เยนอ่อนค่าหนักสุดในรอบ 38 ปีที่ 1 ดอลล์ต่อ 160 เยน คาด BOJ เข้าแทรกแซงเร็วๆ นี้

เยนอ่อนค่าหนักสุดในรอบ 38 ปีที่ 1 ดอลล์ต่อ 160 เยน คาด BOJ เข้าแทรกแซงเร็วๆ นี้

อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนเคลื่อนไหวในตลาดเอเชียที่ 160.45 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ช่วงเช้าวันนี้ (27 มิ.ย.) เป็นการแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจาก 160.88 เยนต่อดอลลาร์ เมื่อคืนวันพุธ (26 มิ.ย.) ซึ่งถือเป็นระดับที่เงินเยนอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 38 ปี รายงานข่าว ระบุว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2567 มานี้ เงินเยนอ่อนค่า ลงมาแล้วถึง 12% เมื่อเทียบกับ เงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการที่เยนหลุดแนวรับที่ 160 เยนต่อดอลลาร์ ทำให้ตลาดคาดว่า รัฐบาลญี่ปุ่น จะแทรกแซงด้วยการเข้าซื้อเยน หลังจากที่เคยใช้เงิน 9.8 ล้านล้านเยน หรือราว 2.26 ล้านล้านบาท แทรกแซงเมื่อปลายเดือนเมษายนและต้นเดือนพฤษภาคมปีนี้ ในช่วงที่เงินเยนออนค่าที่สุดในรอบ 34 ปีที่ 160.245 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ครั้งนั้นถือเป็นการแทรกแซงตลาดครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2565 นายโยชิมาสะ ฮายาชิ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น แถลงในวันนี้ว่า รัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมกับความเคลื่อนไหวด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่มากเกินไป แต่ยังสามารถระบุชัดว่า รัฐบาลจะเข้าแทรกแชงตลาดหรือไม่  ขณะที่ นายชุนอิจิ ซูซูกิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นแสดงความกังวลต่อเรื่องนี้โดยระบุว่า […]

ผลสำรวจชี้บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องขึ้นกำแพงภาษีสินค้าจีนตามสหรัฐฯ

ผลสำรวจชี้บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องขึ้นกำแพงภาษีสินค้าจีนตามสหรัฐฯ

ผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่เผยแพร่ในวันนี้ (20 มิ.ย.) พบว่า บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลไม่จำเป็นต้องขึ้นกำแพงภาษีสินค้านำเข้าจากจีนตามสหรัฐฯ โดยระบุว่ากำลังการผลิตที่มากเกินไปในภาคอุตสาหกรรมของจีนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพวกเขา เมื่อเดือนที่แล้ว ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนหลายรายการ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และเซมิคอนดักเตอร์ โดยวิจารณ์รัฐบาลจีนว่า ให้เงินอุดหนุนมากเกินไป และมีนโยบายที่ทำให้สินค้าราคาถูกทะลักเข้าสู่ตลาดโลก ในทำนองเดียวกัน สหภาพยุโรป (EU) ก็ยังได้เรียกเก็บภาษีนำเข้ารถ EV จีนเป็นจำนวนมาก และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก G7 ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น ได้สะท้อนความกังวลเกี่ยวกับการที่จีนใช้ “แนวทางการปฏิบัติอย่างไม่สอดคล้องกับระบบตลาด” (non-market practices) แต่ 61% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 5-14 มิ.ย. กล่าวว่า ญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องดำเนินมาตรการแบบเดียวกันนี้ และประมาณ 53% กล่าวว่า กำลังการผลิตที่มากเกินไปของจีนมีผลกระทบต่อธุรกิจของพวกเขาเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย “มันอาจนำไปสู่การยกระดับมาตรการและการตอบโต้กันไปมา และสภาพเศรษฐกิจจะแย่ลง” ผู้จัดการบริษัทเคมีรายหนึ่งเขียนไว้ในส่วนความคิดเห็นของแบบสำรวจ อนึ่ง แบบสำรวจบริษัท 492 แห่งนี้ จัดทำโดยนิกเกอิ […]

