‘ยอดค้าปลีกจีน’ พุ่ง 18.4% สะท้อนภาคบริการสดใส สวนทางภาคการผลิต

‘ยอดค้าปลีกจีน’ พุ่ง 18.4% สะท้อนภาคบริการสดใส สวนทางภาคการผลิต

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ข้อมูลเศรษฐกิจของจีนในเดือนเมษายนยังคงแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการฟื้นตัวที่ไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวจากผลกระทบของมาตรการจำกัดโควิดที่เข้มงวด โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 5.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี เทียบกับ 10.9% ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ในแบบสำรวจของรอยเตอร์ ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 3.9% ในเดือนมีนาคม ขณะที่ ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 18.4% ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 21% ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 4.7% ในเดือนเมษายน เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.5% ด้านหุ้นจีนปรับตัวดีขึ้นเกือบทั้งปีในปีนี้ Shenzhen Component ลดลง 4.67% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสและเพิ่มขึ้นเพียง 1.48% เมื่อเทียบเป็นรายปี และลดลง 9.5% จากจุดสูงสุดในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ข้อมูลล่าสุดของจีนติดตามภาพที่หลากหลายในวิถีการเติบโตของจีน โดยภาคบริการยังคงเป็นจุดสดใสในระบบเศรษฐกิจ แม้ว่าข้อมูลโรงงานจะเข้าสู่ภาวะหดตัวในเดือน เม.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตทั่วไปของ Caixin China ลดลงสู่ระดับ 49.5 ในเดือนเมษายน […]

“หยวน” แซงหน้า “ดอลลาร์” เป็นครั้งแรก สกุลเงินที่ใช้มากสุดในธุรกรรมข้ามพรมแดนของจีน

“หยวน” แซงหน้า “ดอลลาร์” เป็นครั้งแรก สกุลเงินที่ใช้มากสุดในธุรกรรมข้ามพรมแดนของจีน

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า หยวนกลายเป็นสกุลเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับธุรกรรมข้ามพรมแดนในจีนในเดือนมีนาคม 2566 แซงหน้าดอลลาร์เป็นครั้งแรก สะท้อนความพยายามของจีนในการทำให้การใช้เงินหยวนเป็นสากล โดยการชำระเงินข้ามพรมแดนและใบเสร็จรับเงินในสกุลเงินหยวนเพิ่มขึ้นเป็น 549,900 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม จาก 434,500 ล้านดอลลาร์ในเดือนก่อนหน้า ตามการคำนวณของรอยเตอร์จากข้อมูลจาก State Administration of Foreign Exchange โดยหยวนถูกใช้ใน 48.4% ของธุรกรรมข้ามพรมแดนทั้งหมด ขณะที่ สัดส่วนของดอลลาร์ลดลงเหลือ 46.7% จาก 48.6% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งปริมาณธุรกรรมข้ามพรมแดนครอบคลุม ทั้งบัญชีกระแสรายวันและบัญชีทุน ทั้งนี้ จีนได้ส่งเสริมการใช้เงินหยวน เพื่อชำระการค้าข้ามพรมแดนมาเป็นเวลานาน โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำให้การใช้สกุลเงินของตนเป็นสากล แต่การใช้เงินหยวนในการค้าโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม ข้อมูลจาก SWIFT แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของเงินหยวนในธุรกรรมสกุลเงินทั่วโลกสำหรับการเงินการค้าเพิ่มขึ้นเป็น 4.5% ในเดือนมีนาคม ในขณะที่เงินดอลลาร์คิดเป็น 83.71% ที่มา: รอยเตอร์

