ชี้การทำงานที่ยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์มากในปี 2030

ชี้การทำงานที่ยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์มากในปี 2030

เดอะสเตรทไทม์ รายงานว่า จากการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการทำงานที่ยืดหยุ่นใน 16 ตลาดงานหลัก พบว่า การเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการทำงานแบบไม่ประจำ จะมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์มากขึ้น โดยจะครองมูลค่า 54,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 เพิ่มขึ้น 27,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจุบัน Regus ซึ่งเป็นผู้จัดหาคนทำงานระดับโลก ที่สนับสนุนการจัดทำผลศึกษานี้ ระบุว่า การกระจายสัดส่วนคนทำงานแบบไม่ประจำในปัจจุบัน คิดเป็น 6.1% ของแรงงานโดยรวมของชาติในปี 2017 แต่ตัวเลขนี้คงไม่ใช่สำหรับปี 2030 ด้วย นอกจากนี้ ทาง Regus ยังชี้ว่า ในปี 2030 นั้น น่าจะมีตำแหน่งงานมากกว่า 73,000 ตำแหน่ง ที่เป็นรูปแบบงานที่มีความยืดหยุ่น โดยงานในกลุ่มที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ งานสนับสนุนธุรกิจ งานบริหารจัดการสาธารณะ งานด้านข้อมูลและการสื่อสาร ด้านการเงิน และบริการอสังหาริมทรัพย์ จะคิดเป็น 83.5% ของมูลค่างานทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มงานที่มีความยืดหยุ่นในวงจรธุรกิจ หากคิดเป็นสัดส่วนแล้วจะพบว่า 8-13% […]

ทุนสิงคโปร์ดอดซื้อธุรกิจความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอิสราเอล

ทุนสิงคโปร์ดอดซื้อธุรกิจความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอิสราเอล

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ทุนสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิงส์ กำลังจะซื้อกิจการ Sygnia บริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอิสราเอล โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการลงนามและสรุปเงื่อนไข Sygnia สตาร์ทอัพที่ทางสิงคโปร์จะซื้อกิจการนั้น แจ้งว่าจะยังคงดำเนินการอย่างอิสระแม้ว่าจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเทมาเส็กแล้วก็ตาม ขณะที่ Shachar Levy ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sygnia จะยังคงเป็นผู้นำในบริษัทต่อไป “เทมาเส็กจะช่วยมาเพิ่มขีดความสามารถให้กับบริษัท สนับสนุนกลยุท์ของบริษัทได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการด้านการจัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และยังเปิดทางให้บริษัทสามารถเร่งการเติบโตในตลาดโลกได้” Levy กล่าว สำหรับรายละเอียดด้านการเงินเกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ ไม่ได้มีการเปิดเผยออกมา โดยเทมาเส็กนั้นเป็น องค์กรด้านการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ที่มีพอร์ตการลงทุนอยู่กว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าเทมาเส็กจะปฏิเสธการให้ความเห็นเกี่ยวกับเม็ดเงินที่ใช้ในการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้แต่แหล่งข่าวที่ใกล้ชิด กล่าวกับ ซีเอ็นบีซีว่า Sygnia น่าจะถูกเข้าซื้อกิจการด้วยเงิน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเดือน มิ.ย. นั้น เทมาเส็กเพิ่งลงทุนในบริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ชื่อว่า Claroty ไป โดยบริษัทนี้ผลิตซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับการปกป้องการโจมตีทางไซเบอร์ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม

มาเลเซียหวังสร้างแบรนด์รถยนต์โดยใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ในอาเซียน

มาเลเซียหวังสร้างแบรนด์รถยนต์โดยใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ในอาเซียน

