Read between the (Fed’s) line

Read between the (Fed’s) line

Economic Research Key Event คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 50 bps เข้าสู่กรอบ 0.75-1.00% ซึ่งมีผลให้อัตราดอกเบี้ยสำคัญอื่นๆ เช่น The Interest Rate on Reserve Balance (IORB) ปรับขึ้นในอัตราที่เท่ากันสู่ 0.9% พร้อมกันนี้ FOMC ยังเผยแผนการปรับลดการถือครองสินทรัพย์ อันได้แก่ U.S. Treasury Securities และ MBS ด้วย โดยแผนการลดการถือครองนี้จะเริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย. เป็นต้นไป โดยได้กำหนดอัตราลดการถือครองเป็นสองช่วงดังแสดง Powell กล่าวอะไรบ้างใน Press Conference “ภารกิจสำคัญของ Fed ตอนนี้คือการลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อให้เร็วที่สุด โดย Fed อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 50 bps ในการประชุมอีกสองครั้งข้างหน้าคือในเดือน มิ.ย.- […]

So…what’s next?

So…what’s next?

โดย…ดร.มิ่งขวัญ  ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM  หลังจากที่ฉายภาพเศรษฐกิจ หรือสถานการณ์ข่าวสารบ้านเมือง ให้กับลูกค้า หรือการประชุมภายในบริษัท ก็จะมีคำถาม Follow up เสมอว่า  “So… what’s next ?” แล้วให้ทำไงต่อ ? คำถามสั้นมาก แต่หาคำตอบได้ยากมากเลยจริงๆ เลยนะคะ นักเศรษฐศาสตร์ถูกสอนมาให้อธิบายอดีต ไม่ใช่ให้ทายอนาคต นี่เนอะ แต่พอมาอยู่ในวงการนี้แล้ว ก็ต้องปรับตัวหลายกระบวนท่าเหมือนกันค่ะ ตอนนี้ก็ยังต้องฝึกฝนอยู่ และสิ่งนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะแชร์ให้กับเพื่อนๆ แบบนี้ค่ะ เมื่อเราได้รับข่าวสารใดๆ ก็ตามมา เราควรจะประเมินสถานการณ์ แล้วตอบตัวเองให้ได้ว่า “เราควรจะทำยังไงต่อ” ยิ่งหาคำตอบได้เร็ว แปลว่า เราจะได้สามารถ Move ได้ก่อน บ่อยครั้งค่ะ พบว่า นักลงทุนหลายท่าน ใช้เวลากับการติดตามข่าวค่อนข้างมาก รู้ละเอียดทุกอย่าง อัพเดทสถานการณ์ทุกวัน แต่กลับไม่เปิด App ดูพอร์ตไม่ยอมแก้พอร์ตตัวเองเลย หรือบางท่านมองว่า สถานการณ์ในอนาคตจะไม่เปลี่ยนแปลงจากข่าวในปัจจุบัน แล้วตัดสินใจซื้อขายตามข่าวตามปัจจุบัน แบบนี้จะกลับกลายเป็นว่า […]

เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะ Long Covid

เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะ Long Covid

โดย…ดร.มิ่งขวัญ  ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM  สัปดาห์ที่ผ่านมา IMF และ World Bank หั่นเป้า GDP โลกลงต่ำกว่า 4% โดยที่ปรับเป้า GDP ในหลายประเทศเลยค่ะ คำถามมาทันทีค่ะ ว่า 1)      เศรษฐกิจโลกเราจะเข้าสู่ Recession หรือเปล่า 2)      เศรษฐกิจโลกจะเกิด Crisis หรือเปล่า ตัวเองได้ตอบคำถาม 2 คำถาม ดังนี้ ค่ะ ข้อแรก Recession หรือ การถดถอยทางเศรษฐกิจ เป็นเรื่องปกติของวัฏจักรทางเศรษฐกิจที่จะต้องมีขึ้นแล้วก็มีลง หุ้นยังต้องพักฐาน เศรษฐกิจก็เช่นกัน ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจเปิดบวกมานาน จะพักฐานติดลบสักสองไตรมาสในปีนี้ ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะมันคือวัฏจักร ไม่เคยมีอะไรในโลกนี้ที่ขึ้นตลอด หรือ ลงตลอด พุทธศาสนิกชนเช่นเราๆ เข้าใจหลักข้อนี้ดี ข้อที่สอง […]