BF Knowledge Tips: หลายเหตุผลที่ทำให้จีนกลับมาน่าลงทุน

BF Knowledge Tips: หลายเหตุผลที่ทำให้จีนกลับมาน่าลงทุน

โดย เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® , BBLAM ปีนี้ ตลาดการลงทุนย้ายมาโฟกัสในฝั่งเอเชียครับ โดยเฉพาะจีนที่ซบเซามา 2 ปี ซึ่งก็มาจากหลายๆ สาเหตุ แต่สาเหตุใหญ่ๆ ก็มาจากโควิด ที่ประเทศจีนยังคงใช้นโยบายเข้มงวดอย่าง Zero-Covid ก่อนจะมายอมผ่อนคลายเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่การผ่อนคลายนโยบายหลังประเทศใหญ่อื่นๆ ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่หลายประเทศใหญ่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเงินเฟ้อ ก็ยิ่งทำให้ประเทศจีนมีความน่าสนใจมากขึ้นโดยเปรียบเทียบ สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียที่ปัจจุบันมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้มีสัดส่วนการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น มีการค้าขายและเดินทางระหว่างกันมากขึ้น การที่จีนเปิดประเทศจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจหลายประเทศมีความน่าสนใจมากกว่าฝั่งตะวันตก เพราะปริมาณคนจีนที่มีมาก มีกำลังซื้อและการเดินทางของคนจีนในภูมิภาคเอเชียจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ทดแทนกำลังซื้อจากฝั่งตะวันตกที่ลดลง กลับมาที่จีน นอกจากการผ่อนคลายนโยบายเรื่องโควิดแล้ว ข่าวการปรากฎตัว ของ Jack Ma ที่ Hang Zhou ที่เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ Alibaba หรือการประกาศที่จะแยกหน่วยธุรกิจ ที่ประกอบไปด้วยพวก Ecommerce ธุรกิจ Cloud ธุรกิจ Logistic ก็เป็นเหมือนสัญญาณ ที่บ่งชี้ว่า การควบคุมบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีนน่าจะผ่อนคลายลง หลังจากถูกทางการจีนควบคุมจัดระเบียบมาตลอด […]

เครื่องชี้เศรษฐกิจของจีนสะท้อนการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

เครื่องชี้เศรษฐกิจของจีนสะท้อนการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM โดยที่แต่ละเครื่องชี้ มีรายละเอียด ดังนี้  GDP ไตรมาส 1/2023 ขยายตัว 4.5% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 4.0% เร่งตัวขึ้นจาก 2.9% ในไตรมาสก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน GDP ขยายตัว 2.2% QoQ เร่งตัวขึ้นจาก 0.04% ไตรมาสก่อน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เร่งตัวขึ้นเป็น 10.6% YoY สูงกว่าตลาดคาดที่ 7.5% จาก 3.5% ในเดือน ม.ค.-ก.พ. การฟื้นตัว นำโดยหมวดร้านอาหาร (26.3% vs. 9.2% เดือน ม.ค.-ก.พ.), เครื่องสำอางค์ (9.6% vs. […]

ยูเอ็นเผยประชากรอินเดียแซงจีนกลางปีนี้

ยูเอ็นเผยประชากรอินเดียแซงจีนกลางปีนี้

ข้อมูลจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ชี้อินเดียกำลังจะกลายเป็นประเทศประชากรมากที่สุดในโลกแซงหน้าจีน ด้วยจำนวนที่มากกว่าเกือบ 3 ล้านคนในกลางปีนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงาน เมื่อวันพุธ (19 เม.ย.) กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอฟพีเอ) เผยแพร่รายงาน “สภาวะประชากรโลก 2566” ประเมินจำนวนประชากรอินเดียที่ 1.4286 พันล้านคน เทียบกับจีนที่มีประชากร 1.4257 พันล้านคน ส่วนสหรัฐฯ เป็นอันดับสาม จำนวนน้อยกว่ามาก ประมาณ 340 ล้านคน รายงานดังกล่าวใช้ข้อมูลที่มีในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรใช้ข้อมูลก่อนหน้านี้ จากยูเอ็นคาดการณ์ว่า อินเดียจะมีประชากรแซงหน้าจีนในเดือนนี้ แต่รายงานล่าสุดจากยูเอ็นไม่ได้ระบุวันว่าจะแซงได้เมื่อใด เจ้าหน้าที่ด้านประชากรของยูเอ็น กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะระบุวันให้ชัดเจน เนื่องจากความไม่แน่นอนของข้อมูลจากอินเดียและจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออินเดียทำสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดในปี 2554 และมีกำหนดทำครั้งต่อไปในปี 2564 แต่ต้องล่าช้าไปเพราะโควิด-19 ระบาด นักวิจารณ์ กล่าวว่า รัฐบาลจงใจเลื่อนการสำมะโนประชากรเพื่อปกปิดข้อมูลสำคัญ เช่น การว่างงาน ก่อนการเลือกตั้งระดับชาติจะมีขึ้นในปีหน้า  […]

ศก.จีนว้าว! จีดีพีไตรมาสแรกโตเกินคาด

ศก.จีนว้าว! จีดีพีไตรมาสแรกโตเกินคาด

เศรษฐกิจแดนมังกรโตเร็วเกินคาดจากแรงหนุนของผู้บริโภค ที่กลับมาจับจ่ายใช้สอยอย่างคักคัก หลังจากรัฐบาลจีนยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์ สำนักสถิติแห่งชาติจีน รายงานเมื่อวันอังคาร ( 18 เม.ย.) ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในไตรมาสแรกของปีนี้โตร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี2565 และโตแซงหน้าจีดีพีของไตรมาสที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.9 โดยจีดีพีในไตรมาสแรก ที่ทางการประกาศนี้ยังขยายตัวมากกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ร้อยละ 4 อีกด้วย จึงนับเป็นการเติบโตแข็งแกร่งสุดในรอบหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม ทางการจีนเตือนว่า เศรษฐกิจจีนอาจเผชิญแรงกดดันในด้านการนำเข้าและส่งออกสินค้าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ท่ามกลางบรรยากาศเศรษฐกิจในโลกที่ผันผวน นอกจากนั้น ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศยังนับว่าไม่เพียงพอ ที่จะหนุนให้เศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลกอย่างจีนแข็งแกร่งได้อย่างแท้จริง โดยทางการจะนำนโยบายต่างๆ มาบังคับใช้ต่อไป เพื่อรักษาเสถียรภาพการเติบโตของเศรษฐกิจและกระตุ้นความต้องการบริโภคภายในประเทศ ตลอดจนช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมเกิดใหม่ (emerging industries) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ อีกด้วย ข้อมูลในไตรมาสแรกของจีน นับว่ามีความสำคัญและนักลงทุนต่างจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ หลังจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ยุติลงในเดือนธ.ค. 2565 และรัฐบาลจีนได้ผ่อนคลายการคุมเข้มบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีและอสังหาริมทรัพย์ที่ดำเนินมานาน 3 ปีไปแล้ว โดยนโยบายโควิดเป็นศูนย์เคยทำให้จีดีพีของจีนในปี 2565 มีการขยายตัวต่ำมากที่สุดครั้งหนึ่งในรอบเกือบครึ่งศตวรรษ […]

จีนอัดฉีดเงิน 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์วันนี้ หวังเสริมสภาพคล่องระบบธนาคาร

จีนอัดฉีดเงิน 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์วันนี้ หวังเสริมสภาพคล่องระบบธนาคาร

จีนอัดฉีดเงิน 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์วันนี้ หวังเสริมสภาพคล่องระบบธนาคาร โดยดำเนินการผ่านโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ที่อัตราดอกเบี้ย 2.75% ธนาคารกลางจีนประกาศอัดฉีดเงินจำนวน 1.7 แสนล้านหยวน หรือ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เข้าสู่ระบบธนาคารในวันนี้ โดยดำเนินการผ่านโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ที่อัตราดอกเบี้ย 2.75% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่แล้ว และเป็นการคงอัตราดอกเบี้ย MLF ติดต่อกันเดือนที่ 8 สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก  รายงานว่า การอัดฉีดเงินครั้งล่าสุดในวันนี้ ส่งผลให้ยอดรวมการอัดฉีดเงินสุทธิอยู่ในเดือนเม.ย.อยู่ที่ระดับ 2 หมื่นล้านหยวน ซึ่งถือเป็นจำนวนน้อยที่สุด นับตั้งแต่เดือนพ.ย.2565 และสะท้อนให้เห็นว่า ธนาคารกลางกำลังประเมินผลกระทบของการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ธนาคารกลางจีนได้ปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ในวันนี้ ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งแรกของปีนี้ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบธนาคาร และลดต้นทุนในการระดมทุนของภาคธุรกิจ รวมทั้งกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนปรับลด RRR ในอัตรา 0.25% […]

