ยิ่งเริ่มต้นออมเพื่อวัยเกษียณเร็วเท่าใดยิ่งดีเท่านั้น
By…ทนง ขันทอง หัวใจหลักของการออมเงินเพื่อที่จะให้ได้ก้อนเงินใหญ่เพียงพอใช้สำหรับชีวิตในวัยเกษียณคือ การเริ่มวางแผนการออมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การเดินทางเส้นทางที่ยาวไกล เริ่มต้นด้วยก้าวแรกเสมอ ถ้าไม่มีก้าวแรก ก็จะไม่มีก้าวที่สอง ที่สาม ไปจนถึงก้าวที่ล้าน การออมเงินเพื่อวัยเกษียณก็เหมือนกัน คือต้องรู้จักการนับหนึ่งก่อน ด้วยการออมทันที ไม่ต้องรอคอยอะไร ถ้าไม่รู้จักการนับหนึ่ง ก็จะไม่มีวันไปถึงดวงดาวของการมีเงินออมให้ใช้ในวัยเกษียณ เริ่มต้นออมตามกำลังความสามารถ เริ่มต้นถ้าหากว่าสามารถเก็บเงินได้ 500 บาทต่อสัปดาห์ หรือ 2,000 บาทต่อเดือน จะเป็นการเริ่มต้นที่ดี อาจจะบอกว่าเงินจำนวนนี้มาก หรือไม่มากก็ได้ ขึ้นอยู่กับฐานะ เงินเดือนหรือรายได้ของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน มีตัวอย่างของเมืองนอก ถ้าหากผู้ออมสามารถออมได้เดือนละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ โดยเริ่มต้นออมเงินเมื่ออายุ 25 ปี สมมุติว่าผลตอบแทนจากการออมที่ใส่เข้าไปการลงทุนได้มา 6% ต่อปี ผู้ออมจะมีเงินสะสม 190,000 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อมีอายุครบ 65 ปี จะเห็นได้ว่าเส้นทางการออมที่ยาวนาน ในระหว่างทางอาจจะเป็นภาระสำหรับผู้ออมที่ต้องเจียดเงินออกมา แม้ว่าจะเป็นเงินไม่มาก แต่เมื่อเส้นทางการออมสิ้นสุดลง ผลตอบแทนจะดีเกินกว่าที่คาดมาก […]
Ageing Society B-SENIOR BF Editorial
สถานการณ์สังคมสูงวัย…ทั่วโลกกับไทยเป็นอย่างไรบ้างแล้ว
By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยนำเสนอรายงานแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุของโลกและไทยไว้ โดยชี้ว่า ภายในปี 2040 มากกว่า 14% ของประชากรบนโลกใบนี้จะเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ถือเป็นโลกแห่งสังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ ถ้าดูรายภูมิภาค พบว่า เวลานั้น ยุโรปจะเป็นภูมิภาคที่มีสังคมผู้สูงอายุสูงสุด 26% ของประชากร ตามด้วยอเมริกาเหนือ 22% โอเชียเนีย 17% ละตินอเมริกา 16% เอเชีย 15% ส่วนแอฟริกา ดูเหมือนจะเป็นภูมิภาคที่สัดส่วนผู้สูงอายุน้อยที่สุดแล้ว 5% เมื่อดูระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ละประเทศใช้เวลาไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 18 ปี ไปถึง 115 ปี ซึ่งไทย จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระยะเวลาเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุเร็ว เพราะใช้เวลาแค่ 20 ปีเท่านั้น โดยปี 2035 ประเทศไทยจะเป็นประเทศเดียวในกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนา ที่มีผู้สูงอายุมากเกินกว่าประชากรวัยอื่นๆ ทั้งนี้ จากสถิติประชากรของสหประชาชาติ […]
Series ส่องเศรษฐกิจจีนสมัยใหม่ ตอนที่ 4
By…ทนง ขันทอง เทนเซ็นต์ไม่หวั่นแม้จีนเข้มงวดกับวิดีโอเกมส์ ในงาน “17th Annual dbAccess China Conference” จัดโดยดอยช์แบงก์ ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน เมื่อวันที่ 14-15 ม.ค. ที่ผ่านมา James Mitchell หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์ของบริษัท เทนเซ็นต์ ของจีนได้รับเชิญให้มาเล่าให้ฟังในการเสวนาช่วงรับประทานอาหารกลางวัน เกี่ยวกับทิศทางด้านเทคโนโลยีของบริษัท ซึ่งเป็นเจ้าของแอปพลิเคชัน WeChat ที่มีผู้ใช้มากถึง1,000 ล้านคน และเป็นบริษัทเทคโนโลยีใหญ่อันดับ 2 ของจีนเคียงคู่กับบริษัท อาลีบาบา ที่ผ่านมาหุ้นของเทนเซ็นต์ถูกเทขายหนักเหมือนหุ้นบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ โดยราคาหุ้นร่วงจาก 480 ดอลลาร์ฮ่องกง ในเดือน ม.ค. 2018 มาอยู่ที่ 250 ดอลลาร์ฮ่องกง ในเดือน ต.ค.2018 เนื่องจากพิษของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนทำให้อารมณ์ของนักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ ส่วนสัปดาห์ที่ผ่านมาหุ้นของเทนเซ็นต์อยู่ที่ระดับประมาณ 320 ดอลลาร์ฮ่องกง Mitchell ไม่ได้แสดงความกังวลใจมากนักเกี่ยวกับท่าทีของรัฐบาลจีนที่มีความเข้มงวดกวดขันมากขึ้นกับวิดีโอเกมส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของเทนเซ็นต์ โดยบอกว่ารัฐบาลจีนมีนโยบายที่จับต้องได้ […]
