Economic Update Inflation Thailand
Economic Update: อัตราเงินเฟ้อของไทยขยายตัว 0.88% YoY เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนก่อนที่ 0.38%
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM อัตราเงินเฟ้อของไทยขยายตัว 0.88% YoY เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนก่อนที่ 0.38% และเมื่อเทียบรายเดือนอัตราเงินเฟ้อพลิกกลับมาเป็นบวกได้ที่ 0.55% MoM จากเดือนก่อนที่หดตัว เป็นผลจากปรับเพิ่มขึ้นของหมวดอาหาร (ขยายตัว 0.74% YoY) เป็นหลัก นำโดย ข้าว ไข่และผลิตภัณฑ์นม (ไข่ไก่ นมสด นมถั่วเหลือง) ผักและผลไม้สด (มะนาว ขิง กระเทียม เงาะ แตงโม ส้มเขียวหวาน) เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่วนราคาหมูยังคงปรับตัวลงในเดือน ส.ค. เนื่องด้วยมีเนื้อหมูจากเพื่อนบ้านทะลักเข้ามาในไทย ส่วนกลุ่มราคาสินค้าในหมวดที่ไม่ใช่อาหารปรับตัวขึ้น 0.98% YoY จากกลุ่มเคหสถาน และ ค่าของใช้ส่วนบุคคล ส่วนอัตราเงินเฟ้อ YTD อยู่ที่ 2.0% AoA ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัว […]
“เงินเฟ้ออังกฤษ” แตะระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 40 ปีที่ 10.1% เหตุราคาอาหาร-พลังงานพุ่งต่อเนื่อง
สำนักข่าว CNBC รายงานเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ว่า อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การบีบตัวของครัวเรือนในประเทศรุนแรงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 10.1% ต่อปี ตามการประมาณการที่เผยแพร่โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อวันพุธ เหนือการคาดการณ์ฉันทามติของรอยเตอร์ที่ 9.8% และเพิ่มขึ้นจาก 9.4% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งแสดงถึงการขยับขึ้น 0.9% ต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากระดับ 0.8% ในเดือนมิถุนายน และก่อนหน้าที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.6% แต่ยังคงเพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนเมษายน ONS กล่าวในรายงานว่า ราคาอาหารที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อประจำปีสูงขึ้นมากที่สุดระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม และย้ำว่าแบบจำลองคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภค ”แนะนำว่าอัตรา CPI จะสูงขึ้นในช่วงปี 1982 โดยที่ค่าประมาณอยู่ในช่วงตั้งแต่เกือบ 11% ในเดือนมกราคมลงไปที่ประมาณ 6.5% ในเดือนธันวาคม” ธนาคารกลางอังกฤษได้ดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 6 ครั้ง เนื่องจากดูเหมือนว่าจะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และเมื่อต้นเดือนนี้ได้เปิดตัวการขึ้นครั้งเดียวครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี […]
เงินเฟ้อไทยเดือนเม.ย. เร่งตัวขึ้นมาอยู่เหนือ 1%
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทย (CPI) เดือน เม.ย. 2018 เพิ่มขึ้น 1.07% YoY ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน สาเหตุหลักมาจากการเร่งตัวขึ้นของราคาพลังงาน ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงกลุ่มอาหารสด กระทรวงพาณิชย์ได้ประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2018 ไว้ที่ 0.7-1.7% YoY เงินเฟ้อทั่วไปของไทย (Headline Inflation) ในเดือน เม.ย. 2018 ขยายตัวสูงถึง 1.07% YoY โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน และเป็นการปรับขึ้นมาเหนือ 1.0% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.พ. ปีที่แล้ว ทำให้เข้ามาอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 1.0%-4.0% สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าพลังงานที่ +4.7% และราคาน้ำมันขายปลีกเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น +3.9% ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของกลุ่มอาหารสด +0.5% เนื่องจากสภาพอาการที่แปรปรวนส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายโดยเฉพาะผักสด กระทรวงพาณิชย์ประมาณการอัตราเงินเฟ้อปี 2018 ในกรอบ 0.7-1.7%YoY […]
เฟดสาขานิวยอร์ก มองเงินเฟ้อสหรัฐเดือน ม.ค.ปรับลดลง
ผลการสำรวจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก ระบุว่า ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐได้ปรับตัวลงในเดือนที่แล้ว หลังจากที่ดีดตัวขึ้นในช่วงสิ้นปีที่แล้ว ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า ค่าเฉลี่ยตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคในช่วง 1 ปีข้างหน้าได้ลดลงสู่ระดับ 2.71% ในเดือนม.ค. จากระดับ 2.82% ในเดือนธ.ค. ส่วนค่าเฉลี่ยตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในช่วง 3 ปีข้างหน้า ลดลงสู่ 2.79% ในเดือนม.ค. จาก 2.89% ในเดือนธ.ค. ขณะที่ค่าเฉลี่ยตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อระยะ 1 ปี และ 3 ปีได้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายเดือนในเดือนธ.ค. เฟดเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อดังกล่าว ก่อนที่จะมีการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในสัปดาห์นี้
เงินเฟ้อฟิลิปปินส์ทะยาน สู่อัตราสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ของฟิลิปปินส์ เร่งตัวขึ้นเป็น 4.0% YoY ในเดือน เทียบกับ 3.3% YoY ของเดือน ธ.ค. เหนือจากที่ตลาดคาดไว้ 3.5% YoY มาก และนับเป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่ ต.ค. 2014 ราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ไต่ขึ้น 4.5% YoY ระหว่างที่ราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่พุ่งขึ้น 12.3% YoY นอกจากนั้น เงินเฟ้อภาคที่อยู่อาศัย บริการทางการแพทย์ การขนส่ง และร้านอาหารล้วนปรับตัวขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ซึ่งไม่รวมสินค้าหมวดอาหารและเชื้อเพลิง อยู่ที่ 3.9% YoY ในเดือน ม.ค. แรงที่สุดในรอบ 5 ปี ภาษีดันเงินเฟ้อ: แนวโน้มของเงินเฟ้อดังกล่าว เป็นผลมาจากมาตรการปฏิรูปภาษีระลอกแรก (TRAIN) ของรัฐบาล Rodrigo Duterte […]