China Economy EU Japan Thailand US
มุมมองเศรษฐกิจใน 5 ประเทศหลัก
US : เศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2017-2018 จะสามารถขยายตัวเกินค่าเฉลี่ยระยะยาวได้ที่ 2.5% ทั้งสองปี ด้วยแรงหนุนจากการลงทุนภาคเอกชนที่จะเริ่มผลิตเพื่อเพิ่มสินค้าคงคลังให้พอกับความต้องการบริโภคในประเทศ ส่วนการจ้างงานน่าจะยังเติบโตได้แข็งแกร่ง EU : ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ราคาพลังงานช่วยสนับสนุนการบริโภค ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มกลับมา การใช้สินเชื่อเริ่มดีขึ้นเรามองว่า GDP จะขยายตัวที่ 2.3% JP : เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถขยายตัวได้อัตรา 1.4% เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่มีส่วนช่วยผลักดันได้แก่ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือ Supplementary Budget จากรัฐบาล มีส่วนหนุนการบริโภคภาคเอกชน CH : เศรษฐกิจจีนน่าจะขยายตัวได้ที่ 6.5% โดยเป็นการขยายตัวตามเป้าหมายของทางการที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ โครงสร้างเศรษฐกิจจีนค่อยๆขยับเข้าภาคบริการและการบริโภคภาคเอกชน TH : การส่งออกและการใช้จ่ายลงทุนภาเอกชนจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.8% ในปี 2017-2018
จีนหวังลด “เก็งกำไร” เน้นที่อยู่ “เพื่ออาศัย”
หวาง เหมิงฮุย รัฐมนตรีกระทรวงการเคหะและการพัฒนาเมือง-ชนบท กล่าวในการประชุมแห่งหนึ่งว่า เราจะยึดมั่นในหลักการของที่อยู่อาศัยเพื่อการอยู่อาศัย ไม่ใช่เพื่อการเก็งกำไร และจะปรับปรุงกลไกในระยะยาวเพื่อส่งเสริมให้ตลาดที่อยู่อาศัยมีเสถียรภาพและเติบโตต่อไปได้ เขากล่าวว่า การติดตามสถานการณ์และการวิเคราะห์ตลาดควรจะได้รับการปรับปรุง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความเที่ยงตรงของนโยบายต่างๆ และจะเร่งวางระบบที่อยู่อาศัย ซึ่งจะสร้างความมั่นใจในเรื่องของอุปทานจากหลายๆแหล่ง ตลอดจนให้การสนับสนุนโครงการที่อยู่อาศัยผ่านช่องทางต่างๆ และผลักดันให้มีการซื้อและเช่าบ้าน ทั้งนี้ เมืองขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีการไหลเข้าสุทธิของประชากร ควรจะเร่งการพัฒนาตลาดที่อยู่อาศัยให้เช่า และจัดตั้งแพลตฟอร์มบริหารจัดการและบริการเช่าภายใต้การดูแลของรัฐบาล นอกจากนี้ จีนยังจะปรับปรุงความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดที่อยู่อาศัยภายใต้จุดยืนที่เข้มงวด เพื่อจัดการกับการละเมิดกฎเกณฑ์ของกลุ่มผู้พัฒนาและเอเยนต์อสังหาริมทรัพย์
สหรัฐ: เศรษฐกิจไตรมาส 3 ขยายตัวในอัตราเร็วที่สุดในรอบสองปี
เศรษฐกิจสหรัฐฯไตรมาส 3/2017 (ประมาณการครั้งสุดท้าย) ขยายตัวในอัตราเร็วที่สุดในรอบสองปีที่ 3.2% QoQ saar ชะลอลงเล็กน้อยกว่าประมาณการครั้งก่อนหน้าที่ 3.3% QoQ saar แต่ดีกว่าไตรมาส 2/2017 ที่ 3.1% QoQ saar ถือเป็นการขยายตัวของเศรษฐกิจที่สูงกว่า 3.0% ต่อเนื่องสองไตรมาสติดต่อกันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2014 ในรายองค์ประกอบเศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาคธุรกิจเป็นหลักถึง 7.3% QoQ saar (ดังรูป) Source: Bloomberg ทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯปี 2018 มีความสดใสทั้งจากภาพของผลประกอบการธุรกิจที่ดี และจากทิศทางนโยบายภาครัฐที่ล่าสุดทั้งสองสภาสามารถบรรลุนโยบายปฏิรูปภาษีเท่ากับว่าจะมีแรงกระตุ้นสู่เศรษฐกิจผ่านช่องทางลดหย่อนภาษีอีก 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯในอีก 10 ปีข้างหน้า
จีน: นโยบายเศรษฐกิจปี 2018 เน้นลดความเสี่ยงทางการเงิน การแก้ปัญหาความยากจน และการรักษาสภาพแวดล้อม
ทางการยังคงย้ำความสำคัญของการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เราคาดเป้า GDP จะคงเดิมที่ 6.5% การประชุม Central Economic Work Conference (CEWC) ระหว่างวันที่ 18-20 ธ.ค. ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในปีถัดไป กำหนดเป้าหมายหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1) การลดความเสี่ยงทางการเงิน 2) การแก้ปัญหาความยากจน และ 3) การรักษาสภาพแวดล้อม และยังคงย้ำความสำคัญของการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยประเด็นสำคัญจากการประชุมมีดังนี้ นโยบายการเงินมีแนวโน้มที่จะเข้มงวดต่อไป เพื่อลดระดับหนี้ในระบบและจำกัดความเสี่ยงทางการเงินซึ่งเป็นนโยบายหลัก โดยจะควบคุมปริมาณเงิน, สินเชื่อและการเติบโตของยอดระดมทุนรวม (TSF) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่วนนโยบายการคลังมีแนวโน้มที่จะเข้มงวดมากขึ้น โดยทางการจะเพิ่มความเข้มงวดในการออกพันธบัตรของรัฐบาลท้องถิ่น ด้านอสังหาริมทรัพย์ ทางการได้สนับสนุนการพัฒนาตลาดเช่าบ้าน (Rental Market) และการจัดสรรที่ดินเพื่อใช้ในการอยู่อาศัยเพิ่มเติม ด้านการค้าระหว่างประเทศ จีนจะสนับสนุนการนำเข้ามากขึ้น โดยอาจลดภาษีนำเข้า (Import Tariffs) ลงสำหรับบางสินค้า เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศมีความสมดุลมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของจีนมีแนวโน้มลดลงในระยะยาว ด้านอัตราแลกเปลี่ยน […]
