การปรับสมดุลพอร์ตการลงทุน (Rebalancing)
By… พิชญ ฉัตรพลรักษ์ Portfolio Management สำหรับนักลงทุนที่คุ้นเคยกับการจัดสรรเงินลงทุนมาบ้างแล้วมักจะได้ยินคำว่า พอร์ตการลงทุนนั้นต้องมีการปรับสมดุลตามมาด้วย คำว่าสมดุลที่ว่านั้นหมายถึงสมดุลตามอัตราผลตอบแทนที่ต้องการหรือความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ การปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนมักจะเกิดขึ้นเมื่อสัดส่วนน้ำหนักของสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไว้มีความแตกต่างไปจากสัดส่วนการลงทุนระยะยาว (Strategic Asset Allocation) เพื่อให้สัดส่วนการลงทุนกลับมาสู่สมดุลตามรูปแบบเดิมที่กำหนด ข้อดีของการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนได้แก่ การทำให้ความเสี่ยงจากเงินที่ลงทุนไว้ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป เช่น กรณีตลาดมีการปรับฐานลงอย่างรุนแรงจากวิกฤตการทางการเงิน จะทำให้มูลค่าของเงินที่ลงทุนไว้นั้นลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนก็คือการลดความผันผวนให้อยู่ในกรอบที่กำหนดไว้นั่นเอง ระยะเวลาที่นักลงทุนควรทำการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนได้แก่ เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เช่น ทุกๆรอบ ไตรมาส ครึ่งปี หรือ รายปี แต่ไม่ควรถี่หรือบ่อยนักเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่อาจไม่คุ้มค่า หรือ เมื่อสัดส่วนการลงทุนเปลี่ยนไปจนแตกต่างจากเกณฑ์ที่กำหนด (Threshold) เช่น มากกว่าหรือน้อยกว่า 5%ทั้งนี้ระดับของสัดส่วนที่ตั้งไว้อย่างน้อยก็ต้องมากกว่าค่าใช้จ่ายในการปรับสัดส่วนในแต่ละครั้ง และไม่ควรกำหนดให้กว้างเกินไป เนื่องจากจะทำให้ความผันผวนของพอร์ตการลงทุนสูงขึ้นจนคล้ายกับว่าไม่ได้ทำการปรับสมดุลเลย หรือ เมื่อนักลงทุนมีการยอมรับความเสี่ยงหรืออัตราผลตอบแทนเปลี่ยนไป เช่น อายุมากขึ้นและเริ่มรับความผันผวนได้น้อยลง หรือมีเป้าหมายการลงทุนเปลี่ยนไป อย่างไรก็ดีอัตราผลตอบแทนจากการไม่ปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนเลยมักจะให้ผลลัพธ์ที่สูงกว่า ถ้าหากสินทรัพย์เสี่ยงมีมูลค่าและสัดส่วนปรับขึ้นมามาก (พร้อมกับความผันผวนที่จะสูงกว่าตามมาด้วย) ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนพึงระลึกก่อนการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานของสินทรัพย์นั้น หากนักลงทุนพิจารณาแล้วว่าสินทรัพย์ที่เลือกลงทุนนั้นยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สามารถสร้างกระแสเงินสดที่มั่นคงหรือเพิ่มขึ้น รวมถึงมูลค่าหรือราคามีมีศักยภาพที่จะเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต การปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนไปยังสินทรัพย์อื่นที่มีสัดส่วนหรือมูลค่าลดลงก็อาจยังไม่ควรทำ […]
BF Editorial Fund Investment Money Tips
ตกใจง่าย ทยอยลงทุนช่วยได้
