สภาพัฒน์ คาดศก.ไทยปีนี้ โต 3.6-4.6%

สภาพัฒน์ คาดศก.ไทยปีนี้ โต 3.6-4.6%

รายงานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2560 ขยายตัว  4.0% YoY ต่อเนื่องจากการขยายตัว 4.3% YoY  ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยขยายตัวจากไตรมาสที่ 3/2560 0.5% QoQ SA ส่งผลให้ทั้งปี 2560 เติบโต 3.9%  ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นจากการเติบโต 3.3% ในปี 2559 ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในปี 2560 อยู่ที่ 0.7% สำหรับในปี 2561 สภาพัฒน์ฯ มองว่า เศรษฐกิจไทยปี 2561 จะขยายตัว 3.6 – 4.6% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลให้การส่งออก และภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดี รวมทั้งแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนการลงทุนภาครัฐก็มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นจากปี 2560 นอกจากนี้ การปรับตัวดีขึ้นของการจ้างงานและฐานรายได้ของประชาชนในระบบเศรษฐกิจโดยรวมก็มีส่วนทำให้การบริโภคภาคเอกชนเติบโตได้ดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ สภาพัฒน์ฯ […]

เงินเฟ้อสหรัฐฯทรงตัวที่ 2.1% YoY ในเดือน ม.ค. 2018 

เงินเฟ้อสหรัฐฯทรงตัวที่ 2.1% YoY ในเดือน ม.ค. 2018 

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ (CPI Inflation) ทรงตัวอยู่ที่ 2.1% YoY ในเดือน ม.ค. 2018 แต่สูงกว่า 1.9% YoY ที่ตลาดคาดไว้ เนื่องจากการชะลอตัวของราคาน้ำมันและค่าไฟ ถูกชดเชยด้วยราคาอาหารและค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ที่เร่งตัวขึ้น เงินเฟ้อนับว่าเป็นประเด็นที่ตลาดกำลังให้ความสนใจ เพราะอาจนำไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตได้ดี ผนวกกับการทำงบประมาณขาดดุลเพื่อนำเงินไปลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งนี้  Fed Fund Futures ชี้ว่า ตลาดเริ่มมองว่า Fed อาจปรับเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นถึง 4 ครั้งในปีนี้ (ปัจจุบันมีความเป็นไปได้ราว 20% จากเมื่อวันก่อนหน้าที่ให้ความเป็นไปได้ไว้เพียง 15%) แต่ราว 36% ยังคงคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้อยู่ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯมีแรงเทขายออกมา ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุคงเหลือ 10 ปีทะยานขึ้นราว 9 bps เป็น 2.92% สูงที่สุดในรอบกว่า […]

เศรษฐกิจยุโรป โตแรงอยู่ 0.6% QoQ sa ในไตรมาส 4/2017

เศรษฐกิจยุโรป โตแรงอยู่ 0.6% QoQ sa ในไตรมาส 4/2017

Eurostat ประเมินรอบที่ 2 (Flash Estimate) ว่า GDP ประเทศยุโรป เติบโต 0.6% QoQ sa ในไตรมาสที่ 4/2017 ทรงตัวจากประมาณการเบื้องต้น (Preliminary Flash Estimate) และชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัว 0.7% QoQ sa เพียงเล็กน้อย รายงานครั้งล่าสุดนี้ มีการเผย GDP รายประเทศออกมาด้วย โดยจะสังเกตได้ว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกสเร่งขึ้น ทว่า ด้านเยอรมนี สเปน และอิตาลีขยายตัวช้าลงบ้างเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สำหรับเศรษฐกิจสำคัญอย่างเยอรมนี เติบโตได้ 0.6% QoQ sa จากความแข็งแกร่งของยอดส่งออก การบริโภคภาครัฐ และการลงทุนในเครื่องมือ-เครื่องจักร ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนที่ทรงตัวได้ดี แต่ทางด้านประเทศอิตาลีนั้น ยังคงตามหลังเพื่อนบ้านอยู่ ด้วย GDP ที่ขยายตัว 0.3% […]

GDP Q4/2017 ญี่ปุ่นอยู่ที่ 0.5% ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า

GDP Q4/2017 ญี่ปุ่นอยู่ที่ 0.5% ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า

เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 4/2017(ประมาณการครั้งแรก) เติบโต 0.5%QoQ SAAR เป็นการขยายตัวติดต่อกัน 8 ไตรมาส การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก การเติบโตที่ชะลอลงจากไตรมาส 3 มาจากการเร่งตัวของการนำเข้าตามการลงทุนภาคเอกชน ส่งผลให้การส่งออกสุทธิปรับตัวลดลง หากอัตราค่าจ้างแรงงานในปี 2018 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา น่าจะทำให้การบริโภคภาคเอกชนเติบโตได้ดีต่อเนื่อง

ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ตรึงดอกเบี้ยนโยบาย

ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ตรึงดอกเบี้ยนโยบาย

• เมื่อวันที่ 8 ก.พ. ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ประกาศตรึงดอกเบี้ยนโยบาย (Overnight RRP) ไว้ที่ 3.0% ภายหลังเงินเฟ้อพุ่งขึ้นถึงแตะเพดานของกรอบเป้าหมาย 4.0% YoY ในเดือน ม.ค. และทำให้ตลาดมองว่าจะมีการหันมาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อเข้าควบคุมเงินเฟ้อ • BSP ยอมรับว่า แนวโน้มเงินเฟ้อมาแรงมากกว่าที่เคยคาดไว้ โดยมี Upside Risk จากผลมาตรการปฏิรูประบบภาษี และทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก จึงยกประมาณการเงินเฟ้อปี 2018 ขึ้นจาก 3.4% เป็น 4.3% แต่คาดว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงกลับมาอยู่ภายในกรอบเป้าหมายระหว่าง 1-4% ในปี 2019-20 • BSP เชื่อว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศมีความแข็งแกร่ง เพราะความต้องการบริโภคภายในประเทศโตได้ดี การขยายตัวของสินเชื่อมีประสิทธิภาพ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในเทรนด์บวก • ทั้งนี้ BSP กล่าวทิ้งท้ายว่า พร้อมที่จะออกมาตรการต่างๆที่จำเป็น เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพตลาดการเงิน ดังนั้น ด้วยเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ค่อนข้างมาก […]

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนจบ)

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนจบ)

By…ฐนิตา ตุมราศวิน และณัฐพัช กิตติปวณิชย์ Fund Management Group การบริหาร Supply Chain หัวใจของ e-Commerce นอกเหนือจากความน่าสนใจของธุรกิจ e-Commerce ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดดแล้ว ธุรกิจอื่นๆ ซึ่งมีส่วนในการเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจ e-Commerce ก็มีโอกาสขยายตัวได้อย่างรวดเร็วเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะธุรกิจโลจิสติกส์ที่นับเป็นหัวใจของ e-Commerce เนื่องจากผู้บริโภคและคู่ค้านั้นจะให้ความสำคัญกับความถูกต้อง รวดเร็วในการได้รับสินค้าเป็นหลัก รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งก็ไม่ควรสูงจนเกินไป ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดโลจิสติกส์มีผู้ให้บริการรายใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก มีการสร้างคลังสินค้าขึ้นหลายแห่ง เพื่อรองรับความต้องการของตลาด e-Commerce โดยธุรกิจกล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์ และยานยนต์เพื่อการขนส่งก็ได้รับอานิสงส์ในการเติบโตไปด้วย นอกจากธุรกิจโลจิสติกส์แล้ว การชำระเงินจากการซื้อขายผ่าน e-Commerce ยังนับเป็นโอกาสให้กับธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ขณะที่การเข้าถึงสมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นของประชาชนก็นับว่าเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และผู้พัฒนาระบบแอพพลิเคชั่นด้วย อย่างไรก็ดี การเติบโตของธุรกิจ e-Commerce ไทยยังถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น โดยในระยะข้างหน้า ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น น่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องมีการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเป็นสิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้  

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนที่ 2)

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนที่ 2)

By…ฐนิตา ตุมราศวิน และณัฐพัช กิตติปวณิชย์ Fund Management Group โอกาสเติบโตของ e-Commerce ไทย ในปี 2017 ETDA ประมาณการว่า ธุรกิจ e-Commerce ไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 2.8 ล้านล้านบาท โดยขยายตัวเฉลี่ย 11.4% ต่อปีนับตั้งแต่ปี  2015 สะท้อนแนวโน้มผู้ประกอบการไทยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น รวมไปถึงการเข้ามาแสวงหาโอกาสทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องของบริษัทต่างชาติ ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่ามูลค่า e-Commerce ของไทยจะสามารถแตะระดับ 5 ล้านล้านบาทได้ในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือเท่ากับว่าอัตราการเติบโตจะเร่งขึ้นเป็นประมาณ 15.5% ต่อปี ซึ่งเรามองว่า ธุรกิจ e-Commerce ไทยยังมีศักยภาพขยายตัวได้อีกมาก ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1.   กำลังซื้อโต หนุนธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ ปัจจุบันค้าปลีกออนไลน์มีความสำคัญต่อการเติบโต e-Commerce ไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยพัฒนาการของเทคโนโลยีที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ค้าปลีกออนไลน์สามารถเข้าไปชิงส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจค้าปลีกรูปแบบเดิมอย่างต่อเนื่อง […]

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนที่1)

เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู (ตอนที่1)

By…ฐนิตา ตุมราศวิน และณัฐพัช กิตติปวณิชย์ Fund Management Group เกาะกระแส e-Commerce รุ่ง ดันธุรกิจในห่วงโซ่เฟื่องฟู ในยุคที่เราทุกคนถูกเชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีเพียงปลายนิ้วสัมผัส กิจกรรมต่างๆที่เคยทำแบบออฟไลน์ ก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นออนไลน์ ทั้งการซื้อตั๋วโดยสาร การจองห้องพักโรงแรม การทำธุรกรรมทางการเงิน และการดูภาพยนตร์ เป็นต้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้ไม่ว่าหันไปทางไหน ผู้คนในสังคมก็ต่างก้มหน้าก้มตาใช้สมาร์ทโฟนในมือ สมาร์ทโฟนจึงกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญ และมีความจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันไปโดยปริยาย ทั้งนี้ จากรายงานของ Google ร่วมกับ Temasek ที่ออกมาในช่วงปลายปีที่ผ่านมา มีตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนนั้น ได้รับการจัดอันดับให้เป็นภูมิภาคที่ประชากรใช้เวลาเฉลี่ยในการใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือต่อวันสูงที่สุดในโลก เฉลี่ยวันละ 3.6 ชั่วโมง และในบรรดาประเทศอาเซียนนี้ คนไทยมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือสูงที่สุดในโลก ถึงวันละ 4.2 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับชาวอเมริกันที่ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง และชาวญี่ปุ่นที่ใช้เพียงวันละ 1 ชั่วโมง จากผลสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ […]

เงินเฟ้อฟิลิปปินส์ทะยาน สู่อัตราสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี

เงินเฟ้อฟิลิปปินส์ทะยาน สู่อัตราสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ของฟิลิปปินส์ เร่งตัวขึ้นเป็น 4.0% YoY ในเดือน เทียบกับ 3.3% YoY ของเดือน ธ.ค. เหนือจากที่ตลาดคาดไว้ 3.5% YoY มาก และนับเป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่ ต.ค. 2014 ราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ไต่ขึ้น 4.5% YoY ระหว่างที่ราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่พุ่งขึ้น 12.3% YoY นอกจากนั้น เงินเฟ้อภาคที่อยู่อาศัย บริการทางการแพทย์ การขนส่ง และร้านอาหารล้วนปรับตัวขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ซึ่งไม่รวมสินค้าหมวดอาหารและเชื้อเพลิง อยู่ที่ 3.9% YoY ในเดือน ม.ค. แรงที่สุดในรอบ 5 ปี ภาษีดันเงินเฟ้อ: แนวโน้มของเงินเฟ้อดังกล่าว เป็นผลมาจากมาตรการปฏิรูปภาษีระลอกแรก (TRAIN) ของรัฐบาล Rodrigo Duterte […]

เศรษฐกิจ Q4/17 อินโดนีเซียโตสูงสุดในรอบ 4ปี

เศรษฐกิจ Q4/17 อินโดนีเซียโตสูงสุดในรอบ 4ปี

เศรษฐกิจอินโดนีเซียไตรมาส 4/2017 เติบโตสูงที่สุดในรอบ 4 ปี ที่ 5.19% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาด ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในไตรมาส 4 มาจากการส่งออกที่ขยายตัว 8.5%YoY การลงทุนภาคเอกชนที่โตถึง 7.3%YoY รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐที่ฟื้นตัวจากขยายตัว 0.3% YoY ในไตรมาส 3 เป็น 3.8% YoY ในไตรมาส 4 ขณะที่ การบริโภคของภาคเอกชนซึ่งคิดเป็น 56% ของ GDP ยังคงขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าที่ 4.97% YoY ขณะที่เศรษฐกิจอินโดนีเซียทั้งปี 2017 เติบโต 5.07% สูงกว่าปี 2016 เล็กน้อย อย่างไรก็ตามปัญหาของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย คือ การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่ฟื้นตัวช้า โดยตัวเลขค้าปลีกในเดือนธ.ค. 2017 เติบโตเพียง 2.6% YoY