BF Knowledge Center Personal Finance
วางแผนการเงินกันไหม? ในฐานะคนโสดข้ามปีก็ได้
โดย…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPT™ ทีมงาน BF Knowledge Center กองทุนบัวหลวง เทศกาลความรักผ่านไปก็แล้วไม่รู้กี่ปีต่อกี่ปี หันกลับมามองตัวเอง อ้าววว!! โสดค้างมาจากปีที่แล้ว (เฮ้อออ) ครั้นจะนั่งเหงาเศร้าซึม รอความรักก็ดูจะเสียเวลาไปเปล่าประโยชน์ ลองมาเริ่มต้นมอบความรักให้กับตัวเอง ด้วยการวางแผนการเงินสำหรับคนโสดกันดีกว่า เพราะถึงจะเหงาแต่เราก็ยังมีเงินใช้ “อิสรภาพ” คือ สาเหตุที่คนโสดต้องวางแผนการเงิน เพราะคนโสดส่วนใหญ่เคยชินกับการใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการโดยไม่ต้องกังวลกับการดูแลคนอื่นมากนัก อีกทั้งเป้าหมายของชีวิต รวมถึงเป้าหมายการเงิน สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการ เพราะไม่ได้ส่งผลกระทบกับคนอื่น ในขณะที่คนมีคู่มักให้ความสนใจเรื่องการวางแผนการเงินมากกว่า เพราะวางแผนการเงินที่ผิดพลาดอาจส่งผลกระทบกับหลายชีวิตในครอบครัว เช่น วางแผนซื้อบ้าน วางแผนการศึกษาบุตร เป็นต้น “ความเหงา” คือ ตัวกระตุ้นให้เกิดการใช้เงิน และในหลายครั้งก็สร้างปัญหาทางการเงินให้กับคนโสดได้ โดยกิจกรรมคลายเหงาที่ทำให้เสียเงินมากที่สุด คงหนีไม่พ้นการช้อปปิ้งและท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังมีสิทธิพิเศษต่างๆ จากบัตรเครดิต ซึ่งในหลายครั้งทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยโดยไม่จำเป็น หากปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป เงินออมของเราคงร่อยหรอไปเรื่อยๆ ท้ายที่สุดคงต้องกลายเป็นคนโสดที่อยู่ลำพัง แถมยังลำเค็ญเพราะมีเงินไม่พอใช้ในวัยเกษียณอีกด้วย การวางแผนการเงินสำหรับคนโสดที่ต้องจัดการ เริ่มต้นที่ เงินสำรองฉุกเฉิน 3 […]
BF Knowledge Center Personal Finance
Wealth ทางเลือก ทางรอด ของคนส่วนใหญ่ในประเทศไทย
โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center “ตรุษจีนนี้ ขอให้ทุกท่านพบแต่สิ่งดีๆ คิดสิ่งใดสมปรารถนา กิจการรุ่งเรือง เฮงๆ รวยๆ มั่งมีตลอดไป อั่งเปาตั่วตั่วไก๊ ” คำพูดอันแสนคุ้นหูเหล่านี้มักถูกนำไปส่งต่อให้กับคนที่เรารัก ผู้รับก็คงจะรู้สึกดีและหวังว่ามันคงจะเกิดขึ้นสักวัน ซึ่งถ้ามองอีกมุมหนึ่งของ “Wealth” คงมิได้หมายถึงแต่เรื่องทรัพย์สินเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองถึงปัจจัยพื้นฐานที่ทุกคนพึงมีด้วย นี่จึงเป็นเหตุที่ทำให้ต้องมาดูว่า ทำไมเราถึงมี Wealth ที่แตกต่างกัน เรามักคิดว่าความร่ำรวยมีอย่างไม่จำกัด แต่จริงๆ แล้ว ทรัพยากรมีจำกัด ถ้ามีคนหนึ่งได้ อีกคนหนึ่งก็ต้องเสีย มันก็เป็นเรื่องธรรมดา ที่เรามักจะลืม หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเพราะปัญหาความเหลื่อมล้ำ ที่ส่งผลกระทบกับ Wealth โดยเฉพาะ Wealth ของคนไทยส่วนใหญ่อย่างเราๆ ที่ต้องกล่าวถึงเรื่องนี้คงเป็นเพราะ เมื่อ 6 ปีก่อน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงป็นอันดับที่ 11 ของโลก แต่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา […]
BF Knowledge Center Personal Finance
เมื่อ passive income กำลังจะไม่เหมือนเดิม
โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ในปีหน้าและอาจจะหมายถึงหลายปีจากนี้ การลงทุนจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อีกต่อไป โดยเฉพาะการหวังผลกำไรในรูปแบบ passive income ที่เกิดจากการนำเงินเก็บเงินออม หรือทรัพย์สินที่มีไปลงทุนสร้างผลกำไรงอกเงย สร้างรายได้เพิ่มเติม นอกเหนือจากการประกอบอาชีพหลักที่สร้าง active income ให้กับเรา passive income ที่ว่าจะหาได้ยากขึ้นนั้น ผมมองไปที่รายได้จากลงทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนโดยตรงในหุ้น การลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์ อย่างคอนโดมิเนียมให้เช่าหรือซื้อขาย การลงทุนในทองคำ หรือการเก็งกำไรในทรัพยสินทางเลือกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง สาเหตุที่ผมคิดเช่นนั้น เพราะ ธรรมชาติของ passive income ที่คนนิยมมักเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในช่วงขาขึ้น มีกระแสความนิยม ทำให้ลงทุนแล้วมีกำไรมากกว่าขาดทุน ในระยะสั้นๆ อาจจะมีแกว่งๆ บ้างแต่พื้นฐานของทรัพยสินยังเป็นที่ต้องการและได้รับความนิยม ในที่สุดก็เลยยังคงมีกำไรอยู่จนกว่าจะหมดรอบความนิยมนั้น แต่ปัจจุบันทรัพย์สินหลายๆ อย่างดูเหมือนจะหมดรอบของมัน ทั้งหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และคอนโดมิเนียมที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดตามเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ จากข้อแรก ทำให้ผู้ต้องการ passive income […]
BF Knowledge Center Personal Finance
จัดการเงินง่ายๆ สไตล์ฟรีแลนซ์
จัดการเงินง่ายๆ สไตล์ฟรีแลนซ์ โดย…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ปัจจุบันหลายคนให้ความสนใจเรื่องการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลมากขึ้น ซึ่งเน้นบริหารรายรับรายจ่ายให้มีประสิทธิภาพ คือ มีเงินเพียงพอใช้จ่าย มีเงินออมและ/หรือมีเงินลงทุนในทุกเดือน รวมถึงมีเงินสำรองใช้ในยามฉุกเฉิน โดยการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่มีรายรับประจำเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงอาชีพฟรีแลนซ์ด้วย ฟรีแลนซ์ (Freelancer) เป็นอาชีพในฝันของคนรุ่นใหม่ เพราะเป็นการทำงานที่มีความอิสระทางความคิด อิสระทางเวลาในการบริหารจัดการการทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยความอิสระนี้ให้ความสบายใจ แต่อาจแลกกับรายรับที่ไม่สม่ำเสมอบ้างในบางเดือน และบางครั้งก็อาจมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น ทำงานเสร็จเดือนนี้ ลูกค้าบางรายจ่ายเดือนนี้ บางรายจ่ายเดือนหน้า ฯลฯ รวมถึงตัวเราเองก็อาจมีเหตุฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ไม่สามารถทำงานได้ ทำให้ขาดรายรับในเดือนนั้น การวางแผนบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของอาชีพฟรีแลนซ์จึงมีความสำคัญมาก เพราะหากจัดการได้ดีก็จะสามารถช่วยให้ก้าวผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ “รายรับไม่สม่ำเสมอ แต่รายจ่ายมีสม่ำเสมอทุกเดือน” เป็นเรื่องจริงที่ปวดใจไม่น้อยสำหรับอาชีพฟรีแลนซ์ แต่สามารถจัดการได้ง่ายกว่าที่คิด โดยมีแนวทางปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ ตรวจสอบค่าใช้จ่าย เริ่มต้นจากการทำบัญชีรายจ่าย โดยแยกประเภทของค่าใช้จ่ายเป็น 3 ส่วน […]