BBLAM Monthly Economic Review – สถานการณ์รัสเซียและยูเครนทำให้เกิดอะไรบ้างกับราคาสินค้า

BBLAM Monthly Economic Review – สถานการณ์รัสเซียและยูเครนทำให้เกิดอะไรบ้างกับราคาสินค้า

สรุปความ Economic Research ประเด็นที่น่าจับตาเกี่ยวกับเศรษฐกิจยูโรโซน ญี่ปุน และอินเดียในครั้งนี้ คือเรื่องผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่มีต่อราคาสินค้าและแนวโน้มเศรษฐกิจ ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงทิศทางนโยบายการเงินของแต่ละประเทศด้วย ยูโรโซน ผลของสงคราม ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น ทั้งราคาก๊าซและอาหาร โดยเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือนมีนาคม 2022 ดีดตัวขึ้นมา 7.5% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นระดับสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และก็อาจจะยังไม่ใช่จุดสูงที่สุดอยู่ดี มีความเป็นไปได้ที่ใน 1-2 เดือนข้างหน้า เราอาจจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อปรับขึ้นไปได้อีก หากสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังไม่จบ ในส่วนของมุมมองธนาคารกลางยุโรป (ECB) เวลานี้ มีการปรับประมาณการเงินเฟ้อของยูโรโซนในปี 2022 ขึ้นจาก 3.2% เป็น 5.1% โดยมองว่าช่วงครึ่งปีหลังนี้เงินเฟ้อจะมีแนวโน้มค่อยๆ ชะลอตัวลง การประชุมของ ECB ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา มองว่า เงินเฟ้ออีก 2 ปีข้างหน้า ก็จะอยู่ที่ราว 2% แม้จะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดิมมองไว้ 1.8% มาอยู่ที่ 2.1% […]

อัตราเงินเฟ้อไทยเร่งตัว 5.73% YoY ในเดือน มี.ค. เป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2008

อัตราเงินเฟ้อไทยเร่งตัว 5.73% YoY ในเดือน มี.ค. เป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2008

Economic Research อัตราเงินเฟ้อไทยเร่งตัว 5.73% YoY ในเดือนมี.ค.เป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2008 และมากกว่าที่ตลาดคาดว่าจะโต 5.55% YoY ส่วนอัตราเงินเฟ้อเดือนก่อนขยายตัวที่ 5.28% YoY ซึ่งเมื่อเทียบรายเดือนอัตราเงินเฟ้อไทยเพิ่มขึ้น 0.66% MoM (ตลาดคาด 0.61%, เดือนก่อนโต 1.06%) โดยที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 2% YoY (ตลาดคาด 1.80% เท่ากับเดือนก่อน) กระทรวงพาณิชย์ปรับขึ้นคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2022 เป็นช่วง 4%-5% จากกรอบประมาณการเดิมที่ 0.7%-2.4% ภายใต้สมมติฐาน • ราคาน้ำมันดิบดูไบที่ 90-110 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล, • GDP ขยายตัวในกรอบ 3.5%-4.5% • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่ 32-34 บาท/ดอลลาร์ฯ

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี

Economic Research กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องตั้งแต่การประชุมเดือน มิ.ย. 2020 3 ปัจจัยที่ กนง. จะติดตามใกล้ชิด ได้แก่ ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น แนวโน้มและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลาง กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวในปี 2022 และ 2023 ที่ 3.2% และ 4.4% ตามลำดับ  การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยจะมีผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยว โดยผลของการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่มากเท่าระลอกก่อนหน้า โดยที่มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น แต่จะไม่กระทบแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม Downside Risk ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย การขาดแคลนวัตถุดิบในบางอุตสาหกรรมที่อาจยืดเยื้อ และผลกระทบจากค่าครองชีพและต้นทุนที่สูงขึ้นต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในกลุ่มเปราะบาง กนง. จะติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2022 และ 2023 คาดว่าจะอยู่ที่ […]

