เศรษฐกิจอังกฤษโตต่ำคาดในไตรมาส 3 ปมภาคบริการซบเซา การผลิตร่วง

เศรษฐกิจอังกฤษโตต่ำคาดในไตรมาส 3 ปมภาคบริการซบเซา การผลิตร่วง

เศรษฐกิจอังกฤษ โตต่ำคาดในไตรมาส 3 เนื่องจากภาคบริการโตซบเซา ส่วนภาคการผลิตลดลง หลังความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภคอ่อนแอต่อเนื่อง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสที่ 3 โดยแสดงให้เห็นความคืบหน้าเพียงเล็กน้อย หลังจากการเริ่มต้นปีด้วยการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ซึ่งต่ำที่นักเศรษฐศาสตร์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.2% ซึ่งถือเป็นการชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ จากการเติบโต 0.5% ในไตรมาสที่ 2 ภาคการบริการ ซึ่งเป็นภาคส่วนที่ใหญ่ที่สุดของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร เติบโตเพียง 0.1% ในไตรมาสนี้ ในขณะที่ภาคการก่อสร้าง ขยายตัวขึ้น 0.8% ส่วนการผลิต ปรับตัวลดลง 0.2% อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักร ลดลงอย่างรวดเร็วเหลือ 1.7% ในเดือนก.ย. ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย 2% […]

สรุป อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ แสดงวิสัยทัศน์ในงาน Nation TV Dinner Talk

สรุป อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ แสดงวิสัยทัศน์ในงาน Nation TV Dinner Talk

โดย ทีม Economic Research สรุป อดีตนายกรัฐมนตรี แสดงวิสัยทัศน์ในงาน Nation TV Dinner Talk เริ่มต้นกล่าวว่า คนไทยรู้ปัญหาดีหมด แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ อดีตนายกฯ ได้กล่าวถึงว่าที่นายกฯ ว่า “ ลูกสาวบอกพ่อว่า ปัญหาของประเทศไทยในแต่ละเรื่องต้องมี Ownership  ลูกสาวเขาก็จะ Assign Owner ของแต่ละเรื่อง” ประเด็นหลักที่อดีตนายกฯ พูดถึง ประเด็นเรื่องนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ต้องปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือน รมว. คลังต้องคุยกับ สมาคม และนักซื้อหนี้ (อดีตนายกฯ ใช้คำนี้) แนวทางมีอยู่มาคุยกัน จะซื้อที่ Discount เท่าไหร่ ก็มาเจรจากัน ประสานนโยบายเศรษฐกิจ กับ ธปท. โดยยังเคารพการทำงานของ ธปท. แต่การที่ ธปท. ลด supply เงินเดือนละ […]

ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์กว่า 200 คน มองเศรษฐกิจโลกปีนี้ดีขึ้น แต่กังวลเงินเฟ้อ

ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์กว่า 200 คน มองเศรษฐกิจโลกปีนี้ดีขึ้น แต่กังวลเงินเฟ้อ

รอยเตอร์เผยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์กว่า 200 คน นักเศรษฐศาสตร์มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้า ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเติบโตของจีดีพีโลกปีนี้เป็น 3.1% จากคาดการณ์ครั้งก่อน (เดือนเมษายน) 2.9% แต่ยังกังวลว่ามีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะสูงขึ้น  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2024 รอยเตอร์ (Reuters) รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากกว่า 200 คน ที่รอยเตอร์สำรวจในช่วงวันที่ 8-25 กรกฎาคม 2024 ว่า นักเศรษฐศาสตร์มีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้า แต่มองว่ายังคงมีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมั่นใจกับคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามที่คาดไว้ ผลสำรวจโดยเฉลี่ยคาดว่า เศรษฐกิจโลกจะเติบโต 3.1% ทั้งในปีนี้และปีหน้า โดยเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ 2.9% และ 3.0% ในการสำรวจเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และสอดคล้องกับการคาดการณ์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ด้วย  โดยมี 24 ประเทศ/เศรษฐกิจชั้นนำจากทั้งหมด 48 แห่งที่รอยเตอร์สำรวจ ได้รับการปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนเมษายน […]

OECD คาดเศรษฐกิจโลกปี 67 โต 3.1% เงินเฟ้อลดเร็วกว่าคาดในหลายประเทศ

OECD คาดเศรษฐกิจโลกปี 67 โต 3.1% เงินเฟ้อลดเร็วกว่าคาดในหลายประเทศ

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณฟื้นตัวได้ดีขึ้นและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงเร็วกว่าที่คาดไว้ในหลายประเทศ พร้อมเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกในปี 2567 เป็น 3.1% จาก 2.9% ในเดือนก.พ. OECD ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว แม้สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง หรือราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เศรษฐกิจขาดเสถียรภาพมากขึ้น แต่ความเสี่ยงดังกล่าวจะอยู่ในระดับที่สมดุลขึ้น ทั้งนี้ OECD ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกในปี 2567 เป็น 3.1% จาก 2.9% ในเดือนก.พ. โดยเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จีน และอินเดียขึ้นมาอย่างโดดเด่น ซึ่งการขยายตัวน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.2% ในปี 2568 แนวโน้มที่สดใสดังกล่าวบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจโลกดูเหมือนจะรอดพ้นภาวะ Stagflation ซึ่งเป็นภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อและอัตราว่างงานสูง แม้ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะยังไม่แตะค่าเฉลี่ย 3.4% ในเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และก่อนวิกฤตพลังงาน ขณะเดียวกัน OECD  คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อ […]

BBLAM Knowledge Tips: เศรษฐกิจถดถอย จัดพอร์ตลงทุนแบบไหนดี

BBLAM Knowledge Tips: เศรษฐกิจถดถอย จัดพอร์ตลงทุนแบบไหนดี

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® BBLAM               ปี 2566 เป็นอีกปีที่ท้าทาย มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง ทั้งเรื่องการเมืองไทยที่มีการเลือกตั้งใหม่ ทั้งเศรษฐกิจโลกที่กำลังก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยและรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งความตึงเครียดอย่างต่อเนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน แรงกดดันจากเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูง และที่สำคัญ ยอดการติดเชื้อโควิด-19 ในจีนยังพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง                   เศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ ยังลงทุนหุ้นได้มั้ยนะ หรือจะต้องจัดพอร์ตลงทุนยังไง เรามีคำแนะนำมาให้แล้ว               ในเมื่อดูแล้ว เศรษฐกิจก็ไม่ดี แล้วเราจะเลือกลงทุนแบบไหน เพื่อให้พอร์ตการลงทุนของเรายังมีโอกาสเติบโตได้ ต้องบอกว่า การเลือกลงทุนในกองทุนหุ้นช่วงเศรษฐกิจถดถอยยังเป็นไปได้ ถ้าเรารู้จักเลือกลงทุน อย่างเช่น                   กลุ่มสินค้าจำเป็น สินค้าอุปโภคบริโภค เพราะไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นยังไงก็ยังต้องกิน ต้องใช้อยู่ทุกวัน แม้ว่าจะพยายามกินน้อยลง ใช้น้อยลงก็ตาม ดังนั้น การเลือกลงทุนในกลุ่มนี้ ก็มีโอกาสเติบโตได้ อย่างเช่น การลงทุนในกองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC) ซึ่งกองทุนมีนโยบายลงทุนเฉพาะกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร […]

BBLAM Knowledge Tips: เศรษฐกิจถดถอยต้องวางแผนการเงินให้ดี

BBLAM Knowledge Tips: เศรษฐกิจถดถอยต้องวางแผนการเงินให้ดี

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM BBLAM                ในปีที่ผ่านมา เราน่าจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย หรือ Global Recession  กันมาโดยตลอด ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค และปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ  ที่ส่งผลให้ราคาสินค้าทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น จนกลายเป็นปัญหาเงินเฟ้อ และส่งผลกระทบทำให้ GDP ของหลายๆ ประเทศปรับตัวลดลงตามไปด้วย  โดยเฉพาะในยุโรป สหรัฐฯ และจีน ซึ่งมี GDP รวมกัน  คิดเป็น 2 ใน 3 ของโลก จนหลายๆ ประเทศที่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ต่างก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วยเช่นกัน อย่างไทยเราเองก็ได้รับผลกระทบจากการที่มีเงินทุนไหลออก  เงินบาทอ่อนค่า  และปัญหาเงินเฟ้อ                  โดยการหดตัวของ  GDP   รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อที่ปรากฎอยู่ในหลายๆ ประเทศ   ทำให้นักวิเคราะห์ต่างพากันออกมาฟันธงว่า  “โลกของเรากำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” และสิ่งที่ทำให้นักลงทุนมั่นใจเข้าไปอีก ก็คือ  การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF […]

เศรษฐกิจโลกปีนี้โตไม่เกิน 2% นักเศรษฐศาสตร์หั่นคาดการณ์หลังความเสี่ยงยังอยู่

เศรษฐกิจโลกปีนี้โตไม่เกิน 2% นักเศรษฐศาสตร์หั่นคาดการณ์หลังความเสี่ยงยังอยู่

ผลสำรวจรอยเตอร์ ชี้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกปีนี้มีโอกาสเติบโตไม่เกิน 2% เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งผลสำรวจนี้สวนทางกับหลายๆ คาดการณ์ก่อนหน้าที่เป็นไปในทิศทางบวก คาดการณ์ก่อนหน้ามองว่า ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลกจะไม่รุนแรง เนื่องจากราคาน้ำมันและพลังงานกำลังปรับตัวลง เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อในหลายๆ ประเทศที่ค่อยๆ ลดลงจากระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ อีกทั้งเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปก็มีความยืดหยุ่นกว่าที่คาดและกำลังฟื้นตัว นอกจากนี้ จีนที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกก็กลับมาเปิดประเทศอีกครั้งเป็นที่เรียบร้อย ปัจจัยดังกล่าวทำให้ดัชนีหุ้นทั่วโลกของ MSCI เพิ่มขึ้นเกือบ 20% มาแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (24 มกราคม) หลังลงไปแตะระดับต่ำสุดในเดือนตุลาคมปีก่อน แม้จะมีความเสี่ยงที่ธนาคารกลางในหลายประเทศจะคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกสักพักก็ตาม อย่างไรก็ดี ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์กลับมีมุมมองที่ตรงข้ามกัน โดยพวกเขาได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้า จากเดิมที่มองว่าจะขยายตัว 2.3% และ 3.0% ตามลำดับ มาอยู่ที่ขยายตัวเพียง 2.1% และ 2.8% ตามลำดับ ขณะที่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเติบโต 2.7% มากกว่าสองในสามของนักเศรษฐศาสตร์ที่ร่วมตอบแบบสอบถาม กล่าวว่า ความเสี่ยงต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกคือการเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า […]

รมว.คลังญี่ปุ่นย้ำ BOJ ต้องใช้นโยบายการเงินกระตุ้นศก.ต่อไป

รมว.คลังญี่ปุ่นย้ำ BOJ ต้องใช้นโยบายการเงินกระตุ้นศก.ต่อไป

รายงานข่าวระบุนายทาโร่ อาโสะ รัฐมนตรีกระทรวงคลังญี่ปุ่นได้ชี้แจงต่อรัฐสภาญี่ปุ่นในวันนี้ว่า เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะต้องดำเนินนโยบายการเงินตามกรอบในปัจจุบันต่อไป ซึ่งเป็นจุดยืนที่สอดคล้องกลับ นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ ที่ได้แถลงต่อรัฐสภาญี่ปุ่นไปเมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า BOJ ยังไม่ควรประกาศแผนการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะนี้ เพราะจะทำให้ตลาดเกิดความสับสน นอกจากนี้ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น กล่าวว่า เขาต้องการปรับขึ้นภาษีการขายทั่วประเทศสู่ระดับ 10% จากปัจจุบันที่ระดับ 8% ในเดือนต.ค. 2562 ตามกำหนดการที่กระทรวงการคลังวางไว้

เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังฟื้นตัวในระดับปานกลาง

เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังฟื้นตัวในระดับปานกลาง

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือนก.พ. โดยระบุว่า องค์ประกอบหลักทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการบริโภคภาคเอกชน ผลิตผลและการลงทุนทางธุรกิจ “เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวขึ้นในระดับปานกลาง” สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นระบุในรายงาน หลังจากได้ปรับเพิ่มการประเมินเศรษฐกิจเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนไปเมื่อเดือนที่แล้ว รายงานของสำนักงานฯระบุว่า การบริโภคภาคเอกชนกระเตื้องขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายด้านการลงทุนและการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่างก็เพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง รายงานเศรษฐกิจประจำเดือนของรัฐบาลได้ช่วยสนับสนุนมุมมองด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่นว่ากำลังอยู่ในภาวะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจอาจเผชิญกับความไม่แน่นอน ทั้งจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาวและความผันผวนในตลาดหุ้นและตลาดการเงิน

โกลด์แมนแซคส์เตือน หนี้สาธารณะสหรัฐฯพุ่งสูงกว่า 100% ของจีดีพีในปี 2027

โกลด์แมนแซคส์เตือน หนี้สาธารณะสหรัฐฯพุ่งสูงกว่า 100% ของจีดีพีในปี 2027

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า โกลด์แมนแซคส์กรุ๊ป (Goldman Sachs Group) คาดว่าหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงกว่า 100% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ในปี 2027 จากปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่ 77% ของจีดีพี และจะทำให้ฐานะการคลังของสหรัฐฯย่ำแย่ที่สุดเท่าที่เคยประสบมา หรือ นับแต่ทศวรรษที่ 1940 และ 1990 โดยโกลด์แมนแซคส์คาดว่า นโยบายการคลังที่มุ่งกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลกลางต้องก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจะทำให้ภาระหนี้สินของรัฐบาลกลางสหรัฐฯเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับปัจจัยเสริมจากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นแล้ว จะทำให้สหรัฐฯมีภาระดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่สูงกว่าในต้นทศวรรษที่ 1980 และ 1990 “นโยบายการคลังของสหรัฐฯกำลังเข้าสู่เขตแดนที่ไม่เคยเห็นมาก่อน กล่าวคือ ในอดีต เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวแข็งแกร่ง แต่ภาระหนี้รัฐบาลเพิ่มขึ้น สภาคองเกรสจะตอบสนองด้วยการขึ้นภาษี และลดงบประมาณรายจ่าย แต่ในขณะนี้ ทุกอย่างกลับกัน” นายอเล็ก ฟิลิปส์ นักวิเคราะห์ที่โกลด์แมนแซคส์กล่าว