By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่นักลงทุนมักถามกันเสมอ คือ จะนำเงินก้อนหนึ่งมาลงทุนทีเดียวดี หรือจะทยอยลงทุน (DCA- Dollar Cost Average) เมื่อครั้งที่มีงาน Mutual Fund Day ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ภายใต้แนวคิด “วางแผนลงทุนเพื่อชีวิตดี๊ดีวัยเกษียณสุข” และมีสัมมนาหัวข้อ “วัยเก๋าอยากสบาย ต้องรู้จักเลือกสไตล์ลงทุน” คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล Managing Director, Head of Business Distribution กองทุนบัวหลวง หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ได้ให้ข้อแนะนำที่น่าสนใจไว้ว่า จะเลือกทางไหนก็ล้วนดีหมด อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ลงทุนเลยแน่นอน อย่างไรก็ดี แนวคิดของการทยอยลงทุนหรือลงทุนครั้งเดียวด้วยเงินก้อนใหญ่ก็มีข้อดีที่แตกต่างกันไป การลงทุนในกองทุนรวมรูปแบบทยอยลงทุน แนวคิด คือ ค่อยๆ ลงทุนไปเรื่อยๆ ข้อดีคือ เมื่อเราทยอยลงทุน ความเสี่ยงก็จะลดลง โดยเฉพาะคนที่กังวลใจง่าย ตกใจง่าย ทางนี้น่าจะเหมาะสม เพราะการทยอยลงทุนช่วยลดความกังวลของเราลงได้ ไม่ต้องมานั่งตกใจว่า ฉันซื้อกองทุนช่วงที่ราคาสูงแล้วราคาก็ลงเอาๆ […]
การลงทุนมีความเสี่ยง แต่จะเสี่ยงกว่าถ้าหากไม่ลงทุน
By…ออมก่อน รวยกว่า กองทุนบัวหลวง ผู้อ่านหลายๆท่าน คงจะเคยได้ยินข้อความข้างต้นกันมาบ้างแล้ว หลายท่านอาจจะเข้าใจ แต่ยังมีอีกหลายท่านที่ไม่เข้าใจว่าการไม่ลงทุนมันจะกลายเป็นความเสี่ยงได้อย่างไร ? ท่านผู้อ่านเคยเห็นไหมคะ คนที่ทำงานจนไม่ได้สัมผัสชีวิตหลังเกษียณ หรือคนที่เกษียณแล้วกลับไม่มีเงินที่เพียงพอจะใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายได้ หรือแม้กระทั่งคนที่เป็นภาระของลูกหลานไปตลอด เหล่านี้ล้วนเป็นคำตอบของการไม่ลงทุนตั้งแต่วัยทำงานทั้งสิ้น หลายคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ มักละเลยเรื่องชีวิตวัยเกษียณ เพราะมันดูเนิ่นนานและห่างไกล ราวกับไม่รู้ว่าจะมาถึงเมื่อไหร่ จึงปล่อยชีวิตอยู่บนความเสี่ยงไปเรื่อยๆ มารู้ตัวอีกทีก็สายเสียแล้ว หากเราไม่อยากให้ชีวิตอยู่บนความเสี่ยงเช่นนี้ ก็ควรเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่วันนี้ !!! เพราะยิ่งเริ่มเร็วก็ยิ่งได้เปรียบกว่า ลองมาดูตัวอย่างกัน สมมติตั้งเป้าหมายว่าตอนอายุ 60 ปี อยากมีเงิน 10 ล้านบาท เห็นไหมว่า ยิ่งเริ่มช้าเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องการเงินออมต่อเดือนมากขึ้นเท่านั้น จะดีกว่าไหม ถ้าเราเริ่มสะสมแล้วก็ลงทุนกันตั้งแต่วันนี้ นอกจากเรื่องอายุในการเริ่มต้นลงทุน ที่เป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดเงินออมต่อเดือนแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ ผลตอบแทนเฉลี่ย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า เราเอาเงินของเราไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด ถ้าสินทรัพย์นั้นความเสี่ยงต่ำ ก็มักจะให้ผลตอบแทนที่น้อยตามไปด้วย ดังนั้น เราไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เป้าหมายเงิน 10 ล้านบาทของเรามาถึงช้า หรืออาจจะไม่มีวันมาถึงเลย หรือจำเป็นที่ต้องเพิ่มเงินออมต่อเดือนมากขึ้นจนอาจไม่มีเหลือไปใช้หาความสุขอย่างอื่นเลยก็ได้ […]
Home Bias