เดอะสเตรทไทม์ รายงานว่า มาเลเซียได้มีการผลักดันเป็นครั้งที่ 3 ให้สร้างแบรนด์รถยนต์ของชาติขึ้นมา โดยจะใช้ชิ้นส่วนยานยนต์จากประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อใช้ความแข็งแกร่งของในภูมิภาคนี้ในการรับมือกับสงครามการค้าสหรัฐ-จีน Darell Leiking รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ระบุว่า มหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซียนั้นมีความฝันว่าจะพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของมาเลเซียด้วยการสร้างแบรนด์รถยนต์มาเลเซียเอง โดยมหาเธร์ มองว่า มาเลเซียสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกันได้ อาเซียนเข้าไปมีส่วนร่วมกันได้ นั่นก็คือการร่วมกันผลิตรถยนต์และทำให้กลายเป็นแบรนด์รถยนต์ของชาติในอาเซียน ไม่ใช่แค่สำหรับมาเลเซียเท่านั้น หลังจากที่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นนั้น 10 ประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้ประโยชน์จากการที่บริษัทต่างๆ เคลื่อนย้ายคำสั่งซื้อและการผลิตมายังภูมิภาคนี้ โดยภูมิภาคอาเซียนถือเป็นจุดหมายอันดับต้นๆ คือมากกว่า 1 ใน 3 หรือ 430 บริษัทอเมริกันในจีนต้องการจะเคลื่อนย้ายการปฏิบัติงานมาในภูมิภาคนี้ ซึ่งนี่เป็นผลสำรวจที่ได้จากหอการค้าอเมริกันในจีน ปัจจุบันโตโยต้า มอเตอร์ ทาทา มอเตอร์ส และฟอร์ด มอเตอร์ ต่างก็ปฏิบัติการอยู่ในไทย ซึ่งถือเป็นโรงงานผลิตรถยนต์ที่ใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคาดว่าไทยจะผลิตรถยนต์ได้ถึง 3.5 ล้านคันในปี 2020 เพิ่มขึ้น 80% จากปี 2016 […]

B-ASEAN

B-ASEAN

ดัชนี MSCI AC ASEAN Index YTD (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ต.ค.) ปรับลดลงแล้วประมาณ -8% โดยมาจากการปรับลดลงของดัชนีหุ้น 3 ประเทศหลักอันได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่มีสัดส่วนในดัชนีประมาณ 30% 17% และ 9% ตามลำดับ หุ้นอาเซียนที่ลดลงนั้นได้รับผลกระทบในประเด็นความกังวลเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนและปัจจัยพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของบางประเทศนั้นๆ เอง ได้แก่ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ที่เสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศค่อนข้างเปราะบางจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ที่ประมาณ -3.0% สำหรับอินโดนีเซีย และประมาณ -1.4% สำหรับฟิลิปปินส์ ทั้ง 2 ประเทศพึ่งพาเงินทุนต่างประเทศในระดับสูง ผนวกกับการอ่อนค่าอย่างมากของค่าเงิน IDR และ PHP (ตาราง 1) เป็นตัวเร่งให้กระแสเงินทุนยังคงไหลออกจากประเทศ แม้ว่าธนาคารกลางของทั้ง 2 ประเทศจะพยายามบรรเทาสถานการณ์ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วก็ตาม […]

