ญี่ปุ่น เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 68 ประเทศ ฟรีวีซ่า เดิมพันรายได้
ญี่ปุ่นเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยว 68 ชาติ เดินทางเข้าประเทศ โดยไม่ต้องขอวีซ่า วันแรก รับอานิสงส์เยนอ่อนค่า หวังท่องเที่ยวฟื้นเศรษฐกิจเท่ายุคก่อนโควิด ท่ามกลางปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคบริการ วันที่ 11 ตุลาคม 2565 บลูมเบิร์ก รายงานว่า ญี่ปุ่นกลับมารับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ผ่านการฉีดวัคซีนตามที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) จาก 68 ประเทศ โดยไม่ต้องมีวีซ่าอีกครั้ง ในวันนี้ (11 ต.ค.) นับเป็นการสิ้นสุดการควบคุมชายแดนที่เข้มงวดในช่วงเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ ญี่ปุ่นเผชิญค่าเงินเยนเทียบดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าทำสถิติต่ำสุดในรอบศตวรรษ อัตราเงินเฟ้อค่อนข้างคุมได้ ทำให้ญี่ปุ่นเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ในราคาที่ไม่แพง นักท่องเที่ยววัย 32 ปี รายหนึ่งบอกกับบลูมเบิร์กว่า นี่เป็นโอกาสพิเศษที่จะได้เดินทางทันที หลังจากที่พรมแดนเปิดแล้ว โดยเขาเตรียมการเดินทางเข้าญี่ปุ่น ในวันที่ 12 ต.ค. และพักอยู่นานกว่า 1 สัปดาห์ พร้อมกับวางแผนจะใช้จ่ายเล็กน้อย แม้ราคาอาหารและโรงแรมในญี่ปุ่นตอนนี้จะมีราคาที่ดี เพราะเงินเยนอ่อนค่าลงก็ตาม ญี่ปุ่นพึ่งพาท่องเที่ยว หวังฟื้นเศรษฐกิจให้เทียบเท่าก่อนโควิด ญี่ปุ่นในฐานะหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจร่ำรวยกลุ่มบนสุดของโลก […]
ทุนสำรองญี่ปุ่นลดฮวบเป็นประวัติการณ์ ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดด้วยงบเงิน 2.8 ล้านล้านเยนป้องกันเยนร่วง
ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นลดลง 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ หลังความวุ่นวายในตลาดโลกส่งผลกระทบต่อมูลค่าตราสารหนี้ต่างประเทศ จึงทำให้ญี่ปุ่นต้องเข้าแทรกแซงเพื่อสกัดการไหลลงของเงินเยน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 ทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.238 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำสุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 โดยข้อมูลจากกระทรวงการคลังประกาศออกมาหลังจากที่ได้มีการเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา โดยใช้วงเงินถึง 2.8 ล้านล้านเยน หรือ 1.932 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาเพื่อพยุงค่าเงินเยน ก่อนหน้านี้ ตลาดตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขายพันธบัตรสหรัฐฯ เพื่อเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราหลังจากที่เงินเยนญี่ปุ่นปรับตัวร่วงลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 24 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการรายงานของกระทรวงการคลังเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันข้อสังเกตของตลาด เนื่องจากมูลค่าหลักทรัพย์ ซึ่งรวมถึงพันธบัตรสหรัฐฯ ที่สำรองไว้มีการลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม นายชูนิชิ ซูซูกิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะยืนยันเรื่องดังกล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าแทรกแซงตลาด โดยระบุกับนักข่าวว่าตัวเลขที่ลดลงนั้นส่วนหนึ่งมาจากมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดที่ลดลงจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากของพันธบัตรรัฐบาล รวมถึงมูลค่าเงินดอลลาร์สหรัฐของสินทรัพย์ยุโรป ที่ค่าเงินก็อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงการขายสกุลเงินต่างประเทศเพื่อทำการแทรกแซง แม้ว่าในปีนี้ โดยเฉพาะในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวพุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับค่าเงินในอีกหลาย ๆ ประเทศจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด มีความเข้มงวดกับนโยบายการเงินอย่างแข็งกร้าว ส่งผลให้เกิดความไม่สงบในตลาดการเงิน ที่สำคัญอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่สูงขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของการขึ้นดอกเบี้ยยังทำให้มูลค่าตราสารหนี้ทั่วโลกลดลงด้วยเช่นกัน […]
