จีนให้คำมั่นเร่งออกนโยบายหนุนการบริโภค หลังจีดีพี Q2/66 โตต่ำกว่าคาด
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) ให้คำมั่นในวันนี้ (18 ก.ค.) ว่า จีน จะเร่งออกนโยบายเพื่อมุ่งฟื้นฟูและขยายการบริโภค เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงอ่อนแอ รายงานระบุว่า เศรษฐกิจจีนเติบโตแบบชะลอตัวในไตรมาสที่ 2/2566 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2/2566 ขยายตัว 6.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าอาจจะขยายตัว 7.3% นายจิน เสียนตง เจ้าหน้าที่ NDRC กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวประจำเดือนของ NDRC ว่า เศรษฐกิจจีนเผชิญความยากลำบากในการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเผชิญความท้าทายจาก “อุปสงค์ที่ไม่เพียงพอ แรงผลักดันที่อ่อนแอ และความเชื่อมั่นที่อ่อนแอ” นายจิน ระบุว่า กำลังซื้อและการคาดการณ์การบริโภคของผู้บริโภคค่อนข้างอ่อนแอ และมีความจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมการบริโภค นายจิน กล่าวเสริมว่า NDRC จะกำหนดและออกนโยบายทันทีเพื่อฟื้นฟูและเพิ่มการบริโภค “เพื่อรักษาเสถียรภาพการบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ เพิ่มการบริโภครถยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงปรับสภาพแวดล้อมการบริโภคให้เหมาะสม เราจะออกนโยบายที่ปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำไปใช้โดยเร็วที่สุด” นายจิน ระบุ […]
Economic Update: จีนส่งสัญญาณผ่อนคลายเชิงนโยบายเพิ่มเติม
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM จีนส่งสัญญาณผ่อนคลายเชิงนโยบายเพิ่มเติม ภายหลังจากที่ได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือ Developer โดยขยายระยะเวลาชำระสินเชื่อไปถึงหนึ่งปี โดยก่อนหน้านี้ ได้ออกมาตรการสนับสนุนให้สถาบันการเงินและ Developer ได้เจรจาต่อรองเงื่อนไขการชำระ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบไปด้วย PBoC และหน่วยงานกำกับสถาบันการเงิน หรือ NFRA ได้กล่าวร่วมกันว่า มาตรการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้ Developer มีสายป่านเพียงพอที่จะก่อสร้างจนแล้วเสร็จและสามารถส่งมอบบ้านได้ สำนักข่าว China Securities Journals กล่าวว่า ทางการจีนมีแผนที่จะออกมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมอีก เพื่อที่จะเพิ่มความเชื่อมันธุรกิจในกลุ่มนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมาตรการที่จะออกต่อไป อาจจะเป็นมาตรการกระตุ้นจากฝั่งอุปสงค์ เช่น ผ่อนคลายเกณฑ์การซื้อบ้าน หรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่ามาตรการกระตุ้นจากฝั่งอุปทานแต่เพียงด้านเดียวอาจไม่เพียงพอให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจีนฟื้นได้อย่างยั่งยืน จึงมองว่า มาตรการกระตุ้นทางฝั่งอุปสงค์จะมีส่วนช่วยหนุนธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง โดยหวังว่า ทางการจีนจะปรับลดการวางเงินดาวน์เพื่อกระตุ้นให้คนอยากซื้อบ้านมากขึ้น ทั้งนี้ ตัวเลข Saving Rate ล่าสุดของจีนปรับตัวสูงขึ้น 15 % YoY YTD มาอยู่ที่ […]
เศรษฐกิจอินเดียโตแซงจีนปีนี้ นักวิเคราะห์มองเอเชียเด่นน่าลงทุนสุด
องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD คาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียจะก้าวข้ามสาธารณรัฐประชาชนจีนในปีนี้ และปีถัดไป รายงานแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจล่าสุดของ OECD ระบุว่า อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย จะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี สูงเป็นอันดับต้นๆ ในปี 2566 และ 2567 โดยทั่วโลกคาดว่าจะเห็นการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 2.7% ปีนี้ ซึ่งจะเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยของโลกที่ช้าที่สุดเป็นอันดับสอง นับตั้งแต่วิกฤตการณ์การเงินในช่วง พ.