ส่งออกไทยทำ High ต่อเนื่อง
การส่งออกไทยขยายตัวเหนือความคาดหมายในเดือนพ.ย. มีมูลค่า 21,434.7 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 20,083.2 ล้านดอลลาร์ฯ) หรือขยายตัวที่ 4% YoY (prev. 13.1% YoY) ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 19,671.7 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 19868.4 ล้านดอลลาร์ฯ) หรือขยายตัวที่ 13.7% YoY (prev. 13.5% YoY) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1,763 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 214.4 ล้านดอลลาร์ฯ) สำหรับในช่วง 11 เดือนของปี 17 (ม.ค.-พ.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 216,953 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 10% AoA, นำเข้ามีมูลค่า 202,744 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 5% AoA ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 11เดือนที่ […]
อินเดีย: พรรค BJP ของนายกฯ Modi ชนะเลือกตั้งในรัฐ Gujarat
พรรค BJP ยังสามารถครองเสียงข้างมากในสภาท้องถิ่นด้วยจำนวนที่นั่ง 99 ที่นั่งจากทั้งหมด 182 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งของรัฐ Gujarat แต่ลดลงจากก่อนการเลือกตั้งที่ 115 ที่นั่ง โดยนาย Modi เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการรัฐนี้ก่อนที่จะมาเป็นนายกฯ คะแนนเสียงของพรรค BJP ที่ลดลงในรัฐ Gujarat ชี้ถึงความนิยมที่ถูกกระทบของนาย Modi หลังรัฐบาลดำเนินนโยบายปฏิรูป เช่น การยกเลิกการใช้พันธบัตร 500 และ 1,000 รูปี และการเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บภาษีเป็น Good and Services Tax (GST) ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้พรรค BJP ของนาย Modi ได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้น ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2014 และจะครบกำหนดวาระต้องเลือกตั้งใหม่ในปี 2019 เราคาดว่าก่อนที่การเลือกตั้งทั่วไปจะมาถึง รัฐบาลจะหันกลับมาให้ความสำคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจมากขึ้นในปีหน้า ผ่านทางนโยบาย เช่น การเพิ่มทุนในภาคธนาคาร และการเพิ่มการใช้จ่ายในภาคชนบท […]
กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BBASICRMF) เดือนพฤศจิกายน 2560
จุดเด่นของกองทุน ลงทุนในหุ้นของกิจการที่จำเป็น “ต้องกิน ต้องใช้” ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ได้โอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอในระยะยาว พลังบริโภคที่เติบโตจากสังคมเมืองได้กระจายไปสู่ภูมิภาค ขณะที่ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นจนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตตัวเองได้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ช่วยหนุนให้ธุรกิจหรือการค้าขยายไปสู่ประเทศในอาเซียน ซึ่งมีพลมืองไม่ต่ำกว่า 600 ล้านคน ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เมื่อลงทุนเข้าเงื่อนไขของกรมสรรพากร มุมมองต่อตลาดหุ้นไทย ตลาดหุ้นไทยสามารถปรับตัวขึ้นอีกในเดือนตุลาคม แต่ด้วยความผันผวนที่มากขึ้น ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายทำกำไรหุ้นไทย โดยเป็นผู้ขายสุทธิด้วยมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาทในช่วงระหว่างเดือน แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทยจะยังแสดงถึงสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นก็ตาม บริษัทที่ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/60 พบว่า หลายบริษัทมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่หุ้นหลายตัวกลับถูกขายทำกำไรแม้ว่าผลประกอบการจะออกมาดีก็ตาม โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลางถึงเล็กที่ปรับตัวขึ้นมามาก ซึ่งอาจจะเป็นด้วย Valuation ที่ตึงตัวในบางกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงของการปรับฐาน ซึ่งเรามองว่า ถือเป็นโอกาสดีที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่มีแนวโน้มธุรกิจดีแต่ราคาย่อตัวลงมา และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นน่าจะมีโมเมนตัมต่อเนื่องได้ในปีหน้า