Fund Comment มีนาคม 2019 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ในเดือน มี.ค. ปัจจัยต่างประเทศถูกขับเคลื่อนโดยการส่งสัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ จากที่เดิมคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดการเงิน รวมทั้งยังชะลอการปรับลดงบดุลในเดือน พ.ค. จากระดับ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เหลือ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ก่อนจะยุติการปรับลดงบดุลในเดือน ก.ย. ส่งผลให้แนวโน้มการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลกอยู่ในภาวะผ่อนคลายมากขึ้น และมีผลในเชิงบวกต่อตลาดทุนหลายแห่ง ขณะที่ทิศทางราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทยอยปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นที่คลายความกังวลลง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยความกังวลเกี่ยวกับการแยกตัวออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักร (Brexit) ที่มีการขอผ่อนผันเลื่อนระยะเวลาออกไป จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 29 มี.ค. 2019 เป็นวันที่ 12 เม.ย. เพื่อเลี่ยงผลกระทบจากการที่ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ ซึ่งจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจทั้งของสหราชอาณาจักร และ EU ดังนั้นยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด ด้านปัจจัยภายในประเทศ ยังคงถูกกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมือง หลังยังไม่มีความชัดเจนต่อทิศทางการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ว่ากลุ่มการเมืองใดจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งจะส่งผลให้การขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจต่างๆ จากทางภาครัฐชะงักงันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะสั้น แม้แนวโน้มการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการจะลดลงตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า […]
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
การเคลื่อนไหวของตลาดการเงินในช่วงต้นปีนี้ ขับเคลื่อนด้วยปัจจัยหลักๆ ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว อาทิ ความกังวลการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่ส่งสัญญาณ dovish มากขึ้น มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และสถานการณ์ความไม่แน่นอนของ Brexit รวมทั้ง สถานการณ์การปิดหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐฯ ที่ยาวนานถึง 35 วัน ส่งผลให้ในช่วงต้นปี ตลาดการเงินส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk-off) อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตลาดการเงินกลับมีการซื้อขายด้วยแรงหนุนที่ให้ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (risk-on) มากขึ้น เนื่องจากได้คลายความกังวลเกี่ยวกับการตกลงทางการค้าระหว่างทางสหรัฐฯ-จีน ตลาดเริ่มมีความหวังถึงการเจรจาของทั้งสองฝ่ายในแง่บวกมากขึ้น อีกทั้งตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่สหรัฐฯ หลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานรัฐบาล (ชัตดาวน์) รอบสองได้ ขณะที่ ปัจจัยภายในประเทศ มีประเด็นด้านการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และความเสี่ยงทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม โดยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ กนง. มีมติด้วยเสียง 4 ต่อ 2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ซึ่งจากการที่มีกรรมการ 2 เสียง เห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% […]
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ท่าทีที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของตลาด ได้ผลักดันให้สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ปรับตัวฟื้นขึ้นได้จากสิ้นปีอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดยังได้รับความหวังเชิงบวกมากขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ต่อการคงอัตราดอกเบี้ยของ Fed และท่าทีที่อาจจะหยุดการลดสภาพคล่อง (Quantitative Tightening) ลงในปีนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสภาพคล่องโดยรวมของระบบการเงิน ขณะที่เรื่องการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ก็มีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จะเลื่อนการปรับขึ้นอัตราภาษีกับจีนที่จะมีผลในวันที่ 1 มีนาคมออกไป