กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ (B-SENIOR)

กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ (B-SENIOR)

วัตถุประสงค์การลงทุน: ลงทุนในประเทศ ได้แก่ ตราสารแห่งหนี้และเงินฝาก ไม่น้อยกว่า 70% ของ NAV ตราสารแห่งทุน ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 30% ของ NAV และหรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในประเทศ กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และ/หรือกองทุน รวมอีทีเอฟ (ETF) เป็นต้น ซึ่งเหมาะสำาหรับนักลงทุนที่ต้องการลดภาระการบริหารเงินในวัยเกษียณ และต้องการโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนภายใต้ ความเสี่ยงที่เหมาะสม Bloomberg (A): BSENIOR TB Fund Size: B-FLEX: 23,878 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 2018) Morningstar Category: Conservative Allocation สรุปภาพรวมตลาดตราสารทุนไทยช่วงเดือน ต.ค. 2018 ตลาดหุ้นไทยเปิดไตรมาสสุดท้ายของปีด้วยความผันผวนโดย SET Index […]

กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE)

กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE)

วัตถุประสงค์การลงทุน: กระจายการลงทุนในตราสารแห่งทุน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารหนี้และหรือเงินฝาก รวมทั้งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นๆตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ Bloomberg (A): BFLEX TB / BACTIVE TB Fund Size: B-FLEX: 1,705 ล้านบาท / B-ACTIVE 421 ล้านบาท (ข้อมูล ณ 31 ต.ค. 2018) Morningstar Category: B-FLEX: Conservative Allocation / B-ACTIVE: Aggressive Allocation สรุปภาพรวมตลาดตราสารทุนไทยช่วงเดือน ต.ค. 2018 ตลาดหุ้นไทยเปิดไตรมาสสุดท้ายของปีด้วยความผันผวนโดย SET Index ปรับลดประมาณ 5% พร้อมกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงกว่า 3% ซึ่งการปรับตัวลงของดัชนีเป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีหุ้นทั่วโลก […]

กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ เอ็กซ์ตร้า (B-SENIOR-X)

กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ เอ็กซ์ตร้า (B-SENIOR-X)

วัตถุประสงค์การลงทุน: กระจายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ตราสารหนี้ เช่น ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ภาคเอกชน ไม่น้อยกว่า 70% ของ NAV, ตราสารทุน ไม่เกิน 30% ของ NAV, หน่วยลงทุนของกองทุนรวม เช่น กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) เป็นต้น หน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการไม่เกิน 60% ของ NAV, เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก โดยมีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 79% ของ NAV ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดภาระการบริหารเงินในวัยเกษียณ และต้องการโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม Bloomberg (A): BSENIORX TB Fund Size: 17,465 ล้านบาท (ณ วันที่ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงอินคัม (B-INCOME)

กองทุนเปิดบัวหลวงอินคัม (B-INCOME)

วัตถุประสงค์การลงทุน: กระจายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ตราสารหนี้ และ/หรือ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารทุน หน่วยลงทุนของกองทุนรวม เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) เป็นต้น หน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการ ในสัดส่วน 60% ของ NAV เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก ทั้งนี้ กองทุนอาจลงทุนใน Derivatives และ/หรือ Structured Note ในสัดส่วน 0-100% ของ NAV และสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 79% ของ NAV ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนที่คาดหวังให้เงินลงทุนระยะยาวได้ผลตอบแทนที่ดีจากหุ้นและตราสารหนี้ โดยรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง Bloomberg (A): BINCOME TB Fund Size: 6,278 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 […]

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ลงทุนในตราสารทุน

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ลงทุนในตราสารทุน

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (BERMF)  กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ (IN-RMF) กองทุนเปิดบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-SM-RMF) กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BSIRIRMF) กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BBASICRMF) กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-TOPTENRMF) Market Overview : ต.ค.2018 ตลาดหุ้นไทยเข้าสู่เดือนแรกของไตรมาสสุดท้ายแห่งปี เผชิญกับความผันผวนอย่างหนัก ท่ามกลางปัจจัยลบภายนอกรุมเร้า ดัชนีปรับตัวลดลงประมาณ 7% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก สาเหตุหลักมาจากความกังวลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ โดยในต้นเดือน ต.ค. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลก ในปี 2018 และ 2019 เหลือ 3.7% ทั้งสองปีจากประมาณการในเดือน ก.ค. ที่ระดับ 3.9% โดยให้น้ำหนักความเสี่ยงของสงครามการค้า ความเปราะบางทางเศรษฐกิจรายประเทศ และภาวะการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังมีความกังวลที่เพิ่มขึ้นจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อายุ 10 ปี (10YR […]