BBLAM Weekly Investment Insights 17-21 เมษายน 2023

BBLAM Weekly Investment Insights 17-21 เมษายน 2023

2023 – The Rise of Asia INVESTMENT STRATEGY By BBLAM “ปีนี้ ดัชนี MSCI China จะโตที่ 18% ขณะที่ PE อยู่เพียง 11 เท่านิดๆ ขณะที่ หุ้นโลก ดัชนี MSCI World คาดว่า กำไรจะทรงตัว แต่ P/E แพงกว่าที่ 16 เท่า หุ้นจีนดูเหมือนมีภาษีที่ดีกว่า“ คุณเสกสรร โตวิวัฒน์, CFP® Assistant Managing Director จาก BBLAM สัปดาห์นี้มาชวนดูกันว่า ทำไมจีนถึงน่าลงทุนใน “หลายเหตุผลที่ทำให้จีนกลับมาน่าลงทุน” ปีนี้ ตลาดการลงทุนย้ายมาโฟกัสในฝั่งเอเชียครับ โดยเฉพาะจีนที่ซบเซามา 2 ปี ซึ่งก็มาจากหลายๆ […]

เอเชียเติบโตเร็วขึ้น จากจีนเปิดประเทศ

เอเชียเติบโตเร็วขึ้น จากจีนเปิดประเทศ

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank – ADB) มองกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในทวีปเอเชียจะเติบโตเร็วขึ้นในปีนี้ พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้ง 46 ประเทศในภูมิภาคมาอยู่ที่ 4.8% อันเป็นผลมาจากการที่จีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง จากรายงานการคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจฉบับล่าสุดของธนาคารพัฒนาเอเชีย เผยให้เห็นว่า กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย นำโดยประเทศจีน มีแนวโน้มที่จะเติบโตเร็วขึ้นในปี 2566 แม้ว่าบรรยากาศเศรษฐกิจทั่วโลกจะยังคงซบเซาอยู่ก็ตาม ส่วนหนึ่งได้แรงสนับสนุนจากภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มอ่อนตัวลง โดยธนาคารฯ คาดการณ์ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้ง 46 ชาติจะอยู่ที่ 4.8% ในปีนี้และปีหน้า ขยับตัวจาก 4.2% เมื่อปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของทั้งภูมิภาคในปี 2566 จะอยู่ที่ 4.2% ปรับตัวลงเล็กน้อยจาก 4.4% ในปี 2565 ธนาคารพัฒนาเอเชีย มองว่า การที่จีนกลับมาเปิดประเทศ จะเป็นตัวกระตุ้นสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายชาติในเอเชีย โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ จีนยังสามารถจัดการปัญหาเงินเฟ้อได้ดี แม้จะขาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ตาม อีกทั้งความต้องการและอุปทานในจีนก็มีความสมดุล ทำให้ธนาคารฯ เชื่อว่า การเปิดประเทศของจีนจะไม่ส่งผลกระทบต่อปัญหาเงินเฟ้อ […]

‘แบงก์ชาติจีน’ เรียกร้องยกระดับป้องกัน-กำจัดวิกฤตการเงิน

‘แบงก์ชาติจีน’ เรียกร้องยกระดับป้องกัน-กำจัดวิกฤตการเงิน

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เจ้าหน้าที่จากธนาคารกลางจีน (PBOC) ระบุในไชน่า ไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ในเครือธนาคารกลางจีนว่า จีนควรเร่งออกกฎหมายด้านเสถียรภาพทางการเงินและปรับปรุงการจัดการทางกฎหมายอื่นๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่อป้องกันและกำจัดความเสี่ยงทางการเงิน หน่วยงานด้านการเงินควรเพิ่มการกำกับดูแลความถูกต้องของข้อมูลของสถาบันการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และควรเรียนรู้จากวิกฤตการล่มสลายของธนาคาร Silican Valley Bank (SVB) นอกจากนี้ จีนควรปล่อยให้ระบบคุ้มครองเงินฝากมีบทบาทอย่างเต็มที่ โดยให้กลไกจัดการกับธนาคารที่มีปัญหาอย่างรวดเร็วและเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อป้องกันความเสี่ยงในลักษณะลูกโซ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง จีนควรรวบรวมเงินทุนสำรองเพื่อใช้จัดการกับความเสี่ยงทางการเงิน เพื่อให้แน่ใจว่า มีทรัพยากรเพียงพอที่จะกำจัดความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ PBOC ระบุในบทความว่าธนาคารพาณิชย์ของจีนโดยรวมแล้วมีความมั่นคงและแข็งแกร่ง ที่มา: รอยเตอร์