ผลสำรวจชี้ผู้ผลิตในญี่ปุ่นต้องการให้ BOJ รักษาค่าเงินเยนให้มีเสถียรภาพ

ผลสำรวจชี้ผู้ผลิตในญี่ปุ่นต้องการให้ BOJ รักษาค่าเงินเยนให้มีเสถียรภาพ

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยผลการสำรวจในวันนี้ (20 พ.ค.) ว่า กลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่นมองว่า เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่พวกเขาต้องการจากนโยบายการเงินของ BOJ รายงาน ระบุว่า บริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจประมาณ 70% ระบุว่า พวกเขาเผชิญปัญหาจากการผ่อนคลายทางการเงินที่ยาวนาน 25 ปีของ BOJ ซึ่งรวมถึงเงินเยนที่อ่อนค่าลง อันส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี บริษัทประมาณ 90% ของบริษัททั้งหมดในแบบสำรวจฉบับดังกล่าวเล็งเห็นผลประโยชน์จากการใช้นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายของ BOJ ซึ่งรวมถึงต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำ บริษัทในผลสำรวจหลายแห่ง ระบุว่า พวกเขาไม่สามารถจ้างพนักงานได้เพียงพอกับความต้องการ หากปรับขึ้นค่าจ้างน้อย และมองว่าเศรษฐกิจที่ค่าจ้างและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นควบคู่กัน ดีกว่าเศรษฐกิจที่ค่าจ้างและเงินเฟ้อแทบไม่ขยับเลย ทั้งนี้ บริษัทประมาณ 90% แสดงความเต็มใจที่จะขึ้นค่าจ้าง โดยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และกว่า 80% พบว่า การขึ้นค่าราคาทำได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน ซึ่งบ่งชี้ถึงสภาพแวดล้อมการกำหนดราคาที่ยืดหยุ่นมากขึ้น สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การสำรวจดังกล่าว ซึ่งสอบถามบริษัทประมาณ 2,500 แห่งทั่วญี่ปุ่น ได้ตอกย้ำถึงความสำคัญที่การเคลื่อนไหวของเงินเยนมีต่อการประเมินผลกระทบของนโยบายการเงินในกลุ่มบริษัทญี่ปุ่น ที่มา: […]

คาดญี่ปุ่นแทรกแซง ‘ค่าเงินเยน’ ครั้งที่ 2 หลังค่าเงินพุ่งแรง 3% ไปแตะ 153 เยน

คาดญี่ปุ่นแทรกแซง ‘ค่าเงินเยน’ ครั้งที่ 2 หลังค่าเงินพุ่งแรง 3% ไปแตะ 153 เยน

ตลาดคาดญี่ปุ่นเข้าแทรกแซง ‘ค่าเงินเยน’ รอบใหม่ หลังเงินเยนแข็งค่าขึ้นแรงกว่า 3% และอาจเป็นการแทรกแซงค่าเงินเป็นครั้งที่ 2 ในรอบสัปดาห์นี้ คาดพยุงค่าเงินอีกยาว ขณะที่ สื่อประเมิน BOJ ใช้เงินมากถึง 1.2 ล้านล้านบาทในการพยุงค่าเงินรอบแรก สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ค่าเงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นอย่างร้อนแรงมากกว่า 3% ในช่วงท้ายของการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 พ.ค. ขึ้นไปแตะระดับ 153.04 เยนต่อดอลลาร์ ท่ามกลางสัญญาฟิวเจอร์สค่าเงินเยนมากถึงกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.47 แสนล้านบาท) ในช่วงท้ายของการซื้อขาย ซึ่งเป็นปริมาณสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 2567 จากข้อมูลของ CME การเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ตลาดการณ์คาดการณ์ว่า อาจเป็นการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนรอบใหม่จากทางการญี่ปุ่น และอาจเป็นการแทรกแซงค่าเงินครั้งที่ 2 แล้วในรอบสัปดาห์นี้ หลังจากที่มีความเคลื่อนไหวคล้ายกันเมื่อวันจันทร์ที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา  อย่างไรก็ดี ค่าเงินเยนกลับมาอ่อนค่าลงกว่า 1% ในการซื้อขายในตลาดโตเกียวเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (2 พ.ค.) โดยเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 156.10 […]

