RMF ลงทุนง่าย เงื่อนไขไม่ยากอย่างที่คิด (ตอนที่1)

RMF ลงทุนง่าย เงื่อนไขไม่ยากอย่างที่คิด (ตอนที่1)

By…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา BF Knowledge Center เมื่อกล่าวถึงการลงทุนในกองทุนรวมสำหรับคนทำงานทุกคน  คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกองทุนรวมลดหย่อนภาษี LTF และ RMF เพราะกองทุนรวมทั้ง 2 ประเภท เปรียบเหมือนแหล่งความหวังของคนทำงานที่ต้องการลงทุนควบคู่ไปกับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี โดยกองทุนรวมที่เป็นที่นิยมคงหนีไม่พ้นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long term Equity Fund: LTF) เพราะเงื่อนไขในการถือครองหน่วยลงทุนเข้าใจง่าย สะดวกสบายตรงที่ไม่มีภาระผูกพัน และไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี แต่ข่าวร้ายคือการลงทุนในกองทุนรวม LTF อาจจะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีจนถึงปี พ.ศ.2562 เท่านั้น ในขณะที่ความต้องการลงทุนเพื่อแบ่งเบาภาระทางภาษียังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ กองทุนรวม RMF เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการออมระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ โดยเป็นการลงทุนภาคสมัครใจที่ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเช่นเดียวกันกับกองทุนรวม LTF แต่แตกต่างกันที่การคำนวณสิทธิในการลงทุน วิธีการลงทุน และการขายคืนหน่วยลงทุนอย่างถูกเงื่อนไข   สาเหตุเป็นเพราะวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนทั้งสองแตกต่างกัน โดยกองทุนรวม RMF นั้นเพื่อการเกษียณ  แตกต่างกับกองทุนรวม LTF ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในตลาดทุน […]

การเงินครอบครัวไม่ใช่แค่ Super Save แต่เป็น Super Plan สำหรับ Super Mom

การเงินครอบครัวไม่ใช่แค่ Super Save แต่เป็น Super Plan สำหรับ Super Mom

By…อรพรรณ บัวประชุม CFP® BF Knowledge Center “สุดๆ ไปเลย” วลีเด็ดที่แม่หญิงการะเกดชอบใช้ในเรื่องบุพเพสันนิวาส คงจะใช้เป็นวลีที่เหมาะที่สุดกับวงการแพทย์ในยุคปัจจุบัน ที่ทำให้คุณแม่ของเราเป็น Super Mom สาวสองพันปีที่จะได้อยู่กับพวกเรานานสุดๆ ไปเลย แต่การจะใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุขแบบมีคุณภาพ มีเงินใช้จ่ายวันละ 1,000 บาท หรือ เดือนละ 30,000 บาท ก็พอจะเป็นไปได้ในโลกปัจจุบัน แต่ถ้าจะต้องพึ่งพา “อาจารย์หมอ” แล้วล่ะก็ พวกออเจ้าทั้งหลาย คงจะไม่อยากคิดถึงตัวเลขที่จะตามมาเลยทีเดียว นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ยังบอกไว้ว่า การศึกษาของลูก ก็เป็นสิ่งจำเป็นมากด้วยเช่นกัน เพราะต้องใช้เบี้ยมิใช่น้อย ฉะนั้น หากออเจ้าเป็นคนหนึ่งที่ต้องดูแลทั้งคุณแม่และคุณลูกแล้ว ออเจ้าจงอย่าลืมเก็บเงินสำหรับเกษียณให้กับตัวออเจ้าเองด้วย ทีนี้ลองมาดูกันซิว่า การทำ Super Plan สำหรับครอบครัวจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ออเจ้าลองมาคำนวณกัน   “ไม่ว่าออเจ้าจะคิดกระไร ออเจ้าก็หลีกหนีตัวเลขเหล่านี้ไม่พ้นหรอกหนา” สำหรับเงินใช้จ่ายของคุณแม่ หากคุณแม่มีเงินเก็บเป็นเงินก้อน สามารถนำไปลงทุนในกองทุนที่มีหุ้นผสมอยู่ไม่เกิน 30% เพื่อให้เงินมีโอกาสงอกเงยเติบโตได้ทันเงินเฟ้อ […]

ปัญหาทางใจกับการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (ตอนจบ)

ปัญหาทางใจกับการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (ตอนจบ)

