“อี้ กัง” จ่อนั่งเก้าอี้ผู้ว่าการแบงก์ชาติจีนคนใหม่ แทน “โจว เสี่ยวฉวน”
ประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) เตรียมลงมติรับรองผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางจีนจากประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในวันนี้ โดยสื่อต่างประเทศระบุว่านายอี้ กัง รองผู้ว่าการธนาคารกลางจีน มีแนวโน้มที่จะได้รับการเลือกให้เป็นผู้ว่าการธนาคารกลางจีนคนใหม่ ต่อจากนายโจว เสี่ยวฉวน ซึ่งจะเกษียณในเร็วๆนี้ นายอี้วัย 60 ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารกลางจีนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ ณ University of Illinois และ ได้รับ Tenure (หรือสิทธิในการเป็นอาจารย์ประจำถาวร) ณ University of Indiana นายอี้มีผลงานทางวิชาการมากมายและได้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการชั้นนำและมีความเชี่ยวชาญด้านนโยบายการเงินเป็นที่ยอมรับและก่อนที่จะมารับตำแหน่งรองผู้ว่า PBoC , นายอี้ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของ SAFE หรือ State Administration of Foreign Exchange (SAFE) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมกำกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวน
โลกตะวันตกร่วมมือกดดันรัสเซีย หลังการใช้อาวุธเคมีในสหราชอาณาจักร
วันที่ 4 มี.ค. 2018: อดีตสายลับรัสเซียที่กลายมาเป็นสายลับสองหน้าให้กับรัฐบาลสหราชอาณาจักรในช่วงปี 1990s และลูกสาวของเขา ถูกทำร้ายด้วยอาวุธเคมีทำลายระบบประสาท Novichok ภายในสหราชอาณาจักร ซึ่งสารดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นโดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่บ่งบอกถึงความเป็นรัสเซียสูง หลังจากนั้นรัฐบาลสหราชอาณาจักรเปิดโอกาสให้ทางการมอสโกแถลงการณ์ชี้แจงภายในเส้นตาย 13 มี.ค. ซึ่งถึงแม้ว่ารัสเซียจะออกโรงปฏิเสธส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็มีการใช้ถ้อยคำที่มีความเสียดสีเย้ยหยัน และยังคงไม่ให้คำอธิบายรายละเอียดใดๆต่อเหตุการณ์ดังกล่าว สหราชอาณาจักร: วันที่ 14 มี.ค. 2018 นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร Theresa May ประกาศขับไล่นักการทูตรัสเซียถึง 23 คนออกจากประเทศ และเตรียมระงับการเคลื่อนไหวสินทรัพย์ภาครัฐของรัสเซียที่เป็นภัยต่อความมั่นคงประเทศ เพื่อทำลายเครือข่ายข่าวกรองรัสเซียภายในสหราชอาณาจักร นาย Boris Johnson รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร กล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการใช้อาวุธเคมีโจมตีภายในยุโรปเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และชักชวนให้ประเทศอื่นๆร่วมกันตอบโต้ โดยที่ผ่านมา ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐฯ ร่วมกันออกแถลงการณ์ประณามรัฐบาลรัสเซียแล้ว ฝรั่งเศส: Emmanuel Macron ประธาณาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวว่า จะประกาศมาตรการตอบโต้รัสเซียออกมาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา […]
การปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯและนัยยะต่อการส่งออกไทย
สำหรับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯนั้น จากข้อมูลของ Global Trade Atlas สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกของไทยที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจากหรือคิดเป็น 11.2% ของการส่งออกทั้งหมดของไทยโดยมูลค่าส่งออกจากไทยไปสหรัฐฯปี 2017 อยู่ที่ 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ สินค้าส่วนใหญ่ที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯหลักๆเป็นสินค้าที่มีความเชื่องโยงกับการลงทุนทั้งจากการลงทุนทางตรง (FDI) และการรับจ้างผลิต (OEM) รวมทั้งการผลิตชิ้นส่วนที่อยู่ในกลุ่มห่วงโซ่อุปทาน เช่นสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อุตสาหกรรมการเกษตร พลาสติก และเครื่องนุ่งห่ม ประเทศไทยมีความพยายามที่จะเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯตั้งแต่ปี 2002 ภายในใต้กรอบการเจรจา Trade and Investment Framework Agreement between the United States and the Kingdom of Thailand: TIFA) แต่การเจรจา TIFA ไม่มีความคืบหน้าตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมาเนื่องด้วยประเทศไทยประกาศยุบสภาในเวลานั้น ต่อมาไทยได้แสดงความสนใจที่จะได้แลกเปลี่ยนความเห็นพร้อมทั้งหารือถึงความเป็นไปได้ที่ไทยจะได้เป็นส่วนหนึ่งของ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) […]
สงครามการค้ารุนแรงจริงหรือ
Trade War and Its Repercussions, สงครามการค้ารุนแรงจริงหรือ นับตั้งแต่ประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่ง เราได้เห็นการทยอยใช้มาตรการกีดกันทางการค้า (แสดงดังตาราง) ผ่านการขึ้นภาษีนำเข้าในกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องซักผ้า และแผง Solar Cell ซึ่งต่อมาก็ได้ขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าในกลุ่มวัตถุดิบ ซึ่งได้แก่เหล็กและอลูมิเนียม มีผลให้นักลงทุนรู้สึกกังวลใจต่อความไม่แน่นอนในเชิงนโยบาย ซึ่งจากการวิเคราะห์เบื้องต้น เราคิดว่า (1) ผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มสินค้าที่ได้รับการปรับขึ้นภาษีนำเข้าน่าจะอยู่ในวงจำกัด (2) เช่นเดียวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ (3) แต่บางประเทศอาจจะเผชิญความเสี่ยงต่อความผันผวนของค่าเงินได้ ผลกระทบโดยตรงอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากประธานาธิบดีกำหนดข้อยกเว้นทางภาษีให้กับคู่ค้าหลักได้แก่ ประเทศกลุ่ม NAFTA (แคนาดาและเม็กซิโก) และขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการเจรจากับออสเตรเลีย ขณะที่ EU ได้ออกมาแสดงท่าทีตอบโต้ว่าสหภาพยุโรปควรได้รับการยกเว้นด้านภาษีนำเข้านี้ด้วย ดังนั้นหากคู่ค้าหลักได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าผลกระทบจะไม่เกิดกับกลุ่มประเทศเหล่านี้ สำหรับกลุ่มประเทศคู่ค้าอื่นๆ ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า น่าจะร้องเรียนกับ WTO และใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้า ด้านประเทศกลุ่ม NAFTA อาจจะได้รับส่วนแบ่งการส่งออกมากขึ้น ขณะที่ประเทศอื่นๆ (เช่นบราซิลที่มีสัดส่วนการส่งออกเหล็กไป สหรัฐฯราว 14% ของการส่งออกรวม) อาจจะส่งออกได้น้อยลงและต้องเบนเข็มไปตลาดอื่นแทน ด้านสินค้าประเภทอลูมิเนียมนั้น ประเทศผู้ส่งออกหลักส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกับเหล็ก […]
ECB เตรียมถอนคันเร่งมาตรการกระตุ้นทางการเงิน
