ทิศทางเศรษฐกิจสิงคโปร์ยังมีโมเมนตัมโตต่อเนื่องจากปี 2018

ทิศทางเศรษฐกิจสิงคโปร์ยังมีโมเมนตัมโตต่อเนื่องจากปี 2018

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา  GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 2.2% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 4.1% YoY ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน เนื่องมาจากภาคการผลิตและภาคบริการชะลอลงส่วนภาคการก่อสร้างมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยที่หดตัวลดลงที่ -2.3% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ -4.6% YoY ทว่ายังคงถูกฉุดรั้งจากภาคการก่อสร้างสาธารณะที่ยังคงไม่ฟื้นตัว สำหรับช่วงที่เหลือของปี 2018 GDP ของสิงคโปร์น่าจะยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากความไม่แน่นอนทางการค้าในตลาดโลก โดยเฉพาะประเด็นการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของสิงคโปร์ อย่างไรก็ดี คาดว่า เศรษฐกิจของสิงคโปร์น่าจะยังคงเติบโตได้จากภาคการผลิตซึ่งมีบทบาทหลักที่ผลักดันเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ประกอบกับภาคบริการทางการเงินและประกันภัยที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ (Ministry of Trade and Industry Singapore, MTI) ได้ประกาศเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจของสิงคโปร์ปี 2018 ที่ 2.5-3.5% โดยเป็นการปรับกรอบการประมาณการให้แคบลงจากเดิมที่ 2.0-3.5% ในครั้งที่ผ่านมา โดยกองทุนบัวหลวงมองว่าค่ากลางของ […]

กองทุนบัวหลวงประเมินเศรษฐกิจจีนปี 2019 โต 6.4-6.5%

กองทุนบัวหลวงประเมินเศรษฐกิจจีนปี 2019 โต 6.4-6.5%

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา  GDP ไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 6.5% YoY ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากสองไตรมาสก่อนหน้า (จาก 6.7% YoY ในไตรมาส 2/2018 และ 6.8% YoY ในไตรมาส 1/2018) จากเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอลงจากนโยบายลดภาระหนี้ (Debt Deleverage) มีผลให้เครื่องชี้ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน การบริโภค และการใช้สินเชื่อชะลอลงต่อเนื่อง ผนวกกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน เป็นผลให้ยอดออเดอร์การส่งออกจากจีนเกิดการ Front-load สูงก่อนที่ภาษีนำเข้าจะปรับขึ้น (เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากภาษีนำเข้า) ทำให้ยอดส่งออกของจีนขยายตัวสูงก่อนที่จะชะลอลงแรงในเดือนพ.ย. (ภาษีนำเข้ากับสินค้านำเข้ามูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ฯได้มีผลบังคับใช้ในเดือน ก.ย.)  อย่างไรก็ดีเครื่องชี้รายเดือนพ.ย.เช่นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และการระดมทุน เริ่มให้สัญญาณการฟื้นตัว อันเป็นผลจากการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินและการคลังของทางการจีน ทิศทางเศรษฐกิจปี 2019 และแนวทางด้านนโยบาย  โมเมนตัมเศรษฐกิจจีนในปี 2019 น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ใกล้เคียงกับปี 2018 โดยที่ความเสี่ยงขาลงจะมาจากการส่งออกที่จะได้รับผลกระทบเต็มรูปแบบในปี […]

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจญี่ปุ่นปี 2019 น่าจะชะลอลง

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจญี่ปุ่นปี 2019 น่าจะชะลอลง

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าภาพตลาดแรงงานญี่ปุ่น และการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะถือว่าดูดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับในอดีต เห็นได้จากอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ.ค. 2018 ที่ลดลงไปถึง 2.2% ก่อนจะปรับขึ้นเล็กน้อยในเดือนล่าสุด (ต.ค. 2018) ที่ 2.4%  แต่การเติบโตของอัตราเงินเฟ้อกลับยังไม่สามารถขยายตัวจนแตะระดับเป้าหมายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่ 2.0% ได้ โดยล่าสุด อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ของญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.0% YoY ด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในไตรมาส 2/2018 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัว 3.0% QoQ saar ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบกว่า 2 ปี จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ก่อนจะกลับมาหดตัวอีกครั้งในไตรมาส 3 ที่ -2.5% QoQ saar จากผลของภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งแผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น และอากาศร้อนจัด ที่ส่งผลกระทบให้โรงงานจำนวนมากปิดทำการ […]

กองทุนบัวหลวงประเมินเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ปี 2019 จะขยายตัว 6.4%

กองทุนบัวหลวงประเมินเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ปี 2019 จะขยายตัว 6.4%

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา  GDP ของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 6.1% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 6.2% YoY ต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องมาจากการบริโภคและการลงทุนที่ชะลอลง ส่วนการนำเข้าทะยานตัวสูงเมื่อเทียบกับการส่งออก เป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ โดย 10 เดือนแรกของปี 2018 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าสะสม      -33,917.9 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้น 68.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับอัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ล่าสุดในเดือน ต.ค. ขยายตัวที่ 6.0% YoY (Prev. 6.7% YoY) ต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือน สะท้อนว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (Bangko Sentral ng Pilipinas, BSP) เริ่มเห็นผลสัมฤทธิ์ในการควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งในปีนี้ […]

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจมาเลเซียน่าจะเติบโตได้ 4.6% ในปี 2019

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจมาเลเซียน่าจะเติบโตได้ 4.6% ในปี 2019

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 3/2018 เติบโต 4.4% YoY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโต 4.5% YoY จากการส่งออกที่ได้รับผลกระทบของความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมไปถึงราคาน้ำมันปาล์ม และก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญ คือ การบริโภคในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด เนื่องจากผลของการยกเลิกภาษี GST (Goods and Services Tax) ในเดือนมิ.ย.-ส.ค. ก่อนจะกลับมาใช้ภาษี SST (Sales and Service Tax)  ตามเดิม และการอุดหนุนราคาน้ำมัน สามารถกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศซึ่งคิดเป็น 55% ของขนาดเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวได้ถึง 9.0% YoY ในไตรมาส 3/2018 ด้านการลงทุนในประเทศเติบโต 3.2% YoY เพิ่มขึ้นจาก 2.2% YoY […]

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจเวียดนามปี 2019 จะขยายตัวได้ 6.6%

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจเวียดนามปี 2019 จะขยายตัวได้ 6.6%

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา  เศรษฐกิจเวียดนามยังถือว่าแข็งแกร่งในปี 2018 แม้จะต้องเผชิญความเสี่ยงหลายด้าน โดยเติบโต 6.8% YoY ในไตรมาส 3/2018 ภาคอุตสาหกรรมซึ่งสะท้อนการส่งออกของประเทศยังขยายตัวได้ดี ท่ามกลางการค้าโลกที่ได้รับผลกระทบจากความกังวลเรื่องการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และการชะลอตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่ภาคบริการเติบโตต่อเนื่อง โดยได้อานิสงส์จากการขึ้นค่าจ้างแรงงาน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มขึ้นมานับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2018 ที่ทะลุเป้าหมายของธนาคารกลางเวียดนาม (State Bank of Vietnam, SBV) ที่ 4.0% ไปถึง 4.67% ก่อนจะปรับลดลงมาเหลือ 3.46% ในเดือนพ.ย. โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหลายรายการ นอกเหนือจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทิศทางเศรษฐกิจปี 2019 เรามองว่า ในปี 2019 เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวได้ 6.6% ลดลงจากปี 2018 ที่ 6.9% อันเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญของเวียดนาม อย่างไรก็ดี เรามองว่าเวียดนามจะเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการกีดกันทางการค้า […]

เศรษฐกิจอินโดนีเซียปี 2019 โตที่ 5.1% ชะลอเล็กน้อยจากปีนี้ แต่มองมีเสถียรภาพมากขึ้น

เศรษฐกิจอินโดนีเซียปี 2019 โตที่ 5.1% ชะลอเล็กน้อยจากปีนี้ แต่มองมีเสถียรภาพมากขึ้น