BF Knowledge Center Personal Finance
ซื้อกองทุนไหนดี
By…ศรศักดิ์ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center คำถามที่พบอยู่เป็นประจำจากนักลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนรวมคือ “ซื้อกองทุนไหนดี” โดยนักลงทุนส่วนใหญ่คาดหวังคำตอบที่สั้นๆ ชัดเจน และตรงไปตรงมาจากผู้แนะนำการลงทุน เช่น กองทุน ABC ซิครับดี พร้อมอธิบายความดีงามของกองทุน 2-3 ประโยค และแสดงผลการดำเนินงานที่ดีในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปีที่ผ่านมา หรือมีผลตอบแทนสูงในระดับต้นๆจากการจัดอันดับของกูรูต่างๆ จะทำให้นักลงทุนตัดสินใจง่ายขึ้นในการเข้าลงทุนในกองทุนที่ได้รับการแนะนำ คงไม่ต่างกันกับนักลงทุนที่มักถามเจ้าหน้าที่การตลาดของโบรกเกอร์ว่า “ซื้อหุ้นตัวไหนดี” โดยต้องการคำตอบเพียงชื่อหุ้น 2-3 ตัว พร้อมเหตุผลประกอบสั้นๆ 2-3 ประโยคและราคาเป้าหมายที่จะไปถึง แม้จะมีนักลงทุนบางส่วนที่ไล่เรียงซักถามรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมจากที่ได้รับคำแนะนำ แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อย หากเปรียบกันแล้วคงไม่ต่างจากการไปซื้อของในห้างสรรพสินค้าที่ลูกค้ามักถามพนักงานขายเครื่องสำอางหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าว่า ยี่ห้อไหน รุ่นไหนดี โดยคาดหวังว่าพนักงานขายจะต้องมีความรอบรู้ในตัวสินค้าเป็นอย่างดีและสามารถแนะนำสินค้าที่ดี่ที่สุดได้ โดยพนักงานขายอาจแนะนำสินค้าที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสมซึ่งบางครั้งอาจเชียร์สินค้าที่ห้างต้องการโปรโมทหรือให้ทำยอดขายตามเป้า ในความเป็นจริงกองทุนรวมมีความแตกต่างและหลากหลายมากมายขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนและระดับความเสี่ยง แต่ละกองทุนมีข้อดีและข้อด้อยในตัวเอง ไม่มีกองทุนที่ดีพร้อมในทุกด้าน เช่น ให้ผลตอบแทนสูง แต่มีความผันผวนและความเสี่ยงต่ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงไม่มีกองทุนไหนที่ดีเลิศเหมาะสำหรับนักลงทุนทุกๆ คน […]
BF Knowledge Center Personal Finance RMF
สารพันเรื่องน่ารู้กองทุนรวม RMF
สารพันเรื่องน่ารู้กองทุนรวม RMF โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ถ้าลงทุน RMF ขายก่อนปีที่ครบกำหนดได้หรือเปล่า ขายได้ แต่จะผิดเงื่อนไขการลงทุนของกองทุนรวม RMF โดยการผิดเงื่อนไขให้พิจารณา 2 ข้อ คือ 1.ลงทุนมาแล้ว 5 ปีแต่ยังมีอายุไม่ถึง 55 ปีบริบูรณ์ หากลงทุนมาแล้ว 5 ปี แต่อายุยังไม่ถึง 55 ปีบริบูรณ์ แล้วขายกองทุนรวม RMF ผิดเงื่อนไขในเรื่องของอายุของผู้ลงทุนที่ไม่ถึง 55 ปี ในกรณีนี้ หากขายหมด กำไรที่ได้รับ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ แต่จะต้องคืนสิทธิทางภาษีย้อนหลังสูงสุด 5 ปี เช่น ลงทุนมาแล้ว 10 ปี ปีละ 10,000 บาท อัตราภาษี ที่เสีย […]
ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนและหลักทรัพย์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
