ASEAN Digital Economy Morning Brief
เจดีลุยเปิดตัวร้านค้าไร้พนักงานในอินโดนีเซีย
JD บริษัท อี-คอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จีน ประกาศเปิดร้านค้าที่ไร้พนักงานในอินโดนีเซีย ซึ่งจะเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเคลื่อนไหวครั้งนี้ ถือเป็นความพยายามในการนำร้านค้าเทคโนโลยีที่ไม่ต้องใช้พนักงานออกไปขยายในตลาดต่างประเทศ ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงกับคู่แข่งอย่าง อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง และอเมซอนดอทคอม สำหรับร้านค้าไร้พนักงานนี้จะตั้งอยู่ในศูนย์การค้าชื่อดังในจาการ์ตา ศูนย์กลางการค้าของอินโดนีเซีย โดยร้านค้านี้ชื่อว่า JD.ID X-Mart มีพื้นที่ 270 ตารางเมตร ถือเป็นร้านค้าเทคโนโลยีไร้พนักงานขนาดใหญ่ที่สุดของเจดี โดยจะมีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายหลากหลายขึ้น ซึ่งก็รวมถึง สินค้าแฟชั่น เครื่องนุ่มห่ม รวมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค และผลิตภัณฑ์ความงาม ขณะที่ร้านค้านี้ขับเคลื่อนด้วยพลังของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ลูกค้าสามารถเลือกสิ่งที่ต้องการไว้ก่อนแล้วเดินตรงไปที่ร้านโดยไม่ต้องชะลอตามเส้นทางเข้าช่องชำระเงินเลย โดยในร้านค้านี้จะนำเทคโนโลยี RFID คือการนำคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ในการอ่านข้อมูล รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้า และจดจำภาพ เพื่อติดตามกิจกรรมที่เกิดขึ้นในร้านค้า นอกจากนั้นยังมีกล้องที่ติดตั้งเพื่อติดตามและจดจำการเคลื่อนไหวของลูกค้า ซึ่งก็รวมถึงการเลือกผลิตภัณฑ์ และความต้องการของลูกค้า โดยข้อมูลนี้จะถูกใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดวางสินค้า การโฆษณา และการบริหารจัดการร้านค้า ก่อนหน้านี้ เจดีเปิดตัวร้านค้าไร้พนักงานแห่งแรกในจีนที่กรุงปักกิ่ง เมื่อเดือน ต.ค.2017 ส่วนปัจจุบันได้ดำเนินการร้านค้าไร้พนักงานในจีนแล้วทั้งหมด 20 แห่ง นอกจากนี้เจดีเปิดตัวออนไลน์ […]
เศรษฐกิจอินโดนีเซีย Q2 โต 5.27% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาด
BF Economic Research เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 2/2018 ขยายตัว 5.27% YoY เพิ่มขึ้นจาก 5.1% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า และยังเป็นการเติบโตแบบเทียบรายปี (YoY) ที่สูงที่สุดในรอบกว่า 4 ปี การเติบโตในไตรมาส 2 นี้ ได้รับอานิสงส์จากการเติบโตของการบริโภคในประเทศ การใช้จ่ายของรัฐบาล และการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง (Inventory) เป็นหลัก ขณะที่ การลงทุนในประเทศกลับขยายตัวแบบชะลอลงมาที่ 5.9% YoY จากที่ก่อนหน้านี้เคยขยายตัวได้เกิน 7% มาถึง 3 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนของรัฐบาลที่เริ่มชะลอลง โดยเฉพาะภาคการก่อสร้าง ส่วนการส่งออกสุทธิ (Net Exports) ยังทรงตัว โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวดี แต่ในทางกลับกันอินโดนีเซียก็มีการนำเข้าที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2018 เราคาดว่า การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนในประเทศน่าจะค่อยๆ ฟื้นตัว บวกกับในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้เกินกว่าเป้าหมาย […]
ผลสำรวจดัชนี PMI ภาคการผลิตเวียดนามเดือน ก.ค. ชะลอตัวลง
