การส่งออกเดือนเม.ย. มีมูลค่า 18,556 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.6% YoY (vs prev -4.9% YoY ) หากไม่รวมทองคำและน้ำมันหดตัว -1.2% YoY
BF Economic Research ภาพรวม การส่งออกเดือน เม.ย. มีมูลค่า 18,556 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.6% YoY (vs prev -4.9% YoY ) หากไม่รวมทองคำและน้ำมันหดตัว -1.2% YoY การนำเข้าเดือน เม.ย. มีมูลค่า 20,013 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -0.7% YoY (vs prev -7.6% YoY) หากไม่รวมทองคำและน้ำมันขยายตัว 0.4% YoY รวม 4 เดือนแรก การส่งออกมีมูลค่า 80,543 ล้านดอลลาร์ฯ (ลดลง-1.9% YoY) การนำเข้ามีมูลค่า 79,973 ล้านดอลลาร์ฯ (ลดลง-1.1% YoY) และการค้าเกินดุล 550 […]
GDP ไทยไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 2.8% YoY ชะลอจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกหดตัวแรง และการลงทุนชะลอลง
BF Economic Research GDP ไทยไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 2.8% YoY ชะลอจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกหดตัวแรง และการลงทุนชะลอลง ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของเอกชนไทย ขยายตัว 4.6% YoY (vs prev 5.4% YoY) โดยสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการดำเนินโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย โดยเฉพาะในส่วนของวงเงิน ค่าซื้อสินค้าอุปโภคที่จำเป็นในไตรมาสนี้ การใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าคงทน โดยเฉพาะการใช้จ่ายในการซื้อยานพาหนะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง กลุ่มสินค้าไม่คงทนขยายตัวดีทั้งในหมวดอาหารและสินค้าไม่คงทนอื่นๆ แต่กลุ่มสินค้ากึ่งคงทนและบริการสุทธิชะลอลง รายจ่ายรัฐบาล ขยายตัว 3.3% YoY vs prev 1.4% YoY หนุนจากรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการของรัฐขยายตัว 5.6% YoY และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมขยายตัว 5.0 % YoY การลงทุน การลงทุนรวม ขยายตัว 3.2% YoY vs […]
GDP final สิงคโปร์ Q1/2019 ขยายตัวที่ 1.2 % YoY ต่ำสุดในรอบ 14 ไตรมาส
GDP final สิงคโปร์ Q1/2019 ขยายตัวที่ 1.2% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาสนับตั้งแต่ Q4/2015 เป็นผลเนื่องมาจาก GDP ภาคการผลิตที่พลิกมาหดตัวในรอบ 3 ปี ประกอบกับ GDP ภาคบริการที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากความสามารถส่งออกที่ลดลง อย่างไรก็ดี GDP ภาคการก่อสร้างที่ฟื้นตัวหลังจากหดตัวยาวนานกว่า 2 ปี เป็นปัจจัยผลักดันสำคัญให้ GDP ขยายตัวได้ สิงคโปร์: GDP (Final) Q1/2019 ขยายตัวที่ 1.2% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และต่ำกว่า GDP คาดการณ์ (Estimated) ที่ประกาศครั้งที่ผ่านมาเล็กน้อยที่ 1.3% YoY อีกทั้ง ยังชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 1.3% YoY ต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาสนับตั้งแต่ […]
GDP มาเลเซีย Q1/2019 ขยายตัวชะลอลงที่ 4.5 % YoY ขณะที่ อินโดนีเซียขาดดุลการค้าในเดือน เม.ย. สูงกว่าคาด
BF Economic Research GDP มาเลเซีย Q1/2019 ขยายตัวที่ 4.5% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.7% YoY เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ อินโดนีเซียพลิกกลับมาขาดดุลการค้าในเดือนเม.ย. 2019 ที่ -2,502 ล้านดอลลาร์ฯ สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ มาเลเซีย: GDP Q1/2019 ขยายตัวที่ 4.5% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.7% YoY ตามที่ตลาดคาดการณ์ เป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวชะลอลงที่ 7.6% YoY ( 8.4% YoY) ประกอบกับการลงทุนที่พลิกมาหดตัวที่ -3.5% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 0.6 % YoY โดยสาเหตุหลักมาจากการลงทุนภาครัฐที่หดตัวถึง -13.2 % YoY เนื่องมาจากการชะลอการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐกลับขยายตัวเร่งขึ้นที่ 6.3% […]
GDP ฟิลิปปินส์ Q1/2019 ขยายตัวต่ำกว่าคาดที่ 5.6% YoY
BF Economic Research GDP Q1/2019 ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 5.6% YoY และชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.3% YoY เป็นผลมาจากการใช้จ่ายภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่ ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือน มี.ค. ที่ -3,140 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การขาดดุลการค้าใน Q1/2019 ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ASEAN UPDATE ฟิลิปปินส์: GDP Q1/2019 ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 5.6% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.3% YoY เป็นผลมาจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวชะลอลงที่ 7.4% YoY เป็นหลัก (Prev. 12.6% YoY) เนื่องจากความล่าช้าในการผ่านร่างงบประมาณประจำปี 2019 ซึ่งประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต เพิ่งลงนามเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี […]
การประชุมกนง. เดือน พ.ค. โหวตคงดอกเบี้ยที่ 1.75% เป็นเอกฉันท์
