B-ACTIVE B-FLEX B25RMF BFLRMF Product Update
กองทุน B-FLEX, B-ACTIVE, B25RMF และ BFLRMF Q3/2023
กองทุนเปิดบีเฟล็ซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) และกองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF) ตราสารหนี้• ในเดือนก.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก และไม่ค่อยเคลื่อนไหวตามตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในโหมด wait-and-see ทั้งรอการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงต้นเดือนส.ค. และรอความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล• เมื่อวันที่ 3 ส.ค. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 25bps สู่ระดับ 2.25% ตามคาดการณ์ในวงกว้างของตลาด ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013 เนื่องจาก ธปท. ส่งสั ญญาณต้องการสร้าง Policy space เพื่อรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง ในสภาวะที่เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และคาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในระยะถัดไป ในขณะที่เงินเฟ้อชะลอลงและมีแนวโน้มทรงตัว แต่ยังคงมีความเสี่ยงด้านสูง• ในส่วนของตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ Fed มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีก 25 bps […]
B-ACTIVE B-FLEX B25RMF BFLRMF Product Update
กองทุน B-FLEX, B-ACTIVE, B25RMF และ BFLRMF Q2/2023
กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF) ตราสารหนี้• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นในแทบทุกช่วงอายุ โดยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 19 – 25 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 1 – 16 bps. เป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามความคาดการณ์ของตลาดที่มองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขยับขึ้นสู่ระดับ 2.00% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. 2566• เมื่อวันที่ 31 พ.ค. คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps เป็น 2.00% ต่อปี ตามที่ตลาดคาด และมองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ […]
B-ACTIVE B-FLEX B25RMF BFLRMF Product Update
กองทุน B-FLEX, B-ACTIVE, B25RMF และ BFLRMF Q4/2022
กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE)กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF) ตราสารหนี้• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเส้น โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7-14 bps ยกเว้นช่วงอายุคงเหลือ 2-3 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1-4 bps และนับตั้งแต่ต้นปี พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มมาแล้วประมาณ 125-150 bps สาหรับช่วงอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกผันผวนตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นแรง จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยหลักให้ Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะหลังการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ครั้งละ 75 bps ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง• นอกจากนี้ หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดที่ออกมาช่วงกลางเดือนตุลาคม ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด และตัวเลข Core CPI ออกมาสุงสุดในรอบ 40 ปี […]
B-ACTIVE B-FLEX B25RMF BFLRMF Product Update
กองทุน B-FLEX, B-ACTIVE, B25RMF และ BFLRMF Q3/2022
กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE)กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF) ตราสารหนี้• ตลาดมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ IMF ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ลง เหลือ 2.3% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2.9% จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง แม้แนวโน้มเศรษฐกิจจะเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวลง แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางหลายประเทศยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง นำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางอังกฤษ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย เมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยมีมติ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.75% สำหรับอัตราเงินเฟ้อของไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฏาคม อยู่ที่ 7.61% ชะลอตัวลงจาก 7.66% ในเดือนก่อน โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 2.99% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง […]
B-ACTIVE B-FLEX B25RMF BFLRMF Product Update
กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)
ตราสารหนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น จากการที่เงินเฟ้อขยายตัวเกินเป้าหมาย 2% โดยการเข้าซื้อสินทรัพย์จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม และมีโอกาสในการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในระยะอันใกล้นี้ เศรษฐกิจไทยเผชิญความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน ปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินปี 2022 ได้แก่ ผลกระทบจากโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ และ การดำเนินนโยบายของ Fed ผู้จัดการกองทุนมีกลยุทธ์สำหรับการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเป็น Slightly Underweight Duration สำหรับหุ้นกู้เอกชน เน้นการลงทุนในหุ้นกู้ของกิจการที่มีกระแสเงินสด สภาพคล่องที่ดี ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ต่ำ และโอกาสถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือน้อย ตราสารทุน ตลาดหุ้นโลกผันผวนมากขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นของปี 2022 ก่อนการประชุม Fed ในช่วงปลายเดือน และปิดเดือนมกราคม ด้วยการปรับตัวลดลง 0% โดยนักลงทุนมีความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งเป็นไปในทางที่เข้มงวดมากขึ้น โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมเดือนมีนาคม พร้อมยุติมาตรการการผ่อนคลายทางการเงิน QE ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดได้เริ่มคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า แต่ยังมีความไม่ชัดเจน ทั้งนี้ ท่าทีของ Fed และตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าจะยังคงเป็นสิ่งที่ตลาดให้ความสำคัญ ตลาดหุ้นไทย […]
B-ACTIVE B-FLEX B25RMF BFLRMF Product Update
กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX), กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE), กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) และ กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)
Highlight กองทุนบัวหลวงคาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นจะยังทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% โดยคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับปัจจุบันไปจนถึงสิ้นปี 2566 ทำให้ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ กองทุนบัวหลวงมีมุมมองเชิงบวกกับตลาดหุ้นไทย โดยคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) น่าจะฟื้นตัวได้ในปลายปีนี้ โดยมีปัจจัยสำคัญมาจาก การฉีดวัคซีนที่เพิ่มมากขื้นและจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดที่ลดลง จนรัฐบาลผ่อนคลายมาตรเข้มงวดในเดือนตุลคม เปิดให้กลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ จะช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบช่วงอายุเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการที่ตลาดปรับลดโอกาสที่กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายหลังจากการประชุม กนง. ในวันที่ 29 ก.ย. ที่มีมติเอกฉันท์ (7:0) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี จึงส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยรุ่นอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุคงเหลือ 3-5 ปี ปรับตัวขึ้นในกรอบ 15-20 bps ตลาดยังมีความกังวลต่อปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลไทยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยเฉพาะพันธบัตรรุ่นอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและภูมิภาคที่ปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทย […]
B-ACTIVE B-FLEX B25RMF BFLRMF Product Update
กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX), กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE), กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) และ กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)
Highlight แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 2 ปี จะทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวยังมีความเสี่ยงที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective เน้นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการปรับตัวทางธุรกิจที่ดี รวมถึงหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว ตราสารหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจัดการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% โดยกรรมการฯ ส่วนใหญ่เห็นว่ามาตรการการเงินจะมีประสิทธิผลมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ยังปรับลดคาดการณ์ GDP ลงเหลือ +0.7% ในปีนี้ และ +3.7% ในปีหน้า โดยปรับลดลงตามการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบมากในปีนี้และแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงมากในปีหน้า แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 2 ปี จะทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวยังมีความเสี่ยงที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ […]
B-ACTIVE B-FLEX B25RMF BFLRMF Product Update
กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) และ กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)
Highlight กองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตลอดทั้งปี 2564 ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวได้ในกรอบจำกัด ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีโอกาสผันผวนในทิศทางที่ปรับเพิ่มขึ้น กลยุทธ์การลงทุนในตราสารทุนระยะข้างหน้า ยังต้องมีความ Selective ในหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศในอนาคต และหุ้นที่มีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดี ตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ มีกังวลด้านการปรับเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อและการปรับลดปริมาณการซื้อพันธบัตรของ Fed โดยตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2021 ถึงเดือน พ.ค. อัตราผลตอบแทน UST10Y ปรับเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 70 bps ตลาดคาดการณ์ว่าการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ในระยะสั้นจะทรงตัว แต่ในระยะยาวมีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยมีทิศทางตามการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ และมีปัจจัยในประเทศจากการประกาศ พรก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโควิด-19 เพิ่มเติม วงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท (เบื้องต้นวงเงินไม่เกิน 7 แสนล้านบาท ตามที่ประกาศในวันที่ 18 พ.ค.) ทำให้ตลาดมีความกังวลถึงการกู้เงินผ่านเครื่องมือทางการเงินต่างๆ รวมถึงการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพคล่องและราคาตราสารหนี้ จึงมีการขายพันธบัตรระยะยาวออกมา […]
กองทุนผสม (B-FLEX, B-ACTIVE, B25RMF และ BFLRMF)
กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF) Highlight อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีแนวโน้มปรับขึ้น ทำให้ผลตอบแทนตราสารหนี้ไม่จูงใจนัก Theme การลงทุนปี 2564 ‘ผ่านพ้นอุปสรรค เปิดรับ New Normal’ เน้นลงทุนในบริษัทที่ปรับตัวได้ดีและทนทานต่อการดิสรัปชัน และกระจายการลงทุนไปยังหุ้นต่างประเทศ เพื่อโอกาสในการได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของแต่ละประเทศคาดว่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการฟื้นตัวเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในระยะถัดไปจะมาจากปัจจัยภายนอกประเทศมากกว่าปัจจัยภายในประเทศ ทำให้อัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มปรับขึ้นตามสหรัฐฯ โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว ทำให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ไม่จูงใจนัก ผู้จัดการกองทุนคาดว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ตลอดทั้งปี จะเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการอื่นที่ให้ผลเฉพาะจุดมากกว่า เช่น การขยายเวลาพักชำระหนี้ เป็นต้น ตราสารหนี้ภาคเอกชนยังคงน่าสนใจลงทุน โดยผู้จัดการกองทุนเลือกลงทุนโดยพิจารณาจากคุณภาพของผู้ออกตราสารและอัตราผลตอบแทนกับความเสี่ยงที่เหมาะสม ตราสารทุน มุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จากการที่ประเทศต่างๆ เริ่มกลับมาผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ และการเริ่มฉีดวัคซีน ความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวเพิ่มขึ้น สร้างความกังวลว่า เฟดอาจลดการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเร็วขึ้น และส่งผลกดดันต่อระดับ Valuation ของตลาด […]
B-ACTIVE B-FLEX Product Update
กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX) และกองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE)
สรุปภาพรวมการลงทุน สรุปภาพรวมตลาดตราสารหนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ก.ย. ปรับตัวในลักษณะแบนราบมากขึ้น (Flattening) เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 3 ปี ปรับเพิ่มขึ้นในช่วง +1 ถึง +4 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีขึ้นไปปรับลดลงในช่วง -1 ถึง -16 bps ภายหลังจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2564 รวมทั้งแนวโน้มการประมูลพันธบัตรรัฐบาลทั้งปีงบประมาณ 2564 ออกมาน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตร สำหรับนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทย 2.4 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 2.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 2.5 พันล้านบาท และมีพันธบัตรครบกำหนด (Expired) 1.3 พันล้านบาท ธนาคารกลางทั่วโลกมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพิ่มมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องและกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ […]