ต้นทุนลดลงหนุนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และลมโตเร็ว ปี 2020 มีสัดส่วนใช้ถึง 8.7%
เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก หรือ weforum.org รายงานว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพลังงานหมุนเวียนเติบโตอย่างรวดเร็ว ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งในการหลีกเลี่ยงผลเชิงลบด้านสภาพภูมิอากาศ โดยปีที่ผ่านมาพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมรวมกันผลิตไฟฟ้า 8.7% ของการจ่ายไฟฟ้าทั่วโลก เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 2010 ซึ่งมีสัดส่วนแค่ 1.7% และสูงกว่าที่กลุ่มพลังงานกระแสหลักเคยทำแบบจำลองประมาณการไว้ สำหรับเหตุผลที่ทำให้พลังงานหมุนเวียนเติบโตรวดเร็ว ได้แก่ ต้นทุนที่ลดลง เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด นับตั้งแต่ปี 2010 ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ลดลง 85% ส่วนต้นทุนของพลังงานลมทั้งบนชายฝั่งและนอกชายฝั่งก็ลดลงไปประมาณครึ่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พลังงานหมุนเวียนจากแหล่งเหล่านี้มีต้นทุนที่แข่งขันได้กับไฟฟ้าที่มาจากพลังงานฟอสซิล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนลดลงก็คือ มีการปรับใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เมื่อมีขนาดทางเศรษฐกิจที่ใหญ่พอก็ทำให้ต้นทุนลดลง นอกจากนี้เมื่อพลังงานหมุนเวียนได้รับความนิยมขึ้น จึงขยายอิทธิพลไปสู่ภาคการเมืองและดึงดูดการเงินได้มากขึ้น ทั้งยังเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นที่จะมีการออกนโยบายสนับสนุนและการสนับสนุนเงินทุน เมื่อปรากฎการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ทำให้การขยายพลังงานหมุนเวียนเป็นเหมือนโรคติดต่อในสังคม เมื่อบ้านหลังหนึ่งติดแผงโซลาร์บนหลังคา เพื่อนบ้านที่เห็นและได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็สนใจติดตามกันมา ขณะที่การสนับสนุนด้านนโยบายก็เป็นความจำเป็นอีกด้านต่อการเติบโตของพลังงานหมุนเวียน โดยพบว่า กการให้เครดิตหรืออุดหนุนทางภาษีกับพลังงานหมุนเวียน ภาษีนำเข้า และการประมูลที่แข่งขันได้ ทั้งหมดนี้ล้วนช่วยลดต้นทุนและกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย ขณะที่การลงทุนของรัฐบาลในด้านการวิจัยและพัฒนาก็มีความสำคัญช่วยส่งเสริมนวัตกรรมในพลังงานหมุนเวียน โดยพบว่า จีน ยุโรป และสหรัฐฯ เป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมผ่านนโยบายสนับสนุน ขณะที่ทั่วโลกมี 165 ประเทศ มีเป้าหมายเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน […]
การควบรวมกิจการในละตินอเมริกาบูมสุดในรอบ 10 ปี
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า การควบรวมและเข้าซื้อกิจการในละตินอเมริกา มีมูลค่ามากกว่า 105,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 9 เดือนของปีนี้ ซึ่งถือเป็นมูลค่าสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ตามข้อมูลของ Refinitiv เนื่องจากมีเงินทุนใหม่จำนวนมากที่หลั่งไหลมาทำข้อตกลงในภูมิภาคนี้ Ricardo Bellissi หัวหน้าร่วมฝ่ายวาณิชธนกิจ Goldman Sachs ในบราซิล กล่าวว่า เงินสดที่ได้จากการเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) รวมถึงการเสนอขายหุ้นถูกใช้ไปในการเข้าซื้อกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ กลุ่มสุขภาพ น้ำมันและก๊าซ พลังงาน ฟินเทค และค้าปลีก แม้ตลาดหุ้นละตินอเมริกาจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่มีความผันผวน ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในบราซิล ซึ่งจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้า แต่นายธนาคารส่วนใหญ่ก็ไม่ได้คาดการณ์ว่าการควบรวมกิจการจะลดลงในระยะใกล้ หลังจากระดมทุนไปได้ 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยการเสนอขายหุ้นในปีนี้ และเกือบ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีที่ผ่านมา บริษัทละตินอเมริกาก็มีสถานะเงินสดที่แข็งแกร่งที่จะใช้เป็นเงินทุนควบรวมกิจการได้
