GDP มาเลเซีย 4Q/2018 โต 4.7% YoY สูงสุดเมื่อเทียบกับทุกไตรมาสในปี 2018 ขณะที่ ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้ารวม -41,440 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2018
BF Economic Research มาเลเซีย : GDP มาเลเซีย 4Q/2018 โต 4.7% YoY (Prev. +4.4% YoY) โดยการขยายตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่นในปี 2018 ฟิลลิปปินส์ : ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือนธ.ค. 2018 ที่ -3,752 ล้านดอลลาร์ฯ ส่งผลให้ปี 2018 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้า -41,440 ล้านดอลลาร์ฯ มาเลเซีย : GDP มาเลเซียขยายตัว 4.7% YoY เร่งขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.4% YoY โดยการขยายตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่นในปี 2018 เป็นผลมาจากอุปสงค์ภายนอกประเทศเป็นแรงผลักดันหลักจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งจากการบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐ และการลงทุนที่ยังคงมีโมเมนตัมเติบโตที่ต่อเนื่อง เมื่อพิจารณา GDP ทางด้านผลผลิตพบว่า ภาคการก่อสร้างขยายตัวเร่งขึ้นที่ […]
GDP สิงคโปร์ 4Q/2018 final โต 1.9% YoY ขณะที่ อินโดนีเซียขาดดุลการค้าใน เดือน ม.ค. 2019 เพิ่มขึ้น
BF Economic Research สิงคโปร์ : GDP สิงคโปร์ (final) ขยายตัว 1.9% YoY ต่ำกว่า 2.2 % ซึ่งเป็นตัวเลขประมาณการที่ได้ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ในปี 2018 GDP ขยายตัวที่ 3.2% ชะลอลงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวที่ 3.9% อินโดนีเซีย : อินโดนีเซียขาดดุลการค้าใน เดือน ม.ค. 2019 ที่ -1,159 ล้านดอลลาร์ฯ มากกว่าเดือนที่ผ่านมาที่ขาดดุล -1,032 ล้านดอลลาร์ฯ แม้ว่าการนำเข้าจะลดลงที่ -1.8 % YoY แต่การส่งออกกลับหดตัวเร่งขึ้นไปที่ -4.7% YoY สิงคโปร์ : GDP สิงคโปร์ (final) ขยายตัว 1.9% […]
เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในไตรมาส 4/2018
BF Economic Research จากประมาณการเบื้องต้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4/2018 กลับมาเติบโต 1.4% QoQ saar (0.3% QoQ sa) ตามที่ตลาดคาด โดยเป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนที่ 2.4% QoQ saar และ 9.8% QoQ saar ตามลำดับ หลังหดตัวในไตรมาสก่อนหน้าจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการลงทุนในเครื่องจักรของภาคธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การส่งออกสุทธิ (การส่งออกหักลบด้วยการนำเข้า) ยังเป็นตัวฉุดจีดีพีในไตรมาส 4 โดยการส่งออกขยายตัว 3.7% QoQ saar ในขณะที่ การนำเข้าเติบโตถึง 11.3 % QoQ saar ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่กระทบการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าสมาร์ทโฟนและเซมิคอนดักเตอร์ เรามองว่า การที่ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน น่าจะเป็นปัจจัยกดดันการส่งออก และเศรษฐกิจของญี่ปุ่นต่อไป หลังจากที่ก่อนหน้านี้การส่งออกเป็นตัวช่วยให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับมาฟื้นตัวได้
เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรปี 2018 ชะลอตัวมากสุดในรอบ 6 ปีฉุดค่าเงินปอนด์ลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์
BF Economic Research เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรขยายตัว 0.2% QoQ (1.3% YoY) น้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 0.3% QoQ (1.4% YoY) ทำให้ทั้งปี 2018 เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 1.4% ลดลงจาก 1.8% ในปี 2017 และเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012 โดยปัจจัยที่ช่วยประคองเศรษฐกิจ ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายของภาครัฐ และสินค้าคงคลัง ซึ่งหักลบกับการลงทุน และการส่งออกที่หดตัว โดยเฉพาะการลงทุนที่หดตัวถึง -1.4% QoQ (-3.7% YoY) หลังการประกาศตัวเลขจีดีพี ค่าเงินปอนด์ก็อ่อนค่าลงแตะ 1.285 ดอลลาร์ต่อปอนด์ จากก่อนหน้าที่อยู่เหนือระดับ 1.3 ดอลลาร์ต่อปอนด์ ทั้งนี้ กองทุนบัวหลวงมองว่า เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2019 จากผลกระทบของความไม่แน่นอนในการแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
อินโดนีเซียขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 9,100 ล้านดอลลาร์ฯ ใน4Q/2018 ขณะที่ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.75%
BF Economic Research อินโดนีเซีย: อินโดนีเซียขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 9,100 ล้านดอลลาร์ฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2018 เร่งขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์: ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.75% ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2019 ที่ผ่านมา อินโดนีเซีย: อินโดนีเซียขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) 9,100 ล้านดอลลาร์ฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2018 เร่งขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขาดดุล 8,600 ล้านดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ อินโดนีเซียประสบปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปี 2018 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 6 ครั้ง รวม 175 basis points เพื่อพยุงค่าเงินรูเปียห์ […]
