มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนมีนาคม 2018
มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนมีนาคม 2018 ในเดือนมีนาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยเคลื่อนไหวอย่างผันผวนโดยพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปีปรับตัวลดลง 0.01% ถึง 0.07% แต่พันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปีขึ้นไปปรับเพิ่มขึ้น 0.01% ถึง 0.09% เป็นผลมาจาก 1) ความกังวลของนักลงทุนต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดการทำสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนหลังจากที่ทั้งสองประเทศต่างปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าตอบโต้กันไปมา 2) คณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED)มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.50%-1.75% พร้อมมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯมากขึ้นและเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า 3) คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย(กนง.)มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ด้วยเสียง 6 ต่อ 1 โดยคณะกรรมการ 1 ท่านเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เนื่องจากมีความกังวลต่อการผ่อนคลายนโยบายการเงินเป็นเวลานานจะทำให้การประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินต่ำกว่าความเป็นจริง รวมทั้ง เชื่อว่า การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% ไม่ได้ส่งผลกระทบสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทั้งนี้ เรายังเชื่อว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะยังคงที่อยู่ในระดับ 1.50% ตลอดทั้งปี 2561 […]
หุ้นไทยเดือนมี.ค.อยู่ในช่วงปรับฐาน มองยังยืนระดับได้ดีแม้จะผันผวนบ้าง
ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นไทยมีการปรับฐานในเดือนมีนาคม โดยเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways เกือบตลอดทั้งเดือน โดย SET Index ปรับตัวลงต่ำสุดที่ 1,724 จุดก่อนจะฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้บ้าง โดยปัจจัยลบที่มีเข้ามาในระหว่างเดือน ได้แก่ การประกาศปรับลดค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ซึ่งทำให้หุ้นกลุ่มกลุ่มธนาคารปรับตัวลง และประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ซึ่งกดดันตลาดหุ้นทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันนั้นเป็นผลบวกต่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ตลาดมีการฟื้นกลับขึ้นมาได้ สำหรับหุ้นขนาดกลางหรือเล็กส่วนใหญ่นั้นให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีนักในช่วงเดือนนี้ ส่วนหนึ่งมาจากผลประกอบการในไตรมาส 4/2560 ที่ไม่โดดเด่นนักและทำให้มีแรงขายหุ้นบางตัวโดยเฉพาะหุ้นที่ราคาแพงกว่าปัจจัยพื้นฐานออกมา ตลาดหุ้นต่างประเทศที่มีการปรับฐาน จากความกังวลประเด็นสงครามการค้าที่ได้กล่าวไปข้างต้น อีกส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่มีสัญญาณชะลอตัวลงในบางภาคส่วน หลังจากที่ขยายตัวได้ดีมาหลายไตรมาส แต่โดยรวมนับว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกนั้นเริ่มยืนระดับได้ โดยอาจจะมีข่าวลบที่เกี่ยวกับการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนออกมาเพิ่มเติมเป็นพักๆ ซึ่งทำให้เกิดความผันผวนบ้าง และตลาดหุ้นในภูมิภาคอาจจะเคลื่อนไหวแบบ Sideways สักระยะหนึ่งก่อนจะทยอยปรับตัวขึ้นได้ ประเด็นที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ นั้นเชื่อว่า ไม่น่ามีผลกระทบเชิงลบมากนักเพราะตลาดได้รับรู้ไปมากแล้ว โดยภาพรวมแล้ว เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะยืนระดับได้ดีขึ้น โดยอาจจะยังมีความผันผวนอยู่บ้าง แต่โอกาสที่ตลาดจะปรับตัวขึ้นได้มากนั้นยังค่อนข้างจำกัด เนื่องด้วยความตึงตัวของ Valuation ของหุ้น Big cap ประกอบกับการขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ ในภาพกว้าง การเลือกลงทุนหุ้นเป็นรายตัวจึงมีความสำคัญมาก […]
หุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways หลังยังขาดปัจจัยใหม่หนุน