• มติที่ประชุม ECB: ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คงมาตรการทางการเงินต่างๆไว้ตามเดิมในการประชุมวันที่ 8 มี.ค. ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝากที่ -0.4% และ QE ขนาด 3 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนจนถึง ก.ย. 2018 โดย ECB ยังคงความเป็นได้ของการยืดระยะโครงการ QE ออกไปจากกำหนดการเดิม ก.ย. 2018 หลังจากคาดการณ์เงินเฟ้อใหม่สำหรับปี 2019 ถูกปรับลง 10 bps เป็น 1.4% อย่างไรก็ดี ได้มีการลบข้อความที่จะเปิดทางให้กับ ECB กลับมายกระดับการกระตุ้นขึ้นอีกครั้ง • จุดจบ QE: ข้อความดังกล่าว ปรากฏอยู่ในเนื้อหาการประชุม ECB มาโดยตลอดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2016 ดังนั้น การตัดข้อความนี้ออกไป จึงสื่อว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินมีความมั่นใจต่อมุมมองเศรษฐกิจยุโรปในระดับหนึ่งแล้ว และไม่คิดว่าจะมีความจำเป็นที่อาจต้องกับมาเพิ่มขนาดการกระตุ้นอีกต่อไปในเร็วๆนี้ ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีเหตุการณ์ที่สร้างความวิตกขึ้นบ้างก็ตาม […]
การเลือกตั้งอิตาลี มีแนวโน้มจบลงด้วยสภาวะ “สภาแขวน”
สภาแขวน: ผลการเลือกตั้ง (4 มี.ค.) เบื้องต้น ของผู้แทนราษฎร 630 ที่นั่ง และวุฒิสมาชิก 315 ที่นั่ง ชี้ว่าอิตาลีอาจเข้าสู่สภาวะสภาแขวน (Hung Parliament) หรือสถานการณ์ที่ไม่มีกลุ่มการเมืองไหนได้รับเสียงโหวตเกินกว่า 40% โดยผลลัพท์สุดท้ายจะถูกประกาศออกมาช่วง 14:00 น. ในวันจันทร์ของอิตาลี (20:00 น. ตามเวลาไทย) Exit Poll: กลุ่มพรรคผสมฝั่งกลาง-ขวา น่าจะได้รับคะแนนเสียงราว 35% ส่วนพรรคประชานิยม 5Star Movement ที่ต่อต้านระบบการเมืองแบบเดิม น่าจะได้ไปราว 30% ส่งผลให้ 5Star เป็นพรรคการเมืองเดี่ยวที่จะได้รับคะแนนมากที่สุด ทว่า กลุ่มพรรคผสมฝั่งกลาง-ซ้ายต้นสังกัด Matteo Renzi นายกรัฐมนตรีคนก่อนหน้า มีแนวโน้มร่วงลงไปอยู่อันดับ 3 และน่าจะแปรไปเป็นฝ่ายค้านแทน นายกคนต่อไป: ทั้งนี้ กลุ่มกลาง-ขวาที่มีคะแนนรวมกันนำหน้าอยู่นั้น มีพรรค Forza […]
ประเด็นสำคัญจากการแถลงการครั้งแรกต่อสภาคองเกรสของ Jerome Powell
เศรษฐกิจสหรัฐขยายตามจังหวะของเศรษฐกิจโลก (Moment of Global Growth) ปัจจัยบวกส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศ การบริโภคและการลงทุนดูดี และนโยบายคลังมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยอัตราว่างงานต่ำ แต่อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน (Labor Participation Rate) ไม่ได้ปรับขึ้นมากทำให้ ประธาน Fed มองว่าค่าแรงน่าจะปรับขึ้นและจะมีส่วนช่วยหนุนอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น Fed คาดว่าจะ “ค่อยๆ” ปรับขึ้นดอกเบี้ย และเดินหน้าลดงบดุลตามแผนที่วางไว้ และเปิดกว้างต่อแนวทางของการกำหนดกรอบนโยบายการเงิน รวมถึงกรอบ Inflation Targeting ซึ่งเป็นกรอบทางการเงินปัจจุบันที่สหรัฐฯใช้กำหนดแนวทิศทางของดอกเบี้ยนโยบาย ประธาน Fed ได้กล่าวถึงความจำเป็นของการกำหนดเกณฑ์ควบคุมสถาบันการเงินที่อาจจะต้องเข้มขึ้นในบางมิติ แต่ต้องหาสมดุลระหว่างประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจและความเหมาะสมด้วย ประธาน Fed ไม่ได้ให้ความเห็นต่องบประมาณคลัง รวมถึงการที่ รัฐบาลอเมริกันประกาศยกเลิกการคุ้มครองเยาวชนจากครอบครัวผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย (DACA) ซึ่งเป็นประเด็นร้อนแรงในขณะนี้ ตลาดตอบรับการแถลงการครั้งนี้ 10-Year Treasury ดีดขึ้นไปที่ 2.9% ส่วน DXY ทะยานขึ้น 90.397 DJIA ปิดลบ […]
