ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps สู่ระดับ 4.50%
BF Economic Research Team ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยข้อตกลงซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืนระยะเวลา 7 วัน (7- Day Reverse Repo) ในการประชุมวานนี้ (17 พ.ค. 2018) โดยปรับเพิ่มขึ้น 25 bps สู่ระดับ 4.50% การขาดดุลการค้าในเดือนเม.ย. มากที่สุดในรอบ 4 ปี สอดคล้องกับที่ค่าเงินรูเปียห์ที่อ่อนลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ตลาดบางส่วนผิดหวังกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 25 bps เนื่องจากคิดว่าไม่มากพอที่จะช่วยบรรเทาการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์ได้ โดยในระยะข้างหน้าตลาด เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายในปีนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยข้อตกลงซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืนระยะเวลา 7 วัน (7- Day Reverse Repo) ในการประชุมวานนี้ (17 พ.ค. 2018) โดยปรับเพิ่มขึ้น 25 bps สู่ระดับ […]
GDP ชี้เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาส 1/2018 โตชะลอลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง
BF Economic Research Team เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาส 1/2018 โต 5.4% YoY ชะลอลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง ถึงแม้ว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ดีอยู่ แต่เม็ดเงินลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐอ่อนตัวลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ต่อไป การลงทุนอาจเผชิญกับอุปสรรคในระยะสั้นภายใต้นโยบายรัฐบาลชุดใหม่ ขณะที่การส่งออกมีความเสี่ยงอุปสงค์โลกอ่อนตัว ส่วนมุมมองการบริโภคเอกชนยังเป็นบวก จากผลของนโยบายรัฐบาลที่จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายประชาชน เศรษฐกิจมาเลเซียเติบโตช้าลงเหลือ 5.4% YoY ในไตรมาส 1/2018 จากที่เคยขยายตัวได้ 5.9% YoY ในไตรมาส 4/2017 นับว่าชะลอตัวลงเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน สืบเนื่องมาจากการลงทุนที่ขยายตัวได้เพียง 0.1% YoY จากเม็ดเงินลงทุนเอกชนที่โต 0.5% YoY และภาครัฐที่หดตัวลง -1.0% YoY ยิ่งไปกว่านั้น การใช้จ่ายภาครัฐก็ขยายตัวน้อยลงเหลือ 0.4% YoY ทั้งนี้ ยอดลงทุนในภาครวมอาจถูกกดดันต่อไปอีกสักระยะ ภายหลังรัฐบาลชุดใหม่มีนโยบายทบทวนการลงทุนโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หลายโครงการ ซึ่งอาจส่งผลให้นักลงทุนกลับมารอความชัดเจน หรือ “Wait and See” กันก่อน […]
ASEAN Morning Brief Philippines
ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าลดลงในเดือนมีนาคม 2018
มูลค่าการส่งออกฟิลิปปินส์อยู่ที่ 5.51 พันล้านดอลลาร์ฯ หดตัวลงกว่า -8.2% YoY ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 8.12 พันล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวเพียง 0.1% YoY ฟิลิปปินส์จึงขาดดุลการค้า 2.61 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งแคบลงจากเดือนก่อนหน้า มูลค่าการส่งออกฟิลิปปินส์เดือนมีนาคมอยู่ที่ 5.51 พันล้านดอลลาร์ฯ หัวตัวลงกว่า -8.2% YoY นำโดยสินค้าเครื่องจักรกล อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง ทองคำ น้ำมันมะพร้าว และชุดสายไฟที่ใช้ในรถยนต์ ที่หดตัวลงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี การส่งออกแคโทดทองแดง และสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของฟิลิปปินส์ยังคงขยายตัวได้ดี มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 8.12 พันล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวเพียง 0.1% YoY นำโดยการนำเข้าเชื้อเพลิง/น้ำมันหล่อลื่น เหล็กและเหล็กกล้า รวมทั้งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ในทางกลับกันสินค้าในกลุ่มอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และเครื่องจักรอุตสาหกรรมหดตัวลง ดังนั้น ฟิลิปปินส์จึงขาดดุลการค้า 2.61 พันล้านดอลลาร์ฯ แคบลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล […]
ส่งออกมาเลเซียเดือนมี.ค. Rebound มาอยู่ที่ 2.2% YoY
BF Economic Research Team การส่งออกในเดือน มี.ค. เติบโต 2.2% YoY โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวสูง คือ อิเล็กทรอนิกส์ การนำเข้ารวมหดตัว -9.6% YoY จากนำเข้า Intermediate Goods ที่ลดลง 14.4% YoY ดุลการค้ามาเลเซียในเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 14.7 พันล้านริงกิต มูลค่าส่งออกมาเลเซียเดือน มี.ค. ขยายตัว 2.2% YoY โดยเป็นการ rebound จากการหดตัว -2.0% YoY ในเดือนก.พ. เนื่องจากผลของวันหยุดยาวช่วงตรุษจีน โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในเดือน มี.ค. คือ สินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งคิดเป็น 80% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าการนำเข้าเดือน มี.ค. หดตัว -9.6% YoY […]
Economic Review April-May 2018: เศรษฐกิจอาเซียน
BF Economic Research Fund Management Group BF Monthly Economic Review April-May 2018 บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดี้ส์ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลอินโดนีเซียขึ้นสู่ระดับ Baa2 จากระดับ Baa3 พร้อมแนวโน้มความน่าเชื่อถือของอินโดนีเซียที่ระดับ “มีเสถียรภาพ” (Stable) เนื่องจากนโยบายที่แข็งแกร่ง และมีประสิทธิภาพของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาได้ช่วยให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมาจากการที่รัฐบาลสามารถควบคุมยอดขาดดุลงบประมาณให้อยู่ในระดับต่ำกว่า -3% ของ GDP ได้ ขณะที่ ทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมาช่วยหนุนให้อินโดนีเซียสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ต่างๆได้ดียิ่งขึ้น อัตราเงินเฟ้อมาเลเซียในเดือนมี.ค. ชะลอตัวมาที่ +1.3% YoY จาก +1.4% YoY ในเดือนก.พ. เนื่องจากการหดตัวของราคาภาคขนส่ง -1.5%YoY และจากฐานที่สูงในปีก่อนหน้า ส่งผลให้ทั้งไตรมาส 1/2018 อัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียอยู่ที่ +1.8% YoY ลดลงจาก +3.7% ในปี 2017 ทั้งนี้ […]
เศรษฐกิจสิงคโปร์โต 4.3% YoY ในไตรมาสแรก ธนาคารกลางรัดกุมนโยบายการเงิน
เมื่อวันที่ 13 เม.ย. กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ (MTI) เผยเบื้องต้น (Advance Estimate) ว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ช่วงไตรมาสที่ 1/2018 โตถึง 4.3% YoY เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่โตได้ 3.6% YoY และถึงแม้ว่าหากคิดเป็นรายไตรมาสแล้ว GDP ชะลอลงเหลือ 1.4% QoQ saar แต่ก็ยังคงเหนือกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 1.0% QoQ saar พอสมควร เศรษฐกิจสิงคโปร์ถูกขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรมอยู่เป็นสำคัญ จากการขยายตัวถึง 10.1% YoY แต่ยังต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาการส่งออกภาคอิเล็กทรอนิกส์เริ่มแสดงถึงการหดตัว และยังมีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นมาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน เมื่อนำมาประกอบกันจึงอาจส่งผลเชิงลบต่อแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสถัดๆไป อย่างไรก็ดี ภาคบริการยังเร่งขึ้นอย่างมีนัยยสำคัญที่ 3.8% YoY ด้วยการกิจกรรมในธุรกิจการเงินและการค้า สะท้อนถึงการเติบโตแบบกระจายตัวมากยิ่งขึ้น ไม่กระจุกตัวอยู่แต่เฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่อิงกับปัจจัยต่างประเทศ ขณะที่ภาคการก่อสร้างฟื้นตัวขึ้นบ้าง แต่ยังหดตัว -4.4% YoY จากตัวเลขของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐที่ออกมาไม่ค่อยดีนัก แต่ในระยะถัดไปน่าจะถูกหนุนโดยการไล่ซื้อพื้นที่เพื่อพัฒนาแบบ En-Bloc และราคาอสังหาริมทรัพย์ที่พุ่งขึ้นในช่วงไม่กี่ไตรมาสที่ผ่านมา […]
อัพเดทเศรษฐกิจ 5 ประเทศหลักอาเซียน
ASEAN THIS MONTH (March-April 2018) อินโดนีเซีย อัตราเงินเฟ้ออินโดนีเซียชะลอลงในเดือนก.พ. มาอยู่ที่ +3.18% YoY จาก +3.25% YoY ในเดือนม.ค. เนื่องมาจากราคาอาหารบางรายการ อาทิ เนื้อไก่ ผักสด และพริกลดลง ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนก.พ. ที่หักราคาอาหารสดแล้วขยายตัว +2.58% YoY น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าที่ +2.69% YoY ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในปี 2018 ที่ 2.5-4.5% สิงคโปร์ การส่งออกสินค้าไม่รวมน้ำมันของสิงคโปร์ (NODX) หดตัวลงถึง -5.9% YoY ในเดือน ก.พ. 2018 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะขยายตัวได้ +4.8% YoY หากแยกออกเป็นหมวดหลักๆ จะสังเกตได้ว่ายอดการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ย่อลง -12.3% YoY จากการหดตัว -3.9% YoY […]
มองไปข้างหน้า หลังสิงคโปร์ประกาศทิศทางนโยบายเชิงการคลัง
รัฐบาลสิงคโปร์กำหนดงบประมาณคลังสำหรับปีงบประมาณ 2018 (1 เม.ย. 2018 – 31 มี.ค. 2019) ให้ขาดดุล -6 ร้อยล้าน SGD พลิกจากที่เกินดุล +9.61 พันล้าน SGD ในปีงบประมาณ 2017 สืบเนื่องจากการขาดดุลการคลังที่ไม่รวมรายจ่ายที่เกี่ยวกับภาระหนี้ (Primary Deficit) จากรายได้ดำเนินงาน (Operating Revenue) ที่ลดลงเหลือ 7.27 หมื่นล้าน SGD ขณะที่รายจ่าย (Expenditure) เพิ่มขึ้นเป็น 8.00 หมื่นล้าน SGD โดยในปีงบประมาณนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดสรรงบประมาณราว 700 ล้านSGD สำหรับเป็นของขวัญให้กับชาวสิงคโปร์ทุกคนหรือ Hong Bao โดยเป็นเงินให้เปล่าที่ 100-300 SGD ต่อคนอีกด้วยโดยรัฐบาลจะเริ่มนำจ่ายปลายปีนี้ มองออกไปข้างหน้า รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศทิศทางนโยบายเชิงการคลังออกมาด้วย มีใจความสำคัญหลายอย่างที่ตลาดให้ความสนใจ อาทิ […]
ก้าวสำคัญของเวียดนามกับการเป็นฐานการผลิตสมาร์ทโฟนเบอร์ 1 ของโลก
By…เมธา พีรวุฒิ BF Knowledge Center เวียดนามถือว่าเป็นประเทศเนื้อหอมที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก ด้วยแรงหนุนจากเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่เข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2550 จนปัจจุบัน เวียดนามสามารถก้าวขึ้นเป็นฐานการผลิตหลักของแบรนด์ดังต่างๆมากมาย หากเอ่ยถึงสินค้า “Made in Vietnam” นั้น หลายๆท่านอาจไม่ทราบว่า โทรศัพท์มือถือซึ่งเปรียบเสมือนปัจจัยที่ 5 สำหรับมนุษย์ยุคสังคมอินเตอร์เนต มีการผลิตและส่งออกจากเวียดนามไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก สูงถึง 200 ล้านชิ้นในปีที่ผ่านมา หรือมากเป็นอับดับสองของโลกรองจากประเทศจีน โดยในบรรดานักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ในเวียดนาม บริษัทยักษ์ใหญ่จากแดนโสมขาวผู้ครองแชมป์ส่วนแบ่งทางการตลาดสมาร์ทโฟนอันดับหนึ่งของโลกอย่าง “ซัมซุง” นั้นมีอิทธิพลอย่างมากในการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ เพราะไม่เพียงแต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากแบรนด์ดังกล่าวจะคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 20% ของการส่งออกทั้งประเทศ แต่ยังรวมถึงการลงทุนและการจ้างงานอย่างมหาศาลกว่า 110,000 อัตรา ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา ซัมซุง ยังลงทุนสร้างโรงงานผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มใหม่ๆ เช่น หน้าจอโค้งสำหรับสมาร์ทโฟน รวมถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แบรนด์ดังอื่นๆเอง ทั้ง แอลจี […]
ASEAN China ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่1)
Ian Bremmer นักเขียนของนิตยสาร Time (Nov 13, 2017) เขียนบทความ “Advantage China” หรือ “จีนที่ได้เปรียบ”เพื่อวาดภาพให้คนอ่านเห็นว่า ตรงกันข้ามกับที่คนส่วนมากคาดคิด เศรษฐกิจของจีนที่มีรัฐบาลเป็นตัวนำถูกสร้างขึ้นมาเป็นจุดแข็ง และหาได้เป็นจุดอ่อนไม่ โดยเศรษฐกิจจีนถูกออกแบบมาเพื่อเป็นผู้ชนะในอนาคต นิตยสาร Time เอาเรื่องนายเอียนขึ้นปก โดยพาดหัวว่า China Won แปลว่าจีนชนะแล้ว นายเอียนเขียนว่า เดิมทีมีการมองกันว่า โมเดลของเศรษฐกิจจีนที่ใช้การผสมผสานระหว่างอำนาจนิยมและทุนนิยม (authoritarian-capitalist model) ไม่น่าที่จะอยู่รอด หรือเจริญรุ่งเรืองได้ในโลกของกลไกตลาดเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ5ปีที่แล้ว มีความเห็นพ้องต้องกันในโลกตะวันตกว่าสักวันหนึ่งจีนหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการปฏิรูปการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จเพื่อที่จะให้รัฐบาลมีความชอบธรรม หรือมุ่งไปสู่ระบบที่เสรีมากขึ้น เพราะว่าจีนจะไม่สามารถรักษาระบบทุนนิยมที่รัฐบาลเป็นผู้ดูแลกำกับได้ แต่ที่ไหนได้ นายเอียนยอมรับว่า ทุกวันนี้ ระบบการเมือง และเศรษฐกิจของจีนมีความพร้อม และยั่งยืนมากกว่าระบบของสหรัฐที่มีอิทธิพลเหนือระบบเศรษฐกิจโลกตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่2เสียอีก ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ความสามารถของจีนที่จะใช้บริษัทที่รัฐบาลดูแลกำกับเพื่อที่จะสร้างอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้งในเวทีในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เป็นที่แน่นอนว่าภายในปี 2029 เศรษฐกิจของจีนจะมีขนาดใหญ่แซงหน้าสหรัฐตามการศึกษาของ Center for Economics and […]