ตัวเลขเศรษฐกิจจีนเดือน มี.ค. ไม่ดี แต่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า
BF Economic Research GDP ไตรมาส 1/2020 หดตัว -6.8% YoY จากที่ขยายตัว 6.0% ในไตรมาสก่อน โดยนับเป็นการหดตัวที่มากที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลรายไตรมาสในปี 1992 จากการระบาดรุนแรงของ COVID-19 ที่ส่งผลให้รัฐบาลประกาศมาตรการคุมเข้มเพื่อยับยั้งการระบาดดังกล่าวนับตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. ก่อนที่จะทยอยเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ในเดือน มี.ค. หลังจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทยอยปรับลดลง โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ทยอยฟื้นตัวขึ้นในเดือน มี.ค. สะท้อนจากดัชนี PMI ที่ขยายตัวได้ดีในเดือนมี.ค. เราคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะค่อยฟื้นตัวขึ้น จากนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย โดยเรามอง GDP ในปี 2020 ทั้งปีจะอยู่ที่ 2.5% เครื่องชี้รายเดือน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ฟื้นตัวขึ้นเป็น -1.1% YoY จากที่หดตัว -15.8% ในเดือนก่อน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ฟื้นตัวขึ้นเป็น -15.8% […]
IMF ปรับประมาณการ GDP โลกลง -3.0% ในปีนี้
BF Economic Research กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดเศรษฐกิจโลกปีนี้จะหดตัว -3.0% ปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนในเดือน ม.ค. ที่คาดว่าจะขยายตัว 3.3% และนับเป็นการหดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำปี 1929 และต่ำกว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 2009 ที่หดตัว -0.1% จากการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้หลายๆ ประเทศใช้มาตรการคุมเข้มซึ่งได้ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักฉับพลัน โดยประมาณการดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าการระบาดของ COVID-19 และการใช้มาตรการคุมเข้มต่างๆ จะคลี่คลายลงในช่วงครึ่งหลังของปี แต่ในกรณีแย่สุดที่การระบาดยังไม่สามารถควบคุมได้ภายในช่วงครึ่งปีแรก และมาตรการปิดเมืองยังคงอยู่ไปจนถึงครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจโลกอาจหดตัวเพิ่มเติมอีก -3ppt (เป็น -6.0%) IMF ระบุสภาวะทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางการระบาดรุนแรงของ COVID-19 ที่แพร่กระจายทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยวิกฤตในครั้งนี้ หรือที่ IMF เรียกว่า ‘The Great Lockdown’ ไม่เหมือนวิกฤตเศรษฐกิจครั้งก่อนๆ ที่รัฐบาลสามารถกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ทันทีผ่านการกระตุ้นอุปสงค์ โดยวิกฤตครั้งนี้ เป็นผลมาจากการใช้มาตรการคุมเข้มเพื่อระงับการระบาดของไวรัสผ่าน การลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น […]
CPI ไทยเดือน มี.ค. -0.54% YoY (vs prev 0.74%YoY) จากราคาพลังงาน พาณิชย์คาดทั้งปี -0.6%
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน มี.ค. -20 อยู่ที่ 101.8 vs. prev 102.7 หรือ -0.54%YoY (vs. prev.0.74%YoY) เมื่อเทียบรายเดือน -0.86%MoM (vs. prev.-0.08%MoM) YTD: 0.41% (vs. prev.0.89%) อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและน้ำมัน) อยู่ที่ 0.54%YoY (vs. prev.0.58%YoY) เมื่อเทียบรายเดือน -0.02%MoM (vs. prev.0.09%MoM) ราคาอาหาร (36% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่ 1.58%YoY (vs. prev.2.04%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน -0.25%MoM (vs. prev.0.36%MoM) ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (64% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่ -1.74%YoY […]
การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) สหรัฐฯ เดือน มี.ค. ลดลง -7.01 แสนราย ขณะที่ ธนาคารกลางจีน (PBoC) ประกาศลดอัตราส่วนเงินกันสำรองขั้นต่ำ (RRR) สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็ก
BF Economic Research การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน มี.ค. ลดลง -7.01 แสนราย โดยนับเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2010 จากผลกระทบของ COVID-19 ที่กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะในภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานในเดือน ม.ค.-ก.พ. ถูกปรับลดลงรวมกัน 5.7 หมื่นราย (ปรับเพิ่ม 2 พันรายในเดือน ก.พ. และปรับลด 5.9 หมื่นรายในเดือน ม.ค.) การจ้างงานภาคเอกชนลดลง -7.13 แสนราย (vs. เพิ่มขึ้น 2.42 แสนรายในเดือนก่อน) โดยปรับลดลงแรงสุดในกลุ่มโรงแรมและการท่องเที่ยว (ลดลง -4.59 แสนราย) ขณะที่การจ้างงานภาครัฐเพิ่มขึ้น 1.2 หมื่นราย ส่วนหนึ่งเพื่อจัดทำผลสำรวจสำมะโนประชากร (Census survey) ด้านรายอุตสาหกรรม การจ้างงานภาคบริการลดลง -6.59 […]
ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินรายเดือน ประจำเดือน ก.พ. 2020
BF Economic Research ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินรายเดือน ประจำเดือน ก.พ. 2020 มีรายละเอียดสำคัญดังนี้ การใช้จ่ายภาครัฐ (ไม่รวมเงินโอน) ยังคงได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณฯ โดยทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน ต่างหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (-13.4% และ -50.7% ตามลำดับ) ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเติบโต 3.4% YoY (vs. +2.5% เดือนก่อน) โดยองค์ประกอบทั้งหมดต่างหดตัว (โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน -8.7% vs. -3.0% เดือนก่อน) ยกเว้นการบริโภคสินค้าที่ไม่คงทน (+2.4% vs. +1.0% เดือนก่อน) ที่ยังขยายตัวได้จากการเร่งซื้อสินค้าจากความกังวลว่าสินค้าจะขาดแคลนจากการแพร่ระบาดของไวรัส ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัว -10.1% YoY (vs. -6.1% เดือนก่อน) ตัวชี้วัดการลงทุนทั้งการลงทุนในเครื่องจักร/อุปกรณ์ และการก่อสร้างหดตัวในทิศทางเดียวกัน อาทิ การนำเข้าสินค้าทุน (-15.3%) ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ […]
BF Monthly Economic Review – มี.ค. 2563
BF Economic Research ข้อมูลประกอบ BF Monthly Economic Review ประจำเดือน มี.ค. 2563
ธนาคารกลางอินเดียออกมาตรการผ่อนคลายชุดใหญ่ ลดดอกเบี้ยลงไปต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์
BF Economic Research ในการประชุมฉุกเฉินของธนาคารกลางอินเดีย (RBI) เมื่อวันที่ 27 มี.ค. RBI มีมติ 4 ต่อ 2 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 75bps ซึ่งมากกว่าที่ตลาดการ์คาดไว้ โดยลดจาก 5.25% เป็น 4.40% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ต่ำกว่าในช่วงวิกฤติการเงินโลกปี 2008-2009 ที่ ณ ขณะนั้นอยู่ที่ 4.75% นอกจากนี้ RBI ได้ปรับลด Cash Reserve Ratio (CRR) หรืออัตราการคงเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์สำหรับทุกธนาคารพาณิชย์ลงถึง 100bps จาก 4% เป็น 3% และลดขั้นต่ำการคงสำรองเงินสดต่อเงินฝากรายวันเป็น 80% จาก 90% รวมทั้งประกาศใช้มาตรการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคารพาณิชย์ หรือ Targeted Long Term Repo […]
เฟดเร่งอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อลดแรงกดดันในตลาด
BF Economic Research เฟดเร่งอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อลดแรงกดดันในตลาด ส่วน ECB เพิ่มวงเงิน QE ผ่อนคลายเงื่อนไข LTROs (สินเชื่อให้ธนาคารพาณิชย์) แต่ทำตลาดผิดหวังที่คงอัตราดอกเบี้ย เมื่อวานนี้ (12 มี.ค.) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศอัดฉีดสภาพคล่องกว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯ เข้าสู่ระบบ ผ่านการซื้อคืนพันธบัตรระยะสั้น เมื่อวานนี้ 5 แสนล้านดอลลาร์ และวันนี้อีก 1 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 หลังจากเมื่อวานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงแรง และต้องหยุดการซื้อขายเป็นเวลา 15 นาที (Circuit Breaker) ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ Black Monday ในปี 1987 และอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลก็ปรับลดลงเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ เฟดจะเพิ่มประเภทของหลักทรัพย์ที่จะเข้าซื้อคืนด้วย นอกเหนือจากพันธบัตรระยะสั้น อาทิ ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ดอกเบี้ยลอยตัว (Floating […]
แบงก์ชาติอังกฤษหั่นดอกเบี้ยลง 0.50% จากเดิม 0.75% เป็น 0.25% รับมือโควิด-19
BF Economic Research ธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England: BoE) เซอร์ไพรส์ตลาดด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% จากเดิม 0.75% เป็น 0.25% โดยเป็นการปรับลดก่อนกำหนดการประชุมเดิมในวันที่ 26 มี.ค. เพื่อลดผลกระทบจาก โควิด-19 นอกจากนี้ BoE ยังมีมาตรการสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs การลดดอกเบี้ยของ BoE ออกมาก่อนที่รัฐบาลอังกฤษจะประกาศแผนนโยบายการคลังเพียงไม่กี่ชั่วโมง (วันนี้ประมาณ 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย) โดยเราคาดว่า รัฐบาลอังกฤษจะเพิ่มการใช้จ่ายทางการคลังมากขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ต้องมีการกู้ยืมผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลที่สูงขึ้น และอาจเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 9 ปี ประกอบกับการยกเว้นภาษีสำหรับภาคธุรกิจบางประเภทที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 รวมไปถึงการลด Payroll Tax เพื่อลดภาระประชาชน แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของอังกฤษ ออกมาพร้อมกับข่าวที่ว่า เมื่อวานนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษ นาดีน ดอรีส์ […]
เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่ภาวะ Technical Recession
BF Economic Research ญี่ปุ่นประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 4/2019 (Final) ที่ -1.8% QoQ sa (-7.1% QoQ saar) ซึ่งเป็นการหดตัวเพิ่มขึ้นจากประมาณการเบื้องต้นที่ -1.6% QoQ sa (-6.3% QoQ saar) และมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยมาจากการปรับตัวลดลงของการลงทุนภาคเอกชนเป็นหลักที่หดตัวเพิ่มขึ้นจาก -3.7% QoQ sa เป็น -4.6% QoQ sa สะท้อนตัวเลขรายไตรมาสของภาคธุรกิจที่เพิ่งประกาศออกมา ซึ่งแย่กว่าการประมาณการเบื้องต้น ทั้งนี้ นอกจากการลงทุนภาคเอกชนแล้ว การลงทุนภาครัฐก็ขยายตัวลดลงจากประมาณการเบื้องต้นเช่นเดียวกันจาก 1.1% QoQ sa เป็น 0.7% QoQ sa ตัวเลข GDP ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผลของการขึ้นภาษีการบริโภคของญี่ปุ่นจาก 8% เป็น 10% […]