ทำไมต้องปรับพอร์ตลงทุน

ทำไมต้องปรับพอร์ตลงทุน

ทำไมต้องปรับพอร์ตลงทุน โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center การปรับพอร์ตคือการเปลี่ยนสัดส่วนทรัพย์สินลงทุน อาจจะเป็นการปรับประเภททรัพย์สินไปเลย หรือปรับในประเภทเดียวกัน เช่น การปรับพอร์ตลงทุน ที่เปลี่ยนประเภทการลงทุน จากเดิมลงทุน 70-30 คือหุ้น 70% ตราสารหนี้ 30% เมื่อเราอายุมากขึ้น ต้องการลดความเสี่ยงลง เพราะเวลาทำงานหาเงิน ลดลง ถ้าเสี่ยงมากๆ อยู่ เกิดอะไรขึ้นมาเวลาแก้ตัวน้อยลง ก็ลดความเสี่ยงโดยรวมลง เป็น 50 – 50 และพอใกล้เกษียณก็ยิ่งควรลดสัดส่วนหุ้นลง สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมของการปรับพอร์ต ขึ้นอยู่กับ 2 เรื่อง คือ 1.ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ลงทุนที่เปลี่ยนไป เช่น อายุมากขึ้นก็ต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้นลง 2.การปรับพอร์ตตามภาวการณ์ จากการที่พอร์ตมีมูลค่าหรือสัดส่วนที่เพี้ยนไป เนื่องจากการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของหุ้น หรือมีสถานการณ์ผิดปกติ ทั้งนี้ หากไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น ก็อาจปรับพอร์ตได้ โดยควรดูเป็นระยะ แต่ไม่ต้องติดตามกันทุกเดือน […]

จัดพอร์ตลงทุนไม่ใช่เรื่องยาก

จัดพอร์ตลงทุนไม่ใช่เรื่องยาก

จัดพอร์ตลงทุนไม่ใช่เรื่องยาก โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center การลงทุนสำหรับแต่ละคนนั้นอาจจะมีเป้าหมายต่างๆ ที่แตกต่างกันไป แต่อย่างหนึ่งที่ต้องมีคือการเก็บออม และลงทุนเพื่อรองรับวัยเกษียณ โดยเราเกิดมาเริ่มจากเป็นเด็กที่เรียนจนจบมหาวิทยาลัย อายุ 20 ปี ถือเป็นช่วงแรกของชีวิตที่ส่วนใหญ่ก็จะใช้จ่ายเงินที่พ่อแม่ ผู้ปกครองให้มา จากนั้นเราก็ทำงานแล้ว ซึ่งก็คือช่วงอายุ 20-60 ปี รวมแล้วเรามีเวลาทำงาน 40 ปี นี่คือช่วงเวลาของการหาเงิน แต่หลังจาก 60 ปีไปแล้วถ้าเกษียณ ไม่ได้ทำงาน นั่นเป็นช่วงเวลาที่เราต้องใช้เงินจริงๆ ซึ่งช่วงเวลานี้นานขึ้นเรื่อยๆ จากอายุเฉลี่ยคนที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยสมมติว่าถ้าอายุยืนยาวไปถึง 80-90 ปี คำถามคือเราจะนำเงินช่วงไหนมาดูแลตัวเอง ดังนั้นช่วงที่ทำงานเก็บเงินจึงเป็นช่วงสำคัญ สำหรับการเก็บออมเพื่ออนาคต อย่างไรก็ดี การลงทุนของแต่ละคนนั้น มีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป ถ้าแบ่งตามทั่วไป ใช้อายุเป็นเกณฑ์ คนที่อายุน้อย เพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ มีเวลาทำงานอีกหลายปีกว่าจะเกษียณ ก็สามารถลงทุนอะไรที่มีความเสี่ยงได้ เช่น หุ้น […]

