การทำนายเศรษฐกิจจีนและอินเดียในอนาคต
PricewaterhouseCoopers (PwC) ได้เขียนรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ภายในปี 2050 อินเดียจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าสหรัฐเมื่อวัดตามความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity) ความเสมอภาคของอำนาจซื้อจะสะท้อนว่าประเทศนั้นๆ ได้ผลิตสินค้าและบริการรวมกันมากน้อยแค่ไหน หากใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ (หรือง่ายๆ คือ สมมุติราคาสินค้าให้เท่ากับในสหรัฐอเมริกา) ปรากฎว่า จีนแซงหน้าสหรัฐเรียบร้อยแล้วในปี 2016 เมื่อเทียบขนาดเศรษฐกิจของจีนกับสหรัฐตามความเสมอภาคของอำนาจซื้อ โดยที่จีนมีขนาดเศรษฐกิจ 21.26 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ตามมาด้วยสหรัฐที่ 18.56ล้านล้านเหรียญดอลล่าห์สหรัฐ อินเดียที่ 8.7 ล้านล้านเหรียญดอลล่าห์สหรัฐ ญี่ปุ่นที่ 4.9 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เยอรมันนีที่ 3.9 ล้านล้านเหรียญดอลล่าห์สหรัฐ รัสเซียที่ 3.7 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ บราซิลที่ 3.1 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ อินโดเนเซียที่ 3.0 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ อังกฤษที่ 2.7 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ และฝรั่งเศสที่ 2.7 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ PwC […]
เปลี่ยนผ่านสู่ยุค “พลังงานสะอาด”
ในยุคนี้ธุรกิจพลังงานกำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่าน พลังงานสะอาด (Green Energy) ทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ เข้ามาทดแทนพลังงานแบบเก่าที่ผลิตด้วยพลังงานความร้อน จนกลายเป็นพลังงานกระแสหลักมากขึ้นทุกวัน รูปแบบและการบริโภคพลังงานในอนาคตอีกไม่ไกลย่อมจะต้องแตกต่างไปจากวันนี้อย่างแน่นอน ความเปลี่ยนแปลงเริ่มปรากฎชัดขึ้นในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งแต่ละปีจะมีเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในปี 2015 ได้ขยายกำลังผลิตไปแล้วถึง 118 กิกะวัตต์ จากปีก่อนหน้าที่มีกำลังผลิตราว 94 กิกะวัตต์ แต่หากพิจารณาเงินลงทุนที่ใช้สร้างโรงไฟฟ้าทั้งสองประเภทกลับกลายเป็นตรงกันข้าม โดยในปี 2015 ใช้ไป 1.99 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเพียง 6% เท่านั้น สะท้อนถึงแนวโน้มต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำลง โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ลดลงจาก 300 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ในปี 2010 เหลือเพียง 120 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ในปี 2015 (ค่าเฉลี่ยทั่วโลก) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ต้นทุนผลิตในบางประเทศต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก เช่นในอินเดียเมื่อปี 2016 มีโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ชนะประมูลรับสัมปทานจากรัฐ โดยเสนอราคาขายไฟเพียง 64 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง (ประมาณยูนิตละ […]