‘ราคาน้ำมันดิบ’ พุ่งมากกว่า 3% หลัง OPEC+ จ่อลดการผลิตสูงสุด 1 ล้านบาร์เรล/วัน
สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ว่า ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นมากกว่า 3% ในการค้าเอเชียช่วงแรกในวันจันทร์ เนื่องจากกลุ่มองค์กรของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและพันธมิตร (OPEC+) พิจารณาลดกำลังการผลิตสูงสุด 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในการประชุมในสัปดาห์นี้ เพื่อสนับสนุนตลาด ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ดีดตัวขึ้น 2.82 ดอลลาร์ หรือ 3.3% สู่ 87.96 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (23.37 GMT) หลังจากปิดตัวลง 0.6% ในวันศุกร์ ราคาน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐอยู่ที่ 82.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.60 ดอลลาร์ หรือ 3.3% หลังจากขาดทุน 2.1% ในช่วงก่อนหน้า โดยราคาน้ำมันร่วงลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน เนื่องจากการล็อกดาวน์ของผู้บริโภคพลังงานรายใหญ่ของจีน […]
โอเปกผลิตน้ำมัน มี.ค. ลดลง ต่ำสุดในรอบเกือบ 1 ปี
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันของสมาคมประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ โอเปกในเดือนมีนาคมลดลง 170,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 32.04 ล้านบาร์เรล/วัน ต่ำสุดนับแต่เดือนเมษายนปี 2017 ซึ่งอยู่ที่ 31.9 ล้านบาร์เรล/วัน โดยในเดือนดังกล่าว ปริมาณการผลิตน้ำมันของเวเนซูเอล่าลดลง 100,000 บาร์เรล/วัน มาอยู่ที่ 1.51 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ หรือ ไออีเอเตือนว่า เวเนซูเอล่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวลที่สุดที่จะทำให้อุปทานน้ำมันขาดแคลน หลังประสบวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนการผลิตน้ำมันในอัลจีเรียลดลง 40,000 บาร์เรล/วัน มาอยู่ที่ 1 ล้านบาร์เรล/วัน หลังปิดซ่อมบำรุง ในหลายแห่งผลิตในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่การผลิตน้ำมันในลิเบียอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1 ล้านบาร์เรล/วัน หลังปิดแหล่งผลิตบางแห่ง
OPEC ยันรัสเซียไม่หักหลังเพิ่มกำลังผลิตน้ำมัน แม้ราคาตลาดฟื้นตัว
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า Mohammed Barkindo เลขาธิการสมาคมประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ โอเปก (OPEC) เปิดเผยว่า รัสเซียให้คำมั่นว่า จะไม่ฝ่าฝืนข้อตกลงลดการผลิตน้ำมันที่ลงนามไว้กับโอเปก แม้ราคาน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยนายเบอร์คินโดกล่าวว่า Vladimir Putin ประธานาธิบดี และ Alexander Novak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรัสเซียได้ให้คำมั่นดังกล่าวไว้ การเปิดเผยดังกล่าวของเลขาธิการโอเปกมีขึ้น หลังนักลงทุนกังวลว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้รัสเซียเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ซึ่งไม่ได้ทำข้อตกลงดังกล่าวด้วย ได้เพิ่มการผลิตน้ำมันอย่างต่อเนื่องนับแต่ราคาน้ำมันในตลาดฟื้นตัว ทั้งนี้ ความกังวลเกี่ยวกับอุปทานส่วนเกินที่อาจกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 60 ดอลลาร์/บาร์เรล