By…วรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการบริหาร กองทุนบัวหลวง ปัจจุบันการลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIT ซึ่งย่อมาจาก Real Estate Investment Trust กลายเป็นเครื่องมือการระดมทุนเพื่อนำเม็ดเงินไปใช้ลงทุนต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน และเนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนในแต่ละโครงการค่อนข้างสูง จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุน แม้จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน แต่ในแง่ของผู้ลงทุนจะมีความคล้ายคลึงกันมาก และคล้ายกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่รู้จักกันดี นั่นคือเป็นรูปแบบการลงทุนโดยตรงในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อหวังรับผลตอบแทนกลับคืนแบบสม่ำเสมอ คล้ายๆ กับการลงทุนในอาคารแล้วปล่อยเช่า เก็บกินค่าเช่าไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนอาจเป็นทั้งการซื้อทรัพย์สินนั้นมาเลย หรือซื้อสิทธิการเช่าหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าเซ้ง หรืออาจจะเป็นการทำสัญญาตกลงให้กองทุนได้รับเงินด้วยวิธีการใดๆ เช่น ได้รับเงินสุทธิจากรายได้ของกิจการหักด้วยค่าใช้จ่าย เช่น รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสุทธิ ของค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS ในช่วงสถานีที่กำหนดไว้ในโครงการ ซึ่งระบุเงื่อนไขไว้ในสัญญา เป็นต้น ในกรณีเซ้ง หรือลงทุนในสิทธิรายได้ต่างๆ เมื่อครบระยะเวลาเช่าแล้ว กองทุนหรือ REIT จะหมดสิทธิใช้ประโยชน์หรือรับรายได้จากทรัพย์สินนั้นทันที และส่งมอบทรัพย์สินหรือสิทธิ […]
การมองไปข้างหน้า สำคัญมากสำหรับการลงทุนในหุ้น
By…วรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการบริหาร กองทุนบัวหลวง ปัจจุบันมีเครื่องมือประมวลผลต่างๆ ที่ช่วยให้วิเคราะห์หุ้นได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น มีตัวช่วยในการวิเคราะห์ราคาซื้อขายที่เหมาะสม โดยอ้างอิงข้อมูลจากงบการเงิน ราคาในอดีต รวมถึงการวิเคราะห์และคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ต่างๆ ทำให้ตัดสินใจซื้อขายง่ายขึ้น เร็วขึ้น แต่สิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการคัดเลือกหุ้น หรือกองทุน นั่นคือการมองไปข้างหน้า มองอนาคตของกิจการว่าจะเดินไปทางใด เป็นสิ่งที่เครื่องมือและเทคโนโลยียังไม่สามารถทำได้ การใช้ข้อมูลในอดีต งบการเงิน และสถิติต่างๆ เป็นตัวช่วยอ้างอิงความสำเร็จในอดีต ที่เชื่อว่ายังมีอิทธิพลต่ออนาคตของหุ้นนั้นๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าอดีตจะเกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต กิจการที่แข้มแข็งในอดีต ไม่ได้แปลว่าอนาคตจะดีไปได้ตลอด ในยุคที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมองให้ออกว่า ปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น อะไรคือการเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน อะไรคือความฉาบฉวย จากนั้นค่อยแสวงหาธุรกิจที่ได้ประโยชน์หรือรู้จักใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น แล้วเข้าไปลงทุนเพื่อหวังการเติบโตในอนาคต ว่าไปแล้ว คำว่ายั่งยืน ไม่มีจริงหรอก เราจึงต้องตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง เราจึงต้องหากิจการที่จะอยู่รอดและมีผลกำไรที่ดีในอนาคต รู้จักปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก ตามทันเทคโนโลยี และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