Killing Inflation is Fed’s Top Priority

Killing Inflation is Fed’s Top Priority

Economic Research การประชุม FOMC เดือนมี.ค. Fed พร้อมขึ้นดอกเบี้ยเพื่อจัดการเงินเฟ้อ Key Event การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯหรือ FOMC Meeting ประจำเดือนมี.ค. มีมติ 8:1 ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% สู่กรอบ 0.25-0.5% โดยมีคณะกรรมการ 1 ท่านคือ James Bullard ซึ่งดำรงตำแหน่ง ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) สาขา St. Louis ไม่เห็นด้วยและมองว่าควรปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.5% ในครั้งนี้ ใจความหลักสำคัญของการประชุมในครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการ FOMC มองว่าประเด็นด้านการบริหารจัดการอัตราเงินเฟ้อคือภารกิจหลักของ Fed โดยในผลการประชุมได้ระบุถึงแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่มีมากขึ้นหรือ Broader Price Pressure (อันเป็นผลจาก Supply-Disruption และราคาพลังงาน) พร้อมกันนี้ยังได้ระบุเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ในรัสเซียและยูเครนจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะเวลาอันใกล้ด้วย ขณะที่คณะกรรมการ FOMC ยังคงเห็นว่าการจ้างงานในสหรัฐฯ […]

BBLAM Monthly Economic Review – กุมภาพันธ์ 2022 ตอน 2

BBLAM Monthly Economic Review – กุมภาพันธ์ 2022 ตอน 2

สรุปความ Economic Research ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ข้อมูลเศรษฐกิจไม่ใช่ประเด็นหลักที่ต้องติดตาม เนื่องจากตัวเลขออกมาดี โดยประเด็นหลักที่ต้องให้ความสนใจคือ ประเด็นเชิงการเมืองและความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์มากกว่า BBLAM ขอประมวลภาพสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตให้เห็นภาพก่อน โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2018 คือ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ต่อมาในปี 2019-2021 ก็เกิดประเด็นเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนในภาคอุปทาน หรือ supply shortage เกิดปัญหาหยุดชะงักในภาคอุปทาน หรือ supply disruption รวมทั้งเกิดเรื่องปัญหาคอขวดในภาคโลจิสติกส์ ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่ง จากประเด็นเหล่านี้อง จึงนำไปสู่เรื่องเงินเฟ้อ แต่ในช่วงที่เกิดโควิด-19 ก็ยังมีเรื่องนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมาช่วยไว้อยู่ ส่วนอีกประเด็นที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกันก็คือ เรื่องสภาวะภูมิอากาศ โดยเกิดพายุที่สหรัฐฯ ส่วนในปี 2022 สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจไม่เหมือนเดิมแล้ว มีเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับขึ้นไปเรื่อยๆ พร้อมกับเกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งเวลามีความไม่แน่นอน ก็จะเกิดประเด็นเรียกว่า uncurtainty โดยรวมแล้วเศรษฐกิจมหภาคเวลานี้มีโจทย์เรื่องเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้น แถมการเมืองยังมีความไม่แน่นอนอีก ซึ่งในโจทย์แบบนี้ BBLAM ขอนำทางเลือกมาให้ทุกคนพิจารณาว่าควรจะทำเช่นไรดี  […]

BBLAM Monthly Economic Review – กุมภาพันธ์ 2022 : ตอน 1

BBLAM Monthly Economic Review – กุมภาพันธ์ 2022 : ตอน 1

สรุปความ Economic Research ยูโรโซน ในครั้งนี้ประเด็นที่น่าสนใจหนีไม่พ้นประเด็นร้อนอย่างวิกฤติยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งส่วนใหญ่ผลกระทบจะเกิดกับเศรษฐกิจยูโรโซนเป็นหลัก เริ่มแรกถ้าเราย้อนกลับไปดูพื้นฐานเศรษฐกิจยูโรโซนช่วงก่อนหน้านี้ GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 2021 ที่ประกาศออกมาก็ชะลอตัวลง ซึ่งเป็นไปตามที่เราคาด จากผลของการขาดแคลนชิป และการระบาดของโควิดในยูโรโซน ส่วนในไตรมาสแรกปี 2022 เดือนมกราคม ยูโรโซนยังเผชิญการระบาดของโควิดอยู่ ขณะที่ในเดือนกุมภาพันธ์ เริ่มเป็นภาพที่ฟื้นตัวขึ้นหลังจากการแพร่ระบาด รัฐบาลแต่ละประเทศเริ่มทยอยผ่อนคลายล็อคดาวน์ เห็นได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่บ่งบอกว่าภาวะเศรษฐกิจในเดือนกุมภาพันธ์ฟื้นตัวขึ้นมา ซึ่งเรามองว่าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจในไตรมาสแรกจะชะลอตัวแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในประเด็นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบันเป็นหลัก ซึ่งอาจใช้ดัชนี PMI ในเดือนมีนาคม ที่กำลังจะประกาศออกมาเป็นตัวชี้วัดได้ หากสถานการณ์จบได้เร็ว น่าจะกระทบเพียงไตรมาสแรกเท่านั้น ก่อนที่จะทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป สำหรับสาเหตุที่ระบุว่า วิกฤติยูเครน-รัสเซีย จะมีผลต่อยูโรโซนมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ เนื่องจากรัสเซียเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของยุโรป โดยเฉพาะเป็นแหล่งของก๊าซธรรมชาติ เราจะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2021 ที่ผ่านมา ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปก็มีการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งกดดันกำลังซื้อของผู้บริโภค และต้นทุนของภาคธุรกิจมาระยะหนึ่งแล้ว การคว่ำบาตรรัสเซียด้วยการที่เยอรมนีเข้าไประงับกระบวนการอนุมัติเปิดใช้งานท่อส่งก๊าซ Northstream […]

จีนส่งสัญญาณสนับสนุนนโยบายเพิ่มเพื่อบรรลุเป้าหมาย GDP Growth 5.5% ในการประชุม NPC

จีนส่งสัญญาณสนับสนุนนโยบายเพิ่มเพื่อบรรลุเป้าหมาย GDP Growth 5.5% ในการประชุม NPC

Economic Research รัฐบาลจีนส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงรุกที่ 5.5% หวังเรียกความเชื่อมั่นท่ามกลางความตึงเครียดในประเทศที่เพิ่มขึ้นและความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก โดยที่ทางการจีนมีแผนที่จะ 1) จัดตั้งกองทุนเสถียรภาพทางการเงินและ 2) กำหนดมาตรการสร้างเสถียรภาพด้านราคาที่อยู่อาศัยสะท้อนความพยายามในการป้องกันความเสี่ยงของระบบหรือที่เรียกว่า Systemic Risks ในการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีของจีนได้แถลงต่อหน้าสภาประชาชนของจีนว่า “จากการประเมินสถานการณ์อย่างครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ พบว่าความเสี่ยงและความท้าทายต่อการพัฒนาของประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญในปีนี้ ซึ่งเมื่อสถานการณ์มีความยากขึ้นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งต้องมั่นใจมากขึ้นเท่านั้น” และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ งบประมาณคลังของจีนในปีงบประมาณนี้จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.4% โดยจะเพิ่มงบประมาณฝั่งกลาโหมจากปีก่อน 7.1% สำหรับเป้าหมายเศรษฐกิจสำคัญดังแสดงด้านล่าง สำหรับประเด็นอื่นที่ได้มีการกล่าวถึงในการประชุมดังแสดงด้านล่าง ความเสี่ยงด้านการเงิน บริหารจัดการความเสี่ยงของหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น บริหารจัดการสถาบันการเงินท้องถิ่นที่มีความเสี่ยงสูงอย่างเหมาะสม และลดความเสี่ยงจากตลาดตราสารหนี้ ใช้นโยบายและมาตรการทางการเงินเพื่อลด Spillover Effect ต่อระบบเศรษฐกิจ บริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหา อุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้แน่ใจว่าอุปทานของวัตถุดิบและชิ้นส่วนการผลิตสำคัญจะไม่ขาดแคลน บริหารจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้สถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อระยะกลางและระยะยาว จัดตั้งโครงการสนับสนุนการพัฒนายานพาหนะพลังงานไฟฟ้า(EV Car) แบรนด์จีน กระตุ้นแรงจูงใจในการซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในต่างจังหวัดและส่งเสริมการก่อสร้างสิ่งอํานวยความสะดวกหรือ Facilities อื่นๆ เช่น ที่จอดรถ และ สถานีชาร์จแบตเตอรี่ ส่งเสริม Venture […]