ก.ล.ต. เชื่อมั่นว่ามาตรการ ธปท. และ ก.ล.ต. ช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับกองทุนรวมตราสารหนี้
สืบเนื่องจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการเสริมสภาพคล่องให้กับกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศที่มีคุณภาพ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มี rating ตั้งแต่ A- ขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยเปิดให้สถาบันการเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม daily fixed income สามารถนำหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมาวางเป็นหลักประกันเพื่อขอสภาพคล่องจาก ธปท. รวมทั้งเปิดให้สถาบันการเงินที่ให้ความช่วยเหลือกองทุนรวมดังกล่าว สามารถนำตราสารในประเทศที่คุณภาพดีมาใช้เป็นหลักประกันในการขอสภาพคล่องจาก ธปท. ได้ และ ก.ล.ต. ได้ออกมาตรการผ่อนคลายให้ บลจ. สามารถกู้ยืมเงินหรือทำธุรกรรม repo เพื่อบริหารสภาพคล่องเป็นการชั่วคราวได้มากขึ้นจากเดิมร้อยละ 10 ของ NAV เป็นร้อยละ 30 ของ NAV อีกด้วย นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า มาตรการของ ธปท. และ ก.ล.ต. ดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติมให้กอง daily fixed income โดยปริมาณการไถ่ถอนหน่วยลงทุนโดยทั่วไปมีแนวโน้มลดลง และยังไม่มีกองทุนรวมตราสารหนี้ใดที่มีการกู้ยืมเงินหรือทำธุรกรรม repo เพื่อเสริมสภาพคล่องเกินร้อยละ 10 ของ NAV นอกจากนี้ ธปท. ยังได้แถลงด้วยว่า ภาพรวมตลาดการเงินไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น และปริมาณการขอรับความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องจาก ธปท. มีจำนวนน้อย
ก.ล.ต. ขานรับมติ ครม. การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ที่เน้นลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียน
ก.ล.ต. ขานรับมติคณะรัฐมนตรีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยจะออกประกาศที่เกี่ยวข้องภายในวันที่ 16 มีนาคม 2563 และยกเว้นค่าธรรมเนียมจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนดังกล่าวให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ตามที่คณะรัฐมนตรีในวันที่ 10 มีนาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบเรื่องมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนาต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงทางอ้อม ระยะที่ 1 โดยมีมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุนให้ประชาชนทั่วไปหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund หรือ SSF) ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยแยกจากวงเงินหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF กรณีปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานวงเงินหักลดหย่อนรวมในกองทุนเพื่อการเกษียณทั้งหมด โดยต้องซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ทั้งนี้ เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล […]
ก.ล.ต. มีแนวคิดเพิ่มประสิทธิภาพกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน กรณีเปิดเผยข้อมูลเหตุการณ์สำคัญ
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการออกประกาศหลักเกณฑ์กำหนดเหตุการณ์สำคัญที่บริษัทจดทะเบียนต้องรายงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลการเปิดเผยข้อมูล ขณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน กรณีที่ไม่เปิดเผยหรือมีเปิดเผยไม่ถูกต้องครบถ้วน ก.ล.ต. จะสามารถสั่งให้กรรมการและผู้บริหารชี้แจงได้โดยตรง เหตุการณ์สำคัญที่บริษัทจดทะเบียนต้องรายงานนั้น เป็นการกำหนดจากสารสนเทศที่มีนัยสำคัญที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยอยู่แล้วในปัจจุบัน ซึ่งหลักเกณฑ์นี้มีเพื่อสนับสนุนให้ ก.ล.ต.สามารถสั่งให้กรรมการและผู้บริหารในฐานะผู้รับผิดชอบการเปิดเผยข้อมูลชี้แจงได้โดยตรง กรณีที่บริษัทไม่เปิดเผย และหากพบว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง หรือมีการเปิดเผยข้อมูลเป็นเท็จหรือปกปิดข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญ ก.ล.ต. ยังสามารถดำเนินการตามกฎหมายหลักทรัพย์ต่อไปได้อีกด้วย สำหรับเหตุการณ์สำคัญที่กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยผ่าน ตลท. ในปัจจุบัน เช่น การเพิ่มทุนหรือลดทุน การจ่ายหรือไม่จ่ายเงินปันผล การควบกิจการเข้าด้วยกันกับบริษัทอื่น การจัดสรรหุ้นเพิ่ม การผิดนัดชำระหนี้มากกว่าร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สิน และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผู้ถือหุ้นใหญ่ อย่างไรก็ดี เมื่อบริษัทจดทะเบียนได้เปิดเผยข้อมูลผ่าน ตลท. ให้ถือว่าเป็นการรายงานต่อสำนักงานแล้ว ซึ่งไม่เป็นภาระเพิ่มต่อบริษัทจดทะเบียน ขณะที่ผู้ลงทุนจะได้ประโยชน์จากการเปิดเผยข้อมูลโดยความรับผิดชอบของผู้บริหารมากขึ้น ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th/hearing ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2263-6099 หรือทาง e-mail: corgov@sec.or.th จนถึงวันที่ 9 พ.ค. นี้
ก.ล.ต. เตรียมจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์จัดตั้ง “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” รองรับการยกเว้นภาษีการลงทุนตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมดังกล่าว ช่วยส่งเสริมการออมเงินเพื่อเกษียณอายุของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สืบเนื่องจากกรมสรรพากรอยู่ระหว่างยกร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2018 และคาดว่าจะมีผลใช้บังคับกลางปี 2019 ซึ่งจะส่งผลให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมมีภาระภาษีตามไปด้วย ขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหากลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงยังคงได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน กระทรวงการคลังจะเสนอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ “กองทุนรวม” ที่มีผู้ถือหน่วยเฉพาะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว ก.ล.ต. มีแผนที่จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อรองรับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีข้อกำหนด อาทิ ผู้ถือหน่วยต้องเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น ยกเว้นจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนขั้นต่ำที่กำหนดไว้อย่างน้อย 35 ราย ไม่เป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) การรับชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนสามารถใช้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินแทนเงินสดได้ อนึ่ง ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th/hearing ผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2033-9660 หรือทาง […]
ก.ล.ต. แต่งตั้งรองเลขาธิการคนใหม่
คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติแต่งตั้งนางสิริวิภา สุพรรณธเนศ ผู้ช่วยเลขาธิการ เป็นรองเลขาธิการ ก.ล.ต. มีผลตั้งแต่วันที่ 11 ก.พ. 2019 เป็นต้นไป นางสิริวิภา สุพรรณธเนศ สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาบัญชี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมงานกับ ก.ล.ต. ตั้งแต่ปี 1992 มีประสบการณ์ทำงานด้านการกำกับการระดมทุน ส่งเสริมบรรษัทภิบาล กำกับตลาด กำกับธุรกิจหลักทรัพย์ โดยก่อนเข้าร่วมงานกับ ก.ล.ต. นางสิริวิภา สุพรรณธเนศ ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้วิเคราะห์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย นางสิริวิภา สุพรรณธเนศ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการเมื่อปี 2016 ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการดังกล่าว โดยดูแลงานในสายระดมทุน กำกับบริษัทจดทะเบียน และกำกับบัญชี ทั้งนี้ โครงสร้างสายการบังคับบัญชา ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 11 ก.พ. 2019 เป็นต้นไป ปรากฏตาม https://www.sec.or.th/TH/AboutUs/Documents/orgchart_th.pdf
ก.ล.ต. เปิดตัว “เสี่ยงสูง.com” หวังให้ความรู้ประชาชนเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัล
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดตัวเว็บไซต์ย่อย หรือไมโครไซต์ชื่อว่า เสี่ยงสูง.com (https://เสี่ยงสูง.com/) เพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลเบื้องต้นสำหรับประชาชน ประกอบด้วยหัวข้อหลัก 4 หัวข้อ ได้แก่ “รู้เขา” ที่แนะนำให้รู้จักสินทรัพย์ดิจิทัล ได้แก่ คริปโทเคอร์เรนซี โทเคนดิจิทัล รู้จักคนขาย และกลไกของบล็อกเชน หรือระบบฐานข้อมูลแบบกระจายศูนย์มีกลไกที่ทำให้เกิดการทำธุรกรรมได้โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง รวมถึงลิงค์เพื่อตรวจสอบนิยามตามกฎหมายการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ถัดมาคือ “รู้เรา” ให้ผู้ลงทุนมีเช็คลิสต์ตรวจสอบความพร้อมก่อนตัดสินใจลงทุนว่าเข้าใจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือไม่ เข้าใจสิทธิที่จะได้รับจากสินทรัพย์ดิจิทัล เข้าใจและรับความเสี่ยงจากการลงทุน หากต้องเสียเงินลงทุนทั้งจำนวน หัวข้อที่ 3 คือ “รู้ระวัง” เพิ่มความตระหนักให้ประชาชนได้ทราบสิ่งที่ต้องระมัดระวังหากจะลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล และให้พึงตระหนักว่าการกำกับดูแลโดยหน่วยงานภาครัฐจะช่วยลดความเสี่ยงได้บางส่วนเท่านั้น เช่น ความเสี่ยงจากการถูกหลอกลวง การถูกเอาเปรียบจากดำเนินธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม แต่ความเสี่ยงด้านอื่นยังมีอยู่ เช่น ความเสี่ยงทางธุรกิจของกิจการ ความเสี่ยงจากราคาสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผันผวน เป็นต้น สุดท้ายคือ “รู้บทบาท ก.ล.ต.” ที่ให้ข้อมูลการกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ครอบคลุมการกำกับดูแลการเสนอขายโทเคนต่อประชาชน (ตลาดแรก) และการกำกับดูแลตัวกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล (ตลาดรอง) นอกจากนี้ […]
ก.ล.ต. เตรียมปรับเกณฑ์เงินกองทุนสำหรับ บลจ. ที่จัดการกองอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน ผู้จัดการกองทรัสต์ และทรัสตี
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน ผู้จัดการกองทรัสต์ และทรัสตี เป็นไปในแนวทางเดียวกับ บลจ. ที่จัดการกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวคิดปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งผู้จัดการกองทรัสต์ เพื่อให้ดำรงเงินกองทุนที่เพียงพอและเหมาะสม โดยกำหนดส่วนของผู้ถือหุ้นขึ้นต่ำ 10 ล้านบาทสำหรับผู้จัดการกองทรัสต์ และ 20 ล้านบาทสำหรับ บลจ. รวมถึงต้องมีเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจ นอกจากนี้ บลจ. จะต้องมีเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานผิดพลาด ในอัตราที่ผันแปรตามขนาดและปริมาณของการประกอบธุรกิจ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ บลจ. และผู้จัดการกองทรัสต์ในกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ ทั้งนี้ ในแนวทางที่เสนอจะให้เวลา 2 ปี กับ บลจ. และผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศจะมีผลในการปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th/hearing ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร […]
ก.ล.ต. ระดมความเห็นร่างประกาศเกณฑ์กองทุนรวม 5 เรื่อง
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศเกณฑ์กองทุนรวม 5 เรื่อง เกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน การจัดการกองทุนรวม ข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุน การชำระบัญชีของกองทุนรวม และการส่งเสริมให้กองทุนรวมตลาดเงินเป็นทางเลือกในการพักเงินของประชาชน โดยประกาศพร้อมออกใช้บังคับประมาณ เดือน ม.ค. 2019 เป็นต้นไป ก.ล.ต. ได้นำแนวทางการปฏิรูปหลักเกณฑ์มาประยุกต์ใช้กับการทบทวนหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกองทุนรวม ให้สมเหตุสมผล ปฏิบัติได้จริง และไม่เป็นภาระกับบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) โดยยังคงรักษาสมดุลระหว่างความยืดหยุ่นของเกณฑ์กับการคุ้มครองผู้ลงทุนในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้กองทุนรวมตลาดเงินเพื่อบริหารสภาพคล่องและพักเงินระยะสั้น นอกจากการฝากเงินกับธนาคาร ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้สำรวจความคิดเห็นและทำงานร่วมกับสมาคมบริษัทจัดการลงทุนและ บลจ. ทุกแห่ง และนำข้อสังเกตที่ได้รับมาปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจและประโยชน์ของผู้ลงทุน แล้วจึงปรับปรุงร่างประกาศในเรื่องสำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่ (1) ร่างประกาศเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน (2) ร่างประกาศเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม (3) ร่างประกาศเกี่ยวกับข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุน (4) ร่างประกาศเกี่ยวกับการชำระบัญชี (5) ร่างประกาศเกี่ยวกับการส่งเสริมให้กองทุนรวมตลาดเงินเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับประชาชนในการพักเงิน สำหรับรายละเอียดของร่างประกาศจะครอบคลุมเรื่องสำคัญ เช่น การเพิ่มประเภททรัพย์สินที่กองทุนสามารถลงทุนได้ การกำหนดให้ […]