ส่วนในด้านตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่ออกมานั้น ในหลายๆ ภูมิภาค เริ่มแสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ชะลอตัว เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของยูโรโซนและญี่ปุ่นปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และเข้าสู่ภาวะหดตัวครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตามยังถือว่ามีโอกาสไม่สูง เนื่องจากธนาคารกลางหลักๆ ต่างก็พร้อมที่ผ่อนปรนการดำเนินนโยบายทางการเงินมากกว่าเดิม ปัจจัยที่ต้องจับตาต่อในเดือนมีนาคมนี้ อย่างแรกคือ พัฒนาการเพิ่มเติมของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ทั้งนี้เชื่อว่า สถานการณ์ตึงเครียดทางการค้าระหว่างทั้งสองฝ่าย น่าจะผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเรื่องที่สองคือ การประชุม FOMC ในวันที่ 19-20 มีนาคมนี้ ตลาดคาดว่าน่าจะเห็นแผนการหยุดการลดสภาพคล่องในการประชุมครั้งนี้ ส่วนปัจจัยภายในประเทศนั้น ผลประกอบการไตรมาส 4 […]
Fund Comment มุมมองตลาดตราสารหนี้ มกราคม 2019
มุมมองตลาดตราสารหนี้ ตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ม.ค. มีการเคลื่อนไหวอย่างผันผวน โดยราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลงในช่วงแรกของเดือนจากกระแสเงินลงทุนที่ไหลกลับเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างตราสารทุนอีกครั้ง หลังจากผลการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีความคืบหน้าเชิงบวก รวมทั้งนักลงทุนยังตอบรับรายงานการประชุมของ FED ครั้งสุดท้ายของปี 2018 ที่ส่งสัญญาณชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ทรงอยู่ในระดับต่ำและภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งเดือนหลัง ตลาดตราสารหนี้ไทยกลับมามีทิศทางบวกอีกครั้งจากกระแสความต้องการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงต่ำที่เพิ่มขึ้นจากความกังวลของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังการปิดหน่วยงานรัฐบาลมีความยืดเยื้อออกไปจนกินระยะเวลายาวนานเป็นประวัติการณ์ และผลการประชุมของ FED ครั้งแรกของปี 2019 ที่มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% -2.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ พร้อมแถลงการณ์ในเชิง Dovish มากขึ้น ที่ระบุว่า คณะกรรมการฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจนกว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีทิศทางการขยายตัวที่ชัดเจนมากขึ้น และเตรียมทบทวนแผนการปรับลดงบดุลของ FED ที่ดำเนินการมานับตั้งแต่ปี 2017 ด้านปัจจัยภายในประเทศ กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. อยู่ที่ +0.27% ชะลอตัวลงจากระดับ +0.36% ในเดือนก่อนจากผลของราคาสินค้าพลังงานและผักผลไม้ที่ลดลง ขณะที่ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย(กนง.)ครั้งที่ 1/2019 มีมติ 4:2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% […]
Fund Comment มกราคม 2019
ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นไทยในเดือนมกราคมปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1,641 จุด ปรับตัวขึ้นประมาณ 5% นับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดต่างประเทศ หลังจากที่เมื่อปลายปีที่แล้ว ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงแรงทำให้ระดับ Valuation ถูกลงจนมีความน่าสนใจ ประกอบกับข้อมูลที่ออกมาของสหรัฐฯ (ซึ่งเป็นประเทศหลักที่นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ) ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจและผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนของไตรมาส 4/2018 ที่ประกาศมาแล้ว ส่วนใหญ่ค่อนข้างดีกว่าหรือใกล้เคียงกับตลาดคาด ทำให้ตลาดสหรัฐฯ สามารถรีบาวด์กลับขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งแรงกดดันต่อตลาดทุนที่สำคัญนั้นลดลง หลังจากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ส่งสัญญาณนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ด้วยการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยและปรับแผนการลดขนาดงบดุลโดยขึ้นกับความเหมาะสมต่อสภาวะเศรษฐกิจ ส่วนประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน นั้นเชื่อว่า จะยังคงยืดเยื้อต่อไป แต่ทั้งสองประเทศน่าจะสามารถเจรจาประนีประนอมไม่ให้เกิดผลกระทบรุนแรงมากนัก และคาดว่านักลงทุนจะค่อยๆ ลดความกังวลต่อเรื่องนี้ลง แม้อาจจะมีข่าวที่ให้ตลาดเกิดความกังวลบ้าง โดยเฉพาะช่วงใกล้ถึงเส้นตายที่สหรัฐฯจะใช้มาตรการปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนในวันที่ 1 มี.ค. ที่จะถึงนี้ บรรยากาศตลาดหุ้นที่ดีขึ้นโดยภาพรวม ทำให้เม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ ในภูมิภาคนี้เกือบทุกตลาด โดยตลาดหุ้นไทย มีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติสุทธิ 6,580 ล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิเป็นรายเดือนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. ปี 2017 ส่วนปัจจัยในประเทศ ได้รับแรงหนุนจากการเลือกตั้งหลังมีการเผยแพร่ พ.ร.ฎ.เลือกตั้งและกำหนดวันเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว […]
Fund Comment มุมมองตลาดตราสารหนี้ ธันวาคม 2018
Fund Comment ธันวาคม 2018 มุมมองตลาดตราสารหนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2018 ที่ผ่านมาได้มีมติ 5 ต่อ 2 ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.50% เป็น 1.75% เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินสำหรับอนาคต แต่ในขณะเดียวกัน กนง. เองก็ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2018 มาอยู่ที่ 4.2% จากเดิม 4.4% และปี 2019 มาอยู่ที่ 4.0% จากเดิม 4.2% เนื่องมาจากการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับตัวลดลงตามความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ เป็นผลจากที่แม้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 2.25-2.50% โดยระบุถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน และเงินเฟ้อรายปียังคงอยู่ใกล้ระดับ 2% ตามเป้าหมายของคณะกรรมการ FOMC แต่เฟดเองก็ได้มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปีนี้และปีหน้าลงเช่นกัน ทำให้ตลาดปรับลดจำนวนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2019 เหลือเพียง […]
Fund Comment ภาพรวมตลาดหุ้น ธันวาคม 2018
Fund Comment ธันวาคม 2561 ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นไทยในเดือนสุดท้ายของปียังคงเผชิญกับแรงกดดันเช่นเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดย SET Index ปรับตัวลดลงประมาณ 5% ในช่วงเดือนธันวาคม ด้วยแรงกดดันจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ด้านปัจจัยภายนอก ประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ได้แก่ การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนในการประชุมนอกรอบ G20 แม้ว่าทั้งสองประเทศจะตกลงเลื่อนการขึ้นภาษีนำเข้าเพิ่มเติมระหว่างกันออกไปจากกำหนดเดิมอีกเป็นระยะเวลา 90 วัน แต่นั่นยังไม่เพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน เพราะยังมีความไม่แน่นอนว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่สามารถหาข้อตกลงการค้าร่วมกันภายในเวลาดังกล่าวได้ ปัจจัยลบอีกประการที่มีเข้ามาในตลาดมากขึ้น ก็คือ ความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2019-2020 หลังจากเศรษฐกิจของหลายประเทศขนาดใหญ่ส่งสัญญาณชะลอตัวลง โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่สะท้อนความกังวลผ่าน ความชันของ Yield Curve ที่ลดลงต่อเนื่องและมีโอกาสเข้าใกล้ภาวะ Inverted ซึ่งมักจะเป็นตัวชี้ถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในอนาคต และทำให้ตลาดมีการปรับลดประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งลง เป็นปัจจัยกดดันให้บรรยากาศของตลาดทุนอยู่ในช่วง ‘เลี่ยงความเสี่ยง (Risk off)’ ซึ่งนอกจากผลที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นแล้ว สินค้าโภคภัณฑ์อย่างราคาน้ำมันก็ได้รับผลกระทบไปด้วย แม้ในช่วงปลายเดือน Fed ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็น 2.25-2.50% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด […]
Fund Comment: ภาพรวมตลาดหุ้น พฤศจิกายน 2561
ตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤศจิกายนมีความผันผวนค่อนข้างสูง เคลื่อนไหวในกรอบ 1,688.90 – 1598.97 จุด โดยปิดตลาดสิ้นเดือนปรับตัวลดลง 1.60% สวนทางกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค ความผันผวนที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศที่มีทั้งบวกลบสลับกัน ได้แก่ ความกังวลต่อการเลื่อนเลือกตั้งหลังกลุ่มพรรคการเมืองรวมตัวกันยื่นขอให้ กกต.