เวียดนามตั้งเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญผลิตวัคซีนสำหรับมนุษย์ 3 ใน 10 ชนิดในปี 2025
เว็บไซต์ vietnamnews.vn รายงานว่า เวียดนามตั้งเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน 10 ชนิดที่ใช้ในมนุษย์ โดยคาดว่าจะผลิตได้อย่างน้อย 3 ใน 10 ชนิดนี้ ภายในปี 2025 ตามข้อมูลโครงการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติด้านการวิจัยการผลิตวัคซีนมนุษย์ภายในปี 2030 ที่เพิ่งได้รับอนุมัติจากรองนายกรัฐมนตรี Vũ Đức Đam โครงการนี้ มีเป้าหมายผลิตวัคซีนสำหรับมนุษย์เพิ่มเป็น 15 ชนิด ภายในปี 2030 โดยวัตถุประสงค์ของโครงการคือศึกษา และเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนสำหรับมนุษย์ รวมทั้งกระตุ้นการวิจัยและผลิตวัคซีนในประเทศขององค์กรต่างๆ เพื่อให้พร้อมรับมือกับโรคระบาดที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายนี้ โครงการนี้ได้กำหนดกรอบกฎหมายและกลไกการทำงาน ส่งเสริมการวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และจัดตั้งทีมวิจัยที่มีความสามารถ รวมถึงด้านอื่นๆ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการลงทุนปรับปรุงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยก็อยู่ในรายการที่จะสนับสนุนกิจกรรมภายใต้โครงการนี้ด้วย องค์กรและบริษัทที่เข้าร่วมในการวิจัยวัคซีนและถ่ายทอดเทคโนโลยีจะอยู่ภายใต้นโยบายพิเศษเช่นเดียวกับที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ไฮเทคที่มีลำดับความสำคัญสูง เวียดนามมีการผลิตวัคซีน 11 ใน 12 ชนิด ในโปรแกรมการขยายวัคซีนแล้ว เพื่อป้องกันโรคอันตราย เช่น โปลิโอ และบาดทะยักในทารกแรกเกิด
เวียดนามจะเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับพลังงานลมนอกชายฝั่ง
เว็บไซต์ vietnaminsider.vn รายงานว่า Ørsted บริษัทพลังงานหมุนเวียนสัญชาติเดนมาร์ก ซึ่งกำลังดำเนินการสร้างโลกที่ใช้พลังงานสีเขียวทั้งหมด กำลังสร้างรอยเท้าในตลาดเวียดนาม โดย Sebastian Hald Buhl ผู้จัดการประจำประเทศเวียดนาม Ørsted กล่าวว่า เวียดนามเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับพลังงานลมนอกชายฝั่ง แม้ขณะนี้จะยังอยู่ในช่วงตั้งไข่เท่านั้น เขา กล่าวว่า เวียดนามมีเงื่อนไขที่ดีที่สุดในเอเชียสำหรับการพัฒนาโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่ง โดยมีแนวชายฝั่งยาวถึง 3,000 กิโลเมตร ระดับน้ำลึกที่ตื้น และความเร็วลมที่สม่ำเสมอ นอกจากนี้เวียดนามยังเสนอเงื่อนไขเบื้องต้นที่จำเป็นต่อการพัฒนาโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่งต้นทุนต่ำและเชื่อถือได้ด้วย ขณะที่มีตัวเลขประมาณการอย่างเป็นทางการออกมาว่า ศักยภาพการผลิตพลังงานลมนอกชายฝั่งของเวียดนามมีตั้งแต่ 160-500 กิกะวัตต์ ทั้งนี้ ด้วยสภาพทางธรรมชาติของเวียดนามรวมกับความต้องการพลังงานที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ เชื่อว่าพลังงานลมนอกชายฝั่งจะมีบทบาทสำคัญในเวียดนามต่อไป แม้กรอบการกำกับดูแลอุตสาหกรรมพลังงานลมนอกชายฝั่งจะยังไม่ออกมา แต่เข้าใจว่ารัฐบาลเวียดนามและกระทรวงที่เกี่ยวข้องกำลังทำงานเรื่องกรอบการทำงานนี้อยู่ เรามองเห็นการหารือกันประเด็นด้านพลังงานลมนอกชายฝั่ง