ฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ IPO ครึ่งแรกปีนี้เพิ่มขึ้น สวนทางประเทศอื่นที่ซบเซาหลังโควิด-19ทำพิษ
“จีนมีจำนวน IPO ที่เพิ่มขึ้นถึง 29% และมูลค่าเสนอขายที่เพิ่มขึ้นถึง 72% จากปีก่อน โดยฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ถือเป็นผู้นำในแง่ของจำนวนและมูลค่าเงินที่เพิ่มขึ้น สวนทางประเทศอื่นที่ซบเซาหลังโควิด-19ทำพิษ” การเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPOs) ในประเทศจีนเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆที่ลดลง จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสหรือ โควิด-19 ตามข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษา EY ซึ่งเป็น 1 ใน Big 4 ระบุว่า ช่วงหกเดือนแรกจีนมีจำนวน IPO ที่เพิ่มขึ้นถึง 29% และมูลค่าเสนอขายที่เพิ่มขึ้นถึง 72% จากปีก่อน โดยฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ถือเป็นผู้นำในแง่ของจำนวนและมูลค่าเงินที่เพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามภูมิภาคอื่น ๆ ลดลงทั้งจำนวนเสนอขายหุ้นและเม็ดเงินอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสหรัฐบริษัทและรายได้ลดลง 30% ในขณะเดียวกันจำนวนบริษัทในยุโรปลดลง 47% และมีรายได้ลดลง 48% ผลกระทบของการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ยังคงมีบทบาทสำคัญในการลดการเสนอขายหุ้น IPO ในช่วงครึ่งแรกของปี 2020
ไฟเซอร์เผยการทดลองวัคซีนต้านโควิด-19 ในมนุษย์ให้ผลน่าพอใจ
รายงานข่าวจากบริษัทไฟเซอร์ อิงค์ (Pfizer) ซึ่งเป็นบริษัทยาใหญ่ที่สุดของสหรัฐ เปิดเผยในวันนี้ว่า การทดลองใช้วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ในมนุษย์ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ การพัฒนาวัคซีนดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างไฟเซอร์ กับ BioNTech ซึ่งเป็นบริษัทยาของเยอรมนี และคาดว่าบริษัทจะสามารถผลิตวัคซีนหลายล้านโดสภายในปลายปีนี้ ทั้งนี้ ไฟเซอร์ได้ทำการทดลองในอาสาสมัครจำนวน 45 คน ซึ่งทุกคนได้รับวัคซีน โดยอาสาสมัครซึ่งได้รับวัคซีน 10 หรือ 30 ไมโครกรัมเป็นเวลา 28 วันจะทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี ซึ่งมีความสำคัญในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ ไฟเซอร์ระบุว่า วัคซีนดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่ออาสาสมัครมากนัก แต่อาจทำให้เกิดไข้ในบางราย โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับวัคซีน 100 ไมโครกรัม
แบงก์ชาติฟิลิปปินส์ส่งสัญญาณยังมีพื้นที่บริหารจัดการด้านนโยบายการเงินอีกมาก
รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังคงมีพื้นที่เหลือเฟือสำหรับการบริหารจัดการรับมือกับเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังเผชิญกับการชะลอตัวท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 Benjamin Diokno ผู้ว่าการธนาคารกลางบอกกับ “Street Signs” ของซีเอ็นบีซี เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังมีพื้นที่ในการบริหารจัดการด้านนโยบายทางการเงินอีกมาก ซึ่งนั่นทำให้เราแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในแดนลบ ความคิดเห็นของเขาเกิดขึ้นภายหลังการตัดสินใจของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าสุดลง 0.50% เป็น 2.25% ซึ่งเป็นการปรับลดที่เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ทำการสำรวจโดยรอยเตอร์ส เขา กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นหลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลง ขณะที่การคำนวณจากธนาคารกลางที่แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจทั้งปีนี้ และยาวไปอีก 3 ปีข้างหน้า ธนาคารจึงได้ดำเนิการกระตุ้น ด้วยการดำเนินมาตรการล่วงหน้า
อังกฤษขยายแพคเกจช่วยเหลือครอบคลุมธุรกิจสตาร์ทอัพ-บริษัทในต่างแดน
รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า รัฐบาลอังกฤษได้ขยายแพคเกจการช่วยเหลือสำหรับบริษัทสตาร์ทอัพที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงธุรกิจที่บริษัทแม่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ภายใต้แพคเกจนี้ บริษัทสตาร์ทอัพต้องให้ผู้ร่วมทุนของบริษัทยื่นขอเงินกู้แบบชั่วคราว (bridge financing ) กับรัฐบาล เงินทุนดังกล่าวบริหารงานโดย British Business Bank ในรูปแบบของเงินกู้แปลงสภาพที่กลายเป็นหุ้นในรอบการระดมทุนรอบต่อไปของบริษัทสตาร์ทอัพ โดยทฤษฎีที่ว่านี้จะช่วยให้รัฐบาลสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนในภายหลัง กองทุน 500 ล้านปอนด์ (614 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประกอบด้วยภาระผูกพัน 250 ล้านปอนด์ จากกระทรวงการคลังคลังซึ่งจับคู่กับการระดมทุนของภาคเอกชน โดยสตาร์ทอัพจะได้รับการสนับสนุนถึง 320 ล้านปอนด์และรัฐบาล กล่าวว่า ยินดีที่จะเพิ่มขนาดกองทุนหากจำเป็น Rishi Sunak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อังกฤษ กล่าวว่า บริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทด้านนวัตกรรมของอังกฤษเป็นหนึ่งในจุดแข็งทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นเมื่อเราเริ่มฟื้นตัวกลับจากการระบาดของโควิด-19 บริษัทเหล่านี้จะช่วยผลักดันการฟื้นตัวและสร้างงานใหม่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ หมายความว่า ผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจที่พยายามอย่างดีที่สุดและมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจจะได้รับประโยชน์จากกองทุนในอนาคต
ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นร่วงแรง หลังคนงดซื้อของแพง ห่วงผลกระทบ โควิด-19 ทำเศรษฐกิจซบเซา
รายงานข่าวจากรอยเตอร์ส ระบุว่า ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นร่วงลงในอัตราเลขสองหลักในเดือน พ.ค. นับเป็นการปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 และมาตรการล็อคดาวน์ที่ส่งผลอย่างมากต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมไปถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความต้องการที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น จนอาจทำให้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกยังคงติดอยู่ในภาวะถดถอยนานกว่าที่คาดการณ์ไว้และการฟื้นตัวจะซบเซามากขึ้น ข้อมูลกระทรวงการค้าของญี่ปุ่น ระบุว่า ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค. ลดลง 12.3% เทียบกับปีที่ผ่านมา โดยผลกระทบหลักมาจากยอดใช้จ่ายที่ลดลงอย่างมากในการใช้จ่ายสินค้าราคาแพง เช่น รถยนต์ เสื้อผ้า และสินค้าทั่วไป ขณะที่ ในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ยอดค้าปลีกได้ปรับลดลงถึง 13.9% ซึ่งเป็นการปรับลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 1998 และแย่กว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในการสำรวจของรอยเตอร์สที่ประมาณการไว้ว่าจะลดลง 11.6% ผู้กำหนดนโยบายหวังว่า การฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจจะช่วยสนับสนุนการเติบโต ในขณะที่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์ทั่วโลกจะชะลอการฟื้นตัว
UNWTO ชี้ข้อจำกัดการเดินทางที่ยังมีอยู่ทำให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวช้า