ก.ล.ต. ปรับปรุงนิยาม “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ของบริษัทหลักทรัพย์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เตรียมปรับปรุงนิยามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์จากปัจจุบันที่กำหนดให้พิจารณาจาก “จำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง” เป็น “จำนวนสิทธิออกเสียง” เพื่อให้การกำกับดูแลผู้ถือหุ้นรายใหญ่สะท้อนถึงบุคคลที่มีอำนาจในการควบคุมกิจการอย่างแท้จริง ทั้งนี้ สืบเนื่องจากประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยกำหนดนิยาม “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายถึง บุคคลที่ถือหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการออกหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงไม่เท่ากัน อาจทำให้ผู้ถือหุ้นบางรายมีจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงมากกว่าหรือน้อยกว่าจำนวนสิทธิออกเสียงได้ ซึ่งอาจขัดกับหลักการกำกับดูแลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ต้องการกำกับดูแลผู้ที่มีอำนาจควบคุมกิจการที่แท้จริง ก.ล.ต. จึงมีแนวคิดในการปรับปรุงนิยามของคำว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จากปัจจุบันที่กำหนดให้พิจารณาจาก “จำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง” เป็น “จำนวนสิทธิออกเสียง” เพื่อให้การกำกับดูแลผู้ถือหุ้นรายใหญ่สะท้อนถึงบุคคลที่มีอำนาจในการควบคุมกิจการอย่างแท้จริง และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมและนำข้อคิดเห็นต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมต่อไป อนึ่ง ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th/hearing ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2033-9660 หรือทาง e-mail piyatit@sec.or.th หรือ witchulada@sec.or.th จนถึงวันที่ 7 ธ.ค.นี้
ก.ล.ต. ระดมความเห็นปรับเกณฑ์ตราสารหนี้มุ่งคุ้มครองผู้ลงทุนมากขึ้น
ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงร่างประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย หุ้นกู้หรือพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศ หุ้นกู้หรือพันธบัตรสกุลเงินบาทที่เสนอขายโดยกิจการต่างประเทศ หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง และตราสารศุกูก ในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล และเพิ่มเงื่อนไขในการเป็นผู้ออกและเสนอขายตราสารหนี้สำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนทั่วไปให้เข้มงวดขึ้น เพื่อป้องกันมิให้ช่องทางการเสนอขายตราสารหนี้ถูกใช้ผิดเจตนารมณ์ และอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและความเสียหายต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง นอกจากนี้ จะมีการจำกัดการระดมทุนด้วยตั๋วเงินของหน่วยงานภาครัฐไทย จากเดิมที่สามารถระดมทุนได้ในวงกว้างกับผู้ลงทุนทั่วไป เกณฑ์ใหม่จะเปลี่ยนเป็นการเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงหรือผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนที่อาจไม่คุ้นเคยหรือรู้จักกับผู้ออกตราสารมากนัก รวมทั้งปรับปรุงให้มีการคุ้มครองผู้ลงทุนรายใหญ่ให้ได้รับคำแนะนำและมีข้อมูลที่สำคัญประกอบการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น โดยจะแยกการกำกับดูแลผู้ลงทุนรายใหญ่ออกจากผู้ลงทุนสถาบันสำหรับตราสารหนี้ทุกประเภท ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการเดียวกันกับเกณฑ์การออกและเสนอขายตราสารหนี้แบบไม่ซับซ้อนด้วย ที่ได้มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th/hearing) ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2033-9980 และ 0-2263-6490 หรือทาง e-mail kruaoon@sec.or.th และ isaya@sec.or.th จนถึงวันที่ 13 ก.ย.นี้