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center 3. ลงทุน DCA เสียโอกาสเสียจังหวะทำกำไรตอนหุ้นขาขึ้น หุ้นมีขึ้นมีลง เวลาหุ้นขึ้นไปมากๆ เห็นกำไรเป็นกอบเป็นกำ เป็นธรรมดาที่ผู้ลงทุนจะคันไม้คันมืออยากขายเอากำไรออกมาก่อน แล้วคิดว่าพอลงค่อยไปซื้อกลับ แต่วิธี DCA เหมือนบังคับผู้ลงทุนไม่ให้ขายออก ไม่ให้ทำกำไรแบบนี้ เรื่องนี้มองให้ชัด เป็นเรื่องของการกลับไปติดกับดักของการเก็งกำไรตาม market timing ให้ “ขายตอนขึ้น ซื้อตอนลง” ที่ผู้ลงทุนทุกคนรู้เทคนิค อยากทำ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จริงๆ ว่าเมื่อไรจะขึ้น เมื่อไรจะลง การที่ผู้ขายหน่วยลงทุน บริษัทกองทุน รวมถึงหน่วยงานต่างๆ อย่างตลาดหลักทรัพย์ฯ สำนักงาน ก.ล.ต. แนะนำให้ลูกค้ากองทุนซื้อแบบถัวเฉลี่ย นอกจากเหมาะกับมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้เป็นรายเดือนแล้ว อีกเหตุผลคือ การแก้ปัญหาเรื่องความผิดพลาดของผู้ลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้าไปเก็งกำไร ซื้อๆ ขายๆ หุ้นหรือกองทุน แล้วกะเก็งผิด ซื้อขายผิดจังหวะ สูญเสียไปเท่าไรกับวิธีง่ายๆ แบบนี้ ถามใจเธอดู ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่จะมีสักกี่คนทำได้ […]

ปัญหาทางใจกับการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (ตอนที่1)

ปัญหาทางใจกับการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (ตอนที่1)

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center ปัจจุบันการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยหรือ Dollar Cost Averaging (DCA) เป็นที่นิยมมากขึ้น หลังจากผู้ลงทุนเข้าใจและเคยชินกับรูปแบบวิธีการ ประกอบกับการโหมประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยสะดวกขึ้น เพราะวิถีชีวิตผู้ลงทุนทุกวันนี้เคยชินกับความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี อะไรที่ทำง่ายใช้เวลาน้อยจึงเป็นที่นิยม การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยก็เช่นกัน เพราะเสียเวลาตั้งเงื่อนไขและทำรายการเพียงครั้งเดียวอย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ ผิดหวังกับ DCA เพราะผลตอบแทนไม่ได้ดีต่อเนื่อง เพราะการขาดทุนระหว่างทาง ทำให้มองว่าการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยไม่ดี บางรายถึงกับหยุดการลงทุน หรือเปลี่ยนวิธีการไปเลยถ้าจะดูสาเหตุจริงๆ ที่ล้มเหลวจาก DCA ส่วนมากเกิดจากปัญหาทางใจแทบทั้งนั้นปัญหาอะไรบ้างที่ทำให้ผู้ลงทุนผิดหวังกับการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย 1. ลงทุนไปตั้งนานแล้วยังขาดทุน เงินต้นยังติดลบ จริงๆ แล้วการลงทุนมีความเสี่ยงทุกอย่างไม่ว่าจะใช้วิธีไหน จะลงทุนเพียงครั้งเดียวไปเลย หรือลงทุนแบบ DCA โดยเฉพาะการเลือกลงทุนในหุ้น ทั้งการลงทุนเองหรือผ่านกองทุน แต่สาเหตุที่ผลขาดทุนจากวิธี DCA มีผลต่อจิตใจผู้ลงทุนมากกว่าการลงทุนเพียงครั้งเดียว เป็นเพราะการลงทุนเพียงครั้งเดียวเมื่อขาดทุนไปแล้ว ผู้ลงทุนจะคิดว่ามันเกิดไปแล้ว เงินลงไปแล้ว ส่วนใหญ่จะรอเวลาให้ราคากลับขึ้นมาจนเท่าทุนหรือมีกำไร จะมีบ้างก็น้อยกับคนที่ซื้อเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ยราคาต้นทุน ตรงนี้เป็นผลทางด้านจิตใจล้วนๆ เพราะการลงทุนเพียงครั้งเดียว แม้ว่าเงินจะลงทุนไปแล้วทำอะไรกับเงินก้อนนั้นไม่ได้ […]