ผลศึกษาพบข้าราชการมาเลเซียใช้มากกว่าครึ่งของเงินเดือนจ่ายหนี้

ผลศึกษาพบข้าราชการมาเลเซียใช้มากกว่าครึ่งของเงินเดือนจ่ายหนี้

เดอะสเตรทไทม์ รายงานว่า ธนาคารเนการา หรือธนาคารกลางมาเลเซีย ได้ทำผลศึกษา พบว่า ข้าราชการมาเลเซียนั้นใช้จ่ายมากกว่าครึ่งของเงินเดือนที่ได้รับเพื่อชำระหนี้ ส่งผลให้คนเหล่านี้มีข้อจำกัดในการรับมือทางการเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น โดยจะเห็นได้ชัดมากในกลุ่มของคนที่มีรายได้น้อยกว่า 5,000 ริงกิตต่อเดือน ทั้งนี้ หลังจากพิจารณารายจ่ายประจำเดือนของกลุ่มข้าราชการจากความต้องการขั้นพื้นฐานและภาระหนี้ที่มีแล้ว พบว่า เขาเหลือเงินเพียง 15% ของรายได้ หรือประมาณ 360-586 ริงกิตเท่านั้น เพื่อการใช้จ่ายด้านอื่นๆ ขณะที่ เกือบครึ่งหนึ่งของเงินกู้ยืมของกลุ่มข้าราชการ หรือ 47% นั้นใช้ในจุดประสงค์ด้านการบริโภค เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อจักรยานยนต์ บัตรเครดิต และอื่นๆ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ที่อยู่ในระดับ 35% สำหรับ สินเชื่อส่วนบุคคลถือเป็นสัดส่วนหลักของหนี้ที่ข้าราชการมาเลเซียมี คิดเป็น 34% ของหนี้ทั้งหมด สูงกว่าเมื่อเทียบค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ ซึ่งจะมีระดับสินเชื่อส่วนบุคคล 15% ของหนี้ที่มี ส่วนหนี้บ้าน คิดเป็น 49% ของหนี้ที่ข้าราชการมี “จากข้อมูลที่มีพบว่า สินเชื่อส่วนบุคคลนั้นถูกใช้เพื่อรักษามาตรฐานในการดำรงชีวิตและเพื่อไลฟ์สไตล์ของผู้กู้ รวมถึงเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก” […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนช่วง เม.ย.– ก.ค. 2018 ปัจจัยกดดันในประเด็นเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่หลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED และการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ วิกฤตการณ์ในตลาดเกิดใหม่บางประเทศ ได้แก่ ตุรกีและอาร์เจนตินา ประกอบกับความกังวลของนักลงทุนในเรื่องสงครามการค้า แม้ว่าจะยังไม่มีผลกระทบทางตรงต่อประเทศในภูมิภาคอาเซียน ทว่าส่งผลให้ตลาดหุ้นของประเทศในภูมิภาคอาเซียนช่วง เม.ย. – ก.ค. 2018 ปรับตัวลดลงทั้งภูมิภาคเฉลี่ย 3 – 4% มีเพียงเวียดนามเท่านั้นที่ปรับตัวลงกว่า 20% ด้วยขนาดของตลาดที่ค่อนข้างเล็กและเป็นลักษณะปกติของตลาดแบบ Frontier Market ที่มักเคลื่อนไหวรุนแรง ผนวกกับการขายทำกำไรของนักลงทุนหลังจากที่ดัชนีพุ่งขึ้นอย่างมากในช่วงปีก่อน เม็ดเงินลงทุนต่างชาติในตลาดอาเซียนไหลออกอย่างต่อเนื่องมาตลอด 3 เดือนก่อนหน้า โดยนับจากต้นปีมีเพียงเวียดนามเท่านั้นที่มีกระแสเงินทุนไหลเข้าสุทธิจากขายหุ้น IPO ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเริ่มเห็นการกลับมาของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติในช่วงปลายเดือน ก.ค. แต่ระยะเวลาในการกลับมาของเม็ดเงินลงทุนยังมีความไม่แน่นอนว่าจะกลับมาอย่างต่อเนื่องหรือเป็นเพียงช่วงสั้น เนื่องจากปัจจัยเรื่องสถานการณ์สงครามการค้าอาจกลับมากดดันตลาดหุ้นได้ใหม่ มุมมองต่อเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงที่เหลือของปี 2018 กลุ่มประเทศอาเซียนยังคงเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจดีเฉลี่ยที่ประมาณ 5 – 6% ต่อปี ด้วยฟันเฟืองด้านการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีจากเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลดีกำไรของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกของ 2018 กำไรของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียนโตได้ราว […]