รมว.คลังญี่ปุ่นชี้พร้อมแทรกแซง FX หลังเยนร่วงต่ำสุดในรอบ 34 ปี

รมว.คลังญี่ปุ่นชี้พร้อมแทรกแซง FX หลังเยนร่วงต่ำสุดในรอบ 34 ปี

นายชุนอิจิ ซูซูกิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ (11 เม.ย.) ว่า ทางการญี่ปุ่นจะไม่ตัดความเป็นไปได้ในการดำเนินมาตรการใด ๆ เพื่อรับมือกับภาวะที่ผันผวนมากเกินไปในตลาดปริวรรตเงินตรา หลังสกุลเงินดอลลาร์ของสหรัฐแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 34 ปีเมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่น “เราไม่เพียงแค่พิจารณาที่ระดับของค่าเงินดอลลาร์/เยน เช่น 152 เยน หรือ 153 เยนต่อดอลลาร์ แต่ยังวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวดังกล่าวด้วย” นายซูซูกิกล่าวกับผู้สื่อข่าว พร้อมระบุเสริมว่า “เรากำลังพิจารณาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน” ขณะเดียวกัน นายซูซูกิระบุว่า การเคลื่อนไหวที่มากเกินไปของค่าเงินเป็นเรื่องไม่พึงปรารถนา และเงินตราสกุลต่าง ๆ ควรเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพโดยสะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐาน ในการกล่าวต่อรัฐสภาญี่ปุ่นในเวลาต่อมานั้น นายซูซูกิระบุว่า ในขณะที่เงินเยนอ่อนค่าลงนั้นมีทั้งคุณและโทษ แต่เขามักกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่เงินเยนอ่อนค่ามีต่อเงินเฟ้อ ความคิดเห็นของนายซูซูกิมีขึ้น หลังเงินเยนอ่อนค่าทะลุ 153 เยนต่อดอลลาร์ ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2533 หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งเมื่อวันพุธที่ 10 เม.ย. ขณะที่ดอลลาร์เคลื่อนไหวที่ 152.90 เยนต่อดอลลาร์ในตลาดเอเชียวันนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราญี่ปุ่นครั้งสุดท้ายในปี 2565 โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนก.ย. และครั้งที่ […]

ผู้ว่า BOJ ส่งสัญญาณลดระดับมาตรการกระตุ้นทางการเงิน หากแนวโน้มเงินเฟ้อยังเพิ่มต่อเนื่อง

ผู้ว่า BOJ ส่งสัญญาณลดระดับมาตรการกระตุ้นทางการเงิน หากแนวโน้มเงินเฟ้อยังเพิ่มต่อเนื่อง

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางจะพิจารณายุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หากอัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด นายอูเอดะ กล่าวในรัฐสภาว่า ธนาคารกลางจะต้องรักษานโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเป็นพิเศษเอาไว้ก่อนในขณะนี้ เนื่องจากแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อ ยังไม่บรรลุกรอบเป้าหมายที่ 2% พร้อมกล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างที่แข็งแกร่งจากการเจรจารอบนี้ น่าจะช่วยเพิ่มรายได้และการบริโภคของครัวเรือน ซึ่งเป็นมุมมองที่ดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน ธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า เงินเฟ้อมีแนวโน้มจะมุ่งสู่ระดับเป้าหมาย 2% ในอีก 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปีข้างหน้า ซึ่งหากภาวะเศรษฐกิจและราคาเป็นไปตามการคาดการณ์ในปัจจุบันของเรา แนวโน้มของเงินเฟ้อจะค่อย ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ธนาคารกลางจะต้องพิจารณาลดระดับการกระตุ้นเศรษฐกิจ” ตามคาดการณ์ปัจจุบันที่จัดทำขึ้นในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ธนาคารกลางญี่ปุ่นคาดว่าเงินเฟ้อ ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด และเชื้อเพลิง จะแตะระดับ 1.9% ทั้งในปีงบประมาณ 2567 และ 2568 โดยธนาคารกลาง จะทบทวนการคาดการณ์เหล่านี้อีกครั้ง […]

BOJ อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกภายในต.ค.ปีนี้ คาดเยนอ่อนยวบเป็นปัจจัยเร่ง

BOJ อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกภายในต.ค.ปีนี้ คาดเยนอ่อนยวบเป็นปัจจัยเร่ง

นักเศรษฐศาสตร์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือนต.ค.ปีนี้ และอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนมีแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยผลักดันให้ BOJ ดำเนินการดังกล่าว หลังจาก BOJ ได้ตัดสินใจครั้งสำคัญด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0 ถึง 0.1% จากระดับ -0.1% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (19 มี.ค.) นักวิเคราะห์ 70% ของจำนวน 47 คนที่ได้รับการสำรวจโดยบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า BOJ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือนต.ค. ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า นักเศรษฐศาสตร์ตระหนักถึงความเสี่ยงที่นายคาซูโอะ อุเอดะ และกรรมการคนอื่นๆ ของ BOJ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ แม้ว่า BOJ ได้ส่งสัญญาณว่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ทั้งนี้ หลังจากการประชุมวันดังกล่าว เงินเยนอ่อนค่าลงกว่า 1% เนื่องจากนักลงทุนตีความถ้อยแถลงของนายอุเอดะว่า BOJ จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป และที่ประชุม BOJ […]