นับตั้งแต่เริ่มเข้าสู่เดือนที่สองของปี 2561 ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways โดย SET Index ยังยืนระดับเหนือบริเวณดัชนี 1,800 จุดได้ หนุนโดยการปรับขึ้นของหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่ไม่กี่ตัวซึ่งมีปัจจัยเฉพาะตัว รวมทั้งการฟื้นของราคาหุ้นในอุตสาหกรรมที่เป็น Laggard เมื่อช่วงก่อนหน้า เช่น กลุ่มสื่อสาร โรงพยาบาล เป็นต้น แต่สำหรับหุ้นขนาดกลางหรือเล็กส่วนใหญ่นั้นให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีนักในช่วงเดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นเพราะผลประกอบการในไตรมาส 4/2560 ที่ไม่โดดเด่นนักและทำให้มีแรงขายหุ้นบางตัวโดยเฉพาะหุ้นที่ราคาแพงกว่าปัจจัยพื้นฐานออกมาด้วย สำหรับปัจจัยหนุนในประเทศ ด้านการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวอาจจะไม่ได้เป็นตัวหนุนตลาดได้มากนักหลังจากนี้ เนื่องจากตลาดได้สะท้อนความคาดหวังผ่านราคาหุ้นกลุ่มการบริโภคไปแล้วพอสมควร ส่วนการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนนั้นยังไม่เห็นการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจต้องรอให้เห็นความคืบหน้าของผลบวกจากโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มากขึ้น ตลาดถึงจะกลับมาให้น้ำหนักกับหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนโครงการภาครัฐหรือเอกชนอีกครั้งหนึ่ง ตลาดหุ้นต่างประเทศที่ก่อนหน้านี้มีการปรับฐานลงจากความกังวลว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯเร็วกว่าที่คาด หลายตลาดสามารถยืนระดับหรือกลับมาทยอยปรับตัวขึ้นได้ ดังนั้น ปัจจัยการปรับขึ้นดอกเบี้ยไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลังจากนี้ แต่อาจจะส่งผลต่อตลาดประเทศเกิดใหม่บางแห่ง โดยเฉพาะประเทศที่มีสัดส่วนการกู้ยืมเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นปริมาณมาก ขณะที่ประเทศไทยเชื่อว่าคงได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะมีเงินทุนสำรองต่างประเทศค่อนข้างสูง โดยภาพรวมแล้ว เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องด้วยความตึงตัวของ Valuation ของหุ้น Big cap ประกอบกับการขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ ในภาพกว้าง การเลือกลงทุนหุ้นเป็นรายตัวจึงมีความสำคัญมาก […]
มุมมองตลาดตราสารหนี้: นโยบายการเงินปท.หลักเข้มงวดเร็วกว่าคาด
นับตั้งแต่ต้นปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศหลักๆ ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 3-4 ปี ยกตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปี อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นไปสูงกว่า 2.90% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ขณะเดียวกันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษรุ่นอายุ 10 ปี ก็ขึ้นไปสูงกว่า 1.60% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี สาเหตุหลักๆ โดยรวมมาจากความสำเร็จจากการผลักดันกฎหมายปฏิรูปภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้คาดว่ารัฐบาลสหรัฐต้องออกพันธบัตรเพิ่มมากขึ้นเพื่อชดเชยรายได้จากการลดภาษี ประกอบกับแนวโน้มนโนบายการเงินของประเทศหลักที่จะไปในทิศทางเข้มงวดขึ้น รวมทั้งจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯที่ออกมาสูงกว่าคาด ทำให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4 ครั้งในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะปรับขึ้นเพียง 3 ครั้ง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยไม่ได้พุ่งขึ้นแรงเหมือนประเทศหลักข้างต้น เนื่องด้วยยังมีสภาพคล่องในประเทศค่อนข้างมาก ความต้องการซื้อ (demand) พันธบัตรของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศยังสูง ส่งผลให้นับจากต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี ปรับลดลง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุคงเหลือ 10 ปีปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1 […]
Fund Comment Investment Market Summary SET Stocks Thailand
ภาพรวมตลาดหุ้น มกราคม 2561
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นในเดือนแรกของปี 2561 ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว นำโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานซึ่งหนุนด้วยราคาน้ำมันในตลาดโลก และหุ้นกลุ่มพาณิชย์บางตัวด้วยความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ ขณะที่มีการขายทำกำไรหุ้นบางตัวที่ราคาปรับขึ้นมาในช่วงก่อนหน้า เช่น กลุ่มท่องเที่ยว หรือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกลุ่มธนาคารพาณิชย์นั้นผลประกอบการในไตรมาส 4/60 ที่ประกาศออกมาค่อนข้างต่ำกว่าที่ตลาดคาด ในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ตลาดเริ่มมีการปรับฐานลงหลังจากที่การเลือกตั้งในประเทศมีแนวโน้มจะถูกเลื่อนออกไปจากเดิมที่คาดกันว่าจะถูกจัดขึ้นภายในปีนี้ และยังมีประเด็นความกังวลว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯเร็วกว่าที่คาด ทำให้เกิดแรงขายหนักในตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯและจีน ซึ่งเชื่อว่า แรงขายทำกำไรนี้น่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศหลักๆ ทั้งประเทศทางฝั่งตะวันตกและฝั่งเอเชีย ยังแสดงถึงการขยายตัวที่ดี แม้จะมีการปรับฐานบ้างแล้ว ระดับ P/E ตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับประมาณการกำไรปี 2561 ยังอยู่ที่ระดับมากกว่า 16.5 เท่า นับว่าตึงตัวพอสมควร แต่ว่าระดับ Valuation ของหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นมีความแตกต่างกัน จึงมีหุ้นไทยบางส่วนที่ยังมีความน่าสนใจลงทุนอยู่ ขณะที่บางกลุ่มก็มีราคาแพงเกินพื้นฐาน การเลือกลงทุนหุ้นเป็นรายตัวจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นน่าจะมีโมเมนตัมต่อเนื่อง และหนุนให้การคาดการณ์ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในระยะหลังจากนี้ยังมีแนวโน้มที่ดี และควรต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงเกินไปให้มากขึ้น
มุมมองตลาดตราสารหนี้
BF Knowledge Center ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 1-10 ปีปรับลดลง 0.01% ถึง 0.09% เป็นผลมาจากเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ไทยที่สูงถึง 63,370 ล้านบาท และผลการประมูลพันธบัตรอ้างอิงรุ่นอายุ 5 และ 10 ปีที่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนอย่างดีด้วยสัดส่วน Bid-to-Cover ที่สูงถึง 4.44 และ 3.87 เท่า ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุใกล้เคียงปรับตัวลดลงทันทีหลังการประมูล อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยกลับมาเร่งตัวอีกครั้งในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์จากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯในเดือนมกราคมที่ออกมาสูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ รวมทั้ง สัญญาณการเร่งตัวของค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น 0.3%จากเดือนก่อน ทำให้นักลงทุนกังวลต่อการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อที่จะกระตุ้นให้ธนาคารกลางสหรัฐฯเร่งกระบวนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาดการณ์เดิม จากปัจจัยกดดันดังกล่าวทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 2.85% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี สำหรับผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED)ในเดือนมกราคมยังมีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25-1.50% พร้อมส่งสัญญาณการปรับนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามเดิม และมีมุมมองต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและตลาดแรงงานในระดับที่ดี ด้านภาวะเงินเฟ้อ คณะกรรมการฯประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯจะค่อยๆเร่งตัวขึ้นในปีนี้และขยับเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ได้ในระยะต่อไป ขณะที่การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ของไทยเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา […]
ภาพรวมตลาดหุ้นไทย
หุ้นไทยได้แรงส่งจาก การบริโภคในประเทศฟื้นตัว-ความหวังเลือกตั้งในปีนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 และยังมีโมเมนตัมต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2561 ด้วยปัจจัยหนุนต่างๆ อาทิเช่น การฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ การปรับตัวขึ้นของราคาพลังงาน และความคาดหวังการเลือกตั้งทั่วไปว่าจะมีขึ้นในปี 2561 SET Index ปรับตัวขึ้นได้ด้วยแรงซื้อจากนักลงทุนภายในประเทศเป็นหลัก ในหุ้นกลุ่ม Big Cap เช่นกลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มค้าปลีกกลุ่มท่องเที่ยว หรือ กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น ณ ขณะนี้ ระดับ P/E ตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับประมาณการกำไรปี 2561 อยู่ที่มากกว่า 16.5 เท่านับว่าตึงตัวพอสมควร แต่ว่าระดับ Valuation ของหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นมีความแตกต่างกัน จึงมีหุ้นไทยบางส่วนที่ยังมีความน่าสนใจลงทุนอยู่ ขณะที่บางกลุ่มก็มีราคาแพงเกินพื้นฐาน ทั้งนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นน่าจะมีโมเมนตัมต่อเนื่อง ส่วนการคาดการณ์ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในระยะหลังจากนี้ยังมีแนวโน้มที่ดี และจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้นต่อไปได้ เพียงแต่ในบางช่วงอาจจะมีแรงขายทำกำไรออกมาได้บ้าง ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม ด้านความเสี่ยงในประเทศช่วงนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกในประเทศ แต่ถือเป็นปัจจัยที่ตลาดได้รับทราบไว้แล้ว ส่วนปัจจัยจากต่างประเทศนั้น ตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศหลักๆ ทั้งประเทศทางฝั่งตะวันตกและฝั่งเอเชีย ยังแสดงถึงการขยายตัวที่ดี […]
Fund Comment: มุมมองตลาดตราสารหนี้
ตลาดตราสารหนี้ เดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา · อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัว ช่วงอายุคงเหลือ 2 ปีเพิ่มขึ้น 4 bps สู่ระดับ 1.49% และช่วงอายุคงเหลือ 10 ปี ปรับเพิ่มเพียง 2 bps สู่ระดับ 2.56% · ขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้นตลอดทุกช่วงอายุ โดยช่วงอายุคงเหลือ 2 ปี ปรับเพิ่มถึง 16 bps สู่ระดับ 1.89% และช่วงอายุคงเหลือ 10 ปี ปรับเพิ่มถึง 16 bps เช่นกัน สู่ระดับ 2.48% ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ yield ปรับเพิ่มขึ้นมากภายในเดือนเดียวมาจากการที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps ในการประชุมวันที่ 12-13 […]
ภาพรวมตลาดหุ้น เดือนพฤศจิกายน
ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบ Side-ways ตลอดเดือนพฤศจิกายน โดยนักลงทุนต่างชาติได้ขายหุ้นไทยสุทธิเป็นมูลค่ากว่า 18,800 ล้านบาท แต่ด้วยแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศยังช่วยพยุงให้ SET Index ยังยืนระดับบริเวณ 1,700 จุดได้ ซึ่งในระหว่างเดือนนี้ มีการขายทำกำไรในหุ้นขนาดกลางถึงเล็กที่ราคาปรับตัวขึ้นมาในช่วงก่อนหน้า ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่นั้น ราคายังค่อนข้างทรงตัว หนุนโดยหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มพลังงาน ตลาดหุ้นที่อยู่ในช่วงของการปรับฐาน เรามองว่า ถือเป็นโอกาสดีที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่มีแนวโน้มธุรกิจดีแต่ราคาย่อตัวลงมา และเริ่มมีระดับ Valuation ที่น่าสนใจมากขึ้น โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นน่าจะมีโมเมนตัมต่อเนื่องได้ในปีหน้า ซึ่งจะช่วยหนุนผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในระยะหลังจากนี้ และจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้นต่อไปได้ เนื่องจากนักลงทุนจะกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเลขผลกำไรมากขึ้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพียงลำพังอาจไม่เพียงพอที่จะผลักดันหุ้นให้ขึ้นต่อได้อีกอย่างมีนัยสำคัญ ด้านความเสี่ยงในช่วงนี้ ยังไม่เห็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยปัจจัยในประเทศนั้นส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนตลาดมากกว่า เช่น การเลือกตั้งที่คาดจะเกิดขึ้นในปี 2561 หรือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เป็นต้น ขณะที่ปัจจัยจากต่างประเทศนั้น แม้จะมีความกังวลว่าอาจจะมีแรงขายทำกำไรในตลาดหุ้นต่างประเทศหลังจากมีความชัดเจนต่อการที่รัฐบาลสหรัฐฯจะอนุมัติแผนการลดภาษีนิติบุคคล แต่ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศหลักๆ ทั้งประเทศทางฝั่งตะวันตกและฝั่งเอเชีย ถือว่ายังแสดงถึงการขยายตัวที่ดี ผลประกอบการที่ดีกว่าคาดและระดับ Valuation ที่ไม่ได้สูงนัก ทำให้เชื่อว่า ถ้ามีการปรับฐานในตลาดต่างประเทศจริง น่าจะไม่รุนแรงมากนัก
Fund Comment
ตราสารหนี้ไทยยังมีสภาพคล่องสูง
Fund Comment เมษายน 2561 มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้เคลื่อนไหวผันผวนมาก โดยในช่วงแรกๆ ต่อเนื่องจากเดือนมีนาคมจนถึงกลางเดือนเมษายน จะมีปัจจัยเรื่องความกังวลด้านการทำสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนหลังจากที่ทั้งสองประเทศต่างประกาศปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าตอบโต้กันไปมา (Trade war) และสถานการณ์ความไม่สงบในซีเรีย ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐปรับลดลงจากการที่นักลงทุนเข้ามาถือครองสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ประเด็น Trade war และความตึงเครียดในตะวันออกกลางผ่อนคลายลง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาดี และมีการเปิดเผยว่าประธานาธิบดีทรัมป์ ได้แต่งตั้งให้นาย Richard Clarida เป็น Federal Reserve ซึ่งตลาดมีความเห็นว่านาย Richard Clarida เป็นสาย Hawkish ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น รวมทั้งมีความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ อันเป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และตัวเลขยอดค้าปลีกที่ปรับตัวขึ้น ประกอบกับการกู้ยืมเพิ่มขึ้นของรัฐบาลสหรัฐฯ จากการขาดดุลงบประมาณ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรุ่นอายุ 10 ปี พุ่งทะลุระดับจิตวิทยาของนักลงทุนที่ 3% ถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2014 ขณะที่รุ่นอายุ 2 […]