Headline: คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ในการประชุมเดือนพ.ค. โดยตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี เพื่อรอประเมินผลกระทบให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง หลังมองเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศยังสูงในระยะข้างหน้า Key points: คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากการส่งออกสินค้าและการลงทุน โดยการส่งออกสินค้าขยายตัวชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผลของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง • สำหรับด้านอุปสงค์ในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังได้รับแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และการจ้างงานโดยรวมที่เริ่มทรงตัวและมีสัญญาณการชะลอลงของการจ้างงานในภาคการก่อสร้างและภาคการผลิตเพื่อส่งออก การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง • สำหรับประเด็นด้านเงินเฟ้อนั้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน ช่วยชดเชยผลของราคาอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงจากภาวะภัยแล้งในระยะข้างหน้า สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจ e-commerce การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีต • คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบัน มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ประกอบกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก และปัจจัยในประเทศยังมีอยู่สูงในระยะข้างหน้า […]
เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนเม.ย. ลดลงสู่กรอบเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ ธนาคารกลางมาเลเซียลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
BF Economic Research ฟิลิปปินส์: อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์เดือนเม.ย. ขยายตัวที่ 3.0% YoY ชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 3.3% YoY เข้าสู่กรอบของ BSP เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน มาเลเซีย: ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps เป็น 3.0% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 6-7 พ.ค. ที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์: อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์เดือนเม.ย. ขยายตัวที่ 3.0% YoY ชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 3.3% YoY เข้าสู่กรอบของ BSP เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2017 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์มีแนวโน้มชะลอลงนับจากเดือนพ.ย. 2018 ที่ผ่านมา จากการลดลงของราคาอาหารและเครื่องดื่มเป็นหลัก อย่างไรก็ดี คาดว่า […]
GDP อินโดนีเซีย Q1/2019 ขยายตัวชะลอลง เช่นเดียวกับ มาเลเซียที่เกินดุลการค้าใน Q1/2019 ชะลอลง
BF Economic Research อินโดนีเซีย: GDP Q1/2019 อินโดนีเซียขยายตัวที่ 5.1% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 5.2% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ มาเลเซีย: เกินดุลการค้าในเดือน มี.ค. 2019 เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา มาเลเซียเกินดุลการค้าในไตรมาสแรกของปี 2019 รวม 36,900 ล้านริงกิต หรือขยายตัว 10.7% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ASEAN UPDATE อินโดนีเซีย : GDP Q1/2019 อินโดนีเซียขยายตัวที่ 5.1% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อยที่ขยายตัว 5.2% YoY และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยการบริโภคและการลงทุนยังคงมีแรงส่งอย่างต่อเนื่องที่ 5.0% YoY แม้ว่าการลงทุนจะขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.0% YoY ในทางตรงกันข้ามการส่งออกและการนำเข้าหดตัวลง -2.1% […]
[Update] GDP ไตรมาสแรกหลายประเทศเริ่มทยอยประกาศออกมา พบส่วนใหญ่ชะลอลง
BF Economic Research สหรัฐฯ GDP ไตรมาส 1/2019 (เบื้องต้น) ขยายตัว 3.2% QoQ, saar เร่งตัวขึ้นจาก 2.2% QoQ, saar ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจที่ขยายตัวดีกว่าคาดในไตรมาสนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง และยอดส่งออกสุทธิ (Net Exports) เป็นสำคัญ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ (+1.68 ppt) เมื่อหักทั้งสองปัจจัยข้างต้นออกไป หรือดูเพียงอุปสงค์ในประเทศ (Final Sales of Domestic Purchasers) ชะลอตัวลงเป็น 1.4% QoQ, saar (vs. 2.1% ไตรมาสก่อน) ต่ำสุดนับตั้งแต่ไตมาส 4/2015 จากการบริโภคเอกชน (1.2% QoQ, saar vs. 2.5% ไตรมาสก่อน) […]
BF Monthly Economic Review – เม.ย. 2562
BF Economic Research สหรัฐฯ ได้รับอานิสงส์จากปัจจัยด้านอากาศที่ดี ประกอบกับผลกระทบจาก Government Shutdown จางหายไป ตัวเลขสำคัญที่เป็น Proxy ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่น ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ และคำสั่งซื้อสินค้าคงทนจากธุรกิจมีทิศทางที่ดี สะท้อนว่าธุรกิจมองว่าจะเริ่มเห็นอุปสงค์กลับคืนมา ค่าเงิน DXY ทะยานแข็งค่าขึ้นรับกับผลประกอบการไตรมาส 1/2019 ในกลุ่ม Tech แต่ในกลุ่ม Industrial ก็ยังมีบางตัวที่ได้รับผลกระทบทั้งจาก Trade Tension และการปรับโครงสร้างภายในบริษัท ตัวเลข จีน ฟื้นตัวได้ดีในเกือบทุกองค์ประกอบ ทั้งตัวเลขเศรษฐกิจภายในประเทศ (GDP, การลงทุนภาคอุตสาหกรรม, การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร) และการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (สะท้อนจากการส่งออกที่ทะยานบวกสองหลัก) กระทั่งตลาดเชื่อว่ารัฐบาลอาจจะชะลอนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เรากลับมองว่าการผ่อนคลายน่าจะดำเนินต่อไป เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนแรกในหลายๆเดือนที่เห็นตัวเลขดีขึ้น และการขยายตัวของการส่งออกเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว ล่าสุด PBOC ได้ออกมาอัดฉีดสภาพคล่องและปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ารอบใหม่ด้วย ทำให้เราเชื่อว่าการกระตุ้นทั้งการเงินและการคลังน่าจะยังดำเนินต่อไป อินเดีย หลังจากที่ตลาดอินเดียพุ่งขึ้นแรงรับการเลือกตั้ง แต่ตัวเลขเศรษฐกิจอินเดียก็ยังดูไม่ค่อยดี และยังได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งและราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้น นอกจากนั้น ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นยังจะไปกระทบเสถียรภาพด้านการค้า […]