ในตลาดหุ้น ไม่ได้มีดีแค่หุ้น

ในตลาดหุ้น ไม่ได้มีดีแค่หุ้น

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center ตลาดหุ้นในนิยามของแต่ละคนก็จะมีความเหมือนและมีความต่าง เหมือนกันคือเป็นแหล่งลงทุน แหล่งหาผลตอบแทน ต่างกันอาจจะระดับของความคิดหวังผลตอบแทนและทัศนคติมุมมองเชิงบวกเชิงลบ เป็นที่เก็งกำไร เป็นที่ลงทุน เป็นบ่อเงินบ่อทอง หรือกระทั่งเป็นบ่อนพนันของใครหลายคน ซึ่งตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร ล้วนขึ้นกับว่าผู้ลงทุนเลือกที่จะให้เป็นอย่างไรมากกว่า ในแง่ของการวางแผนการลงทุน ตลาดหุ้นคือแหล่งแสวงหาผลตอบแทนที่เป็นระบบ มีมาตรฐาน กฎกติกาชัดเจน และสามารถเติมเต็มความคาดหวังเรื่องโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีกว่าได้ในระยะยาว แต่สิ่งที่คนจำนวนมากมองข้ามคือ แก่นที่แท้จริงของตลาดหุ้นอีกอย่างนั่นคือ ความเป็น “ตลาดรอง” ที่สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่ที่ทำให้เกิดสภาพคล่อง เป็นที่สำหรับผู้ต้องการซื้อต้องการลงทุน สำหรับผู้ขายที่ต้องการปล่อยหลักทรัพย์ ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้มีหลักทรัพย์หลายประเภทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น นอกเหนือจากหุ้นของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ โดยเฉพาะ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIT ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จากมุมมองนี้เป็นสำคัญ การที่กองทุน/หลักทรัพย์ประเภทการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์กลุ่มนี้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น ทำให้คนจำนวนมาก เข้าใจผิดและเหมาเอาว่ามันจะผันผวน ขึ้นลงหวือหวา และมีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงๆ ได้เหมือนบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ซึ่งถ้าพิจารณาพื้นฐานทางธุรกิจและแหล่งที่มาของรายได้กองทุนต่างๆ เหล่านี้แล้วเรียกได้ว่าเป็นหนังคนละม้วน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และ REIT มีข้อจำกัดในแง่ของการเติบโตมากกว่าบริษัทจดทะเบียน […]

ปัญหาภาษีของเงินปันผลจากกองทุนรวม

ปัญหาภาษีของเงินปันผลจากกองทุนรวม

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center โดยปกติการลงทุนโดยเลือกกองทุนรวมที่จ่ายเงินปันผล จะเหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนกลับคืนระหว่างการลงทุนบ้าง อาจจะเพราะต้องการเงินไปใช้ระหว่างการลงทุน หรือเพราะไม่อยากรอคอยผลตอบแทนรอบเดียวตอนขายคืน ก็แล้วแต่เป้าประสงค์ เรื่องเงินปันผลสำหรับผู้ลงทุนบุคคลธรรมดา ถ้าจะให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็ไม่ควรผิดพลาดเรื่องภาษี จึงมีความจำเป็นที่ควรทราบในประเด็นเล็กๆ น้อยๆ บางเรื่อง เงินปันผลจากกองทุนรวม จัดเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ไม่ได้รับการยกเว้นเหมือนกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนครับ กองทุนรวมที่เราๆ ท่านๆ ลงทุนกันอยู่ในปัจจุบันจะเป็นกองทุนรวมตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งถือว่าเงินปันผลจากกองทุนรวมกลุ่มนี้เป็นรายได้ประเภท 40(8) นะครับ ไม่ใช่เงินปันผลจากกองทุนรวมตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 ที่เป็นรายได้ 40(4) (ข) ซึ่งเป็นกองทุนรวมดั้งเดิมก่อนเกิด พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปี พ.ศ.2535 เงินปันผลจากกองทุนรวมทั้ง 2 ประเภท นอกจากเงินปันผลจะเป็นรายได้คนละประเภทแล้ว ยังมีความแตกต่างในเรื่องหัก ณ ที่จ่าย อีกด้วย  ถ้าเงินปันผลตาม 40(4) จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายทันที  […]