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ปี 2018 ถือเป็นปีที่เศรษฐกิจอินโดนีเซียเผชิญความผันผวนสูง โดยเฉพาะค่าเงินรูเปียะห์ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นของดอกเบี้ยสหรัฐฯ  รวมถึงการขาดดุลทางการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้อ่อนค่าลงมามากที่สุดในอาเซียนที่ -7.1% YTD ด้านตัวเลข GDP ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 5.17% YoY ชะลอลงจาก 5.27% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า จากการส่งออกสุทธิที่ลดลง หลังดุลการค้าของอินโดนีเซียขาดดุลต่อเนื่องในเดือนก.ค. และส.ค. บวกกับการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัวลงเช่นกัน อย่างไรก็ดี แม้เศรษฐกิจในไตรมาส 3/2018 จะเติบโตชะลอลงมาเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะไตรมาส 3/2018 จะเห็นได้ว่า ปี 2018 นับเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี ด้านอัตราเงินเฟ้อ แม้ราคาน้ำมันจะปรับขึ้นสูง และค่าเงินรูเปียะห์อ่อนค่าลงไปมาก ซึ่งโดยทั่วไปจะส่งผลให้ราคาสินค้าในประเทศปรับตัวสูงขึ้น แต่ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียยังอยู่ในกรอบของธนาคารกลาง (Bank of Indonesia, BI) […]

ทิศทางเศรษฐกิจยูโรโซนปี 2019 มีแนวโน้มชะลอลง

ทิศทางเศรษฐกิจยูโรโซนปี 2019 มีแนวโน้มชะลอลง

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไตรมาสที่ 3/2018 ของกลุ่มยูโรโซน 19 ประเทศเติบโต 0.2% QoQ sa (ประมาณการครั้งสุดท้าย) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่โต 0.4% QoQ sa โดยเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2014 หลักๆ เป็นผลมาจากอุปสงค์ภายนอกที่ลดลง ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศเติบโตในอัตราที่ชะลอลง จากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และการใช้จ่ายภาครัฐที่ชะลอลง ในรายประเทศ GDP เยอรมนีหดตัว -0.2 % QoQ sa (Prev. 0.5% QoQ sa) โดยเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/2015 โดยเป็นผลมาจากทั้งการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนที่ลดลง อนึ่ง เศรษฐกิจของเยอรมนีส่วนหนึ่งถูกฉุดรั้งจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรฐานการวัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รูปแบบใหม่ (WLTP) ที่ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา  นอกจากนี้ […]

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปี 2019 ในเชิงบวกแต่ชะลอลงจากปี 2017-2018

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปี 2019 ในเชิงบวกแต่ชะลอลงจากปี 2017-2018

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา GDP ไตรมาส 3/2018 (ประมาณการรอบที่สอง) ขยายตัว 3.5% QoQ, saar ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 4.2% QoQ saar โดยปัจจัยหลักที่หนุนการขยายตัวมาจากนโยบายลดภาษีที่ทำให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเร่งตัวขึ้น ขณะที่การส่งออกสุทธิพลิกกลับมาหดตัวหลังจากที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2017 เศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมาได้รับอานิสงส์จากการลงทุนภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง ทิศทางเศรษฐกิจปี 2019 และแนวทางด้านนโยบาย เราคาดว่า GDP สหรัฐฯ ในปี 2018-2019 จะขยายตัว 3.0% และ 2.3% ตามลำดับ ทำให้เมื่อเฉลี่ย 2 ปีจะขยายตัวที่ 2.7% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ส่วนอัตราการว่างงานก็มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2018-2019 ที่เรามองว่าอยู่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยนั้น จะมาจากการลงทุนภาคเอกชน (CAPEX) เป็นหลัก เนื่องจากนโยบายลดภาษีนิติบุคคล และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ […]

ส่งออกไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 21,237 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 21,758 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -0.95% YoY (prev 8.7 % YoY)

ส่งออกไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 21,237 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 21,758 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -0.95% YoY (prev 8.7 % YoY)

BF Economic Research ส่งออกไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 21,237 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 21,758 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -0.95% YoY (prev 8.7 % YoY) หดตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนก.พ. 2017 นำเข้าไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 22,415 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 22,038 ล้านดอลลาร์ฯ) ขยายตัว 14.66% YoY (prev. 11.20% YoY) ดุลการค้าเดือนพ.ย. ขาดดุล -1,177.8 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. -279.6 ล้านดอลลาร์ฯ) YTD (ตัวเลข 11 เดือน) ส่งออกไทยอยู่ที่ 232,725.0 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 7.29% AoA ส่วนนำเข้าไทยอยู่ที่ 231,343.9 ล้านดอลลาร์ฯขยายตัว […]