ทำความรู้จักช่วงวัยหลังเกษียณ (ตอนจบ)

ทำความรู้จักช่วงวัยหลังเกษียณ (ตอนจบ)

By… เสกสรร โตวิวัฒน์, CFP BF Knowledge Center ช่วงวัยเกษียณจริง อายุ 70-79 ปี ช่วงวัยนี้ความสามารถในการหารายได้จะลดลงจนเกือบหมด ค่าใช้จ่ายสันทนาการจะลดลง แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตามปัญหาสุขภาพที่มีมากขึ้น โรคภัยที่มีอยู่จะแสดงอาการชัดเจนขึ้น และความสามารถต่างๆ ในการใช้ชีวิตจะลดลง ความแตกต่างด้านการใช้ชีวิตจะใกล้เคียงกันไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างเกษียณ หรืออาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ การทำกิจกรรมต่างๆ สำหรับวัยนี้ควรลดระดับลง ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนเองให้มาก ควบคุมการบริโภค เน้นการรักษาสุขภาพมากขึ้น ช่วยเหลือตนเองในกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถ หากิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับตนเอง เช่น ใช้ชีวิตกับสังคมเพื่อนในหมู่บ้านเพื่อคลายเหงา เป็นต้น ช่วงสุดท้ายวัยเกษียณ อายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยชราภาพจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต จัดเป็นวัยพักผ่อนอย่างแท้จริง ซึ่งปัญหาสุขภาพจะแสดงออกอย่างชัดเจน ปัญหาด้านสุขภาพและสมอง การจดจำต่างๆ ลดลงอย่างเด่นชัด การทำกิจกรรมต่างๆ ต้องอาศัยผู้อื่นช่วยเหลือเป็นส่วนใหญ่ การใช้จ่ายด้านการเงินจะเป็นเรื่องสุขภาพเกือบทั้งหมด สำหรับผู้ชราภาพมากๆ จำเป็นต้องมีผู้คอยดูแล หากมีครอบครัวลูกหลานช่วยเหลือจะลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายไปได้มาก การเตรียมพร้อมด้านการเงินช่วงสุดท้ายนี้จึงจะต้องเตรียมไว้สำหรับเรื่องสุขภาพเป็นหลัก แม้ว่าการวางแผนชีวิตตั้งแต่เริ่มเกษียณไปจนถึงช่วงสุดท้ายตั้งแต่วันนี้จะเป็นการกำหนดสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันห่างไกล […]

ทำความรู้จักช่วงวัยหลังเกษียณ (ตอนที่ 1)

ทำความรู้จักช่วงวัยหลังเกษียณ (ตอนที่ 1)

By… เสกสรร โตวิวัฒน์, CFP BF Knowledge Center หากเราจะแบ่งช่วงอายุในวัยเกษียณแบบคร่าวๆ โดยใช้ระยะเวลาและความสามารถในการใช้ชีวิตเป็นเครื่องกำหนดเบื้องต้นก็แบ่งได้เช่น ช่วงเริ่มต้นเกษียณ อายุ 60-69 ปี  ช่วงวัยเกษียณจริง อายุ 70-79 ปี และช่วงสุดท้ายวัยเกษียณ อายุ 80 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ช่วงอายุต่างๆ เป็นเพียงตัวเลขกำหนดคร่าวๆ ขึ้นเป็นตัวอย่างเพื่อประเมินกิจกรรมการใช้ชีวิต โดยการประเมินแต่ละช่วงอายุจะขึ้นกับสุขภาพ อายุขัยของบรรพบุรุษในครอบครัว และผลพวงจากการการดำรงชีพที่สั่งสมมาของแต่ละคนเป็นสำคัญ ช่วงเริ่มต้นเกษียณ อายุ 60-69 ปี ในช่วงวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนช่วงก่อนเกษียณ เป็นวัยที่ยังคงมีพลัง เชื่อในความสามารถของตนเองในการทำสิ่งต่างๆ เหมือนก่อนเกษียณ ในวัยนี้ ผู้ประกอบกิจการส่วนตัวหรือผู้มีอาชีพอิสระ อาจจะมีความแตกต่างในการใช้ชีวิตก่อนและหลังเกษียณน้อย เพราะยังทำงานไปเรื่อยๆ ได้ แม้จะลดระยะเวลาการทำงานลง แต่ ข้าราชการ พนักงาน กับ ลูกจ้าง จะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการใช้ชีวิตค่อนข้างมาก จากที่ต้องทำงานเต็มเวลา อาจจะกลายเป็นคนว่างงาน […]

