BF Economic Review – ครึ่งปีหลัง 2563

BF Economic Review – ครึ่งปีหลัง 2563

BF Economic Research COVID-19 เป็นจุดเปลี่ยนของเศรษฐกิจโลกจากเดิมที่ขยายตัวในอัตราชะลอตัวอันเป็นผลจากความตึงเครียดด้านการค้าและภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risks) กลับกลายเป็นพลิกกลับมาหดตัวอย่างหนักเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสเป็นเหตุให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักในช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2020 สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เรามองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยกลับมาเดินเครื่องได้บ้าง แต่ไม่น่าจะกลับไปเดินเครื่องเต็มรูปแบบได้เท่ากับปี 2019 สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 นี้ COVID-19 ก็ยังคงเป็นความเสี่ยงหลักและเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก เรามองว่าเศรษฐกิจโลกปี 2020 จะหดตัวที่ –4.6% ก่อนที่จะฟื้นตัวจากฐานต่า มาอยู่ในกรอบ 4-6% ในปี 2021 รัฐบาลและธนาคารกลางจะเป็นผู้เล่นหลักในการประคองเศรษฐกิจผ่านการใช้เม็ดเงินทางการคลังและอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำสุดในประวัติการณ์และจะเป็นแบบนี้ต่อเนื่องไปถึงปี 2021 ซึ่งแม้ว่าเศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้น แต่สภาพคล่องอันล้นเหลืออาจจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับการลงทุนในปี 2020-21 นี้

กองทุนบัวหลวงปรับประมาณการ GDP ไทยปี 2020 ลงจากเป็น -8.0% หลัง โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมุมกว้าง

กองทุนบัวหลวงปรับประมาณการ GDP ไทยปี 2020 ลงจากเป็น -8.0% หลัง โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมุมกว้าง

BF Economic Research กองทุนบัวหลวงปรับประมาณการ GDP ไทยปี 2020 ลงจากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ -5.2% เป็น -8.0% เนื่องด้วย COVID-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในมุมกว้าง ทั้งนี้ •        เราได้ปรับประมาณการการส่งออกและบริการให้หดตัวมากกว่าประมาณการครั้งก่อนเนื่องด้วยหลายประเทศทั่วโลกประกาศปิดน่านฟ้าและน่านน้ำ เป็นผลให้การส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยหยุดชะงัก จากที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงักเป็นผลให้ออเดอร์สินค้าส่งออกหดตัว นอกจากนี้เนื่องด้วยเหตุการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เกิดขึ้นในช่วง High-season ของไทย (High-season ของไทยอยู่ระหว่างเดือน พ.ย.-เม.ย. โดยที่ช่วงพีคของ COVID-19 คือช่วงเทศกาลสงกรานต์ของไทย) ทำให้ไทยขาดเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศนับตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นมา •        กิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศหดตัวทั้งส่วนของการบริโภคและการลงทุน เนื่องด้วยการจ้างงานและรายได้ของคนไทยมีแนวโน้มที่ลดลง ขณะที่ธุรกิจเอกชนชะลอการลงทุนออกไปก่อน •        และในช่วงที่เศรษฐกิจหยุดชะงักนั้น ในการประมาณการเศรษฐกิจรอบนี้ เราให้เครื่องจักรเดียวที่ยังขยายตัวอยู่ […]

MPC และทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย

MPC และทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย

BF Economic Research ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธ ปท.) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.5% พร้อมแสดงความกังวลว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในการประชุมครั้งนี้ ธปท. ได้ออกประมาณการเศรษฐกิจไทยมาด้วยซึ่งได้ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวแรงและต่ำกว่าอัตราขยายตัวในเชิงศักยภาพของไทย ที่ 4.0% พร้อมกับยังประมาณการว่าอัตราเงินเฟ้อจะต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย 1-3% ของ ธปท.ด้วย สำหรับแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้านั้น ตลาดเริ่มมองถึงโอกาสที่ ธปท. จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกจากระดับปัจจุบันที่ 0.5% เนื่องด้วย ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคของ ธปท. ได้เคยออกมาให้ความเห็นว่า ธปท. กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 0.23% ลงอีก (แต่เดิมอัตรานำส่งนี้อยู่ที่ 0.46% และ ธปท.ได้ปรับลดลงสู่ 0.23% ในเดือนเม.ย.) ซึ่งหาก ธปท. มีแผนที่จะปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯจริง อาจจะเป็นการส่งสัญญาณว่า Floor ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขยับลงต่ำกว่าระดับปัจจุบัน ทั้งนี้ Market […]

IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกลง -4.9%

IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกลง -4.9%

BF Economic Research IMF ได้ เผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. โดยได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2020 และปี 2021 โดยให้เหตุผลสำคัญจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกมากกว่าที่คาดการณ์ไว้แต่เดิม และมองว่าการฟื้นตัวจะล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัวลง -4.9% ในปี 2020 นี้ จากคาดการณ์ในเดือนเม.ย.ว่าจะหดตัวลง -3.0% นอกจากนี้ IMF ยังปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2021 สู่ระดับ 5.4% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ในเดือนเม.ย.ว่าจะขยายตัว 5.8% โดย IMF คาดเศรษฐกิจกลุ่มพัฒนาแล้ว (Advance Economies) จะหดตัว -8.0% (ปรับลดลง -1.9ppt จากประมาณการครั้งก่อน) และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Economies) คาดจะหดตัว -3.0% (ปรับลดลง […]

ส่งออกไทยในเดือน พ.ค. แย่ แต่เงินบาทแข็งค่า

ส่งออกไทยในเดือน พ.ค. แย่ แต่เงินบาทแข็งค่า

BF Economic Research ส่งออกไทย ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่ 16,278.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,948.2 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -22.50% YoY (vs. prev.2.12%YoY) ถ้าไม่รวมทองคำจะอยู่ที่ -27.86%YoY (vs. prev.-10.31%YoY) มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่ 13,584.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 16,485.9 ล้านดอลลาร์ฯหรือ -34.40%YoY (vs. prev.-17.10%YoY) ดุลการค้า ในเดือน พ.ค.-20  อยู่ที่ 2,694.6 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 2,462.3 ล้านดอลลาร์ฯ ดุลการค้า YTD ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่ […]

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0.00-0.25% และคาดจะคงไว้เช่นนี้ไปอีกนาน

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0.00-0.25% และคาดจะคงไว้เช่นนี้ไปอีกนาน

BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0.00-0.25% และคาดจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวไปจนกว่าจะมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะสามารถเลยผ่านปัจจัยเสี่ยงในปัจจุบัน และเดินทางกลับเข้าสู่เป้าหมายเดิมคือการจ้างงานเต็มอัตราและระดับราคาที่มีเสถียรภาพ โดยจาก Dot Plot ได้สะท้อนว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ไปถึงปี 2022 นอกจากนี้ Fed ระบุจะเข้าซื้อสินทรัพย์ที่อัตราปัจจุบัน “เป็นอย่างน้อย” ในการประชุมรอบนี้ Fed ได้ออกประมาณการเศรษฐกิจฉบับใหม่ หลังจากที่งดจัดทำรอบเดือน มี.ค. โดยประเมินเศรษฐกิจปี 2020F จะหดตัว -6.5% YoY ก่อนที่จะพลิกกลับมาขยายตัว 5.0% ในปี 2021F ขณะที่เงินเฟ้อ PCE คาดจะขยายตัวเพียง 0.8% YoY ในปี 2020F และทรงตัวต่ำกว่าเป้าหมายของ Fed ที่ 2% จนถึงปี […]

การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านราย หลังรัฐบาลคลาย Lockdown

การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านราย หลังรัฐบาลคลาย Lockdown

BF Economic Research การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านราย หลังจากที่ลดลง 20.7 ล้านรายในเดือนก่อน  • การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านราย หลังจากที่ลดลง 20.7 ล้านรายในเดือนก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดทั้งภาคบริการ (2.4 ล้านราย vs. -17.4 ล้านรายในเดือนก่อน) นำโดยการโรงแรมและพักผ่อน (1.2 ล้านราย) การให้บริการด้านสุขภาพและความช่วยเหลือทางสังคม (3.9 แสนราย) ค้าปลีก (3.7 แสนราย) และการให้บริการทางธุรกิจ (1.3 แสนราย) ส่วนภาคการผลิตเพิ่มขึ้น 6.7 แสนราย (vs. -2.4 ล้านรายในเดือนก่อน) […]

อัตราเงินเฟ้อไทยทำจุดต่ำสุดในเดือน พ.ค.

อัตราเงินเฟ้อไทยทำจุดต่ำสุดในเดือน พ.ค.

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน พ.ค. -20 อยู่ที่99.8 vs. prev 99.8 หรือ -3.44%YoY (vs. prev.-2.99%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน 0.01%MoM (vs. prev.-2.03%MoM)YTD: -1.04% (vs. prev.-0.44%) อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและน้ำมัน) อยู่ที่ 0.01%YoY (vs. prev.0.41%YoY)เมื่อเทียบรายเดือน -0.30%MoM (vs. prev.-0.07%MoM) ราคาอาหาร (36% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่  -0.01%YoY (vs. prev.1.04%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน 0.02%MoM (vs. prev.0.08%MoM) ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (64% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่  -5.42%YoY (vs. prev.-5.28%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน […]

สรุปรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ค.

สรุปรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ค.

BF Economic Research ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินรายเดือน ประจำเดือน พ.ค. 2020 (เป็นตัวเลข ณ เดือน เม.ย.) มีรายละเอียดสำคัญดังนี้ การบริโภคภาคเอกชนหดตัวแรงที่ -15.1% YoY (vs. -2.7% เดือนก่อน): รายจ่ายครัวเรือนหดตัวในทุกกลุ่ม นำโดยการใช้จ่ายในสินค้าคงทน (-37.5%) และบริการ (-31.9%) ขณะที่การใช้จ่ายในสินค้าไม่คงทนพลิกกลับมาหดตัว (-11.7%) ส่วนสินค้ากึ่งคงทนหดตัวเพิ่มขึ้น (-6.9%) ด้านตัวชี้วัดกำลังซื้อบ่งชี้ถึงความอ่อนแอในกว้างขวาง อาทิ รายได้เกษตรกร (-10.1% ตามผลผลิตที่ลดลง) ธุรกิจที่ปิดตัวลงชั่วคราวเพิ่มขึ้นซึ่งกระทบต่อการหยุดจ้างงาน รวมทั้งจำนวนลูกจ้างที่ตกงานและมาขอรับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานประกันสังคม การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่องที่ -6.1% YoY (vs. -8.7% เดือนก่อน): เป็นผลมาจากการหดตัวทั้งในยอดการจดทะเบียนรถยนต์ (-25.4%) การนำเข้าสินค้าทุน (-17.5%) และการจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ (-4.5%) จำนวนนักท่องเที่ยวหดตัวที่ 100% YoY […]

BF Monthly Economic Review – พ.ค. 2563

BF Monthly Economic Review – พ.ค. 2563

BF Economic Research ประเด็นเศรษฐกิจที่สำคัญๆ มีผลสืบเนื่องต่อการลงทุนในช่วงเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา มีดังนี้ เหตุการณ์ Sell in May หรือ การเทขายสินทรัพย์ที่ลงทุนอยู่ในช่วงเดือน พ.ค. ซึ่งบ่อยครั้งในอดีตจะเป็นเช่นนั้น แต่รอบเดือน พ.ค. ปีนี้ ไม่เกิดเหตุการณ์ Sell in May เกิดขึ้น หนำซ้ำดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกกลับทะยานขึ้นไป ซึ่งนักลงทุนอาจสงสัยว่าทำไมเกิดเหตุการณ์โควิด-19 แต่ตลาดกลับเคลื่อนไหวไปในทางบวกได้ค่อนข้างดี ณ ตอนนี้ โลก แบ่งเป็น 2 โลก 1.โลกของเรา 2.โลกของเขา 1.โลกของเรา คือ โลกแห่งความเป็นจริง ที่ภาพเศรษฐกิจไม่ดีจริงๆ หดตัวทุกประเทศ ทำให้ GDP ทั้งโลกหดตัวต่ำสุดในรอบหลายปี 2.โลกของเขา คือ โลกของนักลงทุน ซึ่ง ณ เวลานี้ไม่ไปด้วยกันกับโลกแห่งความเป็นจริง เพราะตลาดมองอีกแบบ […]