By…พิชย ฉัตรพลรักษ์ BF Knowledge Center นักลงทุนคงเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้งที่ว่า การกระจายเงินลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่มีความหลากหลายจะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนลง ทั้งหมดนี้ ฟังดูดีในทางทฤษฎี แต่ว่า เราเห็นการใช้งานในชีวิตจริงน้อยมาก สาเหตุหนึ่งคือ ความอคติใน “ความติดบ้าน” (Home Bias) นั้นมีอยู่จริงและแทรกซึมเข้าไปในทุกประเภทของนักลงทุน ทั้งที่เป็นประเภทบุคคลและไม่เว้นแม้แต่นักลงทุนประเภทสถาบันที่จัดอยู่ในกลุ่มนักลงทุนที่มีการรับรู้ข้อมูล (informed investors) ก็ตาม การกระจายเงินลงทุนมีข้อดีอยู่ 2 ข้อหลักๆ คือ นักลงทุนมีโอกาสที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ (ต่อข้อมูลข่าวสาร) มากขึ้น และจะช่วยลดความเสี่ยงที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นความเสี่ยงแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ความเสี่ยงที่ยึดติดกับด้านภูมิศาสตร์ใดหรือประเภทของสินทรัพย์ใด เพียงอย่างเดียว ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) นักลงทุนพึงพิจารณาความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนระหว่างประเภทสินทรัพย์ โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์เป็นตัววัด ควบคู่ไปกับอัตราผลตอบแทนและความผันผวนด้วย เนื่องจากความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนระหว่างประเภทสินทรัพย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อความผันผวนปรับเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างหมวดสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีการพิจารณาจัดสรรพอร์ตโฟลิโอ และพึงปรับเปลี่ยนน้ำหนักการลงทุนให้สอดคล้องกับค่าคาดการณ์ต่างๆ ของตลาด ผลตอบแทน นักลงทุนส่วนใหญ่ตระหนักดีว่า การกระจายความเสี่ยงเป็นกุญแจสำคัญในการบริหารเงินลงทุนให้แก่พอร์ตโฟลิโอ อย่างไรก็ตาม บางครั้งนักลงทุนกลับเลือกที่จะยึดติดการลงทุนอยู่กับตลาดในบ้านตัวเอง เนื่องจากเป็นทางออกที่เรียบง่ายและสะดวกสบาย […]
ธรรมะกับการออม
By…บัญชา ตรีบวรสมบัติ, CFP BF Knowledge Center คนมีธรรมะก็รวยได้ครับ รวยด้วยธรรมะ วันนี้ก็เลยนำธรรมะ 2 หมวดมาเล่าให้พวกเราเข้าใจและได้นำไปปฏิบัติ ได้แก่ หลักสันโดษ และหัวใจเศรษฐี ตามมากันครับ ธรรมะหมวดแรก คือหลักสันโดษ เรื่องสันโดษนี้ เป็นเรื่องหนึ่งที่มีผู้เข้าใจผิดกันมาก เข้าใจกันว่าสันโดษทำให้ยากจน ทำให้เกียจคร้าน ขัดขวางความเจริญทางเศรษฐกิจ ขอให้เรามาพิจารณากันต่อไปว่าความเข้าใจของคนทั้งหลายนั้นเป็นจริงหรือไม่ จริงๆ แล้วสันโดษแปลว่า ยินดี ชอบใจ พอใจ อิ่มใจ สุขใจ กับของของตน ยินดีสิ่งที่เป็นของตน ยินดีในสิ่งที่มีอยู่ และ ยินดีด้วยใจที่เสมอ (ด้วยใจที่มั่นคง) หลักสันโดษนี้มุ่งให้บุคคลพึงพอใจในสิ่งของหรือทรัพย์สินที่ตนเองได้มาและใช้จ่ายในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ให้บุคคลรู้จักประมาณ ได้แก่ การประหยัดและรู้จักออม ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ มีความเป็นอยู่อย่างสงบเรียบง่าย โปร่งใส และไม่เบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ความหมายโดยย่อคือ ให้รู้จักพอ รู้จักประมาณนั่นเองครับ ธรรมะหมวดที่สอง […]