BF Monthly Economic Review EU India Japan
BBLAM Monthly Economic Review ตอน ยูโรโซน ญี่ปุ่น อินเดีย…ท่ามกลางข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง
สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวินทีม Economic ResearchBBLAM ยูโรโซน ในช่วงเดือนที่ผ่านมา Sentiment เชิงลบยังคงกดดันตลาดยูโรโซนอยู่ต่อเนื่อง และเมื่อมองไปข้างหน้าในไตรมาส 4/2022 ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ อาจทำให้เกิด Downside risk ได้อีกมาก โดยหลักๆ คือ สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ช่วงนี้กลับมามีท่าทีแข็งกร้าวกันมากขึ้น รวมถึงการตอบโต้ของฝั่งตะวันตกที่เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการคว่ำบาตรกับรัสเซีย ทั้งนี้ อีกหนึ่งความผันผวนที่เข้ามากระทบดัชนีหุ้นยุโรปเมื่อช่วงปลายเดือนก.ย. ที่ผ่านมา คือ การที่รัฐบาลอังกฤษประกาศมาตรการลดภาษี ซึ่งเป็นการลดครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่า จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านไปทั้งในตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดเงินที่ผันผวนอย่างมากในช่วงสัปดาห์นั้น โดยปอนด์อ่อนค่าแรง จนเกือบจะแตะระดับ 1 ปอนด์ต่อ 1 ดอลลาร์ฯ ส่งผลให้หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษออกมากล่าวว่า จะไม่ยื่นเสนอแผนนี้เข้าสภาแล้ว เนื่องจากเผชิญแรงต้านทั้งจากพรรคฝ่ายค้าน และส.ส. ภายในพรรคเอง […]
‘เงินเฟ้อญี่ปุ่น’ เดือนส.ค.พุ่ง 2.8% สูงสุดในรอบเกือบ 8 ปี แรงกดดันต้นทุนสูง-เยนอ่อนค่า
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ว่า กระทรวงฝ่ายกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสด ปรับตัวขึ้น 2.8% ในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบเป็นรายปี ขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 8 ปี เนื่องจากแรงกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นและค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง นักวิเคราะห์ กล่าวว่า แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของผู้บริโภคจะเกินเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางเป็นเวลา 5 เดือนติดต่อกัน แต่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ไม่น่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ทุกเมื่อในเร็วๆ นี้ เนื่องจากการเติบโตของค่าจ้างและการบริโภคยังคงอ่อนแอ ข้อมูลดังกล่าวเน้นย้ำถึงภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่ BOJ ต้องเผชิญ ในขณะที่พยายามหนุนเศรษฐกิจที่เปราะบางโดยการรักษาอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ในทางกลับกันก็กระตุ้นให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงซึ่งทำให้ค่าครองชีพของครัวเรือนสูงขึ้น BOJ จับตาดูดัชนีอย่างใกล้ชิดว่า เป็นมาตรวัดว่าแรงกดดันเงินเฟ้อเกิดจากอุปสงค์ในประเทศมากน้อยเพียงใด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปแตะ 3.0% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2534 โดยเน้นย้ำถึงความเจ็บปวดของผู้บริโภคที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ดาร์เรน เทย์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวญี่ปุ่น จาก […]
โควิดญี่ปุ่นทุบสถิติทะลุ 1.1 แสนคน
วันที่ 17 ก.ค. 2565 จิจิเพรส รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 หวนระบาดหนักในประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งว่า กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นแถลงพบผู้ป่วยใหม่ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา อีก 110,675 คน ถือเป็นตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของประเทศ นับตั้งแต่มีการระบาดของไวรัสมรณะ และสูงกว่าสถิติเดิมที่ 104,168 คน เมื่อ 5 ก.พ. 2565 ส่งผลให้ยอดสะสมเพิ่มเป็นกว่า 10.2 ล้านคน และเสียชีวิตอย่างน้อย 31,580 ราย รายงาน ระบุว่า ญี่ปุ่นเผชิญหน้ากับการระบาดหนักของโควิด-19 อีกระลอกเมื่อวันที่ 15 ก.ค. ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 5 เดือน ที่มีผู้ป่วยใหม่เกินแสนคนต่อวัน โดยมีปัจจัยหลักจากการแพร่กระจายของเชื้อโอมิครอน สายพันธุ์ย่อยบีเอ.5 (BA.5) ซึ่งมีอัตราการระบาดที่รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ วันเดียวกัน รอยเตอร์ ระบุว่า ทางการมาเก๊า ประกาศขยายมาตรการล็อกดาวน์ปิดกาสิโนและธุรกิจที่ไม่มีความจำเป็นออกไปจนถึงวันที่ 22 ก.ค. เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายหลังยังพบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง […]
ญี่ปุ่นเตรียมยกเลิกมาตรการจำกัดทั้งหมดที่เกี่ยวกับโควิด หลังการติดเชื้อใหม่ลดลง
ญี่ปุ่นเตรียมประกาศยกเลิกมาตรการจำกัดเพื่อควบคุมโควิด-19 ที่ใช้อยู่ในกรุงโตเกียวและอีก 17 จังหวัดออกไป หลังจากที่จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสระลอกใหม่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากสายพันธุ์โอมิครอนลดลงต่อเนื่อง สื่อท้องถิ่นของญี่ปุ่น รายงานว่า นายกรัฐมนตรี Fumio Kishida ของญี่ปุ่นวางแผนแถลงในช่วงเวลา 19.00 น. ตามเวลาของญี่ปุ่น โดยคาดการณ์ว่าจะประกาศยกเลิกข้อจำกัดตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม เป็นต้นไป รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการเกี่ยวกับการข้ามแดนด้วย ที่มา : Reuters
อัตราการว่างงานในญี่ปุ่นลดลง ขณะที่การจ้างงานไต่ระดับสูงสุดในรอบ 36 ปี
รัฐบาลญี่ปุ่นเผยแพร่ข้อมูลล่าสุดออกมาว่า อัตราการว่างงานในญี่ปุ่นลดลงไปอยู่ที่ 2.7% ในเดือนธันวาคม 2021 ท่ามกลางตัวเลขการจ้างงานรายเดือนที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 36 ปี ทั้งนี้ เมื่อปรับปัจจัยเรื่องฤดูกาลแล้ว อัตราการว่างงานในเดือนธันวาคม 2021 อยู่ต่ำกว่าระดับ 2.8% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นค่ากลางตามที่นักเศรษฐศาสตร์ตอบแบบสำรวจของ Reuters ไว้ อัตราการจ้างงานที่ปรับปัจจัยเรื่องฤดูกาลเพิ่มขึ้น 490,000 ตำแหน่ง ไปอยู่ที่ 66.7 ล้านตำแหน่ง ในเดือนธันวาคม 2021 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 1986 “ตัวเลขการจ้างงานที่ออกมาเติบโตในกลุ่มธุรกิจเช่น โรงแรม และบริการร้านอาหาร เป็นตัวสะท้อนอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ที่อยู่ในระดับต่ำในเดือนธันวาคม 2021 อย่างไรก็ตามเรายังต้องจับตาแนวโน้มอย่างใกล้ชิด หลังยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้น” รัฐบาลญี่ปุ่น ระบุ ที่มา : Reuters
ญี่ปุ่นเตรียมใช้งบประมาณ 9.43 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังผ่านโควิด
CNBC รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมงบประมาณประจำปีก้อนใหญ่เอาไว้ 943,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการใช้จ่ายประจำปีงบประมาณถัดไปที่จะเริ่มต้นในเดือน เม.ย. 2022-มี.ค. 2023 นี่เป็นงบประมาณประจำปีฉบับแรกที่ออกมาจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Fumio Kishida เพื่อรับมือโควิด-19 การใช้จ่ายประกันสังคมเพื่อช่วยเหลือประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว และใช้งบทางการทหารเพื่อรับมือภัยคุกคามจากจีน อย่างไรก็ตามงบประมาณประจำปี 107.6 ล้านล้านเยน หรือ 943,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก้อนนี้ เป็นความท้าทายสำหรับ Kishida เพราะทำให้เกิดระบบทุนนิยมใหม่ ที่มาพร้อมวัฎจักรการเติบโต การกระจายความมั่งคั่ง และการฟื้นฟูการเงินสาธารณะที่ยังขาดแหว่ง โดยเงินก้อนนี้จะทำให้ระดับหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1% จากระดับที่เคยมีช่วงต้นปี 2021 และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 10 ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก เริ่มตั้งแต่ยุโรปไปจนถึงอเมริกากำลังผ่อนคลายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางของญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นยังไม่เดินตามแนวทางนี้ ซึ่งก็ส่งผลให้หนี้สาธารณะมีขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของขนาดเศรษฐกิจ จากข้อมูลการปรับปรุงการเงินสาธารณะ พบว่า รัฐบาลของ Kishida จะลดการกู้ยืมเงินก้อนใหม่ในปีงบประมาณถัดไปเหลือ 36.93 ล้านล้านเยน จากแผนเริ่มต้นอยู่ที่ […]