ทางออกของชมรมคนรูด(บัตร) ติดลมจมกองหนี้

ทางออกของชมรมคนรูด(บัตร) ติดลมจมกองหนี้

ทางออกของชมรมคนรูด(บัตร) ติดลมจมกองหนี้ โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center คนที่ใช้บัตรเครดิตจนเพลิน รูดจนไม่มีจ่าย รู้ตัวอีกทีหนี้บานเบอะ จะแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ที่เป็นอย่างนี้ต้องวิเคราะห์ก่อนว่าเกิดจาก อะไร เพราะบางคนเป็นหนี้เพราะความจำเป็น แต่บางคนเป็นหนี้เพราะความเพลิดเพลิน อดใจไม่อยู่ ทั้ง 2 แบบ หากเป็นหนี้แล้ว พันกันไปมา รูดใบที่ 1 มาจ่ายใบที่ 2 รูดใบที่ 2 จ่ายใบที่ 3 พันกันไปเรื่อยๆ แบบนี้ นับวันหนี้ที่มีก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น โตขึ้น เพราะเราไม่หยุดการใช้จ่าย ยิ่งรูดก็ยิ่งมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ดังนั้น วิธีการแก้ อย่างแรก ต้องมีความกล้า กล้าเอาภาระหนี้ที่มีมากางดูเลยว่ามีหนี้อะไรบ้าง เช่น หนี้บัตรเครดิต A หนี้บัตรเครดิต  B หนี้บัตรกดเงินสด C แล้วดูว่ามีหนี้คงเหลือแต่ละที่เท่าไหร่ หนี้บัตรใบไหนมีมากที่สุด […]

จัดพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ออกแบบได้สไตล์คุณ!

จัดพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ออกแบบได้สไตล์คุณ!

จัดพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ออกแบบได้สไตล์คุณ! โดย  พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น (คณะกรรมการกองทุนฯ) โดยเงินของกองทุนมาจาก “เงินที่ลูกจ้างจ่าย เรียกว่า เงินสะสม” และ “เงินที่นายจ้างจ่าย เรียกว่า เงินสมทบ” เงินทั้งสองส่วนนี้จะถูกนำไปบริหารจัดการก่อให้เกิดผลประโยชน์จากเงินสะสมและผลประโยชน์จากเงินสมทบ ซึ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมาจากนโยบายการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั่นเอง นโยบายการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากไม่เป็นแบบคณะกรรมการกองทุนฯ เลือกให้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำไว้ก่อน เนื่องจากเกรงว่าลูกจ้างบางส่วนอาจไม่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงและการลงทุน แต่หากปัจจุบันมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นก็อาจรวมตัวกันแจ้งความประสงค์กับคณะกรรมการกองทุนฯ ว่าจะปรับไปเป็นแบบ Employee Choice ได้ไหม? คือเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเลือกนโยบายการลงทุนได้ด้วยตัวเอง สำหรับ บริษัทที่เปิดให้เลือกนโยบายลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Employee Choice) ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก  เพราะทำให้สามารถจัดพอร์ตลงทุนผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ โดยอย่างแรกที่ควรทำก่อน คือ ศึกษานโยบายการลงทุนแต่ละกองทุนที่มีให้เลือก จากนั้นให้พิจารณาตัวเองว่า รับความเสี่ยงได้แค่ไหน? ต้องการผลตอบแทนประมาณเท่าไร?  เพราะหากต้องการได้ผลตอบแทนสูง […]

ใส่ใจสักนิด…กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ใส่ใจสักนิด…กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ใส่ใจสักนิด…กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดย  พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center เมื่อกล่าวถึง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)” เชื่อว่าพนักงานออฟฟิศหลายๆ คนคงรู้จักเป็นอย่างดีหรือไม่ก็น่าจะพอคุ้นหูกันมาบ้าง เพราะปัจจุบันหลายบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อสนับสนุนให้พนักงานมีเงินใช้ในวัยเกษียณ จึงเลือกใช้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาช่วยบริหารจัดการเงินให้ แต่ประเด็นคือ ยังมีพนักงานอยู่ส่วนหนึ่งที่ไม่เข้าใจประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทราบแต่ว่าทุกครั้งที่เงินเดือนออกจะถูกหักเอาไว้ก่อน คิดแล้วก็ตงิดๆ ในหัวใจ งินเดือนออกทั้งที อยากเอาไปใช้จ่ายเต็มๆ แต่โดนหักไปเสียก่อนทุกครั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น (คณะกรรมการกองทุนฯ) โดยเงินของกองทุนมาจาก “เงินที่ลูกจ้างจ่าย เรียกว่า เงินสะสม”  และ “เงินที่นายจ้างจ่าย เรียกว่า เงินสมทบ” เงินทั้งสองส่วนนี้จะถูกนำไปบริหารจัดการภายใต้กองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพตามนโยบายลงทุนที่คณะกรรมการกองทุนฯ เลือก ซึ่งนโยบายการลงทุนที่คณะกรรมการกองทุนฯ เลือกให้ ส่วนใหญ่เน้นที่ความเสี่ยงต่ำ เพราะคณะกรรมการกองทุนฯ ห่วงใยในเงินลงทุนว่าจะรับความเสี่ยงมากเกินไป รวมถึงเกรงว่า พนักงานบางส่วนอาจไม่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการลงทุน แต่ปัจจุบันบริษัทหลายแห่งได้เปิดโอกาสให้ลูกจ้าง สามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้ด้วยตัวเอง […]