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BGOLDRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BGOLDRMF)

สรุปภาวะการลงทุนในทองคำ “ในไตรมาสสุดท้าย ราคาทองคำ น่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ USD 1,200 oz. และมีความเป็นไปได้ที่จะอยู่ในขาลงมากกว่าขาขึ้น เนื่องจากแนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงิน USD และแผนการปรับขึ้น Fed Fund Rate ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า” ราคาทองคำ ในช่วงที่ผ่านมาของปี 2018 ได้รับแรงกดดันอย่างมากจากปัจจัยหลัก ได้แก่ เงิน USD ที่แข็งค่าขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Fed Fund Rate) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทว่า ราคาทองคำ ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือน ต.ค. อยู่ที่ -6.8% โดยเคลื่อนไหวในกรอบ 1,177-1,363 ดอลลาร์ฯ/ออนซ์ โดยราคาทองคำ นับตั้งแต่ช่วงเดือน ต.ค. สามารถกลับตัวฟื้นขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 20 เดือนในช่วงไตรมาส 3 ได้ จากความต้องการเข้าซื้อทองคำจากฝั่งผู้บริโภคเพื่อปกป้องมูลค่าทรัพย์สินและอุปสงค์ต่อสินทรัพย์ปลอดภัยที่เร่งตัวขึ้นท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลกและปัญหาเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการตกลงเรื่อง Brexit ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ […]

กลุ่มกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของกองทุนบัวหลวง

กลุ่มกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของกองทุนบัวหลวง

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF) Market Overview : ส.ค. 2018 ดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือน ส.ค. อยู่ในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 1,722 จุด โดยมีความผันผวนในระหว่างเดือนจนทำให้ดัชนีหลุดแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,700 จุด สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของปัจจัยลบ อย่างประเด็นวิกฤติค่าเงินตุรกีหลังจากทางสหรัฐฯ ประกาศเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม เพื่อตอบโต้การที่รัฐบาลตุรกีได้ควบคุมตัวพลเมืองสหรัฐฯ ที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหารในตุรกีเมื่อปี 2016 ประเด็นวิกฤติค่าเงินตุรกีส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้นใน Emerging markets รวมถึงไทย อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือน ตลาดพลิกกลับมาได้อีกครั้ง จากการฟื้นตัวผ่านแรงซื้อหุ้นขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มสื่อสาร จากความเสี่ยงด้านการประมูลคลื่นที่คลี่คลายลง กลุ่มค้าปลีกในบางตัวที่มีผลประกอบการดีกว่าคาด และกลุ่มพลังงานที่ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น เห็นได้ชัดว่าตลาดให้น้ำหนักกับปัจจัยพื้นฐานเฉพาะหุ้นของหุ้นขนาดใหญ่บางตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยต่างประเทศกดดัน แต่แรงขายของนักลงทุนต่างชาติยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ระดับ 10,000 ล้านบาท ต่างจากประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม TIPs ที่เห็นการไหลออกเพิ่มขึ้นของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนแอ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BGOLDRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BGOLDRMF)

