ค่าพีอี หรือ P/E ratio (ตอนจบ)
การพิจารณาว่าหุ้นราคาถูกหรือแพงโดยดูที่ราคาหุ้นอาจไม่เพียงพอ ตัวอย่าง หุ้นธนาคาร X ราคา 220 บาท หุ้นธนาคาร Y ราคา 200 บาท ดูเหมือนธนาคาร X จะมีราคาแพงกว่า การใช้ค่า P/E จะทำให้เปรียบเทียบได้ดีกว่า หากธนาคาร X มีกำไรต่อหุ้น 22 บาท ส่วนธนาคาร Y เป็น 15 บาท ดังนั้นค่า P/E ของธนาคาร X เท่ากับ 10 ธนาคาร Y เท่ากับ 13.3 แสดงให้เห็นว่ราคาหุ้นธนาคาร X ถูกว่า การเปรียบเทียบค่า P/E ระหว่างหุ้น ต้องดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย การเปรียบเทียบ ค่า P/E ระหว่างหุ้นในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่แตกต่างกันอาจไม่เหมาะสม เช่น […]
ค่าพีอี (P/E ratio) ตอนที่ 1
P/E เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่คำนวนจาก ราคาตลาดของหุ้น (Price) เทียบกับกำไรต่อหุ้น (Earning per share) มีหน่วยเป็นเท่า แสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าน่าลงทุนของหุ้นบริษัทนั้น ตัวอย่าง หุ้นราคา 30 บาท กำไรต่อหุ้น 2 บาท ได้ค่า P/E 15 เท่า แปลว่าราคาหุ้นมีมูลค่าเป็น 15 เท่าของกำไร ถ้าให้ความหมายกันอย่างตรงๆ คงแปลได้ว่า เราลงทุนในบริษัทนี้จะใช้เวลาถึง 15 ปี จึงได้ทุนคืนจากผลกำไร (โดยสมมุติว่ากำไรทั้งหมดถูกจ่ายเป็นเงินปันผลให้นักลงทุน) P/E คำนวนได้ทั้งแบบย้อนหลังหรือมองไปข้าง · Trailing P/E ใช้กำไรปัจจุบันคือกำไรต่อหุ้นของสี่ไตรมาสที่ผ่านมา เป็นการคิดแบบ conservative ใช้กำไรจริงที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน · Forward P/E ใช้กำไรที่คาดว่าบริษัทจะทำได้ใน 12 เดือนข้างมาคำนวน ซึ่งจะเป็นวิธีแบบ Progressive โดยคิดว่าการลงทุนในหุ้นก็เพื่อได้รับผลกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ใช่กำไรในอดีตที่ผ่านไปแล้ว แต่การใช้ […]