ผลตอบแทนจากการลงทุนกับการบรรลุเป้าหมาย
By…วรวรรณ ธาราภูมิ และเสกสรร โตวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร กองทุนบัวหลวง การวางแผนลงทุนให้บรรลุเป้าหมาย มีปัจจัยสำคัญอยู่ 2 เรื่อง นั่นคือ 1) ความสามารถในการหาเงินต้นและเงินมาลงทุนระหว่างทางให้ได้ตามแผนที่วางไว้ และ 2) ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ ประเด็นการหาเงินมาลงทุนดูจะไม่ซับซ้อนนัก สามารถอ้างอิงกับแหล่งรายได้ที่มีอยู่ ต่างจากผลตอบแทนที่เป็นเรื่องอนาคต คาดการณ์ได้ยากกว่า การคาดการณ์ผลตอบแทนในอนาคตของพอร์ตที่เตรียมไว้ ที่ผ่านมาจะใช้ตัวเลขอ้างอิงผลตอบแทนจากอดีตเป็นหลัก ยิ่งมีข้อมูลมาก เราก็ “เชื่อ” ว่านี่คือผลตอบแทนของพอร์ตที่ “น่าจะ” ทำได้จริง ถ้าเป็นพอร์ตความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งให้ผลตอบแทนโดยรวมต่ำและราคาหลักทรัพย์ผันผวนน้อย ความเสี่ยงที่จะไม่บรรลุเป้าหมายก็จะไม่มากนัก หรือจะอาจจะขาดเงินไม่มากในวันที่ต้องการใช้ เพราะเงินลงทุนในพอร์ตลักษณะนี้จะมีจำนวนใกล้เคียงกับเงินที่ต้องการในอนาคต เว้นแต่เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ทำให้เงินต้นหดหาย แต่ถ้าพอร์ตมีความเสี่ยงสูง มีการลงทุนในหุ้นหรือมีสัดส่วนหุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ไฮยิลด์ ความผันผวนของราคาหลักทรัพย์จะเป็นเครื่องชี้เป็นชี้ตายความสำเร็จของแผนการเงินนั้นๆ ได้ ที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกเป็นขาขึ้นมายาวนาน ทำให้ตัวเลขผลตอบแทนระยะยาวในอดีตที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงการลงทุนในหุ้นแลดูสูง แผนการเงินที่เตรียมไว้จึงดูว่าบรรลุเป้าหมายได้ไม่ยากนัก แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนมากขึ้น มีความไม่แน่นอนมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่การวางแผนการลงทุนให้บรรลุเป้าหมายในปัจจุบันต้องปรับลดอัตราผลตอบแทนคาดหวังลง ปรับเปลี่ยนระยะเวลาการลงทุน และจำนวนเงินลงทุนแต่ละครั้งให้มากขึ้น เพื่อให้แผนการเงินยังคงสามารถบรรลุเป้าหมายได้ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ […]
BF Knowledge Center LTF Personal Finance RMF Uncategorized
เปลี่ยนใจได้ไหม ถ้าไม่ปลื้มกับ LTF / RMF ที่ถืออยู่
เปลี่ยนใจได้ไหม ถ้าไม่ปลื้มกับ LTF / RMF ที่ถืออยู่ โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ไม่ชอบใจกองทุน LTF/RMF ที่ลงทุนอยู่ อยากเปลี่ยนกองทุน สามารถทำได้ไหม? สามารถทำได้ แต่เงื่อนไขการเปลี่ยนกองทุนคือ จะต้องเปลี่ยนกองทุนไปในกองทุนแบบเดียวกัน เช่น เปลี่ยนจากกองทุน LTF A ไปยัง กองทุน LTF B จะไม่สามารถเปลี่ยนจากกองทุน LTF A มายังกองทุน RMF A หรือเปลี่ยนจากกองทุน RMF A ไปยังกองทุน LTF B ได้ การเปลี่ยนแบบนี้จะต้องพิจารณาอะไรบ้าง? ถ้าเป็นกองทุนรวม LTF เงื่อนไขของกองทุนประเภทนี้คือจะมีการลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ดังนั้น ไม่ว่าจะสับเปลี่ยนไปยังกองทุนรวม LTF […]