เริ่มต้นจัดการเงินทองหลังเกษียณกันเถอะ

เริ่มต้นจัดการเงินทองหลังเกษียณกันเถอะ

By… เสกสรร โตวิวัฒน์ ถ้าจะสรุปลักษณะร่วมกันของคนวัยหลังเกษียณ ก็คือ วัยที่มีรายได้น้อยลง ค่าใช้จ่ายตามการใช้ชีวิตเดิมๆ น้อยลง แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพกลับมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเป็นอย่างนี้ แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนมีโอกาสสูงมากที่จะเกินกว่ารายได้รายเดือน ยิ่งสูงวัยมากขึ้น รายได้ก็หดหายลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน เหลือแต่ดอกเบี้ย เงินปันผล จากเงินเก็บเงินออมเงินลงทุนที่สั่งสมมา เงินบำนาญจากราชการ ประกันชีวิตแบบบำนาญ และบำนาญจากประกันสังคมไม่กี่ร้อยบาท ดังนั้น แผนการจัดการหนี้สินเงินทองที่ชาญฉลาด ที่อดทนเก็บหอมรอมริบมาทั้งชีวิตจะมีความสำคัญอย่างที่สุด โดยเฉพาะคนโสด คนแต่งงานแต่ไม่มีลูก หรือแม้แต่คนที่มีลูก แต่เขาไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดูเรา ด้วยหลายๆ ปัจจัย · ทำอย่างไร ให้เงินที่มีเพียงพอต่อการใช้ไปจนลมหายใจสุดท้าย · ทำอย่างไร กับหนี้สินก้อนใหญ่ที่ยังคงเหลืออยู่ · ทำอย่างไร ให้เงินออมที่มียังคงงอกเงย ให้ผลตอบแทน · ทำอย่างไร ให้เงินออมไม่ต้องไปลงทุนในสิ่งที่เสี่ยงจนเกินไป สำหรับการวางแผนจัดการเงินทองวัยหลังเกษียณ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดรับที่หดหาย (ลดลง) และการวางแผนการใช้จ่ายสำหรับช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ให้ได้ก่อนใช้เงินก้อน คนวัยเกษียณจะว่างและมีเงินก้อนในมือ จะอยากใช้จ่ายอยากให้รางวัลกับชีวิต ต้องประมาณให้ดีก่อนใช้ ไม่เช่นนั้นเงินอาจหมดได้ […]

ลดความไม่เท่าเทียม รู้จักวางแผนการเงิน (ตอนจบ)

ลดความไม่เท่าเทียม รู้จักวางแผนการเงิน (ตอนจบ)

By… พนิต ปัญญาบดีกุล * ความจำเป็นในการวางแผนทางการเงิน การวางแผนทางการเงิน ด้วยการคำนึงถึงรายได้เฉลี่ยและทรัพย์สินที่มี ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการลดความไม่เท่าเทียม ถึงแม้ภาครัฐจะมีมาตรการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ออกมาเพื่อลดความไม่เท่าเทียมหรือความเหลื่อมล้ำดังกล่าว แต่ในส่วนของเราเองที่เป็นบุคคลธรรมดา การตระหนักถึงความจำเป็นในการวางแผนการเงินส่วนบุคคล ถือได้ว่ามีส่วนสำคัญมากในการสร้างความพร้อมในด้านต่างๆของชีวิต ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักในการลดความไม่เท่าเทียม แต่เป็นการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงิน เช่น วางแผนเพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายได้เพียงพอในชีวิตประจำวันและในยามฉุกเฉิน วางแผนเพื่อสร้างครอบครัว ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ วางแผนการศึกษาสำหรับบุตร วางแผนในการป้องกันความเสี่ยงกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันผ่านการทำประกันชีวิตและการทำประกันภัย และวางแผนเพื่อให้มีเงินเพียงพอในยามเกษียณ เป็นต้น ดังนั้นการสร้างความมั่นคงและเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงิน อาจจะมองว่าสามารถลดความไม่เท่าเทียมหรือความเหลื่อมล้ำลงได้บ้าง แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือเป็นการเพิ่มหรือยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความมั่นใจและความสุขในทุกๆ ช่วงเวลาของชีวิต

เตรียมตัวเตรียมใจ เตรียมพร้อมวัยเกษียณ 

เตรียมตัวเตรียมใจ เตรียมพร้อมวัยเกษียณ 

By… เสกสรร โตวิวัฒน์ ในบรรดา 3 ช่วงชีวิตหลัก ระหว่าง วัยเด็ก วัยทำงาน กับ วัยพักผ่อน นั้น ในการวางแผนต่างๆ มักจะพูดถึงวิธีการวางแผนในช่วงวัยทำงานที่เป็นช่วงเวลาสะสมความมั่งคั่งมากกว่าวัยอื่นๆ  ส่วนเรื่องการเตรียมพร้อมเพื่อวัยเกษียณก็ยังไปเน้นหนักในช่วงวัยทำงานว่าช่วงอายุไหนจะเก็บเงินอย่างไรให้มีเงินใช้หลังเกษียณให้เพียงพอตามสูตรคำนวณ โดยมักละเลยการเตรียมพร้อมด้านการเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณว่าจะทำอย่างไรให้มีความสุขได้อย่างแท้จริง ทั้งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเมื่ออายุ 60 กับ 80 เราคงจะไม่ได้ใช้ชีวิตเหมือนกันทั้งสองวัยแน่ๆ การประเมินความพร้อมของตัวเองล่วงหน้าว่าภายหลังเกษียณจะเป็นอย่างไร จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับการสร้างความสุขให้ชีวิต เพราะถ้าไม่รู้จักตัวเอง ก็ไม่รู้ว่าจะสร้างความสุขให้ชีวิตหลังเกษียณอย่างแท้จริงได้อย่างไร การวางแผนใช้ชีวิตหลังเกษียณนอกจากสิ่งต่างๆ รอบตัวแล้ว การประเมินสุขภาพตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เราพอรู้ล่วงหน้าได้ว่า ช่วงไหนวัยใดเราสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของบุคคลวัยทองคือ การไม่ยอมรับว่าตนเองแก่แล้ว รับไม่ได้กับการถูกลดทอนคุณค่า น้อยใจกับการถูกลูกหลานขอให้อยู่เฉยๆเหมือนให้นั่งเฉยๆ รอวันตาย แม้ว่าหลายครั้งจะเป็นความปรารถนาดีก็ตาม วิธีการเตรียมตัวเตรียมใจสำหรับเรื่องนี้ ขอแนะนำให้ลองเฝ้าดูผู้สูงวัยในบ้านในวันที่เรายังคงเป็นวัยทำงานมีเรี่ยวแรง แล้วจดจำไว้ว่าในวันนี้เรามองดูผู้สูงวัยเหล่านี้อย่างไร เพราะในอนาคตเมื่อถึงวันนั้น เราก็จะเผชิญกับมุมมองของลูกหลานในแบบเดียวกัน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ปัญหาสุขภาพเริ่มแสดงออกชัดเจน แต่ยังคงมีแรง สติยังคงแจ่มใส มักไม่ยอมรับปัญหาความชราที่ลูกหลานกำหนดให้ ต้องการแสดงออกถึงความสามารถโดยการทำสิ่งต่างๆ ที่เคยทำได้ในอดีตโดยละเลยปัญหาสุขภาพ ซึ่งกรณีนี้มักจะเป็นช่วงผ่านการเกษียณมาแล้วระยะหนึ่ง เช่นช่วงอายุตั้งแต่ 65-70 ปี ดังนั้น ความเข้าใจภาวะทางอารมณ์และสุขภาพของผู้เกษียณในแต่ละช่วงวัยจึงสำคัญยิ่ง

วางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณเริ่มต้นจากตรงไหน

วางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณเริ่มต้นจากตรงไหน

ปัญหาแรกของคนที่ตั้งใจวางแผนการเงินเพื่อเตรียมเกษียณก็คือไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร ต่อมาคือขาดแรงจูงใจที่จะเริ่มต้นขวนขวายลงมือทำ เพราะแม้จะรู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่เช่นนั้นตอนแก่ชราจะลำบาก แต่ด้วยปัญหาเป็นเรื่องอนาคตอีกยาวไกลหลายสิบปี ทำให้ไม่มีแรงจูงใจที่จะผลักดันให้ลงมืออย่างจริงจังในการปฏิบัติ การเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดก็คือการลองคิดคำนวณให้ได้ว่าในวันที่ตัวเองเกษียณนั้น ควรเก็บเงินให้ได้กี่บาท สำหรับใช้ในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ โดยตัดความหวังที่จะมีลูกหลานเลี้ยงดูออกไปก่อน เพื่อความไม่ประมาทเพราะอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้แม้ลูกหลานเราจะกตัญญูแค่ไหนก็ตาม บางครั้งลูกหลานอาจจากไปก่อนเราก็เป็นได้ การคำนวณหายอดเงินที่ควรมี ต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง 1) ระยะเวลาการใช้ชีวิตช่วงหลังจากเกษียณ ถ้าคิดแบบง่ายๆ ก็ใช้อายุเฉลี่ยของญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวในการคาดการณ์ แต่ควรตัดกรณีอุบัติเหตุเสียชีวิต หรือการเสียชีวิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับอายุขัยออกไป และจะให้ดีควรบวกเพิ่มไปสัก 5 ปี จากความก้าวหน้าและวิทยาการทางการแพทย์ที่ทำให้คนรุ่นปัจจุบันและในอนาคตมีอายุยืนยาวขึ้น 2) จำนวนเงินที่ควรมีไว้ใช้จ่ายรายเดือนหลังเกษียณ ซึ่งจะคิดแบบยากก็ยาก จะคิดแบบง่ายก็ง่าย เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของอนาคต ไม่มีถูกผิด แต่ควรมีหลักในการประมาณด้วยเช่นกัน หลักการประมาณที่ใช้กันบ่อยๆ ก็เช่น อ้างอิงจากรายได้หรือค่าใช้จ่ายรายเดือน และคิดเป็นร้อยละจากรายได้และค่าใช้จ่ายเดือนสุดท้ายก่อนเกษียณเหล่านั้น ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน มีความยากง่ายแตกต่างกัน 3) ค่าใช้จ่ายพิเศษที่ต้องเตรียมการไว้หลังเกษียณ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายตามเป้าหมายส่วนตัว เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว ภาระหนี้สินที่ยังเหลืออยู่ หรือค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลที่อยู่ภายใต้การอุปการะที่ยังจำเป็นต้องดูแลต่อไปแม้ว่าเราจะเกษียณแล้ว เป็นต้น การหายอดเงินรวมที่ต้องมีไว้สำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณให้ได้คือหัวใจสำคัญสำหรับการตั้งต้นวางแผนการเกษียณ เพราะจะทำให้การวางแผนเกษียณนั้นมีเป้าหมายที่ชัดเจน และนำไปสู่การแสวงหาวิธีการที่เหมาะสม […]