ประเทศไหนจะเป็นจ้าวตลาด e-commerce ในอาเซียน
หลายสำนักชี้ว่า e-commerce ในอาเซียนมีการเติบโตสูง และเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ทั้งนี้ประเทศ ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ต่างบูมธุรกิจด้านนี้อย่างมาก Google เปิดเผยว่า ไตรมาส 1/2017 ยอดขายของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเอเชีย-แปซิฟิก มีสัดส่วนอยู่ถึง 40% ของยอดขายอีคอมเมิร์ซทั่วโลก ขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยอดขายอยู่ที่ 10,000 ล้านดอลลาร์ ตลาด e-commerce ใหญ่ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย ทั้งนี้ Google ยังคาดการณ์ว่า ปี 2018 ตลาด e-commerce ในภูมิภาคนี้รวมกันจะอยู่ที่ 13,000 ล้านดอลลาร์ และเพิ่มเป็น 88,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2025 บริษัท iPrice เปิดเผยผลวิจัยใน 7 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่า 3 ชาติที่มีการแข่งขันในธุรกิจ […]
หุ่นยนต์ที่ปรึกษาการเงิน (Robo-Advisor) ยังไงก็สู้คนไม่ได้
นักบริหารเงิน หรือผู้จัดการกองทุนเริ่มมีความกังวลใจกันมากขึ้นว่า งานที่ตัวเองทำจะถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์ (Robo-Advisor) แต่ Robert Merton ศาสดาจารย์ทางด้านไฟแนนซ์จากมหาวิทยาลัย MIT และเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ออกมาบอกว่า เรื่องนี้ไม่น่ากังวลใจ เพราะว่าโปรแกรมที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อที่จะช่วยให้คำแนะนำการบริหารเงินแก่นักลงทุนไม่มีความสามารถพื้นฐานที่คนมี “สิ่งที่เราต้องทำให้เทคโนโลยีทำงานให้ได้คือสร้างความน่าเชื่อถือ แต่เทคโนโลยีสร้างความน่าเชื่อถือด้วยตัวเองไม่ได้” Merton กล่าว Merton บอกต่อไปว่า เนื่องจากเทคโนโลยีไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ จะทำให้เกิดปัญหาหรือความปั่นป่วนในการบริหารความมั่งคั่ง เพราะว่านักลงทุน หรือลูกค้าไม่ทราบได้ว่าหุ่นยนต์ที่ให้คำปรึกษามีวาระแอบแฝงอะไร เราไม่รู้ว่าหุ่นยนต์ใช้ข้อมูลอะไรในการให้คำแนะนำ Merton บอกว่า นอกจากนี้ นักลงทุนอาจจะมีปัญหาในการเลือก Robo-Advisor ที่ถูกใจจากโมเดลของปัญญาประดิษฐ์ที่มีอยู่มากมาย เราจะรู้โมเดลที่ใช้ไม่ได้ในไฟแนนซ์ก็ต่อเมื่อมันสายเกินไปเสียแล้ว Merton บอกว่า สถานการณ์เช่นนี้สร้างโอกาสให้กับที่ปรึกษาการเงินที่เป็นคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เล่นกับความน่าเชื่อถือจะไปได้ดี แม้ว่าอุตสาหกรรมทางการเงินจะพัฒนาเข้าสู่ระบบอัตโนมัติ (automation) มากยิ่งขึ้น “ถ้าหากว่าผมให้การรับรองเทคโนโลยี หรือหุ่นยนต์ว่าเหมาะที่จะให้คำแนะนำทางการเงินกับคุณ คุณเชื่อใจผม แต่ไม่ได้เชื่อหุ่นยนต์” Merton กล่าว
Digital Economy Innovation Thailand
Innovating Thailand “Speed up…Speed up และ Speed up”
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดมุมมองไว้ในงาน “เศรษฐกิจคิดใหม่” BOT Symposium 2017 : Innovating Thailand ไว้ว่า “พลังของเทคโนโลยีทุกวันนี้รุนแรงมาก” เป็นได้ทั้งความเสี่ยงและโอกาสในเวลาเดียวกัน เทคโนโลยีกำลังทำให้สิ่งที่เราเคยได้รายได้บางอย่างหายไป แต่ก็กำลังสร้างโอกาสในอีกด้านที่สำคัญเป็นแบบก้าวกระโดด เป้าหมายใหม่ต้องอยู่ภายใต้สมมุติฐานว่าจะไม่มีการขาดแคลนสินค้าต่างๆ อีกต่อไป เพราะการผลิตใช้ระบบอัตโนมัติ ทำให้ต้นทุนถูกลง ทำให้ประเทศไทยจึงต้องปรับตัวจากอุตสาหกรรมการผลิตแบบเดิมไปสู่แบบใหม่ ที่เครื่องจักรทดแทนไม่ได้ คือเป็นการผลิตงานฝีมือ เป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะส่วนบุคคลมากขึ้น ทำในสิ่งที่คอมพิวเตอร์จะมาทดแทนไม่ได้ และยังมีโอกาสตามมาในด้านการท่องเที่ยว เพราะเมื่อเทคโนโลยีมาทำแทนคนในหลายด้าน คนมีเวลาและมีเงินมากขึ้น คนก็อยากไปเที่ยว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะเป็นอนาคตของประเทศไทยได้ “เมื่อวัตถุเป็นของที่หาง่าย คุณค่าทางจิตใจจะเป็นของที่สำคัญมากขึ้น การบริการเฉพาะบุคคลที่ผนวกกับบริการประเภทนี้จะเป็นทางออกของประเทศไทย แต่ต้องวางตำแหน่งทางธุรกิจและพัฒนาโมเดลธุรกิจของประเทศให้ชัดเจน” ขณะที่จุดอ่อนของอีโคซิสเต็มในไทยที่สำคัญคือ มหาวิทยาลัยและระบบการศึกษาที่ไม่เชื่อมต่อกับภาคอุตสาหกรรม “มหาวิทยาลัยในไทยมีปัญหาที่สปีดช้ามากและไร้จุดหมายว่าจะเอางานวิจัยไปทำอะไร ขณะที่ในยุคที่เทคโนโลยี สปีดเป็นเรื่องสำคัญมาก ฉะนั้นมหาวิทยาลัยต้องเกาะไปกับคนที่เร็วกว่าและคนที่รู้ทิศทาง คือภาคเอกชนในประเทศที่รู้ว่าจะเอานวัตกรรมไปผลิตสินค้าและบริการอะไร และองค์กรหรือมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่พัฒนาระบบนวัตกรรมมีความชัดเจน ระบบลงตัวและรู้ทิศทางของตนเอง” ตัวอย่างบริษัทโลกที่ลงทุนในไทยอยู่แล้ว อย่างฮาร์ดดิสก์หรือรถยนต์ แต่มีความเชื่อมโยงกับระบบนวัตกรรมในไทยน้อยมาก ทั้งที่มีงบฯ ทำวิจัยสูง […]
“บิ๊กตู่” แจงโรดแมป คาด พ.ย. ปีหน้าได้เลือกตั้ง-มิ.ย.61 จะประกาศวันเลือกตั้ง
เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2560 เวลา 13.40 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นประธานในการประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความชัดเจนไทม์ไลน์ของวันเลือกตั้งว่า เดือน มิ.ย.61 จะประกาศวันเลือกตั้ง และคาดเดือน พ.ย.61 จะสามารถจัดเลือกตั้งได้
Digital Economy Global Innovation
“ควอนตัมคอมพิวเตอร์” กำลังจะมา
ไอบีเอ็มเร่งพัฒนาและผลิตควอนตัมคอมพิวเตอร์ เพื่อออกขายภายใน 1 ปีนี้ บริษัทไอบีเอ็มประกาศว่าจะเร่งพัฒนา “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” เพื่อผลิตและนำออกจำหน่วยในท้องตลาด ในชื่อว่า IBM Q ในอีก 1 ปีข้างหน้า IBM Q จะทำงานคิดคำนวณด้วยพลังแบบควอนตัม ผ่านแพลตฟอร์มคลาวด์ของไอบีเอ็ม ซึ่งจะเป็นบริษัทแรกในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่จะเปิดให้บริการนี้ และถือเป็นก้าวย่างสำคัญของเทคโนโลยีสาขานี้อีกด้วย ควอนตัมคอมพิวเตอร์คือ คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลด้วยหลักการทางควอนตัมฟิสิกส์ ทฤษฎี Quantum Computing นั้นบอกว่า หากหน่วยเล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์พื้นฐานคือ บิท (bit) หน่วยเล็กที่สุดของ Quantum Computing ใช้ชื่อว่า คิวบิท (Qubit) สถานะของบิทนั้นอาจเป็นได้ไม่ 1 ก็ 0 เท่านั้น แต่สำหรับคิวบิทจะมีมิติที่เหนือกว่าบิท คือสามารถแสดงสถานะเป็น 1 หรือ 0 ได้ หรืออยู่ระหว่าง 1 กับ 0 ได้ทุกๆ […]
Chinese Unicorns “แรง” ใกล้ไล่ทันสหรัฐฯ
สตาร์ตอัพที่จัดเป็น Unicorns (ยูนิคอร์น) คือ สตาร์ตอัพที่มีมูลค่าบริษัทเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ เกิดขึ้นในสหรัฐและยุโรปเป็นจำนวนมาก แต่ในปี 2015 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะมีกระแสธุรกิจสตาร์ตอัพกระจายไปทั่วโลก CB Insights ระบุว่า ในปี 2015 ยูนิคอร์นที่เกิดขึ้นในประเทศจีนมีจำนวนมากกว่ายุโรปและกำลังไล่ตามสหรัฐมาอย่างกระชั้นชิด เว็บไซต์ wired.co.uk รายงานว่า ในปี 2017 ธุรกิจสตาร์ตอัพที่ขึ้นมาเป็นยูนิคอร์นส่วนมากมาจากธุรกิจด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้ในปีนี้มี 41 บริษัทที่ทำธุรกิจด้านเทคโนโลยีจากทั่วโลก โดยเป็นบริษัทจากจีน 15 บริษัท ซึ่งมีเพียง 5 บริษัทในทวีปยุโรป และอเมริกายังครองแชมป์ประเทศที่มียูนิคอร์นมากที่สุด โดยมีจำนวน 17 บริษัท ย้อนหลังไปเมื่อปี 2009 สหรัฐฯ เป็นประเทศแรกที่มียูนิคอร์น จนมาถึงปัจจุบันทั่วโลกมียูนิคอร์น 215 บริษัท โดยเป็นของสหรัฐฯ 107 บริษัท ที่น่าสนใจส่วนใหญ่เป็นสตาร์ตอัพที่อยู่ในแคริฟอร์เนีย แต่ถ้ามาดูอัตราเร่งของการเพิ่มขึ้นของยูนิคอร์นแล้ว จีนมา […]