GDP อินโดนีเซีย 4Q/2018 โต 5.2% YoY ขณะที่ เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนม.ค. 2019 ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน
BF Economic Research อินโดนีเซีย: GDP อินโดนีเซีย 4Q/2018 โต 5.2% YoY (Prev. +1.6% YoY) เหนือกว่าที่ตลาดคาดการณ์เล็กน้อย ส่งผลให้ในปี 2018 GDP ของอินโดนีเซียขยายตัวที่ 5.2% ฟิลลิปปินส์ : อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ในเดือน ม.ค. 2018 ขยายตัวชะลอลง ที่ 4.4% YoY (Prev. +5.1% YoY) ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน อินโดนีเซีย: GDP อินโดนีเซียขยายตัว 5.2% YoY เหนือกว่าที่ตลาดคาดการณ์เล็กน้อย โดยเป็นผลมาจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวเล็กน้อย จากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่ การใช้จ่ายภาครัฐชะลอลงจากการที่รัฐบาลประกาศนโยบายชะลอโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานออกไป เพื่อลดการนำเข้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียะห์และลดปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูง ทางด้านอุปสงค์ภายนอกประเทศดีขึ้น โดยแม้ว่าการส่งออกยังคงขยายตัวได้เล็กน้อย แต่ผลจากการนำเข้าที่ชะลอช่วยพยุงให้การส่งออกสุทธิ (Net […]
BF Economic Note Economic Note Economic Update
Economic Note : ปี 2019 เม็ดเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสะพัด รัฐชูความสำคัญขนส่งทางราง และพื้นที่อีอีซี
BF Economic Research ฐนิตา ตุมราศวิน รมณ ไชยวรรณ Macro Analyst Fund Management Group ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานออกมาต่อเนื่องหลายฉบับ ทำให้การลงทุนภาครัฐของไทยขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ก่อนที่จะมาสะดุดในช่วงปี 2017 จากการเบิกจ่ายงบได้ล่าช้าของรัฐบาล สำหรับปี 2019 นี้ เรามองว่า รัฐบาลจะสามารถเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานได้เต็มที่มากขึ้น โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และการพัฒนาอีอีซี อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากความชัดเจนในโครงการลงทุนภาครัฐในระยะข้างหน้า ได้แก่ กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเครื่องจักรกลที่ใช้ในก่อสร้าง ปฏิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด จึงทำให้รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับโครงข่าย (Network) การคมนาคมขนส่งของไทยให้ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลได้ประกาศแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานออกมาต่อเนื่องหลายฉบับ อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2017-2021) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 […]
เศรษฐกิจยูโรโซนโต 0.2% QoQ ในไตรมาส 4/2018 จากประมาณการเบื้องต้น ขณะที่เศรษฐกิจอิตาลีกำลังเผชิญภาวะถดถอย “ทางเทคนิค”
BF Economic Research จากการประมาณการเบื้องต้น เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัว 0.2% QoQ ในไตรมาส 4/2018 เท่ากับในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี และเมื่อเทียบรายปี เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวได้ 1.2% YoY ชะลอตัวจากระดับ 1.7% YoY ในไตรมาส 3 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาคการผลิตรถยนต์ในเยอรมนีที่ฟื้นตัวได้ช้าๆ และการประท้วงในฝรั่งเศส ขณะที่ เศรษฐกิจอิตาลี ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยูโรโซน กำลังเผชิญภาวะถดถอย หรือที่เรียกว่า “Recession” โดยมีสาเหตุจากอุปสงค์ภายในประเทศ (Domestic Demand) ที่ชะลอตัว แม้การส่งออกสุทธิจะเติบโตเป็นบวก แต่อุปสงค์ในประเทศกลับมีน้ำหนักต่อ GDP มากกว่า ทั้งนี้ เรามองว่า เป็นเพียงการถดถอย “ทางเทคนิค” เท่านั้น จากนิยามที่ว่าเศรษฐกิจหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส เนื่องจากความแตกต่าง (Spread) […]
อัตราเงินเฟ้อชะลอต่อจากราคาพลังงาน
BF Economic Research ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อ ในเดือนม.ค.2019 อยู่ที่ 101.71 เพิ่มขึ้น +0.27% YoY (prev. +0.36% YoY) และหดตัว -0.02% MoM sa (prev. -0.65% MoM sa) ซึ่งการชะลอตัวของเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.นี้ มีสาเหตุสำคัญจากการลดลงของราคาพลังงานและผักผลไม้ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในเดือนม.ค.2019 อยู่ที่ 102.34 เพิ่มขึ้น +0.69% YoY (prev. +0.68% YoY) หรือ 0.04% MoM sa (prev. +0.01% MoM sa) ในรายหมวดย่อย หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (คิดเป็น 36% […]
ส่งออกมาเลเซียปี 2018 ยังคงขยายตัวที่ 6.7% ขณะที่ อัตราว่างงานของสิงคโปร์ลดลงเล็กน้อยเหลือ 2.1%
BF Economic Research มาเลเซีย: ส่งออกมาเลเซียขยายตัวเร่งขึ่นที่ 4.8% YoY (Prev. +1.6% YoY)ส่งผลให้ทั้งปี 2018 การส่งออกของมาเลเซียขยายตัวที่ 6.7 % ชะลอลงจากปี 2017 ที่ขยายตัว 18.8% สิงคโปร์: อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2018 เร่งขึ้นเล็กน้อยที่ 2.2 % จาก 2.1% ในไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี อัตราการว่างงานของทั้งปี 2018 อยู่ที่ 2.1% ลดลงจากปี 2017 ที่ 2.2% มาเลเซีย: ส่งออกมาเลเซียขยายตัวเร่งขึ้นที่ 4.8% YoY (Prev. +1.6% YoY) ขณะที่ การนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ 1.0% YoY […]