เคล็ดลับการเลือกกองทุนรวม ให้ถูกต้องและถูกใจ

เคล็ดลับการเลือกกองทุนรวม ให้ถูกต้องและถูกใจ

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center จะเลือกกองทุนรวมให้ถูกใจ ต้องรู้จักตัวเองก่อน ว่าต้องการอะไร ลงทุนได้นานแค่ไหน รับความเสี่ยงได้หรือไม่ ตอบตัวเองให้ได้ว่าต้องการลงทุนเพื่ออะไร จะทำให้เลือกกองทุนได้ถูกต้อง เช่น ต้องการลงทุนเพื่อเตรียมตัวเกษียณ แสดงว่าลงทุนระยะยาวได้ ต้องการพักเงินระยะเวลาสั้นๆ แสดงว่า ไม่ควรลงทุนระยะยาวหรือลงทุนในหุ้นและกองทุนผสม ควรลงทุนเฉพาะกองทุนสำหรับบริหารสภาพคล่อง รู้ข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาการลงทุน เช่น ลงทุนได้เพียงระยะเวลาสั้นมาก ไม่เกิน 1 ปี ควรเลือกลงทุนเฉพาะกองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ สำหรับพักเงินหรือกองทุนตราสารหนี้แบบมีกำหนดระยะเวลาที่ระบุเวลาลงทุนไม่เกิน 1ปี ลงทุนได้ระยะสั้น ไม่เกิน 3ปี ควรเลือกลงทุนกองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสมที่เน้นตราสารหนี้ ไม่ควรเลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กองทุนหุ้น ทองคำ หรือกองทุนผสมที่เน้นลงทุนในหุ้น ลงทุนระยะกลาง 3-5ปี สามารถเลือกกองทุนรวมแบบผสมผสาน คือลงทุนทั้งกองทุนหุ้นและกองทุนผสม หรือเลือกกองทุนผสมที่เน้นการลงทุนในหุ้นได้ และเมื่อระยะเวลาการลงทุนสั้นลง ควรปรับเปลี่ยนกองทุนให้มีความเสี่ยงลดลงด้วย ลงทุนระยะยาว 5ปีขึ้นไป สามารถเลือกกองทุนหุ้น หรือกองทุนผสมที่เน้นลงทุนในหุ้นได้ […]

ไม่อยากรับความเสี่ยง ในการลงทุนทำอย่างไรดี

ไม่อยากรับความเสี่ยง ในการลงทุนทำอย่างไรดี

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center ปัจจุบันคนจำนวนมากเข้าใจเรื่องการลงทุนและความจำเป็นของการลงทุนในหุ้นมากขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีคนบางส่วนที่ไม่พร้อม และไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนเลย ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้จะทำอย่างไร อะไรคือทางออก ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจกับคำว่าอยากรับความเสี่ยงก่อนก่อน เพราะถ้าเราเลือกได้ก็ไม่มีใครอยากรับความเสี่ยงทั้งนั้น  ถามดูร้อยทั้งร้อย ให้ลงทุนแบบมีโอกาสขาดทุนกับไม่ขาดทุนแน่ๆ ใครๆ ก็ไม่อยากขาดทุนทั้งนั้น แต่ที่ยอมลงทุนในเรื่องที่มีโอกาสขาดทุน คือ เค้าเห็นแล้วว่าคุ้มที่จะเสี่ยง ต้องมีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีกว่าเก็บเงินอยู่เฉยๆ ในธนาคาร  และเขาต้องเชื่อว่าสุดท้ายแล้วเขาจะได้อย่างนั้น หรือใกล้เคียง อยากได้ผลตอบแทนสัก 7-8%ต่อปี ตอนนี้แบบไม่เสี่ยง หรือเสี่ยงน้อยๆ แน่นอนว่าไม่มี ถ้าอยากได้ต้องยอมเสี่ยง แม้ไม่อยากเสี่ยง กลุ่มที่ไม่อยากรับและไม่ยอมเสี่ยงเลย ส่วนมากก็จะเป็นผู้ใหญ่ สูงอายุ ซึ่งเคยมีประสบการณ์ขาดทุน จากการลงทุนแบบเสี่ยงมาก่อนในยุคสมัยหนึ่ง ประกอบกับช่วงหนึ่งเขาเคยลงทุนที่ได้ผลตอบแทนดีๆ แบบความเสี่ยงต่ำมากหรือเรียกว่าไม่มีเลยมาก่อน ในช่วงก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง สมัยนั้น ฝากธนาคารออมทรัพย์ได้อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี ฝากประจำได้อัตราดอกเบี้ย 10-12%ต่อปี แถมรัฐบาลยังรับประกันเงินฝากในธนาคารให้ด้วย นับเป็นช่วงที่รุ่งเรืองมากของการฝากธนาคาร และช่วงรุ่งเรืองของคนไทยกับการออม คนไทยไม่จำเป็นต้องไปลงทุนหุ้น นำเงินไปเสี่ยง เพราะฝากเฉยๆ […]