ซึ่งจะช่วยหนุนผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในระยะหลังจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา หุ้นหลายตัวปรับตัวขึ้นด้วยความคาดหวังว่าจะได้รับผลดีจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวในปีหน้า แม้ว่าอาจจะยังไม่เห็นผลประกอบการที่ฟื้นตัวนักในปี 2560 ทำให้ราคาหุ้นถือว่าค่อนข้างตึงตัวเมื่อเทียบกับผลประกอบการที่ออกมา จึงเชื่อว่าหลังจากนี้ นักลงทุนจะกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเลขผลกำไรมากขึ้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพียงลำพังอาจไม่เพียงพอที่จะผลักดันหุ้นให้ขึ้นต่อได้อีกอย่างมีนัยสำคัญ และหุ้นบางตัวที่ราคาพุ่งสะท้อนไปถึงผลประกอบการปีหน้าเร็วเกินไป อาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนดีเท่ากับช่วงที่ผ่านมา ด้านความเสี่ยงในช่วงนี้ […]
กองทุนเปิดกองทุนบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF) เดือนพฤศจิกายน 2560
จุดเด่นของกองทุน เน้นลงทุนในหุ้นของกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี (Value Stock) และมีแนวโน้มเติบโตทางธุรกิจสูง (Growth Potential) ทั้งในและต่างประเทศ ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เมื่อลงทุนเข้าเงื่อนไขของกรมสรรพากร มีโอกาสรับผลตอบแทนระหว่างลงทุนในรูปแบบเงินปันผล ตั้งแต่กองทุนดำเนินมาแล้วเพียง 1 ปี (เริ่ม 28 ต.ค. 2559) BBASICDLTF จ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ครั้งที่ 1:16 ต.ค. 2560 หน่วยละ 0.22 บาท ครั้งที่ 2: 14 พ.ย. 2560 หน่วยละ 0.08 บาท รวมทั้งหมด 2 ครั้ง รวมเป็นเงินปันผลสะสมหน่วยละ 0.30 บาท […]
กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC) เดือนพฤศจิกายน 2560
จุดเด่นของกองทุน 1) ลงทุนในหุ้นของกิจการที่จำเป็น “ต้องกิน ต้องใช้” เพื่อให้ได้โอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอในระยะยาว โดยได้แรงหนุนจาก: พลังบริโภคที่เติบโตในสังคมเมืองแพร่ขยายไปสู่ภูมิภาค ขณะที่ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น ทำให้ยกระดับคุณภาพชีวิตตัวเองได้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ช่วยหนุนให้ธุรกิจหรือการค้าขยายไปสู่ประเทศในอาเซียน ซึ่งมีพลมืองไม่ต่ำกว่า 600 ล้านคน 2) ตั้งแต่เปลี่ยนนโยบายกองทุนฯให้จ่ายเงินปันผล ซึ่งดำเนินมาแล้วเกือบ 4 ปี (เริ่ม 14 ธ.ค. 2556) BBASIC จ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ครั้งที่ 1: 17 ต.ค. 2557 หน่วยละ 1.00 บาท ครั้งที่ 2: 30 ก.ย. 2558 หน่วยละ 0.25 บาท ครั้งที่ 3: 30 มี.ค. 2559 หน่วยละ […]
Economy Fund Comment Policy Thailand
มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนพฤศจิกายน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนพฤศจิกายนปรับเพิ่มขึ้น 0.02%-0.10% โดยมีปัจจัยหลักมาจาก 1) การประมูลพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 5 ปีด้วยวงเงินที่สูงถึง 40,000 ล้านบาท สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 10,000 -15,000 ล้านบาท ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงอายุดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้นในช่วงการประมูล 2) เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2560 ขยายตัว 4.3% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และสภาพัฒน์ฯยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ขึ้นเป็น 3.9% 3) ร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯได้ผ่านการเห็นชอบจากสภาฯผู้แทนและผ่านไปสู่การพิจารณาของวุฒิสภา ทำให้ตลาดกลับมาให้ความคาดหวังต่อนโยบายปฏิรูปภาษีที่อาจผ่านการพิจารณาจากสภาฯภายในปีนี้และจะกลายเป็นปัจจัยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯในปีหน้า ช่วงกลางเดือนธันวาคมมีการประชุมธนาคารกลางหลักของโลก 3 แห่งคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) ธนาคารกลางยุโรป(ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) ซึ่งผลการประชุมเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดย ECB และ BOE มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและคงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินไว้ที่ระดับเดิม ขณะที่ FED ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.25% – 1.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ทำให้ตลาดไม่ได้ตอบสนองต่อผลการประชุมดังกล่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม FED ได้ปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี […]