JPMorgan ฟันธง ปี 67 ยอดระดมทุน ‘ตลาดหุ้นอินเดีย’ อย่างต่ำ 1 ล้านล้านบาท

JPMorgan ฟันธง ปี 67 ยอดระดมทุน ‘ตลาดหุ้นอินเดีย’ อย่างต่ำ 1 ล้านล้านบาท

JPMorgan Chase & Co. ฟันธง ปี 2567 และในอนาคต อินเดียจะเห็นการระดมทุนอย่างน้อย 3 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 9.9 แสนล้านบาท) ต่อปี ผ่านการขายหุ้นหลัก และรอง หลังพบบรรดาบริษัทเอกชนพร้อมระดมทุนในตลาดหุ้น สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานโดยอ้างอิงรายงานของ JPMorgan Chase & Co. วันนี้ (18 ก.ย.66) ว่า ในปี 2567 และในอนาคตจะเห็นการระดมทุนในตลาดหุ้นอินเดียอย่างน้อย 3 หมื่นล้านดอลลาร์ (9.9 แสนล้านบาท) ต่อปีผ่านการขายหุ้นหลัก และรอง เนื่องจากกลุ่มบริษัทเอกชน และผู้ถือหุ้นอินเดียเต็มใจที่จะเข้าถึงตลาดเพื่อหาเงินทุนมากขึ้น หากอ้างอิงข้อมูลซึ่งรวบรวมโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์ก พบว่า ยอดขายหุ้นเพิ่มเติม (Sales of Additional Shares) ในบริษัทจดทะเบียนของอินเดียทะลุ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ (3.3 แสนล้านบาท)ในปีนี้ ซึ่งมากกว่ายอดทั้งหมดในปี 2565 โดย Abhinav […]

‘ซิตี้กรุ๊ป’ เริ่มเจรจาเลิกจ้างพนักงาน หลังปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี

‘ซิตี้กรุ๊ป’ เริ่มเจรจาเลิกจ้างพนักงาน หลังปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 08.50 น. สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า แหล่งข่าวระบุว่า ในขณะที่ ซิตี้กรุ๊ป (Citigroup) เริ่มดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ นอกจากปลดพนักงานฝ่ายบริหารออกแล้ว ยังมีนโยบายลดตำแหน่งงาน โดยตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการกำกับพนักงานในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการบริหารความเสี่ยง เป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะถูกเลิกจ้าง รวมถึงตำแหน่งงานด้านเทคโนโลยีที่ทำงานในหน้าที่ทับซ้อนกันก็มีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างเช่นกัน แหล่งข่าว ระบุว่า ผู้จัดการของซิตี้กรุ๊ปกำลังหารือกับพนักงานเกี่ยวกับการเลิกจ้างที่อาจเกิดขึ้น ขณะที่ แหล่งข่าวคนหนึ่งกล่าวว่า การประชุมแบบตัวต่อตัวเกี่ยวกับการเลิกจ้างก็เริ่มต้นขึ้นเช่นกัน การเจรจาเกิดขึ้น หลังจากที่ซิตี้กรุ๊ปประกาศเมื่อวันพุธ (13 ก.ย.) ว่า จะเลิกจ้างผู้บริหารและเลิกจ้างงาน เฟรเซอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของซิตี้กรุ๊ป เรียกว่า การปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ที่สุดของซิตี้ในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ สามารถควบคุมได้โดยตรงมากขึ้น เพื่อความคล่องตัวในการตัดสินใจ และการบริหารงาน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะเพิ่มผลกำไรและราคาหุ้น แหล่งข่าว ระบุว่า ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงและสร้างความมั่นใจให้กับทีมว่า การยกเครื่องจะช่วยลดระบบราชการและจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมการทำกำไร ซิตี้กรุ๊ปยังคงจัดการกับคำสั่งยินยอมในปี 2563 โดยหน่วยงานกำกับดูแลเรียกร้องให้แก้ไขข้อบกพร่องที่มีมายาวนานหลายประการในการควบคุมภายใน บริษัทกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันพุธ (14 ก.ย.) ว่า “การลดความซับซ้อนขององค์กรจะช่วยให้การดำเนินการเปลี่ยนแปลงของ ซิตี้กรุ๊ปมีความสำคัญสูงสุดของบริษัท” ทั้งนี้ แหล่งข่าวระบุว่า ซิตี้กรุ๊ปได้ลงทุนอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในระบบเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มการควบคุมความเสี่ยงและการปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อขอความยินยอม […]

‘มูดี้ส์’ หั่นแนวโน้มภาคอสังหาฯ ในจีน เป็นลบ จากมีเสถียรภาพ

‘มูดี้ส์’ หั่นแนวโน้มภาคอสังหาฯ ในจีน เป็นลบ จากมีเสถียรภาพ

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 เวลา 12.49 น. สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า มูดี้ส์ (Moody’s) ปรับลดแนวโน้ม ภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตของจีนเป็นลบ (negative) จากมีเสถียรภาพ (stable) โดยกล่าวถึงความท้าทายในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ยอดขายลดลง แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการมาสนับสนุนก็ตาม มูดีส์กล่าวว่าคาดว่ายอดขายตามสัญญาจะลดลงประมาณ 5% ในช่วง 6 ถึง 12 เดือนข้างหน้าในจีน และผลกระทบของมาตรการของรัฐบาลในการกระตุ้นการซื้ออสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มว่าจะคงอยู่ระยะสั้นและไม่สม่ำเสมอ ทั้งนี้ การปรับลดแนวโน้มเกิดขึ้นท่ามกลางการผิดนัดชำระหนี้จำนวนมาก โดยบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกบีบด้วยปัญหาสภาพคล่องของ China Evergrande Group ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนี้มากที่สุดในโลก เป็นศูนย์กลางของวิกฤติในครั้งนี้ วิกฤติดังกล่าวส่งผลให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนรายใหญ่ที่สุดของจีนอย่าง Country Garden Holdings ซึ่งกำลังต่อสู้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ โดยได้รับการอนุมัติจากเจ้าหนี้ในสัปดาห์นี้ เพื่อขยายอายุการชำระของพันธบัตรในประเทศหลายชุด ที่มา: รอยเตอร์

ไม่ใช่แค่ดอลลาร์ ‘จีน’ อุ้มค่าเงินหยวนเทียบกับอีก 23 ประเทศ ท่ามกลาง ‘แรงขายหยวน’ อื้อ

ไม่ใช่แค่ดอลลาร์ ‘จีน’ อุ้มค่าเงินหยวนเทียบกับอีก 23 ประเทศ ท่ามกลาง ‘แรงขายหยวน’ อื้อ

“ธนาคารกลางจีน” ไม่เพียงเข้าอุ้มเงินหยวนที่เทรดคู่กับสกุลเงิน “ดอลลาร์” เท่านั้น แต่ยังเข้าแทรกแซงเงินหยวนที่ซื้อขายคู่กับค่าเงินอีก 23 ประเทศ เช่น ยูโร เยน และปอนด์ ท่ามกลาง “แรงขายหยวน” จำนวนมาก เพราะเศรษฐกิจปั่นป่วน สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานวันนี้ (13 ก.ย.) ว่า ภาระของรัฐบาลจีนใน “การควบคุมค่าเงินหยวนไม่ให้อ่อนค่า” ลงหนักนั้น ขยายตัวไปไกลมากกว่าแค่การเทรดแบบเทียบเคียงกับดอลลาร์ โดยธนาคารประชาชนจีน (PBOC) เข้าอุ้มสกุลเงินหยวนเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนของคู่ค้าอีก 23 ประเทศ เช่น ยูโร เยน และปอนด์ ผ่านการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนรายวัน (Reference Rate) เทียบกับสกุลเงินเหล่านี้ตั้งแต่กลางเดือน ส.ค. ตามการคำนวณของบลูมเบิร์ก ซึ่งส่งผลให้ดัชนีค่าเงินหยวนมีเสถียรภาพอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าอื่น ทั้งนี้ บทวิเคราะห์ของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ระบุว่า ในปีนี้นักลงทุนขายเงินหยวนออกมาจำนวนมาก เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังและความวุ่นวายในภาคอสังหาริมทรัพย์ กระตุ้นให้ PBOC ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากนโยบายการเงินแตกต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของโลกและทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง โดยจากเหตุการณ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่จีนจึงต้องชั่งน้ำหนักว่า สิ่งนี้อาจนำไปสู่เงินทุนไหลออกปริมาณเท่าใด เมื่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอ่อนตัวลง ที่มา: […]