มองไปข้างหน้า หลังสิงคโปร์ประกาศทิศทางนโยบายเชิงการคลัง
รัฐบาลสิงคโปร์กำหนดงบประมาณคลังสำหรับปีงบประมาณ 2018 (1 เม.ย. 2018 – 31 มี.ค. 2019) ให้ขาดดุล -6 ร้อยล้าน SGD พลิกจากที่เกินดุล +9.61 พันล้าน SGD ในปีงบประมาณ 2017 สืบเนื่องจากการขาดดุลการคลังที่ไม่รวมรายจ่ายที่เกี่ยวกับภาระหนี้ (Primary Deficit) จากรายได้ดำเนินงาน (Operating Revenue) ที่ลดลงเหลือ 7.27 หมื่นล้าน SGD ขณะที่รายจ่าย (Expenditure) เพิ่มขึ้นเป็น 8.00 หมื่นล้าน SGD โดยในปีงบประมาณนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดสรรงบประมาณราว 700 ล้านSGD สำหรับเป็นของขวัญให้กับชาวสิงคโปร์ทุกคนหรือ Hong Bao โดยเป็นเงินให้เปล่าที่ 100-300 SGD ต่อคนอีกด้วยโดยรัฐบาลจะเริ่มนำจ่ายปลายปีนี้ มองออกไปข้างหน้า รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศทิศทางนโยบายเชิงการคลังออกมาด้วย มีใจความสำคัญหลายอย่างที่ตลาดให้ความสนใจ อาทิ […]
ส่งออกเดือนม.ค.61ขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน
การส่งออกเดือนม.ค.อยู่ที่ 20,101 ดอลลาร์ฯ ขยายตัว +17.6% YoY (prev +8.6% YoY ) เป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 20,220 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว +24.3% YoY (prev +16.6% YoY) การนำเข้าเร่งตัวสูงกว่าส่งออกส่งผลให้การค้าเดือนม.ค.ขาดดุล -119 ล้านดอลลาร์ฯ (เดือนก่อนหน้าขาดดุลที่ -278.1 ล้านดอลลาร์ฯ) การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ +16.2% YoY สินค้าส่งออกที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัว +37.2% YoY ขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงโดยเฉพาะตลาดบังคลาเทศ เบนิน แอฟริกาใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ แคเมอรูน และจีน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว +42.3% YoY […]
สิงคโปร์จ้องขึ้นภาษีสินค้าและบริการ (GST) ตามตลาดคาด
เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2018 รัฐบาลสิงคโปร์เผยงบประมาณ FY2018 จัดไว้ให้ขาดดุล 6 ร้อยล้านดอลลาร์สิงคโปร์ พลิกจากการเกินดุล 9.61 พันล้านดอลลาร์ใน FY2017 สืบเนื่องจากการขาดดุลการคลังที่ไม่รวมรายจ่ายที่เกี่ยวกับภาระหนี้ (Primary Deficit) จากรายได้ดำเนินงาน (Operating Revenue) ที่ลดลงเหลือ 7.27 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่รายจ่าย (Expenditure) เพิ่มขึ้นเป็น 8.00 หมื่นล้านดอลลาร์ รายได้: เม็ดเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินได้บุคคลยังคงไต่ขึ้น แต่รายได้ที่หดตัวลง มาจากส่วนสมทบของหน่วยงานราชการภายนอก (Statutory Boards’ Contribution) ที่ลดลงจาก 4.87 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เหลือเพียง 460 ล้านดอลลาร์ รายจ่าย: รายจ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้นเป็น 5.77 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+2.8%) ระหว่างที่รายจ่ายพัฒนาประเทศอยู่ที่ 2.24 หมื่นล้านดอลลาร์ (+25.4%) โดยหากจำแนกตามกระทรวง […]