องค์กรการท่องเที่ยวโลก หรือ UNWTO จัดทำรายงานล่าสุดชี้ว่า การจำกัดการเดินทางเพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะผ่อนคลายลงอย่างช้าๆ ซึ่งมีผลต่อการกลับมาเริ่มต้นฟื้นตัวของจุดหมายท่องเที่ยวต่างๆ โดยจากการวิจัยล่าสุดของ UNWTO แสดงให้เห็นว่า 22% ของจุดหมายปลายทางทั่วโลก หรือ 48 จุดหมาย เริ่มผ่อนคลายข้อจำกัดเดินทางแล้ว นำโดยยุโรป แต่ในเวลาเดียวกัน 65% ของจุดหมายทั่วโลก หรือ 141 จุดหมาย ยังคงปิดพรมแดนสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ทั้งนี้ UNWTO มีการติดตามการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 นับตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤติ โดยในการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับการจำกัดการท่องเที่ยวล่าสุดฉบับที่ 5 พบว่า ภาคท่องเที่ยวเริ่มกลับมาเปิดดำเนินการอย่างช้าๆ แม้การกลับมาเริ่มต้นจะเด่นชัดมากในบางภูมิภาค Zurab Pololikashvili เลขาธิการ UNWTO กล่าวว่า การกลับมาเริ่มท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อวิถีชีวิต ธุรกิจ และเศรษฐกิจของชาติ โดย UNWTO มีการทำงานต่อเนื่องกับประเทศสมาชิกทั่วโลก เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมองว่า เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม การท่องเที่ยวจะช่วยผลักดันให้เกิดการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและเหมาะสม ในรายงาน ระบุอีกว่า […]
เงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติอาจไหลเข้าจีนเพิ่มต่อเนื่องช่วงครึ่งปีหลัง
ไชน่าเดลี รายงานว่า จีนอาจจะได้เห็นเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไหลเข้ามามากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยมีเหตุผลมาจากการที่บริษัททั่วโลกยังคงสนใจเข้ามาในตลาดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีนโยบายที่แข็งแกร่งในการสนับสนุนและมีความยืดหยุ่น Wang Yu พันธมิตรระดับโลกของ Kearney บริษัทที่ปรึกษาการบริหารจัดการในสหรัฐ กล่าวว่า ผู้สังเกตการณ์บางส่วนยังกังวลเกี่ยวกับการถอนเงินทุนออกจากจีน เพราะความขัดแย้งทางการค้าที่มีกับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามจีนสามารถรักษาตำแหน่งที่สำคัญด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในมุมมองของนักลงทุนทั่วโลกได้ กระทรวงพาณิชย์จีน รายงานว่า แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะสร้างความไม่แน่นอนให้การค้าและการลงทุนโลก แต่จีนยังเห็นการเติบโตของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การเงินเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่ม 11.8% ในเดือน เม.ย. และเพิ่ม 7.5% ในเดือน พ.ค. สะท้อนว่า นักลงทุนทั่วโลกยังมั่นใจกับตลาด Wang กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน เช่น การให้ความช่วยเหลือทางการเงินผ่านโครงสร้างพื้นฐาน การยกเว้นและลดภาษีสำหรับทุกภาคธุรกิจ เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า จีนกำลังดำเนินการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ เขา กล่าวว่า แผนการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ของประเทศในเอเชียแปซิฟิกภายในช่วงสิ้นปี 2020 จะเป็นแรงกระตุ้นเรื่องการเชื่อมโยงการค้าในไม่กี่ปีข้างหน้า หลังผ่านยุคโควิด-19 ไปแล้ว Bai Ming […]
สิงคโปร์รุกพัฒนาเงินดิจิทัล หวังลดต้นทุนชำระเงินข้ามพรมแดน เล็งร่วมมือกับจีน
รายงานพิเศษจาก Cointelegraph ระบุว่า Ravi Menon กรรมการผู้จัดการ หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินแห่งสิงคโปร์ (MAS) ซึ่งเป็นธนาคารกลางของสิงคโปร์เปิดเผยถึงความพร้อมของสิงคโปร์ในการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับจีนพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล เขา เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในการประชุมด้านการเงินที่นครเซี่ยงไฮ้ โดยได้เน้นถึงความก้าวหน้าของจีนในการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล ที่ถูกเรียกว่า หยวนดิจิทัล ขณะที่ สิงคโปร์อยู่ระหว่างการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนที่จีนใช้ และกำลังมองหาแนวทางในการร่วมมือกับจีนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องการพัฒนา Menon สรุปว่า