‘เอ็ดดี้ หวู่’ ซีอีโอคนใหม่ Alibaba เดินหน้าปรับโครงสร้างครั้งใหญ่สุดรอบ 24 ปี

‘เอ็ดดี้ หวู่’ ซีอีโอคนใหม่ Alibaba เดินหน้าปรับโครงสร้างครั้งใหญ่สุดรอบ 24 ปี

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เอ็ดดี้ หวู่ ซีอีโอคนใหม่ของอาลีบาบากรุ๊ป (Alibaba Group) กล่าวกับพนักงานว่า มุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์หลัก 2 ประการในอนาคต คือ “ผู้ใช้ต้องมาก่อน” และ “ขับเคลื่อนด้วย AI” โดยซีอีโอคนใหม่ได้ส่งจดหมายเมื่อวันอังคาร ซึ่งเป็นวันที่ 3 ในตำแหน่งสูงสุดของเขา ยังกล่าวอีกว่า อาลีบาบาจะมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมพนักงานรุ่นใหม่ โดยเฉพาะพนักงานที่เกิดหลังปี 2528 เพื่อจัดตั้งแกนกลางของทีมบริหารธุรกิจภายใน 4 ปีข้างหน้า โดยเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน เพื่อรักษากรอบความคิดแบบสตาร์ทอัพและไม่ติดขัดกับวิถีเดิมๆ เอ็ดดี้ หวู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Alibaba Group และเป็นรองจาก Jack Ma มายาวนาน กำลังวางลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ในช่วงเวลาสำคัญของอาลีบาบา ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ 24 ปี เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อาลีบาบายังประกาศว่า หวู่ จะดำรงตำแหน่งซีอีโอของหน่วยประมวลผลคลาวด์ไปพร้อมๆ กัน แทนที่แดเนียล จาง […]

นายกฯ มาเลเซีย ตั้งเป้าเศรษฐกิจโตอย่างน้อย 5% ต่อปี จนถึงปี 2568 ท่ามกลางการชะลอตัวทั่วโลก

นายกฯ มาเลเซีย ตั้งเป้าเศรษฐกิจโตอย่างน้อย 5% ต่อปี จนถึงปี 2568 ท่ามกลางการชะลอตัวทั่วโลก

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 เวลา 12.53 น. สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า มาเลเซียตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 5% ต่อปีจนถึงปี 2568 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายก่อนหน้า โดยการคาดการณ์ที่ลดลงเกิดขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจของมาเลเซียได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทั่วโลก การเติบโตชะลอตัวที่สุดในรอบเกือบ 2 ปีในไตรมาสที่สอง เนื่องจากการส่งออกตกต่ำ ซึ่งก่อนหน้านี้ มาเลเซียตั้งเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ 4.5% ถึง 5.5% ต่อปีระหว่างปี 2564 ถึง 2568 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะ 5 ปี ในการทบทวนแผนในระยะกลางภาค นายกฯ มาเลเซีย กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียจะได้รับการสนับสนุนจากการมุ่งเน้นไปที่การเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงและการลงทุนที่มากขึ้น นายกฯ มาเลเซีย กล่าวอีกว่า มาเลเซียตั้งเป้าหมายการลงทุนภาคเอกชนเป็นมูลค่า 3 แสนล้านริงกิต หรือราว 6.417 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีจนถึงปี 2568 […]

