Fund Comment กันยายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนในเดือนกันยายน ดัชนี MSCI World Index ปรับตัวลดลง 4.3% นำโดยตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและยุโรป จากการขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงของนักลงทุนต่อภาวะเงินเฟ้อที่สูงและการลดความผ่อนคลายของนโยบายการเงินของ Fed โดยในการประชุมเดือนกันยายน คณะกรรมการ Fed ได้มีการปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อและคาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วขึ้นเล็กน้อย และส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นในการเริ่มทำ QE Taper ในการประชุมครั้งถัดไป ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯปรับตัวขึ้นจากก่อนการประชุมที่ 1.3% มาอยู่ที่ราว 1.5% ในช่วงปลายเดือน ซึ่งส่งผลต่อการประเมินระดับ Valuation โดยเฉพาะสำหรับหุ้นเติบโตสูง ขณะเดียวกัน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้สะท้อนผ่านต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นของบริษัทในหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดยังทรงตัวในระดับสูงเพราะยังไม่สามารถเพิ่ม Supply ได้ในระยะเวลาอันสั้น และปัญหา Supply Chain ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง แม้จะมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ก็ยังใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อน่าจะยังคงกดดันผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไปอีกระยะหนึ่ง ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัว แต่เป็นอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นของ COVID-19 แม้ว่าหลายประเทศจะมีการแจกจ่ายวัคซีนให้ประชากรจำนวนมากแล้วก็ตาม โดยดัชนี Composite PMI ของสหรัฐฯและยุโรปนั้นปรับตัวลดลงมากกว่าคาด และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ (US […]
Fund Comment สิงหาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ส.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นจนถึงพันธบัตรอายุไม่เกิน 6 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -8 ถึง +1 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 7 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่เกิน +5 bps โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทย ได้แก่ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ส.ค. มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 4 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% โดยมีกรรมการ 2 เสียงเสนอให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ทำให้นักลงทุนบางส่วนคาดว่า กนง. อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป จึงมีแรงซื้อในพันธบัตรระยะสั้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลง อย่างไรก็ตาม จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันที่มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ส.ค. และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น รวมถึง ธปท. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากโควิด-19 เพิ่มเติม ซึ่งเป็นการเน้นย้ำการดำเนินนโยบายการเงินที่มุ่งเน้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ ธปท. […]
Fund Comment สิงหาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนระหว่างเดือน ปิดปรับเพิ่มขึ้น 2.9% นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ โดยการประชุมที่ Jackson Hole ประธาน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ส่งสัญญาณที่ Dovish ต่อตลาด โดยยังคงมุมมองต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้น และมองว่าการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเร็วเกินไป จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในภาพรวม Fed อาจเริ่มการทำ QE Taper ในปีนี้ แต่ยังคงขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจที่จะออกมาในระยะข้างหน้า และการทำ QE Taper จะไม่เชื่อมโยงกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในอนาคต การสื่อสารอย่างต่อเนื่องของ Fed และท่าทีที่ยังไม่เข้มงวดมากขึ้นเร็วนั้น ทำให้ตลาดการเงินได้ซึมซับข้อมูลและปรับคาดการณ์ ส่งผลให้ตลาดการเงินไม่เกิดภาวะผันผวนสูง กอปรกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวลดลงแรงในเดือนก่อนหน้านั้น สะท้อนถึงสภาพคล่องในตลาดการเงินที่สูงและช่วยสนับสนุนตลาดหุ้นโลกในเชิง Valuation ได้ ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงอยู่ในโมเมนตัมของการฟื้นตัว นำโดยเศรษฐกิจยูโรโซนที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง ผ่านดัชนี PMI ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงสุดในรอบหลายปี หนุนโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอุปสงค์ที่ดีหลังการผ่านคลายมาตรการ ด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น […]
Fund Comment กรกฎาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่เกิน +2 bps. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลงในช่วง -1 ถึง -29 bps. โดยเป็นการปรับลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ เป็นหลัก ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 สายพันธุ์ Delta รวมถึงการลดลงของราคาน้ำมันดิบซึ่งทำให้ความกังวลด้านเงินเฟ้อผ่อนคลายลง ด้านปัจจัยในประเทศ นักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า จากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ปริมาณวัคซีนและอัตราเร่งในการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนในการรับมือกับไวรัสสายพันธุ์ Delta และมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำนานกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ด้านสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประกาศแผนการก่อหนี้เพิ่มเติมสำหรับปีงบประมาณนี้ จำนวน 1.50 แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้จะเป็นการก่อหนี้โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล (Loan bond) จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ทำให้มูลค่าการออกพันธบัตรในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 1.81 แสนล้านบาท เป็น […]
Fund Comment กรกฎาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวนในเดือนกรกฎาคม ปิดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.6% โดยตลาดการเงินยังคงถูกกดดันอยู่จากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่เริ่มส่งสัญญาณนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเล็กน้อย จากการประชุม FOMC เมื่อกลางเดือนมิถุนายน ผ่าน Dot Plot ที่บ่งชี้ว่าดอกเบี้ยจะมีการปรับขึ้นถึง 2 ครั้งในปี 2023 อย่างไรก็ดี ภาพรวมตลาดหุ้นโลกยังคงระดับอยู่ได้ จากการที่ตลาดมีการสับเปลี่ยนกลุ่มหุ้นลงทุน โดยหลังจากการประชุมครั้งดังกล่าวจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม กลุ่มอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวได้ดีกว่าตลาดในดัชนี S&P500 ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสื่อสาร และกลุ่มการแพทย์ ขณะที่มีการปรับลดลงในหุ้น กลุ่มพลังงานและสาณารณูปโภค และกลุ่มการเงิน เป็นต้น ด้านปัจจัยจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงอยู่ในโมเมนตัมการฟื้นตัวที่ดี ผ่านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและยูโรโซนที่ขยายตัวสูงจากฐานต่ำและยังคงเติบโตต่อเมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่ง และดัชนี PMI ของยูโรโซนที่อยู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี หนุนโดยการแจกจ่ายวัคซีนในวงกว้างที่ทำให้สามารถเปิดกิจกรรมเศรษฐกิจได้เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ ประเด็นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ที่เริ่มทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับมาปรับเพิ่มขึ้นนั้น ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม ว่าจะสามารถควบคุมให้ไม่กลับมามีผู้ติดเชื้อรายวันสูงได้หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปิดเศรษฐกิจและการเดินทางที่มากขึ้นต่อไป ปัจจัยที่จะขับเคลื่อนตลาดหุ้นในช่วงนี้ จะอยู่ที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการเป็นสำคัญ หลังแรงส่งจากมาตรการทางการคลัง ที่สนับสนุนภาคการบริโภคของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมานั้น เริ่มหมดลง […]
Fund Comment มิถุนายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนระหว่างเดือนมิ.ย. ปิดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.2% นำโดยตลาดสหรัฐฯ ทั้ง S&P 500 และ Nasdaq ที่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ และตลาดยุโรปทำจุดสูงสุดใหม่ในระหว่างเดือน ปัจจัยที่ตลาดจับตามองในเดือนนี้คือ ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาพของการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจากผลการประชุม Fed แม้ว่าจะยังคงมุมมองการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้น แต่ Dot Plot ชี้ว่า ดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ นำมาซึ่งความกังวลต่อการลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ (QE Tapering) ของ Fed ที่อาจจะเร็วขึ้น ส่งผลให้กดดันบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงตลาดทองคำ แต่ขณะเดียวกัน นักลงทุนกลับเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่ม High growth ซึ่งราคาปรับลดลงมาก ซึ่งสะท้อนความกังวลของ Bond yield ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปมากแล้ว ปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นในครึ่งปีหลังจึงอยู่ที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการเป็นสำคัญ หลังนโยบายการเงินและการคลังของประเทศหลัก เริ่มส่งผลเชิงบวกลดลง ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เร็วกว่าคาด ขณะที่อุปทานสินค้าบางกลุ่มมีไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ […]
Fund Comment มิถุนายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน มิ.ย. 2564 มีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าตั้งแต่ช่วงอายุคงเหลือ 2 ปีขึ้นไป และปรับตัวลดลงค่อนข้างมากถึง -13 ถึง -22 bpsในช่วงอายุคงเหลือ 4-9 ปี โดยมีปัจจัยหลักจากการที่ทิศทางเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า และยังไม่มีการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ประกอบกับสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนระยะสั้นจะยังคงอยู่ในระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง นักลงทุนจึงมีการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วง 4-5 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าช่วง 3 ปีค่อนข้างมาก และมีการไล่ซื้อไปจนถึงช่วงอายุ 9 ปี ขณะที่พันธบัตรอายุ 10 ปี ซึ่งมีความสัมพันธ์ด้านอัตราผลตอบแทนกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก มีความต้องการซื้อน้อยกว่าช่วงอายุก่อนหน้า เนื่องจากตลาดยังติดตามสัญญาณการสิ้นสุดการใช้นโยบายการเงินและผ่อนคลายของ Fed ในปี 2022 และยังคงแนวโน้มการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี อยู่ที่ระดับ 1.78% ปรับลดลง 7 bps ณ สิ้นเดือน มิ.ย. แนวโน้มของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ถึงแม้ในระยะยาวจะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น […]
Fund Comment พฤษภาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปิดทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 1.4% โดยปรับตัวลงก่อนในครึ่งเดือนแรก ก่อนที่จะปรับฟื้นขึ้นในมาช่วงครึ่งหลังของเดือน โดยปัจจัยที่กดดันการลงทุนในเดือนนี้มาจาก ความกังวลต่อเงินเฟ้อของสหรัฐฯ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับสูงขึ้นเป็น 4.2% YoY ส่วนหนึ่งมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี หากเทียบเป็นเดือนต่อเดือน ถือว่าเร่งตัวขึ้นเป็น 0.8% MoM จาก 0.6% MoM ในเดือนก่อนหน้า ผลจากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความกังวลว่า Fed อาจจะปรับลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินเร็วกว่าที่คาดการณ์ อย่างไรก็ดี Bond Yield ของสหรัฐฯปรับทรงตัวในเดือนนี้ สะท้อนว่า ตลาดได้รับรู้ ประเด็นเงินเฟ้อ และความกังวลต่อการลดการอัดฉีดสภาพคล่องไปบ้างแล้ว ส่วนปัจจัยบวกต่อตลาด ยังคงหนุนด้วยการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก นำโดยดัชนี ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ ที่ 61.2 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ Composite PMI ของสหรัฐฯ ที่ 68.1 […]
Fund Comment พฤษภาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน พ.ค. 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ในช่วง -1 ถึง +6 bps โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือน อัตราผลตอบแทนโดยรวมมีทิศทางปรับลดลงตามการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ ที่ถึงแม้จะยังมีความกังวลด้านการปรับเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อและการปรับลดปริมาณการซื้อพันธบัตรของ Fed แต่ตลาดเริ่มจะตอบรับแนวโน้มดังกล่าวไปค่อนข้างมากแล้ว โดยตั้งแต่ต้นปี 2564 อัตราผลตอบแทน UST10Y ปรับเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 70 bps ตลาดจึงคาดการณ์ว่าการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ต่อจากนี้จะเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป จึงมีการกลับเข้ามาซื้อพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้ไทยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดที่สำคัญในช่วงครึ่งหลังของเดือน จากการประกาศ พรก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของ COVID-19 เพิ่มเติม วงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท (เบื้องต้นวงเงินไม่เกิน 700,000 ล้านบาท ตามที่ประกาศในวันที่ 18 พ.ค.) ทำให้ตลาดมีความกังวลถึงการกู้เงินผ่านเครื่องมือทางการเงินต่างๆ รวมถึงการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพคล่องและราคาตราสารหนี้ จึงมีการขายพันธบัตรระยะยาวออกมา แนวโน้มของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ถึงแม้ในระยะยาวจะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น จากสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายด้าน เช่น Manufacturing & […]
Fund Comment
Fund Comment กันยายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับเพิ่มขึ้นแรงในทุกช่วงอายุ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น +4 ถึง +8 bps และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุมากกว่า 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น +10 ถึง +37 bps ปัจจัยหลักเป็นผลมาจากแนวโน้มปริมาณการออกพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประกาศปริมาณการออกพันธบัตร (Loan Bond) สำหรับปีงบประมาณ 2565 อยู่ที่ 1.1-1.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2564 ซึ่งอยู่ที่ 8.46 แสนล้านบาท ประกอบกับคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังมีมติเห็นชอบให้ปรับกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Public Debt to GDP) เพิ่มขึ้นเป็น 70% จากเดิมที่ 60% ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้รัฐบาลสามารถกู้เงินได้เพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นอย่างชัดเจนในการประชุมเดือน ก.ย. […]