส่วนค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมง (Average Hourly Earnings) เร่งตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ +2.8% YoY จากเดือนก่อนที่ +2.6% YoY ด้านอัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ลดลงสู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 1969 เป็น 3.8% จากเดือนก่อนหน้าที่ 3.9% Market Reaction ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้น +1.1bps เป็น 2.91% ส่วน DXY อ่อนค่าเล็กน้อยที่ 0.2% […]
นักลงทุนคลายความกังวลหลังการเมืองอิตาลีและสเปนคลี่คลาย
BF Economic Research Team ในที่สุดอิตาลีก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรค Five Stars Movement (M5S) และพรรค Northern League ได้สำเร็จ โดยมีนาย Giuseppe Conte ศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย วัย 53 ปี เป็นนายกรัฐมนตรี นาย Pedro Sanchez วัย 46 ปี ผู้นำพรรคสังคมนิยม ได้สาบานตนเพื่อก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสเปน หลังจากที่นาย Mariano Rajoy อดีตนายกรัฐมนตรี พ่ายแพ้ต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเด็นทุจริตคอรัปชั่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตร Bond Yield 10 ปีของอิตาลี ลดระดับลงสู่ 2.67% เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. หลังจากทะยานขึ้นไปอยู่ที่ 3.24% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในที่สุดอิตาลีก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรค Five Stars […]