Fed กล่าว ไม่ Trade-Off เสถียรภาพของธนาคารกับเงินเฟ้อ แต่เป็นการขึ้นแบบ Dovish Hike ด้าน Dot Plot ชี้ยังขึ้นได้อีก 1 ครั้ง
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Key Event คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (11:0) ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bp สู่กรอบ 4.75-5.0% โดยเนื้อความที่เปลี่ยนไปจากการประชุมครั้งก่อน ได้แก่ เครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือนสะท้อนการขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งฝั่งการใช้จ่ายและการผลิตภาคอุตสาหกรรม การจ้างงานยังขยายตัวได้ดี ขณะที่อัตราว่างงานต่ำ ส่วนแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ ระบบธนาคารในสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ อาจจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบตึงตัวได้บ้าง และอาจจะกระทบกับการใช้สินเชื่อของภาคครัวเรือนและธุรกิจ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะยังมีความไม่แน่นอน แต่ที่ยังคงแน่นอนเสมอมา คือ คณะกรรมการยังคงให้น้ำหนักกับอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการจะติดตามสถานการณ์ของธนาคารพาณิชย์อย่างใกล้ชิด แต่ ณ ขณะนี้ ยังคงทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปในอนาคต เพื่อให้เป้าหมายเงินเฟ้อระยะกลางเข้าสู่เป้าหมาย 2% โดยยังยึดหลักการตัดสินใจอ้างอิงข้อมูลปัจจุบันและพร้อมเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินหากจำเป็น (Data dependent) และยังคงเดินหน้าทำ QT […]
สรุปมติการประชุม ECB : แบงค์ในยุโรปแข็งแกร่ง เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อเป้าหมายเงินเฟ้อ 2%
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM การตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยนโยบาย ECB ให้ความเห็นว่า เนื่องด้วยเงินเฟ้อน่าจะคงในระดับสูงอีกระยะหนึ่ง จึงเห็นควรให้ปรับ 3 อัตราดอกเบี้ยนโยบายหลักขึ้น 50 bps โดยการประชุมครั้งถัดไปจะตัดสินใจปรับดอกเบี้ยตามสถานการณ์ (Data Dependent) โดยอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Rate จะขยับไปอยู่ที่ 3.5%, Marginal Lending Facility ขยับไปที่ 3.75% ส่วน Deposit Facility ขยับไปอยู่ที่ 3.0% ตามลำดับ คณะกรรมการจะติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดของตลาดอย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะดำเนินมาตรการเพิ่มเติม เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการเงิน โดยคณะกรรมการ ECB เน้นย้ำถึงความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินในยุโรป ที่มีสัดส่วนทางการเงินและสภาพคล่องอย่างเพียงพอ การประมาณการด้านเศรษฐกิจ คณะกรรมการ ECB มองว่า อัตราเงินเฟ้อในปี 2023 จะอยู่ที่ 5.3% ก่อนที่จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี […]
ว่าด้วยเรื่อง Silicon Valley Bank (Part 2)
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา และ พิชา เลียงเจริญสิทธิ์ ภายหลังจากที่ SVB เกิดปัญหา จนเกิดความระส่ำในหมู่กลุ่มลูกค้า ก็ได้เกิดความปั่นปวนต่อเนื่อง ไปยังธนาคารที่มีขนาด หรือมีโมเดลทางธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน เช่น First Republic Bank (ที่ต้องออกมาประกาศในช่วงปลายสัปดาห์ว่า มีสภาพคล่องมากพอ เพื่อคลายความกังวลของลูกค้า) ด้าน Khosla Ventures ซึ่งเป็น Venture Capitalist ก็ออกมาประกาศว่า กำลังหาวิธีบริหารสภาพคล่องเพื่อคลายความกังวลของนักลงทุน เช่นเดียวกับบริษัทอื่นๆ ที่อาจจะเป็นลูกค้า หรือเป็นกลุ่มสถาบันการเงินที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกับ SVB ต่างประสบกับสถานการณ์คล้ายคลึงกัน คือ “เมื่อบริษัทหนึ่งล้ม จะเกิดการตั้งคำถามต่อว่า ใครบ้างที่มีส่วนถูกหางเลขไปด้วย” “ถอนเงินออกมาก่อนไว้ให้อุ่นใจดีกว่า” หากไฟไม่ได้รับการดับ ไฟก็จะลุกลามไปเรื่อยๆ จึงเป็นที่มาของการเข้ามาของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารกลางสหรัฐฯ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก กระทั่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่ต้อง Step-up มาบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้กล่าวว่า […]