ศ. 2550–2551 หากไม่รวมปี 2563 ที่เกิดสถานการณ์โควิดระบาด Clare Lombardelli หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของ OECD ระบุว่า ราคาพลังงาน อัตราเงินเฟ้อ ปัญหาคอขวดที่ผ่อนคลาย รวมถึงการเปิดประเทศของจีน ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และการเงินของครัวเรือนที่คงตัว ล้วนแล้วแต่ส่งผลบวกต่อคาดการณ์การฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะยังอ่อนแอหากเทียบกับการเติบโตเฉลี่ยของโลกในปีอื่นๆ พร้อมกันนั้นยังกล่าวเพิ่มด้วยว่า ผู้กำหนดนโยบายการเงินจะต้องเผชิญกับหนทางที่ยากลำบาก OECD คาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียในปีนี้จะอยู่ที่ 6% ส่วนจีนจะเห็นการเติบโต 5.4% และ […]
แบงก์ใหญ่จีนลดดอกเบี้ยเงินฝาก รัฐบาลปักกิ่งเร่งกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน
ธนาคารขนาดใหญ่ของจีนหลายแห่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในสกุลเงินหยวน เมื่อวันพฤหัสบดี (8 มิ.ย.) เพื่อเป็นการลดแรงกดดันต่ออัตราการทำกำไร และเป็นการลดต้นทุนการกู้ยืม ซึ่งช่วยให้ภาคธุรกิจการเงินและเศรษฐกิจจีนในวงกว้างมีความผ่อนคลายมากขึ้น ธนาคารอินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชนา ลิมิเต็ด (ICBC) ธนาคารเพื่อการเกษตรแห่งประเทศจีนแบงก์ ออฟ ไชน่า และธนาคารการก่อสร้างจีน โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ของแต่ละธนาคารทั้งหมดนี้ ระบุว่า ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมีผลตั้งแต่วันพฤหัสบดี (8 มิ.ย.) เป็นต้นไป ธนาคารของรัฐเหล่านี้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกระแสรายวันลง 0.05% และดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 ปี และ 5 ปี ลง 0.15% ซึ่งเป็นการปรับลดดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ภายในรอบ 1 ปี ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยครั้งก่อนเกิดขึ้นในเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว นาย Gary Ng นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสเอเชียแปซิฟิกของบริษัท Natixis กล่าวว่า “การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะผลักดันการออมไปสู่การบริโภคและการลงทุนและผ่อนคลายแรงกดดันต่อส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) […]
นักลงทุนต่างชาติเทขาย “หุ้นจีน” กว่า 1.71 พันล้านดอลลาร์ในเดือน พ.ค.
นักลงทุนต่างชาติเทขาย “หุ้นจีน” ในเดือนพฤษภาคม 2566 กว่า 1.71 พันล้านดอลลาร์ โดยได้รับแรงส่งในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากดีมานด์ในประเทศและความคาดหวังต่อผลประกอบการของบริษัทที่อ่อนแอ ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงร่วงลงอย่างมาก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ข้อมูลของ Refinitiv แสดงให้เห็นว่า ชาวต่างชาติขายหุ้นจีนมูลค่า 1.71 พันล้านดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคม ผ่านทาง Stock Connect ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้ามพรมแดนที่สำคัญระหว่างการแลกเปลี่ยนของจีนและฮ่องกง หลังจากขายไป 659 ล้านดอลลาร์ในเดือนเมษายน ซึ่งการขายดังกล่าวถือเป็นการพลิกกลับอย่างช้าๆ ของการลงทุนจำนวนมากที่มีมูลค่ารวม 2.092 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมกราคม 2566 เมื่อจีนกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากมีข้อจำกัดเรื่องโควิดนาน 3 ปี ซึ่งกระตุ้นให้เกิดกระแสความคาดหวังในเชิงบวกสำหรับการเติบโต ความหวังดังกล่าวพังทลายลง เมื่อดีมานด์ในประเทศและต่างประเทศร่วงโรย และการฟื้นตัวก็ไม่สม่ำเสมอ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน กำไรของบริษัทอุตสาหกรรมของจีนตกลงในช่วง 4 เดือนแรกของปี แม้จะมีการไหลออกในเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม แต่การซื้อหุ้นสุทธิของชาวต่างชาติในจีนยังคงอยู่ที่ […]
