ธนาคาร BNP Paribas จะเริ่มยกเลิกให้เงินกู้กับธุรกิจ Shale Gas ทรายน้ำมัน และถ่านหิน
BNP Paribas ธนาคารยักษ์ใหญ่ของโลก สัญชาติฝรั่งเศส ประกาศเจตนารมณ์สนับสนุนการแก้ปัญหาภาวะโรคร้อน โดย บริษัท จะยกเลิกการปล่อยเงินกู้ให้กับ บริษัท น้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ทำธุรกิจ สำรวจและขุดเจาะพลังงานประเภท shale gas และ ทรายน้ำมัน (oil sand) รวมถึงลดการปล่อยเงินกู้ให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับพลังงานประเภทนี้ เช่น การขนส่งและการส่งออกพลังงาน พร้อมกันนี้ ธนาคารยังเพิ่มการปล่อยเงินกู้ให้กับอุตสาหกรรมประเภท พลังงานสะอาดเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปอุตสาหกรรมพลังงานอย่างยั่นยืนมากขึ้น ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าว เกิดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของนานาชาติ ซึ่งต้องการจะลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลง 2 องศาเซลเซียส ภายในทศวรรษนี้ ด้วยการลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล โดยเริ่มจาก Shale Oil และ Oil Sand ยิ่งไปกว่านั้น นอกเหนือจากพลังงานประเภทฟอสซิลแล้ว BNP Paribas ยังได้ยกเลิกการปล่อยกู้ให้บริษัทถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านที่ยังไม่ได้วางแผนจะกระจายแหล่งพลังงานไปยังพลังงานสะอาดมากขึ้น ในส่วนของการต่อยอดการสนับสนุนพลังงานสะอาดนั้น BNP Paribas ยังวางแผนยอดการปล่อยเงินกู้ในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้สูงถึง 15,000 ล้านยูโร ( $17.72 […]
เปลี่ยนผ่านสู่ยุค “พลังงานสะอาด”
ในยุคนี้ธุรกิจพลังงานกำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่าน พลังงานสะอาด (Green Energy) ทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ เข้ามาทดแทนพลังงานแบบเก่าที่ผลิตด้วยพลังงานความร้อน จนกลายเป็นพลังงานกระแสหลักมากขึ้นทุกวัน รูปแบบและการบริโภคพลังงานในอนาคตอีกไม่ไกลย่อมจะต้องแตกต่างไปจากวันนี้อย่างแน่นอน ความเปลี่ยนแปลงเริ่มปรากฎชัดขึ้นในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งแต่ละปีจะมีเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในปี 2015 ได้ขยายกำลังผลิตไปแล้วถึง 118 กิกะวัตต์ จากปีก่อนหน้าที่มีกำลังผลิตราว 94 กิกะวัตต์ แต่หากพิจารณาเงินลงทุนที่ใช้สร้างโรงไฟฟ้าทั้งสองประเภทกลับกลายเป็นตรงกันข้าม โดยในปี 2015 ใช้ไป 1.99 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเพียง 6% เท่านั้น สะท้อนถึงแนวโน้มต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำลง โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ลดลงจาก 300 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ในปี 2010 เหลือเพียง 120 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ในปี 2015 (ค่าเฉลี่ยทั่วโลก) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ต้นทุนผลิตในบางประเทศต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก เช่นในอินเดียเมื่อปี 2016 มีโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ชนะประมูลรับสัมปทานจากรัฐ โดยเสนอราคาขายไฟเพียง 64 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง (ประมาณยูนิตละ […]