Nonfarm payrolls เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นมาก ช่วยคลายความกังวลว่าตลาดแรงงานเริ่มอ่อนแอและลดโอกาสที่ Fed จะต้องรีบปรับลดดอกเบี้ยลงในการประชุมปลายเดือนนี้

Nonfarm payrolls เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นมาก ช่วยคลายความกังวลว่าตลาดแรงงานเริ่มอ่อนแอและลดโอกาสที่ Fed จะต้องรีบปรับลดดอกเบี้ยลงในการประชุมปลายเดือนนี้

BF Economic Research สหรัฐฯ: Nonfarm payrolls เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นมาก ช่วยคลายความกังวลว่าตลาดแรงงานเริ่มอ่อนแอและลดโอกาสที่ Fed จะต้องรีบปรับลดดอกเบี้ยลงในการประชุมปลายเดือนนี้ การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Change in Nonfarm payrolls) เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 2.24 แสนราย โดยเพิ่มขึ้นมากสุดในรอบ 6 เดือน ส่วนตัวเลขเดือนก่อนอยู่ที่ 7.2 หมื่นราย โดยอัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 3.7% จาก 3.6% ในเดือนก่อนและสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 3.6% เช่นกัน จากอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน (Labor participation rate) ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 62.9% สูงสุดในรอบ 3 เดือน ส่วนอัตราค่าจ้างเฉลี่ย (Average Hourly […]

ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล -0.4 พันล้านดอลลาร์ฯ vs prev 1.4 พันล้านดอลลาร์ฯ

ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล -0.4 พันล้านดอลลาร์ฯ vs prev 1.4 พันล้านดอลลาร์ฯ

BF Economic Research ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล -0.4 พันล้านดอลลาร์ฯ vs prev 1.4 พันล้านดอลลาร์ฯ โดยเป็นการขาดดุลครั้งแรกตั้งแต่เดือน ก.ย. 2014 จากดุลการค้าที่เกินดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์ฯ (prev -0.1 พันล้านดอลลาร์ฯ) และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุล -1.8 พันล้านดอลลาร์ฯ (จากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์ฯ) ตามฤดูกาลส่งกลับกำไรและเงินปันผลของธุรกิจต่างชาติ แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะแย่ลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ถือว่าเสถียรภาพประเทศไทยค่อนข้างแข็งแกร่ง ผนวกกับดอกเบี้ยนโยบายซึ่งคงที่ที่ 1.75% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้ไทยให้ผลตอบแทนที่ดี Flow เงินวิ่งเข้าไทยเป็นสุทธิบวกทั้ง Bond และ Equity และค่าเงินบาท Outperform ประเทศอื่นๆ

สงครามการค้าและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ยังกดดันความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1/2019

สงครามการค้าและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ยังกดดันความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1/2019

BF Economic Research จากการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในประเทศของธนาคารกลางญี่ปุ่น (ดัชนี Tankan) ซึ่งเป็นตัวสะท้อนภาวะเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง พบว่า ในไตรมาส 1/2019 ความกังวลเรื่องสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ยังกดดันให้ดัชนีของบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ลดลงมาจาก +19 เป็น +12 เช่นเดียวกับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ลดลงจาก +17 เป็น +7 และจาก +14 เป็น +6 ตามลำดับ โดยเฉพาะในอุตสากรรมการผลิตเครื่องจักร อุตสากรรมโลหะอื่นๆ นอกเหนือจากเหล็ก และอุตสาหกรรมกระดาษ สำหรับมุมมองของภาคธุรกิจต่อความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า บริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางมีมุมมองที่เป็นบวกกว่าบริษัทขนาดเล็ก โดยบริษัทขนาดเล็กมองว่าดัชนีจะติดลบที่ -2 ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