ลงทุนในหุ้นไม่ยากอย่างที่คิด

ลงทุนในหุ้นไม่ยากอย่างที่คิด

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center การลงทุนในหุ้นไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเองโดยตรงหรือลงทุนผ่านกองทุนรวม ถือว่าเป็นวิธีสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ลงทุนได้มากที่สุดวิธีหนึ่ง โดยสิ่งที่จะทำให้ผู้ลงทุนประสบความสำเร็จนอกจาก ต้องมีการวางแผนการลงทุนที่ดี กระจายความเสี่ยงเหมาะสม และคัดเลือกลงทุนในตราสารการเงินที่มีคุณภาพแล้ว การเลือกลงทุนในช่วงเวลาที่ถูกต้องถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดได้ แต่ในทางตรงกันข้ามการเลือกลงทุนในจังหวะที่ผิดพลาดก็สามารถทำให้การลงทุนล้มเหลวได้เช่นเดียวกัน วิธีการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดก็คือ การซื้อตอนถูก ขายตอนแพง ที่รู้กันโดยทั่วไป  แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครรู้ว่าช่วงเวลาไหนคือช่วงที่ราคาหุ้นตกลงต่ำที่สุดให้ซื้อ และช่วงไหนราคาหุ้นสูงที่สุดให้ขาย โดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนอย่างมากในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ด้วยเหตุนี้ในปีนี้และปีต่อๆ ไป การคาดการณ์ทิศทางตลาดหุ้นจะทำได้ยากมากขึ้น มีโอกาสสูงที่นักลงทุนจะขาดทุนจากการซื้อขายผิดจังหวะได้ สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีอาชีพเป็นนักเก็งกำไรในตลาดหุ้น ไม่มีเวลาใกล้ชิดตลาดเพื่อติดตามข้อมูล การเล่นจังหวะซื้อขายจะมีความเสี่ยงและมีโอกาสขาดทุนสูง การลงทุนระยะยาวผ่านกองทุนรวมที่มีผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่ซื้อขายหุ้นและลงทุนให้จึงเป็นวิธีที่ดีกว่า ส่วนปัญหาเรื่องการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนผิดจังหวะก็สามารถลดปัญหาได้ด้วยวิธีลงทุนแบบถัวเฉลี่ย วิธีลงทุนแบบถัวเฉลี่ย หรือ Dollar Cost Averaging (DCA) ก็คือวิธีลงทุนแบบทยอยซื้อเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่นลงทุนทุกต้นเดือน กลางเดือน หรือปลายเดือน ในจำนวนเงินที่เท่ากัน โดยไม่สนใจว่าราคาหน่วยลงทุนของกองทุนหุ้นขณะนั้นเป็นเท่าไร วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ต้องการลงทุนระยะยาว โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในการลงทุนแต่ละครั้ง เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่าไม่มีใครสามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของราคาหุ้นได้ถูกต้องตลอดเวลา จึงไม่ควรคาดเดาทิศทางของราคา เพื่อหาจังหวะซื้อตอนที่หน่วยลงทุนมีราคาต่ำลง […]

เมื่อเงินลงทุนช่วยลดภาษีได้

เมื่อเงินลงทุนช่วยลดภาษีได้

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center ระดับความเสี่ยงและโอกาสรับผลตอบแทนเป็นของคู่กัน ตราสารการเงินความเสี่ยงสูง ผู้ลงทุนก็ควรจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่มากกว่าตราสารการเงินความเสี่ยงต่ำ เพื่อให้คุ้มค่ากับความเสี่ยงนั้นๆ แต่ปัจจุบันมีการลงทุนบางประเภทที่มีเงื่อนไขพิเศษจูงใจให้เกิดการลงทุน กล่าวคือทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนเพิ่มเติมมากกว่าการลงทุนทั่วไปทันที ไม่ว่าการลงทุนนั้นจะมีระดับความเสี่ยงเท่าใดก็ตาม วิธีลงทุนแบบพิเศษที่กล่าวถึงนี้ก็คือ การลงทุนผ่านกองทุนรวม 2 ประเภท อย่างกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund, RMF) และ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long-Term Equity Fund, LTF) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อชักจูงบุคคลธรรมดาให้เข้ามาลงทุน โดยภาครัฐเสนอสิทธิประโยชน์ให้นำเงินลงทุนมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไข กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ จัดตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อจูงใจให้ประชาชนแต่ละคนรู้จักวางแผนเก็บเงินตั้งแต่ตอนอยู่ในวัยทำงานไว้ใช้หลังเกษียณ เพื่อลดภาระของภาครัฐที่ต้องจัดสรรเงินอุดหนุนสำหรับผู้สูงอายุในอนาคต โดยยินยอมให้ประชาชนนำเงินลงทุนแต่ละปีไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ละปี และเมื่อรวมกับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขหลักว่าจะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ไม่น้อยกว่า 5 ปี จนถึงอายุ 55 ปี จึงไถ่ถอนเงินลงทุนจากกองทุนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข […]