ญี่ปุ่นได้นายกฯ คนใหม่
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชิเกรุ อิชิบะ จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของญี่ปุ่น หลังจากชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ 27 ก.ย. ตามผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการ อิชิบะ วัย 67 ปี เอาชนะ ซานาเอะ ทาคาอิจิ (ซึ่งหากได้รับชัยชนะจะกลายเป็นผู้นำหญิงคนแรกของประเทศ) ในการเลือกตั้งรอบสุดท้าย ด้านความเห็นเชิงนโยบาย อิชิบะเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ประเทศต้องออกจากภาวะเงินฝืดอย่างเต็มที่ โดยมุ่งมั่นที่จะเพิ่มค่าจ้าง เพื่อรักษาเศรษฐกิจให้อยู่บนเส้นทางการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน เขากล่าวว่า การกระตุ้นการบริโภคเป็นกุญแจสำคัญในการเอาชนะภาวะเศรษฐกิจซบเซา และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการช่วยเหลือครัวเรือนจากผลกระทบของเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น คำพูดของอิชิบะ บ่งชี้ว่า เขาจะสานต่อหลายๆ นโยบายของนายกรัฐมนตรี ฟุมิโอะ คิชิดะที่กำลังจะพ้นตำแหน่ง โดยเฉพาะนโยบายที่มุ่งเน้นการเพิ่มค่าจ้าง อิชิบะ ระบุว่า GDP ของญี่ปุ่นซบเซามานานสองทศวรรษ โดยการเติบโตของค่าจ้างยังไม่สามารถแซงหน้าอัตราเงินเฟ้อได้ เขาคาดว่าจะได้รับเลือกอย่างเป็นทางการให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 1 ต.ค. หลังจากนั้น เขาจะจัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ สำหรับมุมมองที่มีต่อนโยบายการเงิน อิชิบะให้มุมมองที่มีต่อนโยบายการเงินแตกต่างกัน หลังจากชนะการเลือกตั้ง […]
‘อิชิบะ’ ฟันธงไม่ขึ้นดอกเบี้ย ทำเยนร่วง 3% ตลาดการเงินป่วน หวั่นเศรษฐกิจญี่ปุ่นสะดุด
‘เงินเยน’ อ่อนค่าลงต่อเนื่องในวันนี้ หลัง “ชิเงรุ อิชิบะ” สร้างความตกใจให้กับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเมื่อวานนี้ โดยกล่าวว่า ญี่ปุ่นยังไม่พร้อมสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (3 ต.ค.67) ว่า “เงินเยน” อ่อนค่าลงต่อเนื่องในวันนี้ หลังจากที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ชิเงรุ อิชิบะ สร้างความตกใจให้กับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เมื่อวานนี้ โดยกล่าวว่า ญี่ปุ่นยังไม่พร้อมสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบกว่า 2 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเยนวันนี้ (3 ต.ค.67) อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เงินเยนลดลงมากกว่า 2.9% ในช่วงกลางคืน หลังจากอิชิบะแสดงความคิดเห็นดังกล่าว ซึ่งตามมาด้วยคำกล่าวในทำนองเดียวกันจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) คาซูโอะ อุเอดะ โดยการปรับตัวลดลงของเงินเยนในครั้งนี้ถือเป็นการร่วงลงรายวันที่รุนแรงที่สุดของเงินเยนนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2565 ซึ่งมากกว่าความผันผวนที่เห็นในช่วงต้นเดือนส.ค. ค่าเงินลดลงต่ำกว่าระดับ 147 เยนต่อดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย.67 ในช่วงการซื้อขายช่วงเช้าที่โตเกียว มาริ อิวาชิตะ นักเศรษฐศาสตร์จากไดวา ซีเคียวริตี้ส์ กล่าวว่า คำแถลงของอิชิบะที่ปฏิเสธการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมนั้นตรงเกินไป […]
เงินเยนแข็งค่า หลังประธาน BOJ ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเพิ่ม แม้ตลาดผันผวน
เงินเยนแข็งค่าขึ้น หลังประธานธนาคารกลางญี่ปุ่น ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติม แม้ตลาดผันผวนก็ตาม ด้านนักลงทุนยังจับตาถ้อยแถลง ประธานเฟด วันที่ 23 สิงหาคม 2567 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เงินเยน แข็งค่าขึ้นในการซื้อขายวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนขานรับความเคลื่อนไหวของนายคาซูโอะ อุเอดะ ประธานธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งแถลงต่อรัฐสภาเพื่อชี้แจงถึงประเด็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างคาดไม่ถึงเมื่อเดือนที่แล้ว และนักลงทุนยังจับตารอถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ > เงินเยนแข็งค่าขึ้น 0.5% แตะที่ระดับ 145.58 เยน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่วนดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในตะกร้าเงิน ลดลง 0.11% สู่ระดับ 101.35 จุด หลังจากเพิ่มขึ้น 0.34% ในการซื้อขายก่อนหน้า ซึ่งใกล้ระดับต่ำสุดของปี 2567 ที่ระดับ 100.92 จุด เมื่อวันพุธ (21 ส.ค.) และยังคงอยู่ในทิศทางขาลงเป็นสัปดาห์ที่ […]
นายกฯ ญี่ปุ่นประกาศ ‘ลาออก’ เดือน ก.ย. เซ่นพิษมรสุมอื้อฉาวทางการเมือง
นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ แห่งญี่ปุ่นประกาศจะลาออกจากตำแหน่งในเดือน ก.ย.นี้ ยุติการทำหน้าที่ผู้นำประเทศในเวลาเพียง 3 ปีหลังรัฐบาลเผชิญมรสุมข่าวอื้อฉาวทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นการเปิดทางให้ผู้นำคนใหม่เข้ามาแก้ไขปัญหาค่าครองชีพที่พุ่งสูง คิชิดะ ตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งซ้ำในฐานะหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) โดยระบุในการแถลงข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์วันนี้ (14 ส.ค.) ว่า “ผมจะยังคงทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ในฐานะนายกรัฐมนตรี จนกว่าจะสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งในเดือน ก.ย.” “การเมืองไม่สามารถดำเนินต่อไปได้โดยปราศจากความไว้วางใจของประชาชน” เขากล่าว “หลังจากนี้ผมจะมุ่งเน้นสนับสนุนผู้นำพรรค LDP คนใหม่ที่ได้รับเลือกขึ้นมา ในฐานะที่เป็นสมาชิกพรรคธรรมดาๆ คนหนึ่ง” การถอนตัวของ คิชิดะ จะนำไปสู่การเฟ้นหาบุคคลขึ้นมาเป็นผู้นำพรรค LDP คนใหม่ ซึ่งก็หมายถึงนายกรัฐมนตรีที่จะเข้ามากุมบังเหียนเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกด้วย คะแนนนิยมในตัว คิชิดะ ลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีการเปิดโปงเรื่องสายสัมพันธ์ระหว่างพรรค LDP กับโบสถ์แห่งความสามัคคี (Unification Church) ซึ่งเกี่ยวโยงกับเหตุลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ และเมื่อไม่นานนี้ก็ยังถูกแฉเรื่องที่พรรคระดมเงินบริจาคโดยไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานอย่างถูกต้อง “เขามีสภาพไม่ต่างจากศพเดินได้มาพักหนึ่งแล้ว” ไมเคิล คูเช็ก (Michael […]
ผู้ว่า BOJ ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก หากเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อเติบโตตามเป้า
นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังจากที่ประชุม BOJ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0.25% จากระดับ 0%-0.1% และปรับลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นรายเดือนลงสู่ระดับ 3 ล้านล้านเยน (2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในสิ้นปี 2569 จากระดับ 6 ล้านล้านเยน โดยการตัดสินใจดังกล่าวถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินขนานใหญ่ที่ BOJ ดำเนินการมาเป็น 10 ปี สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายอุเอดะกล่าวกับผู้สื่อข่าวในเรื่องการอุปโภคบริโภคว่า “แม้การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้ออาจจะส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภค แต่ว่าการอุปโภคบริโภคก็ยังคงอยู่ในทิศทางที่แข็งแกร่ง ส่วนข้อมูลด้านค่าจ้างแสดงให้เห็นว่าการจ่ายค่าจ้างปรับตัวสูงขึ้น โดยผลการสำรวจของเราบ่งชี้ว่าค่าจ้างปรับตัวขึ้นเป็นวงกว้างในหมู่บริษัทขนาดเล็ก และเราคาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างจะกระจายตัวเป็นวงกว้างขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการอุปโภคบริโภคและเงินเฟ้อ” ส่วนในเรื่องเงินเฟ้อ นายอุเอดะ กล่าวว่า “เรายืนยันว่า เงินเฟ้อด้านการบริการปรับตัวสูงขึ้นด้วย และเราคาดว่าวงจรของค่าจ้างและเงินเฟ้อที่สูงขึ้นปานกลางเช่นนี้จะดำเนินต่อไป นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินเยนยังส่งผลให้ราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องระมัดระวังความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงเกินเป้าหมาย” “แม้เราได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และการดำเนินการของเราจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก” นายอุเอดะ กล่าว ผู้ว่าการ […]