สรุปภาวะการลงทุนในทองคำ “เศรษฐกิจที่ขยายตัวของ USA การขึ้น Fed Fund Rate และค่าเงิน USD ยังกดดันราคาทองให้อยู่ในระดับ USD 1,200 oz.” ราคาทองคำในครึ่งปีแรก (2018) ได้รับแรงกดดันอย่างมากจากปัจจัยหลัก ได้แก่ เงิน USD ที่แข็งค่าขึ้นจากการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด และการอ่อนค่าลงของเงินสกุล EUR เนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้า อย่างไรก็ตาม ครึ่งปีหลังราคาทองคำโลกมีปัจจัยที่เกื้อหนุนอยู่บ้าง ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและสหรัฐอเมริกา รวมถึงภาวะที่การเมืองมี ความไม่แน่นอนนักลงทุนมักจะมีความต้องการเข้าซื้อทองคำเพื่อปกป้องการลดลงของมูลค่าทรัพย์สิน อัตราผลตอบแทนของทองคำ ตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนส.ค.อยู่ที่ -8.2% โดยเคลื่อนไหวในกรอบ 1,200-1,300 ดอลลาร์ฯ/ออนซ์ และทดสอบระดับต่ำสุดที่ 1,200 ดอลลาร์ฯ/ออนซ์ จากค่าเงินสกุล USD ที่แข็งค่าขึ้น และอีกหลายปัจจัยสำคัญ ได้แก่ (1) เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง (2) สถานการณ์ทางการเมืองในยุโรป […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนช่วง เม.ย.– ก.ค. 2018 ปัจจัยกดดันในประเด็นเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่หลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED และการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ วิกฤตการณ์ในตลาดเกิดใหม่บางประเทศ ได้แก่ ตุรกีและอาร์เจนตินา ประกอบกับความกังวลของนักลงทุนในเรื่องสงครามการค้า แม้ว่าจะยังไม่มีผลกระทบทางตรงต่อประเทศในภูมิภาคอาเซียน ทว่าส่งผลให้ตลาดหุ้นของประเทศในภูมิภาคอาเซียนช่วง เม.ย. – ก.ค. 2018 ปรับตัวลดลงทั้งภูมิภาคเฉลี่ย 3 – 4% มีเพียงเวียดนามเท่านั้นที่ปรับตัวลงกว่า 20% ด้วยขนาดของตลาดที่ค่อนข้างเล็กและเป็นลักษณะปกติของตลาดแบบ Frontier Market ที่มักเคลื่อนไหวรุนแรง ผนวกกับการขายทำกำไรของนักลงทุนหลังจากที่ดัชนีพุ่งขึ้นอย่างมากในช่วงปีก่อน เม็ดเงินลงทุนต่างชาติในตลาดอาเซียนไหลออกอย่างต่อเนื่องมาตลอด 3 เดือนก่อนหน้า โดยนับจากต้นปีมีเพียงเวียดนามเท่านั้นที่มีกระแสเงินทุนไหลเข้าสุทธิจากขายหุ้น IPO ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเริ่มเห็นการกลับมาของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติในช่วงปลายเดือน ก.ค. แต่ระยะเวลาในการกลับมาของเม็ดเงินลงทุนยังมีความไม่แน่นอนว่าจะกลับมาอย่างต่อเนื่องหรือเป็นเพียงช่วงสั้น เนื่องจากปัจจัยเรื่องสถานการณ์สงครามการค้าอาจกลับมากดดันตลาดหุ้นได้ใหม่ มุมมองต่อเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงที่เหลือของปี 2018 กลุ่มประเทศอาเซียนยังคงเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจดีเฉลี่ยที่ประมาณ 5 – 6% ต่อปี ด้วยฟันเฟืองด้านการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีจากเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลดีกำไรของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกของ 2018 กำไรของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียนโตได้ราว […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

มุมมองจากผู้จัดการกองทุนหลัก ภาวะการลงทุนตลาดหุ้นโลก ตลาดหุ้นโลกเมื่อวัดจาก MSCI AC World Net พบว่าแม้ในไตรมาสสองผลตอบแทน (ในรูปของผลตอบแทนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ) จะเพิ่มขึ้น +0.50% แต่เมื่อปิดครึ่งปีแล้วผลตอบแทน (YTD) ยังคงเป็นลบ -0.40% เหตุจากความกังวลการค้าที่ยกระดับสูงขึ้นภายหลังสหรัฐฯขยับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าประเภทรถยนต์จากยุโรปเพื่อตอบโต้สหภาพยุโรปที่ได้ขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯไปก่อนหน้า สหรัฐฯยังคงเดินหน้าขึ้นภาษีสินค้าจีน และจีนก็ยังคงตอบโต้สหรัฐฯกลับไปกลับมา หากมองด้านการเงินพบว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งได้เปิดทางให้ธนาคารกลาง (เฟด) ไว้ใช้เป็นโอกาสสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกสองครั้งที่เหลือของปีนี้ ในส่วนของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ประกาศยกเลิกมาตรการทางด้านการเงิน (คิวอี) สิ้นเดือนธ.ค.2018 แต่จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ระดับเดิมต่อในปี 2019 ทางด้านธนาคารกลางจีนได้ปรับลดอัตราส่วนของเงินที่ธนาคารจะต้องสำรองลง 1% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สรุปผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก Wellington Global Opportunity ช่วงไตรมาสสอง กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนต่ำกว่าดัชนีเหตุจากผลการดำเนินงานของหุ้นลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน และวัสดุ มีราคาลดลง บริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิบริษัท Flex ซึ่งเป็นบริษัทสหรัฐฯ ที่ทำธุรกิจออกแบบ ผลิต สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคมีราคาลดลงมากที่สุดถึง -13.7% ในไตรมาสนี้เพราะผลกำไรสุทธิออกมาต่ำกว่าคาดและมีแนวโน้มว่าจะลดลงต่อ กองทุนหลักยังมั่นใจลงทุนต่อเพราะเชื่อว่าบริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนต่อเงินลงทุนได้จากสายธุรกิจอื่นที่ทำกำไรได้ดีและมีอัตราการทำกำไรระดับสูงเช่นธุรกิจยา […]