Fund Comment เมษายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนเมษายน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-8 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 9-18 bps. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 29 มีนาคม 2566 เป็นผลจากท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ส่งสัญญาณโทน Hawkish ทำให้ตลาดเพิ่มน้ำหนักโอกาสที่จะเห็นการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 2.00% โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งถัดไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. 2566 ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 3 พ.ค. มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps สู่ระดับ 5.00-5.25% ตามคาด ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐอเมริกาที่กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง รวมถึงปัญหาเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ที่สหรัฐฯ อาจเผชิญการผิดนัดชำระหนี้ภายในวันที่ 1 มิ.ย. นี้ โดยเฟดยังคงเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2 ในระยะยาว ทำให้สัญญาณที่ส่งออกมาไม่ชัดเจนว่า ครั้งนี้จะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายหรือไม่ […]
Fund Comment มีนาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น
ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนมากในระหว่างเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ด้วยแรงขายหนักในธุรกิจภาคการเงินทั่วโลก โดยมีจุดเริ่มต้นจากการล่มสลายของธนาคารในสหรัฐฯ 3 แห่งภายในเวลาไม่กี่วัน หนึ่งในนั้น คือ ธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์มากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต้นเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องทำให้ตราสารหนี้ที่ธนาคารไปลงทุนมีการขาดทุนทางบัญชีขึ้น และทำให้ผู้ฝากเงินขาดความเชื่อมั่นจนเกิดการแห่ถอนเงิน ตามมาด้วยความกังวลต่อเสถียรภาพของธนาคารเครดิตสวิส แต่หลังจากที่ทางการสหรัฐฯ ได้เข้ามาสร้างความเชื่อมั่นด้วยการรับประกันเงินฝากของธนาคารที่มีปัญหา และธนาคาร UBS ได้เข้าควบรวมกิจการของเครดิตสวิส ทำให้ความกังวลของนักลงทุนจากประเด็นเหล่านี้บรรเทาลงไป และราคาหุ้นสามารถฟื้นกลับขึ้นมาได้ หลังจากเหตุการณ์นี้ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ตระหนักถึงผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยที่มีต่อสถาบันการเงิน ทั้งในด้านความเสี่ยงด้านความเชื่อมั่นต่อสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น และความเข้มงวดมากขึ้นต่อการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะกดดันภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและการบริการของเดือนมีนาคมที่ออกมาต่ำกว่าคาด ล้วนทำให้ความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีมากขึ้น ส่งผลต่อมุมมองของตลาดว่า การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดน่าจะใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว นอกจากนี้ หลังการเปิดประเทศ เศรษฐกิจของจีนนั้นก็ไม่สามารถฟื้นตัวได้เร็วอย่างที่นักลงทุนคาดหวัง ดังนั้น ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจโลกจึงเป็นปัจจัยหลักที่ต้องจับตามากขึ้น ในเดือนมีนาคม SET Index ปรับตัวลดลง 0.81% โดยลงไปต่ำสุดมากกว่า -6% […]
Fund Comment มีนาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนมีนาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้น 1-5 bps. จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับตัวลดลง 10-27 bps. ตามการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย เดือนมีนาคม มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps จาก 1.50% เป็น 1.75% เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อพยายามสกัดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสููงในรอบหลายปี โดยมองเศรษฐกิจโดยภาพรวมขยายตัวจากการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชนและการฟื้นตัวของการส่งออก นอกจากนี้ เดือนมีนาคมมีประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้น 50 bps สู่ระดับ 3.0% ตามการคาดการณ์ของตลาด ท่ามกลางเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงยาวนาน แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยต่อจากนี้ ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นเสถียรภาพในภาคสถาบันการเงิน เช่น ประเด็น SVB และ Credit Suisse ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) […]
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น
ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นโลกโดยรวมเคลื่อนไหวในเชิงลบในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้วยความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค โดยตลาดสหรัฐฯ เป็นช่วงของการย่อตัว หลังจากปรับตัวขึ้นมาในช่วงเดือนก่อนหน้า เนื่องจากความกังวลเรื่องการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ FED กลับมาอีกครั้ง ซึ่งทำให้ตลาดคาดว่า กรอบบนของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะขยับขึ้นไปอยู่ 5.25-5.5% (บางแห่งคาดการณ์สูงกว่านั้น) ขณะที่ ตลาดหุ้นจีนนั้นเป็นการย่อตัวเช่นกัน หลังตลาดรับข่าวการเปิดประเทศไปค่อนข้างเร็ว แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจจีนจะออกมาค่อนข้างดีก็ตาม ทั้งนี้ คาดว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งมี Valuation ค่อนข้างตึงตัวสำหรับคาดการณ์ผลประกอบการของปี 2023 น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เพื่อรอผลการประชุม FOMC ในวันที่ 15-16 มีนาคม นี้ อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่า ตลาดได้ทยอยสะท้อนความกังวลด้านปัจจัยอัตราดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาไปพอสมควรแล้ว และไม่น่าจะเพิ่มความกังวลมากจนเกิดความผันผวนรุนแรงด้านเชิงลบจากการประชุมในครั้งนี้ ส่วนตลาดหุ้นจีน แม้การประชุมสมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ล่าสุด แม้จะไม่ได้มีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจมากเท่าที่ตลาดคาด แต่เชื่อว่า การทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนก็น่าจะช่วยให้ตลาดหุ้นจีนน่าจะยืนระดับดัชนีได้ ดังนั้น โดยภาพรวมของตลาดหุ้นต่างประเทศไม่น่าจะส่งผลลบต่อหุ้นไทยมากนักในอนาคตระยะสั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ SET Index ปรับตัวลดลง 2.94% โดยหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงตามตัวเลขผลประกอบการไตรมาส […]
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนมกราคมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะตราสารหนี้ช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้น 10-15 bps. จากกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เริ่มไหลออก และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย เดือนมกราคม มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps จาก 1.25% เป็น 1.50% เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อพยายามสกัดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงในรอบหลายปี โดยในเดือนกุมภาพันธ์มีประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps สู่ระดับ 4.50-4.75% เป็นการชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยหลังจากที่ได้ปรับขึ้นในอัตรา 50 bps ในการประชุมครั้งก่อนและในอัตรา 75 bps ในการประชุม 4 ครั้งก่อนหน้า โดยยังคงย้ำว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมมีความเหมาะสม เพื่อให้อยู่ในระดับที่จำกัดเศรษฐกิจเพียงพอในการนำพาเงินเฟ้อให้ชะลอกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% โดยแนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot plot บ่งชี้ว่า […]
Fund Comment มกราคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนมกราคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นถึงระยะกลางปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตราสารหนี้ช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้น 21-43 bps. จากกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เริ่มไหลออก และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลงตามการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps จาก 1.25% เป็น 1.50% เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อพยายามสกัดเงินเฟ้อที่่เพิ่่มขึ้้นสููงในรอบหลายปี โดยในเดือนมกราคมมีการประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps สู่ระดับ 4.50-4.75% เป็นการชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยหลังจากที่ได้ปรับขึ้นในอัตรา 50 bps ในการประชุมครั้งก่อนและในอัตรา 75 bps ในการประชุม 4 ครั้งก่อนหน้า โดยยังคงย้ำว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมมีความเหมาะสม เพื่อให้อยู่ในระดับที่จำกัดเศรษฐกิจเพียงพอในการนำพาเงินเฟ้อให้ชะลอกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% โดยแนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot plot บ่งชี้ว่า Fed […]