Japan Morning Brief Sustainability
โรงไฟฟ้าถ่านหินญี่ปุ่นเดินหน้าผสมแอมโมเนียในการผลิต เพื่อเป้าหมายลดปล่อยคาร์บอน
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ญี่ปุ่นเพิ่มความพยายามขยายอายุการใช้โรงงานไฟฟ้าถ่านหินออกไปผ่านโครงการเพิ่มแอมโมเนียคาร์บอนต่ำเข้าไปเป็นส่วนผสมของเชื้อเพลิง โดยมีเป้าหมายเพื่อความมั่นคงในการจัดหาพลังงานและการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย ประเทศอันดับ 5 ของโลกในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างญี่ปุ่น ตั้งใจใช้แอมโมเนียเป็นเชื้อเพลิงเพื่อไปถึงเป้าหมายปี 2050 ที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ และเพื่อบรรเทาแรงกดดันจากอังกฤษกับประเทศอื่นๆ ในประเด็นการเลิกใช้ถ่านหิน ในการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของโลก COP26 ซึ่งเริ่มต้นขึ้นแล้วในเมืองกลาสโลว์ โดยญี่ปุ่นให้คำมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่ญี่ปุ่นพึ่งพาพลังงานถ่านหินและก๊าซมากขึ้น ตั้งแต่ปี 2011 ที่เกิดภัยพิบัติกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ทำให้อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์เผชิญวิกฤติ ญี่ปุ่นมีความหวังอย่างสูงว่าจะบุกเบิกเส้นทางใหม่เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงงานถ่านหินได้ ซึ่งหากทำได้ก็จะสามารถนำไปปรับใช้ได้ในประเทศอื่นๆ ด้วย เมื่อช่วงต้นเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา JERA ซึ่งเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้แอมโมเนียส่วนน้อยในการผสมเข้าไปในสถานีไฟฟ้า Hekinan 4.1 กิกะวัตต์ ในเมืองไอจิ ซึ่งเมืองนี้อยู่ตอนกลางของญี่ปุ่น เป็นที่ตั้งของบริษัท Toyota Motor Corp แอมโมเนียส่วนใหญ่จะทำจากไฮโดรเจนที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติและไนโตรเจนจากอากาศ ซึ่งจะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เวลาเผาไหม้ แต่ในกระบวนการผลิตก็อาจสร้างมลภาวะได้ถ้าใช้ร่วมกับเชื้อเพลิงฟอสซิล โครงการของโรงไฟฟ้า Hekinan มีเป้าหมายจะใช้แอมโมเนีย 20% ต่อการผลิตไฟฟ้า 1 […]
แบงก์ชาติญี่ปุ่นเตรียมทดลองออกสกุลเงินดิจิทัล
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มทดลองศึกษาความเป็นไปได้ในการออกสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง ถือเป็นการเข้าร่วมกับธนาคารกลางอื่นๆ ที่พยายามจะจับคู่กับนวัตกรรมที่ภาคเอกชนประสบความสำเร็จ ในการทดลองระยะแรก จะดำเนินการจนถึงเดือน มี.ค. 2022 โดยจะมุ่งเน้นทดสอบความสามารถทางเทคนิคในการออก กระจาย และการแลกสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง หรือ CBDC หลังจากนั้นแล้ว ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเคลื่อนที่ไปสู่การทดลองระยะที่ 2 ซึ่งจะมีการกลั่นกรองรายละเอียดการทำงานต่างๆ มากขึ้น เช่น การจำกัดจำนวนเงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางที่ถือครองได้ ชินอิจิ ยูชิดะ ผู้อำนวยการบริหาร ธนาคารกลางญี่ปุ่น กล่าวว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจจะเปิดตัวโครงการนำร่องที่จะเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการชำระเงินและผู้ใช้งานปลายทาง “จุดยืนของธนาคารกลางญี่ปุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่ในเวลานี้ยังไม่มีแผนที่จะออก CBDC โดยเราเชื่อว่าการเริ่มต้นทดลองเป็นขั้นตอนที่จำเป็น” ยูชิดะ กล่าว ทั้งนี้ ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังมองหากการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลเพื่อปรับปรุงระบบการเงินให้ทันสมัย ขจัดภัยคุกคามจากคริปโตเคอเรนซีและเร่งความเร็วของระบบการชำระเงินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