ผลสำรวจดัชนี PMI ภาคการผลิตของเวียดนามเดือน ก.ค. ปรับตัวลดลง สะท้อนภาคการผลิตของเวียดนามที่มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เช่นเดียวกับผลผลิตและยอดสั่งซื้อใหม่ในภาคการผลิตที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ผลสำรวจล่าสุดซึ่งจัดทำโดยนิกเกอิ ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม ซึ่งเป็นมาตรวัดความแข็งแกร่งของภาคการผลิตภายในประเทศ ปรับตัวลงสู่ระดับ 54.9 ในเดือน ก.ค. จากระดับ 55.7 ในเดือน มิ.ย. สะท้อนให้เห็นว่า ภาคการผลิตของเวียดนามมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงเคลื่อนไหวเหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างภาวะการขยายตัวและหดตัว และยังถือว่าอยู่ในระดับสูงนับตังแต่เริ่มจัดทำผลสำรวจมาในปี 2011 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาคธุรกิจยังคงมีความเชื่อมั่นอยู่ โดยบริษัทที่ตอบรับการสำรวจกว่าครึ่งหนึ่งคาดการณ์ว่า ผลผลิตจะปรับตัวสูงขึ้น โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่คาดว่าจะแข็งแกร่งขึ้น และการเติบโตที่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ผลสำรวจระบุว่า การขยายตัวของผลผลิตและยอดสั่งซื้อใหม่ในภาคการผลิตต่างชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า สวนทางกับการส่งออกในภาคการผลิตที่ขยายตัวรวดเร็วขึ้น และการจ้างงานในภาคการผลิตมีการขยายตัวที่แข็งแกร่งในเดือน ก.ค. แม้การขยายตัวของตัวเลขจ้างงานค่อนข้างทรงตัวจากสถิติเดือน มิ.ย.ก็ตาม
IMF คาดการณ์เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ปี 2018-2019 โต 6.7%
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่า เศรษฐกิจฟิลิปปินส์มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของฟิลิปปินส์จะขยายตัว 6.7% ในปีนี้และปีหน้า ส่วนในระยะกลางเศรษฐกิจยังคงไปได้ดีอยู่ อย่างไรก็ตาม ในระยะใกล้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น จากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนอย่างมาก ซึ่งหากต้องการรักษาสมดุลระหว่างการเติบโตและความยั่งยืนของเศรษฐกิจ ฝ่ายนโยบายต้องปรับลดแรงกดดันเงินเฟ้อลง พร้อมปรับโครงสร้างให้เกื้อหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ Luis E. Breuer หนึ่งในทีมงานของ IMF ที่เดินทางไปเยือนฟิลิปปินส์ช่วงวันที่ 11-25 ก.ค. ที่ผ่านมา สรุปว่า เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ทำผลงานได้ดี โดยจีดีพีเติบโตได้ 6.7% ในปีที่ผ่านมา และทีมงานคาดว่าการเติบโตจะอยู่ในอัตราเดียวกันนี้ได้ในปีนี้และปีหน้า เป็นผลมาจากการบริโภคและการลงทุนที่เข้มแข็ง รวมถึงการลงทุนของภาครัฐด้วย ขณะที่แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นเป็นแรงกดดันภายนอกต่อค่าเงินเปโซ เนื่องจากจะมีผลกระทบทำให้ต้องเสียภาษีสรรพาสามิตเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการในประเทศก็ได้รับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 5.2% หรือเฉลี่ย 6 เดือนอยู่ที่ 4.3% ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุลเพิ่มขึ้น 1.5% ของจีดีพี สิ้นปีนี้ เป็นผลจากการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบเพิ่มขึ้น […]
GDP สิงคโปร์ไตรมาส 2/2018 โต 3.8 % YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.3% YoY
BF Economic Research GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 2/2018 ขยายตัว 3.8% YoY ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 4.1% YoY และชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 4.3% YoY รัฐบาลสิงคโปร์ได้ตั้งเป้าหมายอัตราเติบโตของเศรษฐกิจประเทศในปี 2018 ไว้ที่กรอบ 2.5-3.5% GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 2/2018 ขยายตัว 3.8% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.3% YoY โดยได้รับแรงหนุนจากภาคการผลิตซึ่งขยายตัว 8.6% YoY (ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ขยายตัว 9.7% YoY) โดยมีอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และไบโอเคมิคอลขยายตัวโดดเด่นสุด ในทางตรงกันข้าม ภาคการก่อสร้างยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ -4.4% YoY (ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว -5.2 %) สำหรับภาคบริการขยายตัวได้ดีที่ 3.4% YoY (ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ขยายตัว 4.0% YoY) […]
ธนาคารโลกคงประมาณการจีดีพีมาเลเซีย 5.4%
สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า ธนาคารโลกได้คงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) มาเลเซียปีนี้ไว้ที่ 5.4% หลังการเลือกตั้งที่ผ่านพ้นไปเมื่อเดือน พ.ค. โดยมองแนวโน้มการบริโภคภาคครัวเรือนแข็งแกร่งขึ้น Richard Record นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารกลางโลก กล่าวว่า ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในระยะใกล้ โดยการเติบโตของเศรษฐกิจจะถูกขับเคลื่อนด้วยการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขณะที่การจ้างงานและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงแข็งแกร่งหลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังคงเป็นตัวหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาเลเซีย โดยคาดว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังคงขยายตัวต่อเนื่องตลอดทั้งปีหลังนโยบายใหม่ออกมา เช่น การยกเว้น ภาษีด้านการบริโภคชั่วคราว สำหรับภาคส่งออกของมาเลเซียนั้น ยังถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการของโลกในกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะยังคงสนับสนุนการเติบโตในเชิงบวกได้ต่อไป ขณะที่เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอยู่ที่ 5.4% ในช่วงไตรมาสแรก หลังจากที่เคยขยายตัวได้ 5.9% เมื่อไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา ด้านกรณีที่รัฐบาลมาเลเซียได้เปลี่ยนแปลงนโยบายหลายประการหลังการเลือกตั้งนั้น ธนาคารโลกเตือนว่ามาเลเซียจะต้องบริหารจัดการอย่างรอบคอบเนื่องจากเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้กับประเทศ ซึ่งควรจะทำให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
เวียดนามครึ่งปีแรกเติบโตถึง 7.08% สูงสุดในรอบ 7 ปี
BF Economic Research เศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาส 2/2018 ขยายตัว 6.79% YoY ลดลงจาก 7.45% YoY ในไตรมาส 1 แต่ทำให้ครึ่งปีแรกเวียดนามเติบโตถึง 7.08% YoY ซึ่งเป็นการเติบโตในช่วงม.ค.-มิ.ย. ที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี เนื่องจากความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการส่งออก โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเติบโตถึง 13.02% YoY ภาคบริการเติบโต 6.9% YoY จากการค้าส่งค้าปลีกเป็นหลัก ส่วนภาคการเกษตรก็ฟื้นตัว และเติบโตมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012 ที่ 3.93% YoY บวกกับการส่งออกที่ขยายตัวถึง 16% YoY อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมเหมืองแร่ยังคงหดตัว -1.3% YoY ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 3.29% YoY จากค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นถึง […]
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)
สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนช่วง 1 ม.ค. 2018 – 31 พ.ค. 2018 ตลาดหุ้นของประเทศในภูมิภาคอาเซียนช่วง 5 เดือนแรกของปี 2018 ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง มีเพียงตลาดหุ้นของมาเลเซียเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่เพิ่มขึ้นราว 0.7% เท่านั้น ทั้งนี้ ตลาดหุ้นโดยรวมของอาเซียนในช่วงที่ผ่านมาได้รับปัจจัยกดดันหลายประการ ได้แก่ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED และการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเร่งให้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค ความเสี่ยงด้านการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐ รวมถึงราคาน้ำามันดิบที่ผันผวน แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะยังคงขยายตัวได้ดี โดยในช่วงไตรมาสแรกเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนสามารถขยายตัวได้ถึง 6% เมื่อพิจารณาจากกระแสเงินทุนแล้ว พบว่า ทุกประเทศในภูมิภาคยกเว้นเวียดนามประสบกับภาวะเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารทุนยกเว้นเวียดนามด้วยเพราะการขายหุ้นไอพีโอขนาดใหญ่ ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามเป็นตลาดเดียวที่มีนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ ขณะที่ไทยต้องเผชิญกับภาวะกระแสเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารทุนมากที่สุด มุมมองต่อเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงที่เหลือของปี 2018 กลุ่มประเทศอาเซียนยังคงเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจดีเฉลี่ยที่ประมาณ 5-6% ต่อปี ด้วยฟันเฟืองด้านการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีจากเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลดีกำไรของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาค โดยความเสี่ยงหลักของภูมิภาคในปีนี้อยู่ที่ประเด็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐเป็นสำคัญ หาก FED ส่งสัญญาณเร่งการดำเนินนโยบายแบบรัดกุม (Tightening monetary policy) ด้วยการเร่งขึ้นดอกเบี้ย อาจเร่งให้กระแสเงินทุนออกจากภูมิภาคได้อีก ทั้งนี้ […]
เงินเฟ้อสิงคโปร์เดือนพ.ค.ขยายตัวเร่งขึ้นที่ 0.4% YoY
BF Economic Research ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Price Index) ของสิงคโปร์ ใน เดือนพ.ค. 2018 ขยายตัว 0.4% YoY เร่งขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 0.1% YoY สำหรับ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (MAS Core Inflation) ขยายตัว 1.5% YoY เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.3% YoY ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Price Index) ในเดือน พ.ค. 2018 ขยายตัว 0.4% YoY เร่งขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 0.1% YoY เป็นผลมาจากต้นทุนด้านการขนส่งที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ประกอบกับต้นทุนด้านการบริการ และต้นทุนราคาสินค้าปลีกที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (MAS Core Inflation) ซึ่งไม่รวมต้นทุนค่าที่อยู่อาศัยและต้นทุนการขนส่งทางถนนส่วนบุคคลขยายตัว […]
ดุลการค้าอินโดนีเซียขาดดุลต่อเนื่อง กดดันรูเปียห์อ่อนค่า แต่คาดประชุมครั้งหน้าแบงก์ชาติยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย
BF Economic Research อินโดนีเซียขาดดุลการค้า 1,523.6 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือน พ.ค. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 1,629.3 ล้านดอลลาร์ฯ แต่เป็นการขาดดุลที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องของรูเปียห์ อาจส่งผลให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25bps อย่างไรก็ดี เรามองว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซียจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และคงไว้ที่ 4.75% ในการประชุมวันที่ 27-28 มิ.ย. ที่กำลังจะถึงนี้ อินโดนีเซียขาดดุลการค้า 1,523.6 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือน พ.ค. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 1,629.3 ล้านดอลลาร์ฯ แต่เป็นการขาดดุลที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากการนำเข้าที่เติบโตถึง 28.17% YoY โดยการนำเข้าน้ำมันขยายตัวสูงตามราคาในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ การนำเข้าเครื่องจักรในเดือนพ.ค. ก็เพิ่มสูงขึ้นในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. สอดคล้องกับสินค้าทุนที่เติบโตถึง 43.4 %YoY เป็นสัญญาณที่ดีว่าการลงทุนในประเทศน่าจะขยายตัวได้ดีในไตรมาส 2 ส่วนการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคก็ขยายตัวสูงเช่นเดียวกัน […]