เงินเฟ้อไทยชะลอที่ 0.87% น้ำมันเป็น key drag

เงินเฟ้อไทยชะลอที่ 0.87% น้ำมันเป็น key drag

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 102.94 ขยายตัว 0.87% (vs prev 1.15% YoY) หรือลดลง -0.36% MoM (vs prev 0.48% MoM) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.) ขยายตัวเฉลี่ย 0.92% ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่หนุนให้เงินเฟ้อสูงขึ้น คือ สินค้ากลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ ข้าวสาร และเนื้อสุกร ส่วนปัจจัยลบที่กดดันให้เงินเฟ้อชะลอตัว คือ สินค้ากลุ่มพลังงานที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ของปี ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับลดลงตามสถานการณ์ในตลาดโลก จากผลกระทบความไม่สงบในตะวันออกกลาง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือน มิ.ย.62 อยู่ที่ 102.55 ขยายตัว 0.48% […]

BF Monthly Economic Review มิ.ย. 2562

BF Monthly Economic Review มิ.ย. 2562

BF Economic Research   สรุปประเด็นเศรษฐกิจสำคัญเดือน มิ.ย. 2562 ในช่วงเดือน มิ.ย. ภาพเศรษฐกิจยังคงดู Soft ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า แต่ตลาดกลับให้ผลตอบแทนที่ดีเนื่องด้วยตลาดมีความคาดหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในแง่ของพื้นฐานของเศรษฐกิจเรายังไม่คิดว่า Fed จะด่วนปรับทิศทางนโยบายการเงินอย่างรวดเร็วขนาดนั้น เพราะตัวเลขตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ก็ยังแข็งแกร่ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็ยังขยายตัวได้ แต่ในแง่นัยยะของการลงทุนนั้น เรายังคิดว่าความคาดหวังต่อการปรับลดดอกเบี้ยยังมีอยู่ ผนวกกับตลาดก็ยังก็มีความคาดหวังผลสัมฤทธิ์ในเรื่องการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่ง ณ ตอนนี้ สองความคาดหวังนี้ก็เป็นแรงส่งให้ตลาดให้ผลตอบแทนที่ดี อย่างไรก็ดี ตามที่เรียนไปข้างต้นว่า ตลาดเคลื่อนไหวด้วยความคาดหวัง นั่นหมายความว่า หากตลาดหวังผิดทาง ตลาดก็อาจจะปรับตัวลงมาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น นักลงทุนอาจจะต้องลงทุนด้วยความระมัดระวัง ในช่วงตลาดขาขึ้นด้วย เพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ณ ตอนนี้ ยังไม่ได้ดีขนาดนั้น สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจรายประเทศนั้น เราพบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเทศในกลุ่ม East Asia ได้รับผลกระทบจาก […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจกลุ่ม CLM

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจกลุ่ม CLM

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา กัมพูชา เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2018 เติบโตสูงที่สุดในรอบ 4 ปีที่ 7.5% (ประมาณการเบื้องต้น) จาก 7.0% ในปี 2017 โดยการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก การส่งออกรองเท้าและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมดขยายตัว 17.6% ในปี 2018 มากที่สุดในรอบ 5 ปี ด้านเศรษฐกิจในประเทศก็ยังขยายตัวได้ดี เห็นได้จากการนำเข้ารถยนต์และเหล็กที่เป็นตัวชี้วัดการจับจ่ายใช้สอยในประเทศและการก่อสร้างในประเทศที่มีการขยายตัว 50% และ 48% ตามลำดับ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) ขาดดุลเพิ่มขึ้นจาก -9.7% ต่อ GDP เป็น -10.4% แต่ได้รับการชดเชยด้วยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2018 ที่ 13.4% […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจเวียดนาม

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจเวียดนาม

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา GDP เวียดนาม ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 6.8% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 7.3% YoY ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง การเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสแรกของปี เกิดจากแรงส่งสำคัญจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างที่ขยายตัว 8.6% YoY (Prev.8.9% YoY) ประกอบกับภาคบริการที่ขยายตัว 6.5% YoY (Prev.7.0% YoY) ทั้งนี้ การขยายตัวของภาคการผลิตที่มีแนวโน้มเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนุนให้เศรษฐกิจของเวียดนามมีโมเมนตัมที่เติบโต สะท้อนภาพการได้รับประโยชน์จากประเด็นการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน จากยอดคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IP) เดือน พ.ค.2019 ที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ 10.0% YoY (จากเดือนก่อนที่ 9.3% YoY) ซึ่งแม้ว่าจะชะลอลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 ปี ซึ่งหลักๆ เป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมภาคการผลิตและแปรรูปซึ่งคิดเป็น 80% ของภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามทั้งหมด […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจสิงคโปร์

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจสิงคโปร์

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา จากประมาณการสุดท้าย (Final Estimate) GDP ของสิงคโปร์ ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 1.2% YoY ต่ำกว่าการประมาณการก่อนหน้า (Advanced Estimate) และในไตรมาสก่อนหน้าที่ 1.3% โดย GDP ไตรมาส1/2219 นี้ขยายตัวในอัตรา ต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาส นับตั้งแต่ ไตรมาส4/2015 เป็นผลเนื่องมาจาก GDP ภาคการผลิตที่พลิกมาหดตัวในรอบ 3 ปี  โดยได้รับผลกระทบจากประเด็นกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน บวกกับการอ่อนแรงลงของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ ประกอบกับ GDP ภาคบริการชะลอลงสองไตรมาสติดต่อกัน (โดยในไตรมาส 4/2018 และไตรมาส 1/2019 ภาคบริการขยายตัวต่ำที่ 1.5% YoY) อย่างไรก็ดีในรายสาขาธุรกิจ เราพบว่า ภาคการก่อสร้างฟื้นตัวหลังจากหดตัวยาวนานกว่า 2 ปี […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจฟิลิปปินส์

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจฟิลิปปินส์

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา GDP ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 5.6% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.3% YoY เป็นผลมาจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ชะลอลงที่ 7.4% YoY เป็นหลัก (Prev. 12.6% YoY) เนื่องจากความล่าช้าในการผ่านร่างงบประมาณประจำปี 2019 ซึ่งประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต เพิ่งลงนามเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ยังคงได้รับแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนที่มีโมเมนตัมขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวที่ 6.3% YoY (Prev. 5.3% YoY) สำหรับการขาดดุลการค้าของของฟิลิปปินส์ในเดือน เม.ย. อยู่ที่ -3,499 ล้านดอลลาร์ฯ เร่งขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาซึ่งขาดดุล -3,140 ล้านดอลลาร์ฯ อันเนื่องมาจากการส่งออกเดือน เม.ย. ปรับตัวลงมาที่ 5,506.24 ล้านดอลลาร์ฯ  ต่ำกว่าเดือนก่อนที่ 5,913.86 ล้านดอลลาร์ฯ ขณะที่ การนำเข้ายืนอยู่ที่ระดับ […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจมาเลเซีย

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจมาเลเซีย

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา GDP ไตรมาส1/2019 ขยายตัวที่ 4.5% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.7% YoY เป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวชะลอลงที่ 7.7% YoY (Prev. 8.4% YoY) ประกอบกับการลงทุนที่พลิกมาหดตัวที่ -3.5% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 0.6 % YoY โดยสาเหตุหลักมาจากการลงทุนภาครัฐที่หดตัวที่ -13.2 % YoY เนื่องมาจากการชะลอการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐกลับขยายตัวเร่งขึ้นที่ 6.3% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.0 % YoY ส่วนการส่งออกแทบไม่ขยายตัว (จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 3.1% YoY) ซึ่งเป็นการสะท้อนผลกระทบของสงครามการค้าต่อการส่งออกของมาเลเซียโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มาเลเซียเกินดุลการค้าในไตรมาส1/2019 รวม 36,900 ล้านริงกิต หรือขยายตัว 10.7% YoY […]