ตลาดเพลงออนไลน์จีน Tencent music ไร้เงาคู่แข่งเทียบ
By…วรารัตน์ วีระคงสุวรรณ ปัจจุบันตลาดเพลงออนไลน์ในประเทศจีนมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ที่น่าสนใจคือตลาดบันเทิงออนไลน์ โดยเฉพาะธุรกิจเพลงออนไลน์ของจีนมีความแตกต่างไปจากต่างประเทศ ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ชอบการมีส่วนร่วม จึงทำให้บริการเสริมต่างๆ ช่วยสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ เช่น บริการคาราโอเกะออนไลน์ และบริการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) นับเป็นปัจจัยหลักสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเพลงดิจิทัลในจีนเติบโต โดยรายงานล่าสุดจาก iResearch คาดว่า ตลาดบันเทิงออนไลน์ของจีนจะเติบโตถึง 31% ในการคำนวณแบบอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ระหว่างปี 2018-2023 ขณะที่ เจ้าตลาดเพลงออนไลน์หนีไม่พ้น บริษัท Tencent music Entertainment ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มบันเทิง ได้แก่ QQ Music, Kugou Music, WeSing และ Kuwo Music โดยครอบครองมาร์เก็ตแชร์สูงถึง 75% มีผู้ใช้งานรวมทั้ง 4 แพลตฟอร์มราว 800 ล้านคน ด้วยความบังเทิงที่ครบครัน ทั้งฟังเพลง ดูมิวสิควิดีโอ ร้องคาราโอเกะ […]
Series ส่องเศรษฐกิจจีนสมัยใหม่ ตอนที่ 3
By…ทนง ขันทอง โลกเราไม่เคลื่อนไหวช้าเหมือนเดิม David Rowan ผู้ก่อตั้งสื่อ Wired UK ของอังกฤษได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในผู้กล่าวในงานเปิดสัมมนา “17th Annual dbAccess China Conference” ในวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยเขาส่งสัญญาณว่าโลกเราจะไม่เคลื่อนไหวช้าเหมือนเดิมอีกต่อไป การเข้าถึงนวัตกรรม ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ราคาถูก การเงินและระบบคลาวด์ทำให้เกิดประชาธิปไตยในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ที่ไหนก็ได้ โดยใครก็ได้ที่มีความสามารถ เทคโนโลยีทำให้เกิดการพัฒนาแบบเลขชี้กำลัง (exponential growth) และมีอัตราเร่งที่รวดเร็วมาก Rowan บอกว่า จีนเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีในยุคนี้ การที่กล่าวหาว่าจีนเป็นผู้ลอกเลียนแบบเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปแล้ว เพราะว่าจีนกำลังทำให้เราเห็นว่าโมเดลของการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร Rowan ยกตัวอย่างแนวโน้มของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีผลกระทบในปัจจุบัน เช่น เทคโนโลยีที่พัฒนาแบบเลขชี้กระโดด ทำให้เราได้เห็นราคาของ 1GB ลดลงจาก 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 0.10 ดอลลาร์สหรัฐ เรื่องข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่ง ธุรกิจใดที่มีข้อมูลจะเป็นธุรกิจที่มีค่า เช่น เฟซบุ๊ก […]
Series ส่องเศรษฐกิจจีนสมัยใหม่ ตอนที่ 1
By…ทนง ขันทอง จีนเดินหน้าเปิดประเทศเพื่อเป็นผู้เล่นโลกาภิวัฒน์อย่างเต็มตัว ทุกๆ ปีดอยช์แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารพานิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีจะจัดสัมมนาที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อดูแนวโน้มเศรษฐกิจจีน นโยบายการคลังและการเงินของรัฐ ตลาดการเงิน ตลาดทุน ภาคอุตสาหกรรม บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมทั้งตลาดผู้บริโภคจีนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อให้นักลงทุนสถาบันมีความรู้ และความเข้าใจในศักยภาพของจีนอย่างลึกซึ้ง แต่มาปีนี้ ดอยช์แบงก์เปลี่ยนเวทีสัมมนามาที่เมืองเซินเจิ้นแทน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่14-15 ม.ค. ที่ผ่านมา พร้อมกับนำนักลงทุนไปเยี่ยมชมโรงงานและบริษัทตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศหลังการสัมมนาเพื่อให้ได้พูดคุยกับผู้บริหารโดยตรง นาย Werner Steinmueller ซีอีโอ และสมาชิกของบอร์ดบริหาร ดอยช์แบงก์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เป็นผู้กล่าวเปิดสัมมนาโดยบอกว่า เซินเจิ้นเป็นเมืองที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่จะมาจีน เนื่องจากเป็นเขตเศรษฐกิจที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจจีนให้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ โดยมีความคิดใหม่ๆ และมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลาในเซินเจิ้นที่ถูกมองกันว่าเป็นซิลิคอน วัลเลย์ของจีน เพราะว่ามีการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อแสวงหาเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นรากฐานของเศรษฐกิจที่เติบโตทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกในเวลานี้ โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เห็นภาพว่า ต่อไปเงินหยวนจะเป็นเงินสกุลสำคัญของโลก นาย Steinmueller บอกว่า ให้ลองนึกภาพ […]
ตามติดชีวิตแรงงาน 20 ปีข้างหน้า
By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ เราได้ยินกันหนาหูขึ้นทุกวันว่าหุ่นยนต์จะเข้ามาแย่งงานคน โดยเฉพาะงานประเภทที่ทำซ้ำๆ ทุกวันหรือแม้แต่งานผู้บริหารก็ไม่เว้น ซึ่งทำให้คนทำงานจำนวนหนึ่งอดกังวลไม่ได้ว่า แล้วอนาคตตัวเองจะเป็นเช่นไร เมื่อไม่นานมานี้ สภาเศรษฐกิจโลก (เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม) ได้นำเสนอรายงานเกี่ยวกับอนาคตแรงงาน 20 ปีข้างหน้าไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเนื้อหานั้นก็มาตอบประเด็นความกังวลของคนทำงานได้ดี สภาเศรษฐกิจโลกสะท้อนว่า วันนี้เราใช้ชีวิตอยู่ในยุคที่เต็มไปด้วยหุ่นยนต์และเต็มไปด้วยงาน จำนวนหุ่นยนต์ที่ทำงานนั้นไต่ระดับทำสถิติใหม่อยู่ตลอด ขณะที่อัตราการว่างงานในโลกเมื่อปี 2018 จากรายงานเมื่อเดือน ธ.ค. 2018 ลดไปอยู่ที่ 5.2% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 38 ปี นี่เป็นหนึ่งสิ่งที่สะท้อนว่า ท่ามกลางการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น การจ้างงานก็สูงขึ้นเช่นกัน จึงไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีจะแย่งงานของคนไป เพียงแต่หากเชื่อมโยงการจ้างงานและเทคโนโลยี ก็เชื่อว่าเทคโนโลยีจะทำให้คนเข้าถึงงานได้มากขึ้น โดยที่การทำงานจะมีความยืดหยุ่นและเป็นอิสระมากขึ้นใน 20 ปีข้างหน้า ทั้งนี้สภาเศรษฐกิจโลกสรุป 5 ประเด็นสำคัญที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องงาน ประกอบด้วย ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และหุ่นยนต์ (โรโบติก) จะมาช่วยสร้างงานมากขึ้น ไม่ได้ทำให้งานลดลง จะไม่เกิดการขาดแคลนงาน ยกเว้นว่าเราเดินไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องก็จะมีปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเพื่อจะไปเติมเต็มในงานเหล่านั้น […]
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย หนึ่งตัวช่วยคืนป่าต้นน้ำน่าน
By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ เมื่อปี 2558-2560 กองทุนรวม คนไทยใจดี (BKIND) ได้มอบงบสนับสนุนโครงการ “นาแลกป่า” ที่มูลนิธิฮักเมืองน่านจัดทำขึ้น เพื่อพลิกฟื้นคืนผืนป่าที่ถูกทำลายจากการรุกล้ำปลูกพืชเชิงเดี่ยว และในช่วงที่ทีมงานกองทุนบัวหลวงมีโอกาสลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าของโครงการ ได้พบกับสิ่งที่น่าสนใจและอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง ถึงแนวทางที่ชาวบ้านได้ร่วมกันดำเนินการต่อ ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนก็จะช่วยให้การฟื้นคืนผืนป่าครั้งนี้ยั่งยืนขึ้น เพราะการจะทำให้ผืนป่ากลับคืนมาอย่างยั่งยืนนั้น ประเด็นสำคัญคงมิใช่แค่ผลักดันให้ชาวบ้านที่เคยรุกล้ำผืนป่าเพื่อปลูกข้าวโพด หันมาทำเกษตรผสมผสาน ส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ทดแทนอย่างเดียว หากปลูกไปแล้ว ชาวบ้านไม่สามารถหาเลี้ยงชีพด้วยผลผลิตของพืชชนิดใหม่ๆ ที่ปลูกมาได้ สุดท้ายชาวบ้านก็อาจหวนคืนกลับไปทำอย่างที่เคยทำมา ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มของชาวบ้านหลายชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำ จ.