เศรษฐกิจแย่กว่าที่คาด ‘ญี่ปุ่น’ ปรับลด GDP ไตรมาสแรก ‘หดตัว 2.9%’
เศรษฐกิจญี่ปุ่นแย่กว่าที่คาด รัฐบาลปรับลด GDP ไตรมาสแรก เป็นหดตัว 2.9% จากเดิมแค่ลบ 1.8% กดดันธนาคารกลางเรื่องทบทวนนโยบายขึ้นดอกเบี้ย สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ปรับลดตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาสแรกใหม่ โดยระบุว่า ตัวเลข GDP ญี่ปุ่นที่แท้จริง (ไม่รวมผลการเปลี่ยนแปลงของราคาเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเข้ามา) หดตัวลง 2.9% ต่อปีในช่วงไตรมาส 1 ซึ่งรุนแรงกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ที่ 1.8% จนทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เปราะบางนี้เลือนรางลง นักวิเคราะห์มองว่า การปรับลดตัวเลข GDP ลงนี้ มีแนวโน้มส่งผลต่อการปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในรายงานประจำไตรมาสที่จะออกปลายเดือนนี้ และอาจส่งผลต่อกำหนดเวลาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของธนาคารกลางอีกด้วย นอกจากนี้ ข้อมูล GDP ที่แท้จริงสำหรับช่วงไตรมาส 4 ปี 2566 ยังได้รับการปรับลดลงเหลือการเติบโตแบบรายปี 0.1% เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้น 0.4% ที่รายงานก่อนหน้านี้ ขณะที่ ข้อมูลสำหรับช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ได้รับการปรับลดลงเหลือการหดตัวแบบรายปี 4.0% จากการลดลง 3.7% […]
เยนอ่อนค่าหนักสุดในรอบ 38 ปีที่ 1 ดอลล์ต่อ 160 เยน คาด BOJ เข้าแทรกแซงเร็วๆ นี้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนเคลื่อนไหวในตลาดเอเชียที่ 160.45 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ช่วงเช้าวันนี้ (27 มิ.ย.) เป็นการแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจาก 160.88 เยนต่อดอลลาร์ เมื่อคืนวันพุธ (26 มิ.ย.) ซึ่งถือเป็นระดับที่เงินเยนอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 38 ปี รายงานข่าว ระบุว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2567 มานี้ เงินเยนอ่อนค่า ลงมาแล้วถึง 12% เมื่อเทียบกับ เงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการที่เยนหลุดแนวรับที่ 160 เยนต่อดอลลาร์ ทำให้ตลาดคาดว่า รัฐบาลญี่ปุ่น จะแทรกแซงด้วยการเข้าซื้อเยน หลังจากที่เคยใช้เงิน 9.8 ล้านล้านเยน หรือราว 2.26 ล้านล้านบาท แทรกแซงเมื่อปลายเดือนเมษายนและต้นเดือนพฤษภาคมปีนี้ ในช่วงที่เงินเยนออนค่าที่สุดในรอบ 34 ปีที่ 160.245 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ครั้งนั้นถือเป็นการแทรกแซงตลาดครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2565 นายโยชิมาสะ ฮายาชิ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น แถลงในวันนี้ว่า รัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมกับความเคลื่อนไหวด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่มากเกินไป แต่ยังสามารถระบุชัดว่า รัฐบาลจะเข้าแทรกแชงตลาดหรือไม่ ขณะที่ นายชุนอิจิ ซูซูกิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นแสดงความกังวลต่อเรื่องนี้โดยระบุว่า […]
ผลสำรวจชี้บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องขึ้นกำแพงภาษีสินค้าจีนตามสหรัฐฯ
ผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่เผยแพร่ในวันนี้ (20 มิ.ย.) พบว่า บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลไม่จำเป็นต้องขึ้นกำแพงภาษีสินค้านำเข้าจากจีนตามสหรัฐฯ โดยระบุว่ากำลังการผลิตที่มากเกินไปในภาคอุตสาหกรรมของจีนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพวกเขา เมื่อเดือนที่แล้ว ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนหลายรายการ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และเซมิคอนดักเตอร์ โดยวิจารณ์รัฐบาลจีนว่า ให้เงินอุดหนุนมากเกินไป และมีนโยบายที่ทำให้สินค้าราคาถูกทะลักเข้าสู่ตลาดโลก ในทำนองเดียวกัน สหภาพยุโรป (EU) ก็ยังได้เรียกเก็บภาษีนำเข้ารถ EV จีนเป็นจำนวนมาก และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก G7 ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น ได้สะท้อนความกังวลเกี่ยวกับการที่จีนใช้ “แนวทางการปฏิบัติอย่างไม่สอดคล้องกับระบบตลาด” (non-market practices) แต่ 61% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 5-14 มิ.ย. กล่าวว่า ญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องดำเนินมาตรการแบบเดียวกันนี้ และประมาณ 53% กล่าวว่า กำลังการผลิตที่มากเกินไปของจีนมีผลกระทบต่อธุรกิจของพวกเขาเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย “มันอาจนำไปสู่การยกระดับมาตรการและการตอบโต้กันไปมา และสภาพเศรษฐกิจจะแย่ลง” ผู้จัดการบริษัทเคมีรายหนึ่งเขียนไว้ในส่วนความคิดเห็นของแบบสำรวจ อนึ่ง แบบสำรวจบริษัท 492 แห่งนี้ จัดทำโดยนิกเกอิ […]
ผลสำรวจชี้ผู้ผลิตในญี่ปุ่นต้องการให้ BOJ รักษาค่าเงินเยนให้มีเสถียรภาพ
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยผลการสำรวจในวันนี้ (20 พ.ค.) ว่า กลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่นมองว่า เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่พวกเขาต้องการจากนโยบายการเงินของ BOJ รายงาน ระบุว่า บริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจประมาณ 70% ระบุว่า พวกเขาเผชิญปัญหาจากการผ่อนคลายทางการเงินที่ยาวนาน 25 ปีของ BOJ ซึ่งรวมถึงเงินเยนที่อ่อนค่าลง อันส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี บริษัทประมาณ 90% ของบริษัททั้งหมดในแบบสำรวจฉบับดังกล่าวเล็งเห็นผลประโยชน์จากการใช้นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายของ BOJ ซึ่งรวมถึงต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำ บริษัทในผลสำรวจหลายแห่ง ระบุว่า พวกเขาไม่สามารถจ้างพนักงานได้เพียงพอกับความต้องการ หากปรับขึ้นค่าจ้างน้อย และมองว่าเศรษฐกิจที่ค่าจ้างและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นควบคู่กัน ดีกว่าเศรษฐกิจที่ค่าจ้างและเงินเฟ้อแทบไม่ขยับเลย ทั้งนี้ บริษัทประมาณ 90% แสดงความเต็มใจที่จะขึ้นค่าจ้าง โดยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และกว่า 80% พบว่า การขึ้นค่าราคาทำได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน ซึ่งบ่งชี้ถึงสภาพแวดล้อมการกำหนดราคาที่ยืดหยุ่นมากขึ้น สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การสำรวจดังกล่าว ซึ่งสอบถามบริษัทประมาณ 2,500 แห่งทั่วญี่ปุ่น ได้ตอกย้ำถึงความสำคัญที่การเคลื่อนไหวของเงินเยนมีต่อการประเมินผลกระทบของนโยบายการเงินในกลุ่มบริษัทญี่ปุ่น ที่มา: […]
คาดญี่ปุ่นแทรกแซง ‘ค่าเงินเยน’ ครั้งที่ 2 หลังค่าเงินพุ่งแรง 3% ไปแตะ 153 เยน
ตลาดคาดญี่ปุ่นเข้าแทรกแซง ‘ค่าเงินเยน’ รอบใหม่ หลังเงินเยนแข็งค่าขึ้นแรงกว่า 3% และอาจเป็นการแทรกแซงค่าเงินเป็นครั้งที่ 2 ในรอบสัปดาห์นี้ คาดพยุงค่าเงินอีกยาว ขณะที่ สื่อประเมิน BOJ ใช้เงินมากถึง 1.2 ล้านล้านบาทในการพยุงค่าเงินรอบแรก สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ค่าเงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นอย่างร้อนแรงมากกว่า 3% ในช่วงท้ายของการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 พ.ค. ขึ้นไปแตะระดับ 153.04 เยนต่อดอลลาร์ ท่ามกลางสัญญาฟิวเจอร์สค่าเงินเยนมากถึงกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.47 แสนล้านบาท) ในช่วงท้ายของการซื้อขาย ซึ่งเป็นปริมาณสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 2567 จากข้อมูลของ CME การเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ตลาดการณ์คาดการณ์ว่า อาจเป็นการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนรอบใหม่จากทางการญี่ปุ่น และอาจเป็นการแทรกแซงค่าเงินครั้งที่ 2 แล้วในรอบสัปดาห์นี้ หลังจากที่มีความเคลื่อนไหวคล้ายกันเมื่อวันจันทร์ที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ค่าเงินเยนกลับมาอ่อนค่าลงกว่า 1% ในการซื้อขายในตลาดโตเกียวเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (2 พ.ค.) โดยเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 156.10 […]