เลื่อนการเลือกตั้งออกไป ตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาสที่ 3 ที่ออกมาต่ำกว่าตลาดคาด ความกังวลเกี่ยวกับพรบ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาโดยสนช. และราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงแรงหลังจากรัสเซียและ OPEC เพิ่มกำลังการผลิต อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปัจจัยข่าวลบมากกว่าข่าวบวกในช่วงสามสัปดาห์แรกของเดือน แต่ในช่วงสัปดาห์สุดท้าย เราเห็นแรงซื้อกลับเข้ามา นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ในขณะที่กระแสเงินลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยยังคงเป็นแรงขาย และเป็นตลาดเดียวในภูมิภาคที่นักลงทุนต่างชาติยังคงขายอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดเดือนพฤศจิกายนมีแรงขายทั้งสิ้นประมาณ 13,000 ล้านบาท สอดคล้องกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าน้อยกว่าค่าเงินอื่นๆในภูมิภาค สะท้อนให้เห็นว่า ดัชนี ณ ระดับนี้ยังไม่เป็นที่สนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากยังการขาดปัจจัยบวกใหม่ๆ ทั้งผลประกอบการไตรมาส 3 ที่ออกมาไม่ได้โดดเด่น รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากตัวเลขการส่งออกและตัวเลขด้านการท่องเที่ยว แม้จะมีข่าวดีในต้นเดือนธันวาคมคือ ผลการประชุม G20 โดยสหรัฐฯและจีนประกาศเจรจาสงบศึกทางการค้า 90 วัน และจะยังไม่มีการเก็บภาษีเพิ่มเติมจากปัจจุบันหลังจากวันที่ […]
Fund Comment: มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนพฤศจิกายน 2561
ในเดือนพฤศจิกายน ตลาดตราสารหนี้ทั้งไทยและสหรัฐฯ ต่างมีความผันผวนค่อนข้างสูง อัตราผลตอบแทนการลงทุน (Yield) ของทั้งสองตลาดปรับตัวขึ้นลงตามปัจจัยที่เข้ามากระทบและมีทิศทางเคลื่อนไหวเป็นของตัวเอง อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนปรับตัวสูงขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก ตัวเลขการจ้างของภาคเอกชนในเดือน ต.ค. ที่เพิ่มขึ้นดีเกินคาด ปริมาณพันธบัตรรัฐบาลเสนอขายสำหรับวัตถุประสงค์ Quarterly refunding ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และ ผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ที่มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 2.00-2.25% พร้อมส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค. 61 ซึ่งจะส่งผลให้ปีนี้ทั้งปี ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 4 ครั้ง ส่วนปีหน้า ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งและอีก 1 ครั้งในปี 2563 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางเดือน แรงกดดันจากเงินเฟ้อลดน้อยลง ราคาน้ำมันโลกลดลงต่อเนื่องกว่า 20% นับจากเดือนตุลาคม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนตุลาคมต่ำกว่าคาด ประกอบกับคำกล่าวของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) นาย […]
Fund Comment Uncategorized
Fund Comment เมษายน 2019 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลกในเดือน เม.ย. เคลื่อนไหวในทิศทางเชิงบวก ขับเคลื่อนโดยตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณฟื้นตัว ทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น จีน และประเทศในกลุ่มเกิดใหม่ กอปรกับความคืบหน้าที่ดีขึ้นของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้มากขึ้น สะท้อนผ่านส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปีกับ 3 เดือน ที่พ้นจากภาวะ “Inverted” หนุนให้กระแสเงินลงทุนไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ก็ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแผนการยืดระยะเวลาการลดกำลังการผลิตของ OPEC และรัสเซีย และการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซูเอลาของสหรัฐ ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่ในเชิงบวก ด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายแห่งยังคงเป็นแบบผ่อนคลาย (Dovish) โดยธนาคารกลางสหรัฐ (FED) นั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ และจะยุติแผนการลดงบดุลตั้งแต่เดือน ก.ย. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน และเตรียมเปิดเผยรายละเอียดโครงการวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกับธนาคารพาณิชย์ (LTRO3) ในการประชุมเดือน มิ.ย. นี้ ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็คงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายไปถึงอย่างน้อยเดือนมี.ค. ปีหน้า ทำให้ความกังวลเรื่องสภาพคล่องตึงตัวนั้นลดลง ด้านตลาดหุ้นไทย มีการปรับตัวเชิงบวกเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยได้แรงหนุนจากกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันโลก และการเก็งกำไรในหุ้นรายตัว ซึ่งอยู่ในช่วงเทศกาลการจ่ายเงินปันผลและการประกาศผลประกอบการ […]