‘โกลด์แมน แซคส์’ จ่อเลิกพนักงานรอบใหม่ 1-5% ภายใน ต.ค.66

‘โกลด์แมน แซคส์’ จ่อเลิกพนักงานรอบใหม่ 1-5% ภายใน ต.ค.66

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2566 หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์รายงาน โดยอ้างแหล่งข่าวว่า โกลด์แมน แซคส์ มีแผนจะปลดพนักงาน ที่มีผลการทำงานต่ำกว่าเกณฑ์อีกครั้งภายในเดือนต.ค.นี้ แผนการดังกล่าวจะส่งผลให้พนักงานของบริษัทราว 1-5% ตกงาน โดยโกลด์แมน แซคส์ตั้งเป้าที่จะปรับลดพนักงานราว 1% ในแผนกวาณิชธนกิจและแผนกซื้อขายซึ่งเป็นธุรกิจหลัก แหล่งข่าว ระบุเพิ่มเติมว่า แผนการปรับลดพนักงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนผลการปฏิบัติงานประจำปีของพนักงาน ที่บริษัทนำกลับมาใช้อีกครั้ง หลังจากยุติไปชั่วคราวในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดในปี 2563-2564 ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานก่อนหน้านี้โดยอ้างอิงจากแหล่งข่าวว่า โกลด์แมน แซคส์ได้ปลดพนักงานจำนวน 500 ตำแหน่งในเดือนก.ย. 2565 และในช่วงไตรมาส 1/2566 มีการปลดพนักงานเพิ่มประมาณ 3,200 ตำแหน่ง ซึ่งนับเป็นการเลิกจ้างครั้งที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2551 และในเดือนพ.ค.ปีนี้ บริษัทยังได้สั่งปลดพนักงานอีกประมาณ 250 ตำแหน่งด้วย ทั้งนี้ ผลกำไรของโกลด์แมน แซคส์ในไตรมาส 2/2566 ร่วงลง 60% เนื่องจากปรับลดมูลค่าธุรกิจผู้บริโภคและการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่มา: รอยเตอร์

UN แนะรัฐบาลทั่วโลกจำกัดการใช้ ‘เครื่องมือเอไอ’ ในห้องเรียน

UN แนะรัฐบาลทั่วโลกจำกัดการใช้ ‘เครื่องมือเอไอ’ ในห้องเรียน

องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เรียกร้องรัฐบาลทั่วโลกกำหนดแนวทางควบคุมการนำเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เช่น ChatGPT มาใช้ในห้องเรียน และควรจำกัดให้ใช้งานได้เฉพาะเด็กโตเท่านั้น องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เผยแพร่คำแนะนำถึงรัฐบาลทั่วโลกในวันนี้ (7 ก.ย.) โดยเตือนว่า ภาครัฐ “ยังไม่มีความพร้อมเพียงพอ” ที่จะรับมือผลกระทบในแง่จริยธรรมจากการนำเครื่องมือเอไอไปใช้ในโรงเรียน ยูเนสโก ชี้ว่า การพึ่งพาโปรแกรมเหล่านี้มากกว่าครูผู้สอนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาวะทางอารมณ์ของเด็ก และทำให้พวกเขาสุ่มเสี่ยงต่อการถูกครอบงำ (manipulation) “Generative AI อาจเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการพัฒนามนุษย์ แต่ก็สามารถก่ออันตรายและสร้างอคติได้เช่นกัน” ออเดรย์ อาซูเลย์ ผู้อำนวยการใหญ่ ยูเนสโก ระบุ “เราไม่สามารถบูรณาการเอไอเข้ากับการศึกษาได้โดยปราศจากการมีส่วนร่วมทางสังคม และภาครัฐจำเป็นจะต้องออกมาตรการปกป้องและกฎระเบียบที่เหมาะสม” เครื่องมือไอเอเหล่านี้กลายเป็นที่นิยมอย่างล้นหลามทั่วโลกตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว หลังจากบริษัท Open AI ของสหรัฐฯ ได้เปิดตัว ChatGPT ซึ่งสามารถช่วยแต่งบทความ บทกวี หรือแม้กระทั่งสนทนาโต้ตอบกับมนุษย์อย่างเป็นธรรมชาติได้ด้วยการป้อนข้อมูลสั้นๆ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการเตือนว่า เครื่องมือเอไอเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการคัดลอกผลงาน (plagiarism) และเอื้อให้เกิดการโกงข้อสอบตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัย […]