Fund Comment มกราคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นแนวโน้มต่อเนื่องจากปลายปีที่แล้ว ทั้งในส่วนของตลาดสหรัฐฯ ยุโรป และจีน ด้วยความคาดหวังว่า การขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ นั้นใกล้จะสิ้นสุดลง และการเปิดประเทศเร็วกว่าคาดของจีนจะเป็นแรงช่วยสนับสนุนต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งการประชุม FOMC ล่าสุดในวันที่ 31 มกราคม ถึง 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% นั้นเป็นไปตามที่ตลาดคาด ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีสัญญาณที่ดีและไม่ดีปะปนกัน โดยในภาคการจ้างงานนั้น นับว่าค่อนข้างดี ขณะที่ ดัชนีชี้วัดทางด้านธุรกิจภาคอุตสาหกรรมยังหดตัวลงมากกว่าคาด ทำให้ความกังวลของนักลงทุนต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ นั้นยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป ทั้งนี้ Valuation ของหุ้นในตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ อาจจะมีความตึงตัวไปบ้าง โดยเฉพาะธุรกิจที่ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่ธุรกิจด้านเทคโนโลยีนั้น แม้ราคาจะนับว่าไม่แพง แต่ด้วยผลประกอบการล่าสุด พบว่า หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีหลายตัวมีสัญญาณการชะลอตัวมากขึ้นของรายได้ ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อการประเมินมูลค่าในอนาคต ส่วนหุ้นจีนที่ปรับตัวขึ้นมาเร็วก็อาจจะมีการถูกขายทำกำไรบ้าง เนื่องจากราคาหุ้นสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเร็วเกินไป ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจจะทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดต่างประเทศไม่ได้เป็นผลบวกต่อตลาดหุ้นไทยได้ในระยะสั้น สำหรับตลาดหุ้นไทย แม้จะไม่ได้ปรับตัวขึ้นมากนักตั้งแต่ต้นปีนี้ ด้วย Valuation ที่ตึงตัวไปบ้างในบางธุรกิจที่เกี่ยวกับการเปิดประเทศซึ่งราคาหุ้นขึ้นมาสะท้อนความคาดหวังไปแล้วในช่วงก่อนหน้า […]
Fund Comment ธันวาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น
ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่มีการย่อตัวในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยหลังจากการประชุม FOMC ในวันที่ 13-14 ธันวาคม ซึ่ง Fed มีท่าทีในการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง แม้จะมีมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ลดลง ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่า การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ในปี 2023 ซึ่ง US 10 years bond yield พลิกกลับไปสูงขึ้นจาก 3.45% เป็น 3.80% และทำให้ดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลง 5.9% ในเดือนธันวาคม ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เริ่มเปลี่ยนมาตอบสนองเชิงลบต่อตัวเลขเศรษฐกิจที่เติบโตน้อยกว่าคาด (แต่เดิมจะตอบสนองด้านบวก เพราะคาดว่า การชะลอตัวจะทำให้ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย) ถึงตัวเลขเงินเฟ้อจะผ่านจุดจูงสุดไปแล้วและมีสัญญาณลดลง ซึ่งลดแรงกดดันด้านต้นทุนของบริษัทจดทะเบียนลง แต่ดัชนีทางเศรษฐกิจ PMI ต่างๆ ล่าสุดของสหรัฐฯ และยุโรปนั้นแสดงการชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนหันมาเพิ่มความกังวลกับแนวโน้มรายได้ของบริษัทในปี 2023 […]
Fund Comment ธันวาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนธันวาคมปรับลดลง ทั้ง curve ประมาณ 4-35 bps โดยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปีปรับลดลงประมาณ 4-14 bps จากกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาช่วงสิ้นปี ทั้งนี้ หากมองภาพรวมทั้งปี พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้น 41-98 bps โดยช่วงอายุที่ปรับเพิ่มมากที่สุด คือ รุ่น 2 ปี ซึ่งเหตุผลหลักมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ตลอดทั้งปี 2022 คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย มีมติทยอยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งสิ้น 75 bps จาก 0.50% เป็น 1.25% เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อพยายามสกัดเงินเฟ้อที่่เพิ่่มขึ้้นสููงในรอบหลายปี โดยในเดือนธันวาคม มีการประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 50 bps สู่ระดับ 4.25-4.50% ตามการคาดการณ์เป็นวงกว้างของตลาด นับเป็นการชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยหลังจากที่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 75 […]
Fund Comment
Fund Comment พฤษภาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนพฤษภาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นในแทบทุกช่วงอายุ โดยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 19-25 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 1-16 bps. เป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามความคาดการณ์ของตลาดที่มองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขยับขึ้นสู่ระดับ 2.00% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. 2566 วันที่ 31 พ.ค. 2566 กนง. ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps เป็น 2.00% ต่อปี ตามที่ตลาดคาด และมองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ การส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ประเมินเศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 3.6% และ 3.8% ในปี 2023 และ 2024 สำหรับเงินเฟ้อมองว่า แม้มีแนวโน้มปรับลดลงในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทรงตัวอยู่ที่ […]