เพิ่มโอกาสการลงทุนหุ้นเทคฯ กับ B-INNOTECH / B-INNOTECHRMF

เพิ่มโอกาสการลงทุนหุ้นเทคฯ กับ B-INNOTECH / B-INNOTECHRMF

เพิ่มโอกาสการลงทุนหุ้นเทคฯ กับ B-INNOTECH / B-INNOTECHRMF โดย…ศรศักดิ์ สร้อยแสงจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมก่อให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ได้ส่งผลสะเทือนแบบพลิกแผ่นดินอย่างฉับพลันต่อรูปแบบการใช้ชีวิต การบริโภค การทำงาน ไปจนถึงกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่างๆ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ “โทรศัพท์มือถือ” ซึ่งพัฒนาจนกลายเป็น “สมาร์ทโฟน” ที่ใช้ประโยชน์ได้นานับประการกว้างไกลกว่าการสื่อสารด้วยเสียงแบบในอดีต ในราคาที่ถูกลงเรื่อยๆ โดยยังคงพัฒนาศักยภาพในการใช้งานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสร้างมูลค่าการตลาดเกือบ 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี มีอัตราการเติบโตสูงถึง 29% ต่อปี ทำให้มูลค่าของบริษัทผู้ผลิตชั้นนำ เช่น Apple Sumsung Huawei เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในขณะที่เทคโนโลยี Internet และระบบการสื่อสารที่รวดเร็ว (4G/5G) ส่งผลให้มีการพัฒนาโปรแกรมการใช้งานกับสมาร์ทโฟนที่เรียกกันว่าแอปพลิเคชั่น (App.) สร้างบริการใหม่ๆ เช่น Facebook Instagram Line WeChat ที่ผู้คนนิยมใช้กันทั่วโลกจนเกิดการสื่อสารในรูปแบบ Social media […]

เปลี่ยนใจได้ไหม ถ้าไม่ปลื้มกับ LTF / RMF ที่ถืออยู่

เปลี่ยนใจได้ไหม ถ้าไม่ปลื้มกับ LTF / RMF ที่ถืออยู่

เปลี่ยนใจได้ไหม ถ้าไม่ปลื้มกับ LTF / RMF ที่ถืออยู่ โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ไม่ชอบใจกองทุน LTF/RMF ที่ลงทุนอยู่ อยากเปลี่ยนกองทุน สามารถทำได้ไหม? สามารถทำได้ แต่เงื่อนไขการเปลี่ยนกองทุนคือ จะต้องเปลี่ยนกองทุนไปในกองทุนแบบเดียวกัน เช่น เปลี่ยนจากกองทุน LTF A ไปยัง กองทุน LTF B จะไม่สามารถเปลี่ยนจากกองทุน LTF A มายังกองทุน RMF A หรือเปลี่ยนจากกองทุน RMF A ไปยังกองทุน LTF B ได้ การเปลี่ยนแบบนี้จะต้องพิจารณาอะไรบ้าง? ถ้าเป็นกองทุนรวม LTF เงื่อนไขของกองทุนประเภทนี้คือจะมีการลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ดังนั้น ไม่ว่าจะสับเปลี่ยนไปยังกองทุนรวม LTF […]

เช็คความพร้อมก่อนลงทุนต่างประเทศ

เช็คความพร้อมก่อนลงทุนต่างประเทศ

เช็คความพร้อมก่อนลงทุนต่างประเทศ โดย…ศรศักดิ์ สร้อยแสงจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center การลงทุนในต่างประเทศมีเป้าหมาย 2 ประการ 1. เพื่อหาโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในต่างประเทศ แต่ละประเทศมีสถานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าประเทศไทย เช่น จีน อินเดีย ย่อมมีโอกาสในการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า  รวมทั้งประเทศที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เจริญกว่า ถึงแม้อัตราการเติบโตจะไม่สูงมาก เช่น สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น แต่ประชาชนมีรายได้ต่อหัวที่สูงกว่า มีอำนาจซื้อที่สูงกว่า จึงมีโอกาสการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน ในต่างประเทศยังบริษัทมากมายที่ขายสินค้าและบริการที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตหรือให้บริการได้ โดยที่สินค้า/บริการนั้นเป็นที่นิยมของคนในประเทศนั้นๆ หรือทั่วโลก เช่น Smart Phone หรือ สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น Software program, Semiconductor, Electric vehicle ซึ่งบริษัทที่เป็นเจ้าของสินค้านั้นมีรายได้ กำไรที่ระดับสูง และยังมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด 2. เพื่อกระจายความเสี่ยง การกระจายความเสี่ยงเบื้องต้นทำได้โดยการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายประเภท (Asset class) ทั้งประเภทที่มีความเสี่ยงสูง […]

ลงทุนหุ้นเอง กับลงทุนผ่านกองทุนรวม อย่างไหนดีกว่ากัน

ลงทุนหุ้นเอง กับลงทุนผ่านกองทุนรวม อย่างไหนดีกว่ากัน

ลงทุนหุ้นเอง กับลงทุนผ่านกองทุนรวม อย่างไหนดีกว่ากัน โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ลงทุนหุ้นเอง กับลงทุนผ่านกองทุนอย่างไรดีกว่ากัน? เป็นคำถามที่มักจะมีเข้ามาบ่อยครั้ง ซึ่งก็ต้องอธิบายว่า การลงทุนหุ้นโดยตรง หรือผ่านกองทุนรวม ต่างก็เป็นการลงทุนในหุ้นเหมือนกัน เพียงแต่วิธีแรกผู้ลงทุนเป็นผู้ตัดสินใจเอง แต่วิธีผ่านกองทุนรวมเป็นการให้ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพทำหน้าที่แทน การลงทุนทั้ง 2 วิธีนี้ เปรียบเทียบไม่ได้ว่าอะไรดีกว่ากัน เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน และขึ้นกับว่าจะเอาอะไรเป็นตัววัดกว่าดีกว่าหรือแย่กว่า เพราะคนเรานั้นไม่เหมือนกัน คนที่ไม่ใช่นักลงทุนหุ้นโดยตรง ต้องทำงานประเภทอื่น ไม่มีเวลาติดตามข่าวสาร ไม่มีเงินก้อน หรือมีภาระทางครอบครัวมาก การลงทุนหุ้นเองย่อมมีความเสี่ยงสูง เพราะมีข้อจำกัดหลายเรื่อง โดยเฉพาะเวลาการติดตามข่าวสารหาความรู้ กลุ่มนี้มักจะไม่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนหุ้นโดยตรง หากเป็นเช่นนี้ กองทุนรวมจะเหมาะกว่า เพราะใช้เวลาศึกษากองทุนไม่ยากเท่าศึกษาหุ้นรายตัว เพียงเข้าใจว่ากองทุนที่ลงทุนมีนโยบายอย่างไร มีความเสี่ยงอย่างไร ผู้จัดการกองทุนมีแนวทางลงทุนอย่างไร  ส่วนที่เหลือก็ให้ผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่ลงทุนให้ และให้เวลากับมันแล้วถ้าเป็นคนที่เล่นหุ้นเองอยู่แล้ว ในกรณีที่เล่นหุ้นเองอยู่แล้ว ก็ต้องดูว่า ประวัติการลงทุนที่ผ่านมาเป็นอย่างไร มีสไตล์การลงทุนแบบไหน ทำผลงานได้ดีหรือไม่ ที่สำคัญต้องดูทั้งช่วงตลาดขาขึ้น หรือขาลง […]

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับการลาออก

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับการลาออก

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับการลาออก โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ และมีแผนเตรียมตัวลาออกจากงาน ก่อนอื่นต้องดูอายุงานที่เราทำงานก่อน ว่าเราทำงานมาแล้วกี่ปี เพราะโดยทั่วไป หากลาออกโดยมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป (ถึงแม้อายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะไม่ครบ 5 ปี) ก็สามารถใช้สิทธิแยกยื่นภาษีได้ ในกรณีที่ต้องการนำเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาใช้ อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ ดูเงื่อนไขของบริษัทว่าอายุงานเท่าไหร่ ถึงจะได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง เช่น ทำงานครบ 3 ปี ได้เงินสมทบ 50% ทำงานครบ 5 ปี ได้เงินสมทบ 100% ซึ่งในส่วนนี้แต่บริษัทจะแตกต่างกัน ในกรณีที่อายุงานไม่ถึง 5 ปี แต่อยากลาออกแล้วนั้น  หากไม่ต้องการใช้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ต้องการสะสมเพื่อใช้ในยามเกษียณ  ซึ่งกองทุนนี้มีวัตถุประสงค์แบบนั้น) จะต้องดูก่อนว่าบริษัทใหม่ที่เราจะไปร่วมทำงานด้วย มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่ ถ้ามี เราก็สามารถขอคงเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อน เพราะบริษัทใหม่ที่เราจะไปร่วมงาน ส่วนใหญ่จะต้องมีระยะเวลาทดลองงาน ซึ่งในช่วงนั้นจะไม่ส่งเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ เราจึงต้องขอคงเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เดิมเอาไว้ […]