น่าน เพื่อต่อยอดนำผลผลิตจากพืชชนิดใหม่ๆ ที่ปลูกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเกษตรเมืองโพง จ.น่าน ที่กำลังเดินหน้าเรื่องนี้อยู่ คุณสนั่น ทะนันไชย เลขากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเกษตรเมืองโพง จ.น่าน เล่าให้ฟังว่า 2-3 ปีก่อน จ.น่าน มีปัญหาการรุกล้ำป่าทำไร่ข้าวโพด ทั้งหน่วยงานราชการและผู้ทำโครงการหลายๆ โครงการ จึงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชทดแทนข้าวโพด เช่น กล้วย โดยนำมาให้ปลูกจำนวนมาก ก็ทำให้ชาวบ้านที่ปลูกกล้วยมารวมตัวกันเป็นวิสาหกิจ แปรรูปกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่าย มีผลิตภัณฑ์ […]
‘กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ’ ลงทุนแบบไหนถึงจะดี
By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ หลายบริษัทไม่ได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ให้พนักงาน โดยให้เหตุผลว่า มีเงินก้อนให้ลูกจ้างยามเกษียณอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีกองทุนฯ ก็ได้ แต่หากมองให้ดี เมื่อบริษัทมีความตั้งใจดีให้ลูกจ้างของตัวเองมีเงินก้อนใช้ยามเกษียณอยู่แล้ว ทำไมไม่ลองเปลี่ยนวิธีให้ จากเดิมรอควักกระเป๋าให้ก้อนใหญ่ทีเดียว เปลี่ยนมาทยอยสมทบให้เงินนี้ทำงานไปเรื่อยๆ สร้างผลตอบแทนให้งอกเงย ผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประเด็นนี้ คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล Managing Director, Head of Business Distribution และ คุณสุริพล เข็มจินดา Deputy Managing Director, Corporate & High Net Worth Business บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (กองทุนบัวหลวง) อธิบายไว้น่าในใจในงานสัมมนา “รู้งี้…ทำตั้งนานแล้ว” ที่กองทุนบัวหลวงจัดขึ้นเมื่อต้นเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีตัวแทนนายจ้างและฝ่ายทรัพยากรบุคคลจากองค์กรต่างๆ ที่เป็นลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ ทั้งสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนฯ […]
‘กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ’ ถ้ารู้ว่าดีแบบนี้ “รู้งี้…ทำตั้งนานแล้ว”
By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ การมองหาสวัสดิการที่ดี เป็นโจทย์สำคัญข้อหนึ่งที่คนทำงานพิจารณา หากจะเลือกสมัครเข้าทำงาน หรือย้ายไปสถานที่ทำงานแห่งใหม่ ซึ่งหลายครั้งองค์กรที่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) ก็มักจะสูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่น สร้างความแตกต่าง สร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร หรือที่เรียกว่า ‘Talent’ ไปอย่างน่าเสียดาย ด้วยเหตุผลกระแทกใจข้อหนึ่งในใบลาออกว่า “เพราะบริษัทไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงาน” ด้วยเหตุนี้ องค์กรที่ไม่เคยมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงควรเริ่มตื่นตัวให้ความสำคัญกับการจัดตั้งมากขึ้น ช่วงต้นเดือนพ.ย. นี้ กองทุนบัวหลวง จัดงานสัมมนา “รู้งี้…ทำตั้งนานแล้ว” โดยมีตัวแทนนายจ้างและฝ่ายทรัพยากรบุคคลจากองค์กรต่างๆ ที่เป็นลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ ทั้งสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนฯ ร่วมรับฟัง ซึ่งผู้ที่มาร่วมกันให้ข้อมูลดีๆ คือ คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล Managing Director, Head of Business Distribution และ คุณสุริพล เข็มจินดา Deputy Managing Director, Corporate & High […]