ประธานาธิบดีอินโดนีเซียชี้จะเร่งแก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

ประธานาธิบดีอินโดนีเซียชี้จะเร่งแก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

เดอะสเตรทไทม์ รายงานว่า ประธานาธิบดี โจโค วิโดโด ของอินโดนีเซีย ได้ให้คำมั่นว่าจะแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่คาดว่าปีนี้จะแตะระดับ 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยการเพิ่มรายได้ด้านท่องเที่ยวและเพิ่มการใช้ไบโอดีเซลเพื่อลดการนำเข้าพลังงานโดยรวม ทั้งนี้ อินโดนีเซีย เผชิญภาวะเงินทุนไหลออก กดดันตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพราะได้รับผลกระทบจากดุลการค้าขาดดุล จากการนำเข้าสินค้าและบริการมากกว่าส่งออก ที่ผ่านมา โจโค วิโดโด ได้พบนักลงทุนอินโดนีเซียเพื่อถกประเด็นความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่กระทบตลาดเกิดใหม่ซึ่งรวมอินโดนีเซีย ซึ่งเขาได้นำเสนอกลยุทธ์ที่รัฐบาลใช้เพื่อรับมือความสี่ยงนี้ “คนกังวลในสงครามการค้าจีน-สหรัฐ อีกทั้งเวลานี้มีวิกฤติตุรกีเพิ่มมาอีก และเราไม่รู้ว่าอะไรเป็นจุดเริ่มต้นต่อไปของความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก” นายโจโค กล่าว สำหรับวิกฤติการเงินของตุรกี ทำให้เราเห็นค่าเงินลีราเทียบกับดอลลาร์สหรัฐตกลงมา 40% สร้างความวิตกให้นักลงทุนทั่วโลกจนเกิดการย้ายเงินลงทุนออกจากตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งอินโดนีเซีย โดยคาดว่าจะมีการดึงเงินทุนต่างชาติที่ลงทุนผ่านตราสารหนี้และหุ้นอินโดนีเซีย ออกไป 3,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 3 ปีติดกัน ส่วนครึ่งปีแรกดุลการค้าอินโดนีเซีย ขาดดุลแล้ว 1,020 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอินโดนีเซีย กระทบค่าเงินรูเปียห์ ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเงินรูเปียห์เทียบดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าแล้วมากกว่า 7% กดดันทำให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียต้อขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 3 […]

คนสิงคโปร์แห่ช้อปปิ้งที่มาเลเซียรับอานิสงส์ภาษี GST 0%

คนสิงคโปร์แห่ช้อปปิ้งที่มาเลเซียรับอานิสงส์ภาษี GST 0%

เดอะสเตรทไทม์ รายงานว่า ไม่ใช่เพียงคนมาเลเซียเท่านั้นที่สนุกสนานกับการช้อปปิ้งในช่วง 3 เดือนที่มาเลเซียมีการหยุดเรื่องภาษี แต่คนสิงคโปร์เองก็พร้อมที่จะเข้าไปสนุกสนานกับการข้ามไปช้อปปิ้งในมาเลเซีย ที่รัฐยะโฮด้วย หลังจากมาเลเซียยังเก็บภาษีสินค้าและบริการ 0% ทั้งนี้ ในช่วงเทศกาลฮารีรายอ ฮัจจิ ซึ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ของทั้งมาเลเซียและสิงคโปร์ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา ปรากฎว่า ชาวสิงคโปร์ได้ขับรถเพื่อข้ามไปช้อปปิ้งในมาเลเซีย เพื่อรับประโยชน์จากภาษีสินค้าและบริการ (GST) 0% ของมาเลเซีย ก่อนที่โปรโมชั่นนี้จะหมดลงในช่วงสิ้นเดือน ส.ค. ก่อนหน้านี้ เมื่อ มหาเธร์ โมฮัมหมัด เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่วันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา ก็ได้ลดภาษี GST จาก 6% เหลือ 0% เนื่องจากจะนำภาษีการขายและบริการ (SST) มาใช้ทดแทน ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือน ก.ย. นี้ ขณะที่ ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในมาเลเซีย เช่น ในเมืองยะโฮ บาห์รู […]

ASEAN THIS MONTH: อัพเดทเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน สิงหาคม-กันยายน 2018

ASEAN THIS MONTH: อัพเดทเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน สิงหาคม-กันยายน 2018

BF Monthly Economic Review Aug-Sep 2018 By…BF Economic Research เหตุการณ์ในตุรกีป่วนตลาดเกิดใหม่ อินโดนีเซีย ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 25 bps ในการประชุมวันที่ 15 ส.ค. จาก 5.25% เป็น 5.50% เพื่อพยุงรูเปียห์ที่อ่อนค่าลง หลังเกิดวิกฤตค่าเงินตุรกี และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ของปี 2018 รวมทั้ง 4 ครั้ง BI ปรับขึ้นมาแล้ว 125 bps ส่งผลให้ BI นับเป็นหนึ่งในธนาคารกลางที่มีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมากที่สุดในเอเชีย ด้านรัฐบาลได้ประกาศมาตรการลดการนำเข้า เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยการปรับอัตราภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขึ้น 500 รายการ รวมทั้งเลื่อนโครงการก่อสร้างบางโครงการของรัฐวิสาหกิจออกไปเพื่อลดการนำเข้าสินค้าทุน สิงคโปร์ GDP (Final Estimate) […]

บล็อกเชนช่วยเพิ่มโอกาส-พัฒนาอาเซียนให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

บล็อกเชนช่วยเพิ่มโอกาส-พัฒนาอาเซียนให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

สมาคมบล็อกเชนแห่งอินโดนีเซีย มองบล็อกเชนจะเข้ามาเพิ่มโอกาสและพัฒนาภูมิภาคอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสังคมอาเซียนเหมาะสำหรับการเติบโตของเทคโนโลยีที่พร้อมจะเปลี่ยนโลกอย่างบล็อกเชน นายสตีเวน ซูฮาดี ประธานสมาคมบล็อกเชนแห่งอินโดนีเซีย กล่าวว่า ภูมิภาคอาเซียนมีขีดความสามารถก้าวทันและทัดเทียมประเทศยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลอย่าง จีน สหรัฐอเมริกา หรือยุโรป เพราะมีความพร้อมเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันอยู่ตลอดเวลา เขามีมุมมองว่า เราอยู่ในจุดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพึ่งพาบล็อกเชนหรือเทคโนโลยีพลิกโฉมอื่นได้ รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมและรับมือ ในปัจจุบัน มีเงินตราที่หมุนเวียนในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ผ่านบริการธุรกรรมออนไลน์ เช่น วีแชท เพย์ หรือ แอปเปิ้ล เพย์ ดังนั้น ยิ่งมีการชำระเงินบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้นเท่าไร ผู้คนจะยิ่งคุ้นชินกับเงินดิจิทัลมากขึ้นเท่านั้น และจะเอื้อสู่การใช้บล็อกเชนด้วย รัฐบาลจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือละเลย แต่ต้องเข้ามาออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมและกำกับดูแล ทั้งนี้ บล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัลกำลังได้รับความนิยมก้าวกระโดดในอินโดนีเซีย และดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาทดลองทำธุรกิจ เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพ มีประชากรมากกว่า 260 ล้านคน และมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ประกอบกับอายุเฉลี่ยประชากรอยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาว ดังนั้น นักลงทุนจึงหลั่งไหลเข้ามาทำธุรกิจสตาร์ทอัพ อี-คอมเมิร์ซ บล็อกเชน และการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล ขณะที่ อินโดนีเซีย เป็นประเทศเป็นหมู่เกาะน้อยใหญ่ มีภาษาถิ่นเฉพาะ […]