เศรษฐกิจยุโรปอ่วม-เยอรมนีป่วยหนัก

เศรษฐกิจยุโรปอ่วม-เยอรมนีป่วยหนัก

การทรุดตัวของกิจกรรมทางธุรกิจในยูโรโซนเมื่อเดือนที่ผ่านมา เกิดขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าคาดการณ์ หลังจากที่ดัชนีภาคการบริการที่เป็นตัวชี้วัดหลักปรับตัวลดลงอยู่ในแดนลบ โดยผลสำรวจระบุว่ายูโรโซนอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยก็เป็นได้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สุดท้ายจากฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์ (HCOB) ที่รวบรวมโดย S&P Global และมักใช้เป็นตัวชี้วัดสุขภาพทางเศรษฐกิจโดยรวม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 46.7 ในเดือนสิงหาคม จากระดับ 48.6 เมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 โดยตัวเลขดังกล่าวนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างการเติบโต และการหดตัว ในขณะที่ กลุ่มประเทศในยูโรโซนนั้นมีตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 มาเป็นเวลาสามเดือนติดต่อกันแล้ว และตัวเลขล่าสุดในเดือนสิงหาคมยังต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่มองไว้ 47.0 นายไซรัส เดอ ลา รูเบีย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ จาก HCOB ระบุว่า ยูโรโซนไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงครึ่งปีแรก แต่ในครึ่งปีหลังนี้จะเห็นถึงความท้าทายที่เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งตัวเลขที่น่าผิดหวังส่งผลให้ทางฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจมาอยู่ที่ 0.1% สำหรับไตรมาสที่สามนี้ ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการลดลงจาก 50.9 มาอยู่ที่ […]

การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นร่วงมากสุดในรอบ 2.5 ปี เพราะของแพง

การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นร่วงมากสุดในรอบ 2.5 ปี เพราะของแพง

การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลงมากที่สุดในรอบ 2.5 ปี โดยในเดือน ก.ค. การใช้จ่ายลดลง 5% จากปีก่อน และลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลงมากที่สุดในรอบ 2.5 ปี เนื่องจากสินค้าราคาแพง ข้อมูลจากทางการ แสดงให้เห็นว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือน ก.ค. ลดลง 5% จากปีก่อน โดยลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 และลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงเพียง 2.5% และเมื่อดูการใช้จ่ายตามฤดูกาลแบบเดือนต่อเดือน พบว่า การใช้จ่ายครัวเรือนลดลง 2.7% มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 0.5% เจ้าหน้าที่จากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารญี่ปุ่น เผยว่า การใช้จ่ายของครัวเรือน อาทิ ทานอาหารนอกบ้าน รถโดยสารสาธารณะ บริการทางวัฒนธรรมและบันเทิงมีปริมาณเพิ่มขึ้น เพราะคนออกไปทำกิจกรรมข้างนอกมากขึ้น แต่มีการใช้จ่ายบางประเภทลดลง เช่น อาหารและบ้าน และเสริมว่า การใช้จ่ายครวเรือนที่ลดลง 5% รวมสินค้าที่มีความผันผวนมากด้วย เช่น ที่อยู่อาศัยและยานพาหนะ อย่างไรก็ตาม “มาซาโตะ โคอิเกะ” นักเศรษฐศาสตร์จาก Sompo […]