อินเดียอาจใช้เวลานานขึ้น 3 ปี เพื่อจะขึ้นแท่นเศรษฐกิจที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก

อินเดียอาจใช้เวลานานขึ้น 3 ปี เพื่อจะขึ้นแท่นเศรษฐกิจที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า อินเดียจะแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นแท่นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐฯ และจีนภายในปี 2031 รายงานล่าสุดจากแผนกวาณิชธนกิจของแบงก์ ออฟ อเมริกา (BofA) ระบุว่า ภาวะโควิด-19 ส่งผลที่หนักต่อเศรษฐกิจซึ่งทำให้โอกาสที่อินเดียจะแซงขึ้นมาอยู่อันดับ 3 ของโลกได้นั้น ดูไกลออกไปจากเป้าหมายเดิมที่คาดไว้ประมาณ 3 ปี Indranil Sen Gupta และ Aastha Gudwani นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทหลักทรัพย์ BofA เขียนไว้ในรายงานว่า ตอนนี้เราคาดว่าอินเดียจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกภายในปี 2031 หรือปีงบประมาณ 2032 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าเกิดโควิด-19 ภายในปี 2028 อินเดียประสบวิกฤติเศรษฐกิจ เนื่องจากปีที่ผ่านมาประเทศต้องล็อคดาวน์เป็นเวลานานเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ส่งผลให้การจ้างงานหลายล้านคนหายไป และหลายตำแหน่งงานที่หายไปอย่างถาวร ในขณะที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงได้รับการปรับเปลี่ยน หน่วยงานจัดอันดับเอสแอนด์พี กล่าวว่า อินเดียต้องเผชิญกับการสูญเสียที่ถาวรของผลผลิตทางเศรษฐกิจประมาณ 10% เมื่อเทียบกับก่อนเกิดการระบาด

มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย สูญเสียเงิน 3 ใน 4 ของมูลค่าพลาสติกเพราะใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย สูญเสียเงิน 3 ใน 4 ของมูลค่าพลาสติกเพราะใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

นิวสเตรทไทม์ส รายงานว่า ธนาคารโลก เปิดเผยข้อมูลล่าสุดว่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย มีการสูญเสียเม็ดเงิน 75% ของมูลค่าวัตถุดิบพลาสติก 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีที่ผ่านมา ข้อมูลนี้มาจากการศึกษาของธนาคารที่เปิดเผยเกี่ยวกับ 3 ประเทศ สะท้อนว่า มีพลาสติกเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่ถูกนำกลับไปรีไซเคิลเพื่อให้เป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าอีกครั้ง การศึกษานี้ เป็นการจัดทำขึ้นเพื่อตรวจสอบโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการหมุนเวียนพลาสติกและการจัดการขยะในทะเลของมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ธนาคารโลก ระบุว่า โอกาสทางธุรกิจจะไม่เกิดขึ้นถ้ามีการใช้พลาสติกเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่มีการนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล Ndiamé Diop ผู้อำนวยการ ธนาคารโลก ประจำประเทศบรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย กล่าวว่า การจัดการขยะพลาสติกที่ผิดพลาดในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เป็นปัจจัยกระทบเศรษฐกิจภาคต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การทำประมง ผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตามมีความเคลื่อนไหวที่แข็งแกร่งของภาครัฐในประเทศเหล่านี้ เพื่อพิจารณานโยบายสำคัญ […]

ควอลคอมม์เผยปัญหาขาดแคลนชิปรุ่นเก่าจะหมดไปเร็วๆ นี้

ควอลคอมม์เผยปัญหาขาดแคลนชิปรุ่นเก่าจะหมดไปเร็วๆ นี้

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า Steve Mollenkopf ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ควอลคอมม์ ออกมาเผยว่า เขาเห็นว่าในเวลานี้กำลังมีการปรับปรุงเรื่องการแก้ปัญหาขาดแคลนชิปซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายๆ อุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก และความต้องการชิปแบบเก่าสามารถตอบสนองได้ง่ายกว่า ความต้องการชิปเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากธุรกิจมีความตื่นตระหนกเกี่ยวกับกำลังการผลิตจึงพากันสั่งซื้อล่วงหน้า และยังมีแรงผลักดันมาจากต้นทุนของส่วนประกอบซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ราคาถูกที่สุดในบรรดาไมโครชิปเกือบทั้งหมดด้วย “ขณะนี้เริ่มเห็นความสามารถของตลาดในการตอบสนองได้รวดเร็วมากขึ้นสำหรับชิปแบบเก่ามากกว่าแบบใหม่ ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งคุณก็อาจอยู่ในส่วนที่กำลังได้รับการปรับปรุง” Mollenkopf กล่าวผ่านวิดีโอลิงค์ในงานเสวนาไชน่า เดเวลอปเมนท์ ฟอรัม ที่จัดขึ้นในกรุงปักกิ่ง เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา Sanjay Mehrotra ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไมครอน เทคโนโลยี ซึ่งเป็นผู้พูดในเวทีเดียวกันนี้ กล่าวว่า ผู้ผลิตชิปมีการตั้งเป้าหมายเพิ่มอุปทานในสายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ของบริษัท

ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของจีนทุ่มงบสร้างโรงงานในเซินเจิ้น รองรับเซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลน

ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของจีนทุ่มงบสร้างโรงงานในเซินเจิ้น รองรับเซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลน

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของจีน บริษัท เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น หรือ SMIC กำลังจะสร้างโรงงานแห่งใหม่ในเซินเจิ้นซึ่งมีมูลค่า 2.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัท SMIC และเมืองเซินเจิ้นศูนย์กลางเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในประเทศจีน ร่วมทุนในโครงการของ SMIC ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในแผนของจีนที่ต้องการเพิ่มกำลังการผลิตให้พอเพียงในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ทั้งนี้ เมื่อเดือน ธ.ค. 2020 สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำที่เรียกว่า Entity List กับบริษัท SMIC โดยห้ามไม่ให้บริษัทอเมริกันส่งออกเทคโนโลยีให้กับบริษัทที่อยู่ในบัญชีดำนี้ โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าวสร้างผลกระทบต่อความสามารถของ SMIC ในการติดตามเทคโนโลยีรวมถึงการผลิตชิปที่ล้ำสมัย ทำให้บริษัทจีนอยู่ห่างจากคู่แข่งทั้ง ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง คอมพานี (TSMC) และซัมซุง ไปมากแล้ว โรงงานแห่งใหม่ในเซินเจิ้นจะช่วยให้ SMIC เพิ่มการผลิตชิป 28 นาโนเมตรขึ้นไป ซึ่งชิปดังกล่าวถือเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างเก่า ขณะที่ TSMC และซัมซุงกำลังผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขนาด […]

ค่าเช่าถูกลงและพื้นที่ว่างเพิ่มหนุนค้าปลีกสหรัฐฯ สนใจเปิดหน้าร้านมากขึ้น

ค่าเช่าถูกลงและพื้นที่ว่างเพิ่มหนุนค้าปลีกสหรัฐฯ สนใจเปิดหน้าร้านมากขึ้น

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ปีนี้เป็นปีแรกในรอบหลายๆ ปี ที่ผู้ค้าปลีกทั่วสหรัฐฯ วางแผนขยายหน้าค้ามากขึ้นกว่าจำนวนร้านค้าที่จะปิด โดยหลายธุรกิจฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด และมีการปัดฝุ่นแผนขยายธุรกิจจากที่ระงับเอาไว้ก่อนหน้านี้ ตัวอย่างล่าสุดคือ ฟาเบลติกส์ ผู้ค้าปลีกเครื่องแต่งกายกีฬา มีแผนการเปิดหน้าร้านเพิ่มกว่า 20 แห่งในสหรัฐฯ ในปีนี้ ส่วนทอย อาร์ อัส ซึ่งเป็นเครือร้านของเล่น ที่เคยถูกฟ้องล้มละลายเมื่อปี 2017 และเลิกกิจการไป ก็ได้เจ้าของกิจการใหม่แล้ว ซึ่งก็กำลังมองหาลู่ทางเปิดร้านแห่งใหม่ในปีนี้ ผู้ค้าปลีกต่างก็กระตือรือร้นที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งของแบรนด์ให้กลับมาหลังจากการแพร่ระบาด ประกอบกับะพวกเขามีความตื่นเต้นที่จะทดลองแนวคิดใหม่ที่จะมอบให้กับผู้บริโภค รวมทั้งค่าเช่าที่ราคาถูกลง ทำให้พวกเขารู้สึกมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการเปิดร้านค้าใหม่ๆ จากข้อมูลล่าสุดของ คอร์ไซต์ รีเสิร์ช ระบุว่า จากข้อมูลตั้งแต่ต้นปีถึงตอนนี้มีผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ ประกาศเปิดร้านค้าแล้ว 3,199 แห่ง และปิดร้านค้า 2,548 แห่ง ขณะที่ปีที่ผ่านมา มีการปิดร้านค้า 8,953 แห่ง และเปิดร้านค้าเพียง 3,298 แห่ง จากผลกระทบการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ซึ่งกระทบอุตสาหกรรมค้าปลีก และทำให้ธุรกิจกว่าหลายสิบรายต้องเผชิญกับภาวะล้มละลาย Adam […]

หัวเว่ยจะเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์จากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคโนโลยี 5G ของบริษัท

หัวเว่ยจะเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์จากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคโนโลยี 5G ของบริษัท

รายงานข่าวจากซินหัว ระบุว่า หัวเว่ย บริษัทยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีของจีน ประกาศว่าจะเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์จากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี 5G ที่จดสิทธิบัตรแล้ว หัวเว่ย เผยแพร่สมุดปกขาวเกี่ยวกับนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ที่สำนักงานใหญ่ในเซินเจิ้น โดยระบุว่า บริษัทได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ถือสิทธิบัตรรายใหญ่ที่สุดของโลก จากการลงทุนด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ภายในสิ้นปี 2020 หัวเว่ยถือครองสิทธิบัตรที่ใช้งานอยู่มากกว่า 100,000 รายการ ครอบคลุมสิทธิบัตรมากกว่า 40,000 ตระกูลทั่วโลก Jason Ding หัวหน้าฝ่ายสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของหัวเว่ย กล่าวว่า สำหรับสมาร์ทโฟน 5G แบบหลากหลายโหมดทุกรุ่น บริษัทจะให้อัตราค่าสิทธิตามเปอร์เซ็นต์ที่เหมาะสมของราคาขายโทรศัพท์มือถือและค่าลิขสิทธิ์สูงสุดต่อหน่วยที่ 2.5 ดอลลาร์สหรัฐ “เราต้องการแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ของนวัตกรรมที่เรามีตลอด 30 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งความมุ่งมั่นระยะยาวของเราในการเคารพ ปกป้อง และการมีส่วนร่วมในนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา โดยในสมุดปกขาวนี้ เราต้องการที่จะให้ทุกคนเข้าใจดีขึ้นว่าหัวเว่ยมาจนถึงทุกวันนี้ได้อย่างไร” Song Liuping ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย หัวเว่ย กล่าว เมื่อปี 2008 องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก บันทึกรายชื่อหัวเว่ยเป็นอันดับ 1 […]

อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์สหรัฐฯ จะขยายตัวอีก 4 เท่าในปี 2030

อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์สหรัฐฯ จะขยายตัวอีก 4 เท่าในปี 2030

สมาคมอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ของสหรัฐฯ (SEIA) ร่วมกับ Wood Mackenize บริษัทที่ปรึกษาชื่อดังในอุตสาหกรรมพลังงาน คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกจะขยายตัวต่อเนื่องไปจนถึงปี 2030 และคาดว่า ภายในสิ้นทศวรรษนี้ ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ของสหรัฐฯ จะขยายตัวแข็งแกร่งถึง 4 เท่าจากระดับปัจจุบัน ข้อมูลล่าสุดจาก SEIA และ Wood Mackenize ระบุว่า อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ในสหรัฐฯ ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่ผ่านมา โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่รัฐบาลออกนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผนวกกับความต้องการที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีหลัง แม้สหรัฐฯ เผชิญกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม ยอดการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในสหรัฐฯ ช่วงปี  2020 ขยายตัว 43% มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่  19.2 กิกะวัตต์ และเฉพาะในไตรมาส 4 ปีที่แล้วเพียงไตรมาสเดียว ยอดการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมมากกว่า 8 กิกะวัตต์ ซึ่งถือเป็นตัวเลขรายไตรมาสที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดย รัฐแคลิฟอร์เนีย เท็กซัส และฟลอริดา เป็น 3 รัฐที่มีการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดในช่วงครึ่งหลังของปี […]

สหรัฐฯ ฉีดวัคซีนให้ประชาชนไปแล้วกว่า 100 ล้านโดส

สหรัฐฯ ฉีดวัคซีนให้ประชาชนไปแล้วกว่า 100 ล้านโดส

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มี.ค. ที่ผ่านมา สหรัฐฯ มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 100 ล้านโดส ตามข้อมูลของศูนย์ควบรวมและป้องกันโรค (CDC) ทั้งนี้ มีประชาชนประมาณ 35 ล้านคน ได้รับวัคซีนครบขนาดที่ต้องรับแล้ว คิดเป็น 13.5% ของประชากรวัยทำงานทั้งหมดในสหรัฐฯ ตามข้อมูลของ CDC ขณะที่มากกว่า 65.9 ล้านคน ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดสจากจำนวนเต็ม 2 โดส ยอดผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมดในครั้งนี้ รวมผู้ที่ได้รับวัคซีน 16.5 ล้านคนในช่วงที่อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ แล้ว ซึ่งส่งผลให้ใกล้เคียงเป้าหมายของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่ต้องการให้ประชาชนได้รับวัคซีน 100 ล้านโดส ภายในช่วง 100 วันที่เขาเข้ามารับตำแหน่ง ขณะที่ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป […]

ตลาดเทคโนโลยีระดับแนวหน้าทั่วโลกจะแตะ 3.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025

ตลาดเทคโนโลยีระดับแนวหน้าทั่วโลกจะแตะ 3.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025

รายงานจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีระดับแนวหน้า หรือ Frontier Technology ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดถึง 3.50 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าภายในปี 2025 จะเติบโตเป็น 3.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่พร้อมจะจับคลื่นเทคโนโลยี อย่างไรก็ดีหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางประเทศที่ยังพัฒนาน้อย และประเทศในแถบแอฟริกาตอนใต้กลับไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะปรับใช้และปรับตัวให้เข้ากับการปฏิวัติทางเทคโนโลยี สิ่งนี้ซึ่งอาจเป็นผลกระทบน่ากังวลในการขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน รายงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมปี 2021 เรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาทุกแห่งเตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ลึกซึ้งและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตลาดและสังคมอย่างมาก ทุกประเทศจะต้องดำเนินนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับขั้นตอนการพัฒนาและสภาพเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ มีความจำเป็นที่การเสริมสร้างและวางแนวระบบวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมถึงนวัตกรรมและนโยบายอุตสาหกรรมการสร้างทักษะดิจิทัลในหมู่นักเรียนและพนักงาน อีกทั้งจัดการเรื่องการปิดกั้นของดิจิทัล รัฐบาลควรเพิ่มการคุ้มครองทางสังคมและลดการเปลี่ยนถ่ายกำลังแรงงานเพื่อจัดการกับผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีระดับแนวหน้าในตลาดงาน

ภาคอุตสาหกรรมอังกฤษเรียกร้องรัฐลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าและการปรับปรุงอาคารสีเขียว

ภาคอุตสาหกรรมอังกฤษเรียกร้องรัฐลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าและการปรับปรุงอาคารสีเขียว

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า ผู้ประกอบการอังกฤษออกมาเรียกร้องรัฐบาลลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า และการปรับปรุงอาคารเพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อนที่ Rishi Sunak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะมีการทบทวนนโยบายภาษีในช่วงปลายเดือน มี.ค. นี้ โดย สมาพันธ์อุตสาหกรรมของอังกฤษ หรือ CBI ระบุว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มของรถยนต์ไฟฟ้าและต้นทุนในการใช้สถานีชาร์จไฟสาธารณะ ควรจะลดลงจากอัตรามาตรฐานที่ 20% ทั้งนี้ ภาคธุรกิจควรไม่ต้องเผชิญกับการจ่ายภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้น ถ้าพวกเขาปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารของพวกเขา ซึ่งโดยปกติจะทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้นและมีภาระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มตาม “ระบบภาษีซึ่งไม่สนับสนุนพฤติกรรมการก่อมลพิษและให้รางวัลกับการใช้ทางเลือกสีเขียวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปลดล๊อคที่จะทำให้เกิดการลงทุนที่เหมาะสม” Rain Newton-Smith หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ CBI กล่าว สัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทอังกฤษได้รับลดหย่อนภาษีระยะสั้น มูลค่า 24,000 ล้านปอนด์ (33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) กว่า 2 ปี เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาลงทุน แต่พวกเขาเผชิญกับภาษีรายได้องค์กรที่ปรับขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1974 CBI ระบุว่า การลดหย่อนภาษีนั้น คล้ายกับให้ส่วนลดกับธุรกิจเชิงกายภาพต่างๆ ที่จะลงทุนในช่วง 2 ปีข้างหน้า ซึ่งควรจะมีการขยายให้ครอบคลุมสำหรับเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าและการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารด้วย […]