เหตุผลในการพัฒนาเงินสกุลดิจิทัลโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC) ในแต่ละประเทศมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป โดยเป้าหมายหลักของโครงการ CBDC ของสิงคโปร์คือ การลดต้นทุนการชำระเงินข้ามพรมแดน ลดระยะเวลาในการชำระเงิน และเพิ่มความปลอดภัยของธุรกรรม ในงานประชุมดังกล่าว Menon ยังกล่าวถึงโครงการสเตเบิ้ลคอยน์ ลิบรา ของเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า ลิบรา เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับระบบธนาคารกลางโลก แต่โครงการนี้มีความยืดหยุ่นสูง ขณะที่ทีมลิบราเองก็มุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานกำกับดูแลระดับโลก รายงานพิเศษยังระบุอีกว่า จีนมีแผนสร้างสกุลเงินดิจิทัล เพื่อแข่งกับดอลลาร์สหรัฐ และลิบรา โดยเมื่อเดือน มิ.ย. 2019 ธนาคารกลางของจีนเปิดตัวหยวนดิจิทัล […]
ธุรกิจค้าปลีกสิงคโปร์เผชิญปัญหาทางการเงิน หวั่นยอดขายลดลง 50%
Rose Tong ผู้อำนวยการบริหารของสมาคมผู้ค้าปลีกสิงคโปร์ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ Street Signs Asia ของซีเอ็นบีซีว่า ธุรกิจค้าปลีกกำลังเผชิญกับความเครียดทางการเงินที่สำคัญในช่วงเวลานี้ ไม่ว่าปัญหาด้านการเงินจะเล็กหรือใหญ่ พวกเขาต่างมองว่า เป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันทางการเงิน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สิงคโปร์ได้ปลดล็อคมาตรการที่เข้มงวดที่ใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้จะเริ่มเปิดเศรษฐกิจบ้างแล้ว แต่ผู้ค้าปลีกไม่ได้ตั้งความหวังว่าจะช่วยยกระดับธุรกิจของพวกเขาให้ดีขึ้นได้ เขา กล่าวว่า ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกไม่ได้คาดหวังว่าธุรกิจของพวกเขาจะกลับมาเป็นปกติ แม้ว่า 2 สัปดาห์แรกที่เริ่มมีการคลายมาตรการจะเป็นการกลับมาจับจ่ายซื้อสินค้าด้วยความรู้สึกที่อัดอั้นไม่ได้ซื้อมานาน หรือที่เราเรียกว่าชอปปิงแก้แค้น โดยผู้ค้าปลีกบางรายคาดว่า ยอดขายจะลดลงประมาณ 50% จากเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดในเอเชียจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ข้อมูลอย่างเป็นทางการ พบว่า มากกว่า 90% ของผู้ติดเชื้อ เป็นกลุ่มแรงงานอพยพที่อาศัยอยู่ในหอพัก และส่วนใหญ่เป็นแรงงานชายรายได้ต่ำ
อังกฤษหนุนใช้รถพลังงานสะอาด เตรียมเปิดตัวทะเบียนสีเขียวมอบสิทธิพิเศษกระตุ้นคนใช้มากขึ้น
ซีเอ็นบีซี รายงานว่า อังกฤษ เร่งเปิดตัวแผ่นป้ายทะเบียนสีเขียวสำหรับยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษเท่ากับศูนย์ (Zero-Emissions Vehicle : ZEV) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใข้งานมากขึ้น แผ่นป้ายทะเบียนสีเขียวที่ระบุว่าเป็นยานพาหนะไฟฟ้าจะเปิดตัวในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ โดยผู้ร่างกฎหมายพยายามส่งเสริมให้ผู้ขับขี่ลดและเลิกใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล รัฐบาลอังกฤษ เผยว่า แผ่นป้ายทะเบียนใหม่ที่เรียกว่า “กรีนแฟลช” จะเป็นสัญลักษณ์อยู่ทางซ้ายมือของป้าย โดยจะอนุญาตให้ใช้เฉพาะยานพาหนะที่มลพิษเป็นศูนย์เท่านั้น แนวคิดนี้ต้องการให้ยานพาหนะประเภทนี้มองเห็นได้ง่ายขึ้นเมื่ออยู่บนท้องถนน รัฐบาล กล่าวว่า สิ่งนี้จะช่วยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสามารออกแบบและวางนโยบายใหม่เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเป็นเจ้าของและขับเคลื่อนยานยนต์ประเภทดังกล่าวมากขึ้น เช่น ลดค่าที่จอดรถให้ถูกกว่าและการเปิดให้เข้าพื้นที่ปลอดมลภาวะได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นต้น Grant Shapps เลขานุการการขนส่ง กล่าวในแถลงการณ์ว่า การฟื้นฟูเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้อังกฤษ บรรลุข้อผูกพันคาร์บอน ขณะที่ยังส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกด้วย