‘อีลอน มัสก์’ เยือนจีน สานต่อโครงการลงทุนอภิมหาโปรเจ็คท์
อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีโลก ซีอีโอ บริษัทเทสลา เดินทางเยือนจีนอีกครั้ง พร้อมประกาศเจตจำนง เพิ่มการลงทุนด้านตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในจีน เดินหน้าโรงงานขนาดใหญ่ผลิตแบตเตอรี่ที่เซี่ยงไฮ้ สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน วันนี้ (31 พ.ค.) ระบุ นายฉิน กัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้ให้การต้อนรับ นายอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีนักธุรกิจ และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ( ซีอีโอ ) ของ บริษัทเทสลา ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของโลก ซึ่งกำลังเดินทางเยือนจีน เริ่มตั้งแต่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (30 พ.ค.) โดยครั้งนี้ นับเป็นการเยือนจีนครั้งแรกของนายมัสก์ในรอบกว่า 3 ปี หรือเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ผ่านพ้นการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 นั่นเอง กระทรวงการต่างประเทศจีน ออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับการพบหารือครั้งนี้ว่า ซีอีโอของเทสลามีความมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจในจีน และยังเน้นย้ำว่า เทสลาไม่เห็นด้วยกับการใช้นโยบายแบ่งแยกทางธุรกิจ ขณะที่ นายฉินกล่าวกับนายมัสก์ว่า รัฐบาลปักกิ่งยินดีสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ให้มีความเป็นมิตร และมุ่งเน้นแนวคิดกลไกตลาดตามหลักนิติธรรมสำหรับบริษัทต่างชาติทุกราย ปัจจุบัน จีนเป็นตลาดยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นตลาดต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของเทสลาด้วย โดยบริษัทประกาศเมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมาว่า มีโครงการลงทุนเตรียมสร้างโรงงานแห่งที่สองในจีน […]
‘ยอดค้าปลีกจีน’ พุ่ง 18.4% สะท้อนภาคบริการสดใส สวนทางภาคการผลิต
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ข้อมูลเศรษฐกิจของจีนในเดือนเมษายนยังคงแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการฟื้นตัวที่ไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวจากผลกระทบของมาตรการจำกัดโควิดที่เข้มงวด โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 5.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี เทียบกับ 10.9% ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ในแบบสำรวจของรอยเตอร์ ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 3.9% ในเดือนมีนาคม ขณะที่ ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 18.4% ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 21% ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 4.7% ในเดือนเมษายน เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.5% ด้านหุ้นจีนปรับตัวดีขึ้นเกือบทั้งปีในปีนี้ Shenzhen Component ลดลง 4.67% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสและเพิ่มขึ้นเพียง 1.48% เมื่อเทียบเป็นรายปี และลดลง 9.5% จากจุดสูงสุดในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ข้อมูลล่าสุดของจีนติดตามภาพที่หลากหลายในวิถีการเติบโตของจีน โดยภาคบริการยังคงเป็นจุดสดใสในระบบเศรษฐกิจ แม้ว่าข้อมูลโรงงานจะเข้าสู่ภาวะหดตัวในเดือน เม.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตทั่วไปของ Caixin China ลดลงสู่ระดับ 49.5 ในเดือนเมษายน […]
“หยวน” แซงหน้า “ดอลลาร์” เป็นครั้งแรก สกุลเงินที่ใช้มากสุดในธุรกรรมข้ามพรมแดนของจีน
เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า หยวนกลายเป็นสกุลเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับธุรกรรมข้ามพรมแดนในจีนในเดือนมีนาคม 2566 แซงหน้าดอลลาร์เป็นครั้งแรก สะท้อนความพยายามของจีนในการทำให้การใช้เงินหยวนเป็นสากล โดยการชำระเงินข้ามพรมแดนและใบเสร็จรับเงินในสกุลเงินหยวนเพิ่มขึ้นเป็น 549,900 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม จาก 434,500 ล้านดอลลาร์ในเดือนก่อนหน้า ตามการคำนวณของรอยเตอร์จากข้อมูลจาก State Administration of Foreign Exchange โดยหยวนถูกใช้ใน 48.4% ของธุรกรรมข้ามพรมแดนทั้งหมด ขณะที่ สัดส่วนของดอลลาร์ลดลงเหลือ 46.7% จาก 48.6% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งปริมาณธุรกรรมข้ามพรมแดนครอบคลุม ทั้งบัญชีกระแสรายวันและบัญชีทุน ทั้งนี้ จีนได้ส่งเสริมการใช้เงินหยวน เพื่อชำระการค้าข้ามพรมแดนมาเป็นเวลานาน โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำให้การใช้สกุลเงินของตนเป็นสากล แต่การใช้เงินหยวนในการค้าโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม ข้อมูลจาก SWIFT แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของเงินหยวนในธุรกรรมสกุลเงินทั่วโลกสำหรับการเงินการค้าเพิ่มขึ้นเป็น 4.5% ในเดือนมีนาคม ในขณะที่เงินดอลลาร์คิดเป็น 83.71% ที่มา: รอยเตอร์
BF Knowledge Tips: หลายเหตุผลที่ทำให้จีนกลับมาน่าลงทุน
โดย เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® , BBLAM ปีนี้ ตลาดการลงทุนย้ายมาโฟกัสในฝั่งเอเชียครับ โดยเฉพาะจีนที่ซบเซามา 2 ปี ซึ่งก็มาจากหลายๆ สาเหตุ แต่สาเหตุใหญ่ๆ ก็มาจากโควิด ที่ประเทศจีนยังคงใช้นโยบายเข้มงวดอย่าง Zero-Covid ก่อนจะมายอมผ่อนคลายเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่การผ่อนคลายนโยบายหลังประเทศใหญ่อื่นๆ ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่หลายประเทศใหญ่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเงินเฟ้อ ก็ยิ่งทำให้ประเทศจีนมีความน่าสนใจมากขึ้นโดยเปรียบเทียบ สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียที่ปัจจุบันมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้มีสัดส่วนการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น มีการค้าขายและเดินทางระหว่างกันมากขึ้น การที่จีนเปิดประเทศจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจหลายประเทศมีความน่าสนใจมากกว่าฝั่งตะวันตก เพราะปริมาณคนจีนที่มีมาก มีกำลังซื้อและการเดินทางของคนจีนในภูมิภาคเอเชียจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ทดแทนกำลังซื้อจากฝั่งตะวันตกที่ลดลง กลับมาที่จีน นอกจากการผ่อนคลายนโยบายเรื่องโควิดแล้ว ข่าวการปรากฎตัว ของ Jack Ma ที่ Hang Zhou ที่เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ Alibaba หรือการประกาศที่จะแยกหน่วยธุรกิจ ที่ประกอบไปด้วยพวก Ecommerce ธุรกิจ Cloud ธุรกิจ Logistic ก็เป็นเหมือนสัญญาณ ที่บ่งชี้ว่า การควบคุมบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีนน่าจะผ่อนคลายลง หลังจากถูกทางการจีนควบคุมจัดระเบียบมาตลอด […]
เครื่องชี้เศรษฐกิจของจีนสะท้อนการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM โดยที่แต่ละเครื่องชี้ มีรายละเอียด ดังนี้ GDP ไตรมาส 1/2023 ขยายตัว 4.5% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 4.0% เร่งตัวขึ้นจาก 2.9% ในไตรมาสก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน GDP ขยายตัว 2.2% QoQ เร่งตัวขึ้นจาก 0.04% ไตรมาสก่อน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เร่งตัวขึ้นเป็น 10.6% YoY สูงกว่าตลาดคาดที่ 7.5% จาก 3.5% ในเดือน ม.ค.-ก.พ. การฟื้นตัว นำโดยหมวดร้านอาหาร (26.3% vs. 9.2% เดือน ม.ค.-ก.พ.), เครื่องสำอางค์ (9.6% vs. […]