ว่าด้วยเรื่อง Silicon Valley Bank (Part 1)
โดย ดร. มิ่งขวัญ ทองพฤกษา และ พิชา เลียงเจริญสิทธิ์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารในสหรัฐฯ แห่งหนึ่งที่ชื่อว่า SVB หรือ Silicon Valley Bank ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของสหรัฐฯ มุ่งเน้นลูกค้าที่อยู่ใน Silicon Valley (หรือก็คือ เป็นแบงก์ที่กลุ่ม Tech ใช้เดินบัญชีด้วย) ได้เข้าสู่กระบวนการ กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ (Receivership) ภายในการคุ้มครองสถาบันคุ้มครองเงินฝากของสหรัฐฯ (FDIC) โดยลูกค้าของ SVB จะได้รับการคุ้มครองเงินฝากที่บัญชีละ 2.5 แสนดอลลาร์ฯ ต่อ 1 เจ้าของบัญชี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลกระทบหลายด้าน ได้แก่ ลูกค้าที่เดินบัญชีกับ SVB เช่นธุรกรรมประเภท Transactional เช่น รับ/จ่ายรายวัน จ่ายเงินพนักงานรายเดือน เสียงว่า ธุรกิจกลุ่ม […]
ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยอ่อนแอตาม Global Trend แต่ก็ยังมี Sector ที่ยัง Outperform อยู่บ้าง
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยอ่อนแอตามทิศทางเศรษฐกิจโล แต่ก็ยังมี Sector ที่ยัง Outperform อยู่บ้างได้แก่กลุ่ม อาหาร ผลไม้สด (ที่จีนและเอเชียมักจะออเดอร์จากไทย) ยานยนต์ และมอเตอร์ไซค์ Key Numbers การส่งออกไทยเดือนม.ค. อยู่ที่ 20,249.5 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -4.5% YoY ด้านการนำเข้าอยู่ที่ 24,899.1 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 5.5% YoY เป็นผลให้ดุลการค้าเดือนแรกของปีขาดดุล -4,649.6 ล้านดอลลาร์ฯ ในรายสินค้า มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว -2.7% YoY เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 สินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัว 72.3% ขยายตัวในรอบ 3 เดือน […]
GDP ไทย ไตรมาส 4/2022 จุดที่เด่นอยู่ที่การท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุน
Key Event GDP ไทยไตรมาส 4/2022 จุดที่เด่นอยู่ที่การท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุน GDP ไทย ไตรมาส 4/2022 ขยายตัว 1.4% YoY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ 4.6% ต่ำกว่าคาดการณ์ตลาดที่ 3.6% เมื่อเทียบรายไตรมาสหดตัว -1.5% QoQ sa รวมทั้งปี 2022 GDP ไทยเติบโต 2.6% จากปีก่อนหน้าที่ 1.5% สำหรับปี 2023 สภาพัฒน์ฯ มอง GDP ไทย เติบโตในกรอบ 2.7-3.7% จากเดิม ที่มองว่าจะเติบโตในกรอบ 3-4% (ประมาณการของ ธปท. อยู่ที่ 3.7% โดยธปท.จะปรับประมาณการอีกครั้งในเดือนมี.ค. นี้) ในรายองค์ประกอบพบว่า ด้านการใช้จ่ายที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ […]
อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือนม.ค.ขยับขึ้นมาที่ 0.5% MoM ตลาดมอง Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกสองครั้ง
อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือนม.ค.ขยับขึ้นมาที่ 0.5% MoM จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว -0.1% MoM ซึ่งหากเรานำข้อมูลเงินเฟ้อของทั้งสองเดือนมาเทียบกัน จะเห็นได้ว่า ราคาจากกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ยังคงเป็นแรงหนุนหลัก · ด้านปัจจัยราคาพลังงานกลับ Turn เป็นบวกในช่วงเดือน ม.ค. (จากที่ติดลบในช่วงเดือน ธ.ค.) · นอกจากนี้ Bureau of Labor Statistics (BLS) ยังมีการขยับกรอบน้ำหนักของพลังงานลง และเพิ่มกรอบน้ำหนักไปที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ด้วย · ย้อนกลับไปที่คำพูดของ Jerome Powell เกี่ยวกับ “Disinflation” เราพบว่า ราคาในหมวดสินค้าเป็นกลุ่มที่เข้าข่าย แต่ว่าราคาในกลุ่มภาคบริการยังคงตึงๆ คงจะต้องรออีกสักระยะที่ Disinflation จะเกิดในกลุ่มราคาของหมวดบริการ · ทั้งนี้ ตลาดมีมุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายในมุมที่ Hawkish กว่าเมื่อเดือนม.ค. โดยที่ตลาดมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขยับไปอยู่ในกรอบ 5-5.25% ภายในครึ่งแรกของปีนี้ (ขยับขึ้น 25 bps […]