การทำแผนยุทธศาสตร์พลังงานลมนอกชายฝั่งของรัฐบาล ซึ่งถ้าการทำงานนี้มีความชัดเจนและมีกรอบการทำงานที่มีประสิทธิภาพภายในปีหน้า เราคาดว่าเวียดนามจะอยู่ในจุดที่แข็งแกร่งมากที่จะเปิดตัวอุตสาหกรรมไฮเทคสีเขียว และได้เห็นการก่อสร้างพลังงานลมนอกชายฝั่งส่วนใหญ่ภายในปลายทศวรรษที่ 2020 นี้ เขา กล่าวอีกว่า เวียดนามจะเป็นประเทศที่ร่ำรวยและดีขึ้นด้วยพลังงานลมนอกชายฝั่ง โดยพลังงานลมนอกชายฝั่งเป็นเทคโนโลยีที่ส่งมอบพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้ และยังสร้างงานที่มีคุณภาพสูงได้หลายพันตำแหน่ง เพียงแต่ต้องใช้ความอดทนและการวางกรอบการทำงานที่ถูกต้อง นอกจากนี้พลังงานลมนอกชายฝั่งจะมีราคาถูกลงจนกลายเป็นแหล่งพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมและเมืองในเวียดนามที่มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับพลังงานถ่านหินและก๊าซ
หุ้นปรับตัวสูงขึ้นหนุนครัวเรือนในสหรัฐฯ มีความมั่งคั่งสูงสุดรอบ 70 ปี
CNBC รายงานว่า ภาพรวมความมั่งคั่งของครัวเรือนสหรัฐฯ ไม่เคยอยู่ในระดับสูงเท่านี้มาก่อน เป็นผลมาจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นมาก โดยจากข้อมูลของ Bank of America พบว่า ครัวเรือนสหรัฐฯ ถือครองหุ้นครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์การเงินทั้งหมดที่มีอยู่ 109.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2021 ขณะที่สินทรัพย์อื่นๆ ได้แก่ ตราสารหนี้ เงินสด ใบรับฝากเงิน และเงินฝากธนาคาร Bank of America ชี้ว่า สัดส่วนหุ้นในสินทรัพย์ทั้งหมดถือว่าสูงสุดในรอบ 70 ปี โดยมูลค่าความมั่งคั่งสุทธิของครัวเรือนโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 141.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสที่ 2 ในจำนวนนี้ 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากมูลค่าหุ้นของบริษัทที่ถือครองอยู่ราคาไต่ระดับขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มไม่แสวงหากำไร ก็มีสัดส่วนการถือครองหุ้น 41.5% ของความมั่งคั่งโดยรวม ตามข้อมูลของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แม้เรื่องนี้จะเป็นข่าวดีสำหรับนักลงทุนทั่วไปที่เป็นเจ้าของหุ้น แต่ก็สะท้อนถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกันจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคต ซึ่งวอลล์สตรีทมองเห็นภาวะตลาดกระทิงที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์สิ้นสุดลงในช่วงต้นปี […]
เปิด 3 วิธีที่จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์และยังทำกำไรได้
เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก (weforum.org) รายงานว่า เมื่อบริษัทมองหาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนบ่อยครั้งจะเน้นการลดแบบง่ายๆ หรือใช้ทางเลือกระยะสั้น แต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายลดคาร์บอน บริษัทจำเป็นต้องมีแนวทางที่กว้างขวางจะทะเยอทะยานมากขึ้น โดยบริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์และยังคงทำกำไรได้ เพียงแต่ต้องจัดการกับต้นเหตุของการปล่อยมลพิษตลอดห่วงโซ่คุณค่า ทั้งนี้ สภาเศรษฐกิจโลก นำเสน 3 แนวทางที่น่าสนใจที่จะช่วยให้ธุรกิจลดปล่อยก๊าซคาร์บอนพร้อมกับทำกำไรได้ ได้แก่ 1.การลดมลภาวะตลอดห่วงโซ๋คุณค่า โดยพบว่า ธุรกิจหลายๆ ที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ไม่ได้มาจากตัวธุรกิจโดยตรง แต่มาจากห่วงโซ่คุณค่าที่ควบคุมไม่ได้ หากต้องการลดปล่อยมลพิษให้สำเร็จจริง จึงต้องไปดำเนินการกับธุรกิจในห่วงโซ่ เช่น ผู้แปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไปลงทุนกับฟาร์มโคนมปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์หลายพันแห่ง บริษัทเหมืองแร่ที่จัดหาผู้ผลิตเหล็กด้วยแร่ผสมซึ่งต้องการพลังงานน้อยลงในเตาหลอม หรือผู้ผลิตสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่ไปลงทุนขยายขอบเขตธุรกิจตั้งแต่การผลิตสายเคเบิ้ลจนถึงห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมดของกระแสไฟฟ้า 2.การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยพบว่าสถานที่ที่ปล่อยมลภาวะขนาดใหญ่ บ่อยครั้งไม่ใช่สถานที่ที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เราพบว่า บริษัทต่างๆ กำลังติดตามการปล่อยมลพิษเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงทั้งที่เป็นในธุรกิจตัวเองและห่วงโซ่คุณค่า เช่น บริษัทจัดส่งพัสดุ ลดมลภาวะในการจัดส่งพัสดุผ่านการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าและการปรับเส้นทางให้เหมาะสม และพวกเขายังหาข้อมูลและการควบคุมที่ดีขึ้นกับฝั่งคนที่รับพัสดุจึงช่วยลดจำนวนครั้งในการจัดส่งได้ หรือบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่มีมาตกรารใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝึกปัญญาประดิษฐ์ (AI) และใช้คลาวด์ ทำงานร่วมกับผู้ผลิตชิป เพื่อให้เกิดการบริโภคพลังงานน้อยที่สุดในการใช้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา และ 3.อย่าให้เงินทุนโดยอัตโนมัติกับธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนสูง โดยนักลงทุนควรเพิ่มพอร์ตลงทุนในกิจกรรมปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำแทน
กลุ่มนักลงทุนที่มีสินทรัพย์ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จี้บริษัทเอเชียเดินตามเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า กลุ่มนักลงทุน 6 ราย ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวมกัน 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึง Fidelity International ระบุว่า มีเป้าหมายจะเพิ่มการมีส่วนร่วมในบริษัทใหญ่ๆ ของเอเชีย เช่น ธนาคาร และผู้ผลิตพลังงาน โดยต้องการแน่ใจว่าพวกเขามีแผนงานเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ Asia Research & Engagement (ARE) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาในสิงคโปร์ของกลุ่มนักลงทุน กล่าวว่า การเข้าไปมีส่วนร่วมในช่วงแรกจะมุ่งเน้นไปที่ความเสี่ยงด้านคาร์บอน และถ่านหิน ในกลุ่มธนาคารและบริษัทพลังงานถ่านหิน ความเคลื่อนไหวนี้มาในช่วงที่นักลงทุนมีบทบาทมากขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยการช่วยทำให้บริษัทกำหนดคำมั่นสัญญาว่าจะบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งขั้นตอนเกี่ยวกับ ESG ที่พวกเขาดำเนินการ ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น การลงคะแนนเสียงในคณะกรรมการและค่าตอบแทน กลุ่มนักลงทุน 6 ราย ประกอบด้วย 1.BMO Global Asset Management EMEA 2.Fidelity […]
จับตาสหรัฐฯ-ยุโรปหารือแผนจำกัดอำนาจตลาดกลุ่มเทคฯ ยักษ์ใหญ่ 29 ก.ย.นี้
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า เจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลสหรัฐฯ ออกมาเผยว่า สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป หวังว่าจะหารือกันเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนชิป ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการแข่งขันด้านเทคโนโลยี ในโอกาสที่จะประชุมสภาการค้าและเทคโนโลยี (TTC) ร่วมกันเป็นครั้งแรกในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Reuters ออกมารายงานเป็นที่แรกเกี่ยวกับการดำเนินการของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ที่มีการวางแผนร่วมกันว่าจะประกาศประชุม TTC ครั้งแรก เพื่อสะท้อนแนวทางที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้นในการจำกัดอำนาจตลาดที่กำลังเติบโตของกลุ่มเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เมื่อต้นเดือน ก.ย. ทำเนียบขาวของสหรัฐฯ ออกมาประกาศว่า จะมีการประชุมสภา TTC ครั้งแรก วันที่ 29 ก.ย. นี้ ที่เมืองพิตต์สเบิร์ก ของสหรัฐฯ Antony Blinken รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ และ Gina Raimondo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ รวมถึง Katherine Tai ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ Valdis Dombrovskis หัวหน้าฝ่ายการค้าของสหภาพยุโรป […]
โควิด-19 ทำอายุขัยประชากรในปี 2020 ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า อายุขัยเฉลี่ยของผู้คนในปี 2020 ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจากผลการศึกษามหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ระบุว่า อายุขัยของชายอเมริกันลดลงไปมากกว่า 2 ปี ทั้งนี้ จากผลศึกษาพบว่า มี 22 ประเทศ ใน 29 ประเทศ ที่อายุขัยลดลงไปมากกว่า 6 เดือน เมื่อเทียบกับอายุขัยในปี 2019 ขณะที่ประเทศที่ประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยลดลงมีทั้งหมด 27 ประเทศ จาก 29 ประเทศ ผลศึกษาของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ยังระบุด้วยว่า อายุขัยที่ลดลงในหลายประเทศ มีความเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตจากโควิด-19 โดยล่าสุดพบว่ามีเกือบ 5 ล้านคนแล้วที่เสียชีวิตด้วยการติดเชื้อไวรัสนี้ “ผลศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบโดยตรงที่มาจากโควิด-19 ซึ่งเป็นการระบาดที่น่าตกใจในหลายประเทศ” Ridhi Kashyap ผู้ร่วมเขียนรายงานผลการศึกษานี้ที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Epidemiology กล่าว สำหรับอายุขัยที่ลดลงนั้น พบว่า […]
บริการส่งอาหารทั่วโลกมูลค่าแตะ 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หนุนเกิด 8 ธุรกิจใหม่ล้อกระแส
McKinsey เผยแพร่บทความว่า การรับประทานอาหารบนโลกกำลังเปลี่ยนไป 20 ปีก่อน การจัดส่งอาหารคุณภาพระดับภัตตาคารยังจำกัดเฉพาะ เช่น พิซซ่า และอาหารจีน แต่วันนี้การส่งอาหารทั่วโลกกำลังเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ถึง 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มกว่า 3 เท่าตัว นับจากปี 2017 โดยสหรัฐฯ มีตลาดขนาดใหญ่ขึ้น 2 เท่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากปกติที่เติบโตเฉลี่ย 8% ต่อปี แอปพลิเคชันที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน และเครือข่ายผู้ขับขี่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เป็นตัวเปลี่ยนความคาดหวังของผู้บริโภค ปลดล๊อคการส่งอาหารพร้อมทาน การปิดเมืองและข้อเรียกร้องให้รักษาระยะห่างทางสังคมช่วงแพร่ระบาดทำให้หมวดหมู่อาหารที่บริการส่งอาหารเพิ่มขึ้นมาก การส่งอาหารกลายเป็นส่วนหนึ่งของความอยู่รอดของร้านอาหาร McKinsey มองว่า บริการแอปส่งอาหารช่วยสร้างโอกาสใหม่และรายได้ให้กลุ่มธุรกิจใหม่ ได้แก่ 1.Menu engineering ทำหน้าที่วิเคราะห์ว่าเมนูไหนนิยมหรือขายไม่ได้ เมนูไหนกำไรต่ำหรือกำไรสูง เพื่อบริหารจัดการร้านให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2.Dark kitchens กลุ่มที่ไม่มีหน้าร้านเป็นครัวที่เปิดรับเฉพาะเมนูส่งอาหาร กลุ่มนี้ช่วยให้ร้านอาหารที่เปิดอยู่แล้วขยายบริการตัวเองได้โดยมีความเสี่ยงน้อยลง เพราะอาศัย Dark kitchens ทำอาหารส่งผ่านผู้ให้บริการ Virtual brands […]