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ (19 มี.ค.) ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปีหรือนับตั้งแต่ปี 2550 พร้อมกับประกาศยกเลิกนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ซึ่งถือเป็นการยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบที่ดำเนินการมาเป็นเวลานานและเป็นประเทศสุดท้ายของโลก หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าค่าจ้างของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นในปีนี้ สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า คณะกรรมการ BOJ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 0 ถึง 0.1% จากระดับ -0.1% นอกจากนี้ BOJ ได้ประกาศยุตินโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี โดยที่ผ่านมา BOJ ได้ใช้นโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวผ่านการซื้อและขายพันธบัตรดังกล่าว แถลงการณ์ของ BOJ ยังระบุด้วยว่า BOJ จะยุติการซื้อกองทุน ETF และ J-REITS ซึ่งเป็นกองทุนทรัสต์เพื่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่น และจะค่อยๆ ปรับลดการซื้อตราสารหนี้เอกชน โดยวางแผนว่าจะยุติการซื้อตราสารหนี้เอกชนภายในระยะเวลา 1 ปี อย่างไรก็ดี BOJ จะยังคงเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลญี่ปุ่นในวงเงินเท่ากับในช่วงที่ผ่านมา การดำเนินการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า […]

‘อุเอดะ’ ย้ำเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่อแววยุตินโยบายดอกเบี้ยติดลบ

‘อุเอดะ’ ย้ำเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่อแววยุตินโยบายดอกเบี้ยติดลบ

นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยในวันนี้ (12 มีค.) ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่า BOJ จะยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในอนาคตอันใกล้นี้ ในระหว่างตอบคำถามต่อรัฐสภา นายอุเอดะ กล่าวว่า “แม้ว่าข้อมูลสถิติบางอย่างจะส่งสัญญาณถึงความอ่อนแอ แต่ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป” ผู้ว่าการ BOJ ระบุว่า ในขณะที่ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลส่งสัญญาณชะลอตัว แต่การใช้จ่ายด้านทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่นยังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ้อยแถลงของนายอุเดอะในเรื่องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ส่งผลให้ค่าเงินเยนร่วงแตะระดับต่ำสุดระหว่างวัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวอย่างมากในตลาด เนื่องจากเทรดเดอร์กำลังพิจารณาว่า BOJ จะดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 ในสัปดาห์หน้า หรือในเดือนเม.ย. โดยการประชุมคณะกรรมการ BOJ ครั้งต่อไปจะเสร็จสิ้นในวันที่ 19 มี.ค.นี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ค่าเงินเยนร่วงลงมากถึง 0.3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แตะ 147.43 เยน ในขณะที่ดัชนีนิกเกอิปรับตัวลงเล็กน้อย ทั้งนี้ นายอุเอดะกล่าวว่า เขาต้องการประเมินข้อมูลล่าสุด เพื่อพิจารณาว่าธนาคารบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ยั่งยืนแล้วหรือยัง พร้อมระบุเสริมว่า […]

ญี่ปุ่นส่งสัญญาณเตือนรอบใหม่ พร้อมแทรกแซงตลาด FX หลังเงินเยนทรุดหนัก

ญี่ปุ่นส่งสัญญาณเตือนรอบใหม่ พร้อมแทรกแซงตลาด FX หลังเงินเยนทรุดหนัก

นายมาซาโตะ คันดะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยในวันนี้ (29 ก.พ.) ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับค่าเงินเยนที่ลดลงมากเกินไป หลังจากที่เงินเยนอ่อนค่าลงสู่ระดับที่นักลงทุนมองว่า มีโอกาสที่ทางการจะแทรกแซงเพื่อพยุงค่าเงิน คำเตือนของนายคันดะสะท้อนถึงความปรารถนาของญี่ปุ่นที่จะป้องกันไม่ให้เงินเยนลดลงอีก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนและผู้ค้าปลีก เนื่องจากทำให้ต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น “ผมจะไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความผันผวนของค่าเงินเยนในช่วงที่ผ่านมา แต่เป็นเรื่องที่ดีที่อัตราแลกเปลี่ยนจะเคลื่อนไหวอย่างมั่นคงสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ” นายคันดะ แถลงต่อสื่อมวลชนในวันพุธ (28 ก.พ.) นอกรอบการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่ม G20 ในเมืองเซาเปาโล “เรากำลังจับตาดูการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน และพร้อมดำเนินมาตรการตามความเหมาะสม หากมีการเคลื่อนไหวที่ผันผวนมากเกินไป” นายคันดะ กล่าวเสริม สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เงินเยนถือเป็นสกุลเงินหลักที่ทำผลงานได้แย่ที่สุดในปีนี้ เนื่องจากกองทุนและสกุลเงินอื่นๆ ซื้อขายกันโดยใช้ประโยชน์จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระหว่างสหรัฐกับญี่ปุ่นที่ห่างกันอย่างมาก พร้อมคาดการณ์ว่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไป ทั้งนี้ จนถึงขณะนี้ สกุลเงินเยนอ่อนค่าแล้วกว่า 6% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยปรับตัวลดลงต่ำกว่า 150 เยนต่อดอลลาร์ ซึ่งแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงหลังปี 2533 ที่ประมาณ 152.00 เยนต่อดอลลาร์ ที่มา: รอยเตอร์