BOJ มีมติเป็นเอกฉันท์ (9:0) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และยังคงอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีที่ 0%
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติเป็นเอกฉันท์ (9:0) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และยังคงอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีที่ 0% โดยให้เคลื่อนไหวในกรอบ -0.5% ถึง 0.5% สวนคาดการณ์ตลาดที่มองว่า BoJ จะเปิดกรอบการเคลื่อนไหวให้กว้างมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น กล่าวว่า ไม่น่าจะเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีขยับไปเหนือ 0.5% และธนาคารกลางญี่ปุ่นพร้อมใช้มาตรการที่จำเป็น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนโยบายการเงิน พร้อมกันนี้ ทาง BoJ ได้ออกรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจรายไตรมาส โดยได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ปี 2022 ลงเล็กน้อย เป็น 1.9% จาก 2.0% จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูง สําหรับปีงบประมาณ 2023 ธนาคารได้ปรับลดแนวโน้ม GDP ลงเหลือ 1.7% จาก 1.9% ด้านตัวเลข CPI […]
เงินเฟ้อลงแล้ว ตลาดคาดขึ้นดอกไม่แรง
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ชะลอลงหกเดือนติดต่อกันมาอยู่ที่ 6.5% YoY ในเดือนธ.ค. (เดือนก่อนอยู่ที่ 7.1%) เป็นอัตราต่ำสุดตั้งแต่เดือนต.ค. 2021และ in-line ไปกับคาดการณ์ตลาด เมื่อเทียบรายเดือนอัตราเงินเฟ้อพลิกกลับมาหดตัวที่ -0.1% MoM กลับขาติดลบเป็นครั้งแรก ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2020 และหดตัวมากกว่าที่ตลาดคาด ในรายสินค้า พบว่า ราคาพลังงาน (มีน้ำหนักในการคำนวณ 8%) ปรับตัวลดลง -4.5% MoM จากเดือนก่อนหน้าที่ -1.6% ราคาสินค้าในหมวดที่พัก (Housing) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 42.3% น้ำหนักในตะกร้าเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น 0.7% MoM ต่อเนื่องจาก 0.4% ในเดือนก่อน เช่นเดียวกับราคาในหมวดบริการที่ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เช่น โรงพยาบาล (1.5% MoM), […]
BBLAM Economic Update: UK: BoE ประกาศเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวเป็นการชั่วคราว หวังลดความผันผวนของตลาด
BoE ประกาศเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวเป็นการชั่วคราว หวังลดความผันผวนของตลาด หลังปอนด์อ่อนค่าแรง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลพุ่งสูง ธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England: BoE) เตรียมเข้ามาพยุงตลาดเงินตลาดทุนให้มีเสถียรภาพมากขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ นักลงทุนหมดความเชื่อมั่นในเงินปอนด์ และพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ เห็นได้จากการอ่อนค่าอย่างรวดเร็วของปอนด์ จนอยู่ในระดับที่น้อยที่สุดในรอบ 37 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ฯ ขณะเดียวกันก็เกิดแรงเทขายในพันธบัตร ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ (Gilt) ปรับตัวขึ้นสูง จนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี สูงเกินกว่าของอิตาลี และกรีซ ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ใช้งบประมาณขนาดใหญ่ อาทิ นโยบายลดภาษีครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ปี 1972 จนทำให้ผู้คนต่างกลัวว่าจะกระทบกับสถานะทางการคลังของอังกฤษ รวมทั้งมาตรการดังกล่าวยังทำให้เงินเฟ้อยิ่งเพิ่มสูงขึ้น จากที่ตอนนี้ก็แตะ 10% YoY แล้ว นักลงทุนจึงกังวลว่า BoE จะต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแรงๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ และนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง เมื่อวานนี้ BoE จึงประกาศจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว (อายุ 20 ปีขึ้นไป) อย่างไม่จำกัด โดยเบื้องต้น […]