จีนเพิ่มน้ำหนักคุมเข้าบริษัทเทคโนโลยีมากขึ้น เตรียมพร้อมขึ้นแท่นมหาอำนาจทางเทคโนโลยี

จีนเพิ่มน้ำหนักคุมเข้าบริษัทเทคโนโลยีมากขึ้น เตรียมพร้อมขึ้นแท่นมหาอำนาจทางเทคโนโลยี

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า ความเคลื่อนไหวของจีนล่าสุดในกำกับควบคุมบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเพื่อก้าวขึ้นเป็น มหาอำนาจทางเทคโนโลยี Kendra Schaefer หุ้นส่วนจาก Trivium China  กล่าวกับพอดคาสต์ Beyond the Valley ของซีเอ็นบีซีว่า จีนเข้าใจดีหากจะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจทางเทคโนโลยี การวางรากฐานด้านกฎระเบียบที่มั่นคงเป็นเรื่องจำเป็น จีนกำลังหาวิธีควบคุมภาคเทคโนโลยีในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่การปกป้องข้อมูลไปจนถึงการต่อต้านการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยี เนื่องจากบริษัทของจีนเติบโตขึ้น โดยส่วนใหญ่ไม่มีภาระผูกพันตามกฎระเบียบและกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีข้อบังคับหลายประการที่มีผลบังคับใช้ และ หรืออยู่ระหว่างเตรียมบังคับใช้ เมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้ออกร่างกฎเกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อรายย่อย หรือที่เรียกว่า microlending ซึ่งรวมถึงข้อกำหนดต่างๆ เช่น ข้อกำหนดด้านเงินทุนสำหรับบริษัทเทคโนโลยีที่ปล่อยเงินกู้ นอกจากนี้สำนักงานบริหารจัดการกฎระเบียบตลาดแห่งรัฐ (SAMR) ยังเผยแพร่ร่างกฎระเบียบที่ต้องการหยุดการผูกขาดจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต ถือเป็นหนึ่งในข้อเสนอที่ครอบคลุมมากที่สุดของจีนเพื่อควบคุมบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่

รถยนต์ไฟฟ้าจะเติบโตได้ต้องอาศัยการสร้างที่ชาร์จในอาคารสนับสนุน

รถยนต์ไฟฟ้าจะเติบโตได้ต้องอาศัยการสร้างที่ชาร์จในอาคารสนับสนุน

แมคคินซีย์ เผยแพร่บทความล่าสุดเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า โดยชี้ว่า จะมีรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้า (BEV) และรถยนต์ปลั๊กอิน ไฮบริด (PHEV) รุ่นใหม่ๆ ออกมา 250 รุ่น ในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะที่ทั่วดลกจะมีรถยนต์ไฟฟ้า 130 ล้านคัน วิ่งอยู่บนถนนในปี 2030 และเพื่อสนับสนุนตัวเลขนี้ สิ่งสำคัญคือมีความจำเป็นต้องขยายที่ชาร์จ ซึ่งไม่ได้มีราคาถูกเลย โดยคาดการณ์ว่าในช่วงปี 2020-2030 จะต้องลงทุน 110,000-180,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตอบสนองความต้องการในโลก ทั้งในพื้นที่สาธารณะและภายในบ้านพัก การมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในที่พักอาศัยส่วนบุคคลกลายเป็นเรื่องธรรมดาในปัจจุบัน ส่วนสถานีชาร์จในอาคารเชิงพาณิชย์เป็นสิ่งจำเป็น กลายเป็นคุณสมบัติสำคัญในการสร้างอาคารที่มีมาตรฐาน 10 ปีข้างหน้า เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค ส่วนตลาดใหญ่ของรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน มี 3 ตลาด คือ จีน ยุโรป 27 ประเทศรวมกับอังกฤษ และสหรัฐฯ ซึ่งกลไกสำคัญที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าในตลาดเหล่านี้โต คือ การเพิ่มจำนวนที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในอาคารเชิงพาณิชย์ ซึ่งสิ่งจำเป็นที่ตามมาคือการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไฟฟ้าในอาคาร […]

จีนยังเดินหน้านโยบายการคลังเชิงรุกในปี 2021 เรียกความเชื่อมั่นตลาด

จีนยังเดินหน้านโยบายการคลังเชิงรุกในปี 2021 เรียกความเชื่อมั่นตลาด

รายงานพิเศษจากซินหัว ระบุว่า เศรษฐกิจของจีนในช่วงครึ่งแรกของปีที่ผ่านมาหยุดชะงักจากผลกระทบการระบาดของโควิด-19 แต่ด้วยการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อวิกฤติและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้เศรษฐกิจของจีนกลับมาคึกคัก การใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นและมาตรการลดภาษีจำนวนมาก ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ตลาดยังจับตาดูนโยบายการคลังของจีนอย่างใกล้ชิดในปี 2021 ว่า จะมีการถอนการสนับสนุนทางการเงินทันทีหรือไม่ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะแข็งแกร่งเพียงใด การประชุมสำคัญประจำปีด้านเศรษฐกิจของจีน ได้เพิ่มความเชื่อมั่น โดยจีนจะรักษานโยบายเศรษฐกิจมหภาคให้สอดคล้องกันและไม่พลิกผันอย่างกะทันหัน เนื่องจากรากฐานของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่มั่นคง ซึ่งสะท้อนได้ว่ารัฐบาลจะยึดมั่นในนโยบายการคลังเชิงรุกในปี 2021 ขณะที่ รายงานล่าสุดเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนของธนาคารโลก ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) คาดว่าจะเติบโต 2% ในปี 2020 และฟื้นตัวขึ้นเป็น 7.9% ในปีนี้ ส่วนการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเร็วกว่าที่คาดไว้ จากกลยุทธ์การควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสที่มีประสิทธิภาพและการสนับสนุนนโยบายที่แข็งแกร่ง รวมถึงการส่งออกที่มีความยืดหยุ่น

ราคาน้ำมันแตะสูงสุดในรอบ 11 เดือน หลังซาอุดิอาระเบียสมัครใจลดกำลังการผลิต

ราคาน้ำมันแตะสูงสุดในรอบ 11 เดือน หลังซาอุดิอาระเบียสมัครใจลดกำลังการผลิต

รายงานข่าวจากรอยเตอร์ส ระบุว่า ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นเมื่อวันพุธที่ผ่านมาสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2020 หลังจากซาอุดิอาระเบียตกลงที่จะลดการผลิตมากกว่าที่คาดไว้ในการประชุมโอเปก ในขณะที่ตัวเลขอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ทั่วโลกเริ่มกลับมาล็อกดาวน์ประเทศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยทางซาอุดิอาระเบียตกลงที่จะปรับลดกำลังการผลิตลงอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 8.125 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงที่จะโน้มน้าวให้บรรดาผู้ผลิตส่วนใหญ่ของกลุ่มโอเปกพลัสคงการผลิตน้ำมันไว้ที่ระดับ 7.2 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงสิ้นเดือนก.พ. นี้ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่มาตรการล็อกดาวน์สกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน การที่ซาอุดิอาระเบียยอมปรับลดการผลิตน้ำมัน น่าจะมาจากหลายเหตุผลด้วยกัน ซึ่งรวมถึงความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลง และความเสี่ยงที่สหรัฐฯ จะเพิ่มการผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดาน แต่เชื่อว่าเหตุผลที่สำคัญที่สุดคือการที่ซาอุดิอาระเบีย คาดการณ์ว่า ปริมาณการใช้น้ำมันทั่วโลกจะชะลอตัวลงอย่างมาก ซึ่งรวมถึงในภูมิภาคเอเชีย ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

สหรัฐฯ คาดการเดินทางผ่านสนามบินปี 2021 ฟื้นตัวขึ้น แต่ยังต่ำกว่าก่อนโควิด-19 ระบาด

สหรัฐฯ คาดการเดินทางผ่านสนามบินปี 2021 ฟื้นตัวขึ้น แต่ยังต่ำกว่าก่อนโควิด-19 ระบาด

รายงานข่าวจากรอยเตอร์ส ระบุว่า การเดินทางทางอากาศของสหรัฐฯ ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่ รัฐบาลสหรัฐฯ โดยการบริหารการรักษาความปลอดภัยการขนส่งหรือ TSA ตรวจคัดกรองผู้คนน้อยลงกว่า 500 ล้านคนที่จุดตรวจสนามบินสหรัฐฯ ในปี 2020 ลดลง 61% จากปี 2019 TSA กล่าวว่า มีการคัดกรองผู้โดยสารเพียง 324 ล้านคน ทั่วจุดตรวจความปลอดภัยของสนามบินในปีที่ผ่านมา ลดลงจากปี 2019 ที่มีผู้โดยสาร 824 ล้านคน แม้ว่าในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาการเดินทางจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย โดย TSA ได้คัดกรองผู้คนที่จุดตรวจสนามบิน 1.327 ล้านคน มากที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติ กลางเดือน มี.ค. 2020 แต่ยังคงลดลง 45% จากวันเดียวกันในปี 2020 นอกจากนี้ TSA กล่าวในแถลงการณ์ว่า ปริมาณการเดินทางต่อวันจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามฤดูกาล อย่างไรก็ตามหน่วยงานคาดว่าตลอดเกือบทั้งปี 2021 ปริมาณจะยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิด-19 ระบาด […]

โอเปกมองมีความเสี่ยงด้านลบรออยู่มากมายในตลาดน้ำมันช่วงครึ่งแรกของปีนี้

โอเปกมองมีความเสี่ยงด้านลบรออยู่มากมายในตลาดน้ำมันช่วงครึ่งแรกของปีนี้

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า Mohammad Barkindo เลขาธิการ องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (โอเปก) ระบุว่า โอเปกมองเห็นความเสี่ยงด้านลบรออยู่มากมายสำหรับตลาดน้ำมันในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 เขา กล่าวในการประชุมผู้เชี่ยวชาญของโอเปกและพันธมิตร หรือในนามกลุ่มโอเปกพลัสว่า ท่ามกลางสัญญาณแห่งความหวัง มุมมองเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกนี้ที่ค่อนข้างหลากหลายและยังคงมีความเสี่ยงด้านลบอยู่หลายประการ เมื่อเดือน ธ.ค. 2020 กลุ่มโอเปกพลัส มีแนวทางเพิ่มการผลิตน้ำมัน 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2021 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการค่อยๆ เพิ่มการผลิตน้ำมัน 2 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ แต่ก็มีสมาชิกบางรายตั้งคำถามเกี่ยวกับความจำเป็นในการเพิ่มการผลิตมากขึ้น เนื่องจากยังอยู่ในช่วงที่ไวรัสโคโรนามีการแพร่ระบาด โดย Amrita Sen ผู้ร่วมก่อตั้ง Energy Aspects think-tank กล่าวว่า เมื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานที่ยังอ่อนแอ จึงเป็นเรื่องที่โอเปกพลัสควรระมัดระวังในการรักษาการผลิตเอาไว้ให้คงที่ และก็มีผู้ผลิตรายใหญ่บางรายต้องการระงับการผลิตไว้ Barkindo กล่าวว่า ยังมีข้อจำกัดทางสังคมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ และความกังวลเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เป็นอันตราย ส่วนเศรษฐกิจโลก อาจกลับมาฟื้นตัวแข็งแกร่งได้ช่วงครึ่งหลังของปี 2021 แต่บางกลุ่ม […]

สหรัฐไฟเขียวโดรนเล็กบินเหนือฝูงชน-บินกลางคืนได้ หนุนธุรกิจส่งสินค้าในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

สหรัฐไฟเขียวโดรนเล็กบินเหนือฝูงชน-บินกลางคืนได้ หนุนธุรกิจส่งสินค้าในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

“สหรัฐไฟเขียวโดรนขนาดเล็กบินเหนือฝูงชน-บินกลางคืนได้ ช่วยให้การใช้งานโดรนในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น หนุนธุรกิจส่งสินค้าในเชิงพาณิชย์ ยันกฎใหม่แก้ไขปัญหาข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยและระบบรักษาความปลอดภัย” สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐ (FAA) ได้อนุมัติให้โดรนขนาดเล็กสามารถบินเหนือฝูงชน และบินในตอนกลางคืนได้ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการนำโดรนมาใช้งานเพื่อจัดส่งสินค้าในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง FAA ระบุว่า กฎเกณฑ์สำหรับการใช้งานโดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) จะช่วยแก้ปัญหาด้านความปลอดภัย ด้วยการกำหนดให้โดรนต้องมีเทคโนโลยีการระบุข้อมูลประจำเครื่องได้จากระยะไกล เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากภาคพื้นดิน นายสตีฟ ดิกสัน ผู้บริหารของสำนักงาน FAA กล่าวว่า”กฎเกณฑ์ใหม่ๆ เป็นการเปิดทางให้มีการใช้งานโดรนได้มากขึ้นในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยและระบบรักษาความปลอดภัย” นอกจากนี้กฎเกณฑ์ใหม่นี้ช่วยให้การใช้งานโดรนในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่นการส่งพัสดุก็จะมาสมารทำได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กฎดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 60 วันหลังจากเผยแพร่ในบันทึกราชการที่เรียกว่า Federal Register ในเดือนม.ค. 2021 โดยผู้ผลิตโดรนจะมีเวลา 18 เดือน เพื่อเริ่มผลิตโดรนที่มี Remote ID หรือข้อมูลประจำเครื่อง ส่วนผู้ควบคุมโดรนจะมีเวลา 1 ปีในการแจ้งข้อมูล Remote ID ของโดรน […]

จีนมองเศรษฐกิจฟื้นตัวจากโควิด-19 ดันยอดการบริโภคเหล็กปีหน้าแตะ 991 ล้านตัน

จีนมองเศรษฐกิจฟื้นตัวจากโควิด-19 ดันยอดการบริโภคเหล็กปีหน้าแตะ 991 ล้านตัน

รายงานข่าวจากซินหัวระบุว่าสถาบันวิจัยและการวางแผนอุตสาหกรรมโลหการของจีน คาดการณ์ยอดการบริโภคเหล็กของจีนจะปรับตัวสูงแตะ 991 ล้านตันในปี 2021 เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยยอดการบริโภคที่เพิ่มขึ้นได้รับแรงหนุนจากการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ความต้องการเหล็กจากอุตสาหกรรมก่อสร้างและเครื่องจักรจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีหน้า โดยคาดว่าความต้องการเหล็กจากอุตสาหกรรมก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นแตะ 580 ล้านตัน และความต้องการเหล็กจากอุตสาหกรรมเครื่องจักรน่าจะแตะ 160 ล้านตัน รายงานยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ความต้องการเหล็กทั่วโลกน่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 1.83 พันล้านตันในปี 2021 คิดเป็นเพิ่มขึ้น 4.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ สำหรับช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ผลผลิตเหล็กดิบของจีนเพิ่มขึ้น 5.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะ 960 ล้านตัน ขณะที่ผลผลิตของทั้งปีคาดว่าจะสูงถึง 1.05 พันล้านตัน ขณะที่ยอดการบริโภคคาดว่าจะแตะ 981 ล้านตัน

คนมาเลเซียซื้อสินค้าจากธุรกิจในท้องถิ่นมากขึ้นเพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจ

คนมาเลเซียซื้อสินค้าจากธุรกิจในท้องถิ่นมากขึ้นเพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจ

นิวส์ สเตรทไทม์ส รายงานว่า ยูโอบี มาเลเซีย เปิดเผยผลสำรวจพบว่า เกือบ 7 ใน 10 ของผู้บริโภคชาวมาเลเซีย (69%) ซื้อสินค้าจากแบรนด์ท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้ฟื้นตัวกลับมาได้หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยแนวโน้มนี้แข็งแกร่งขึ้นในประเทศนี้ เมื่อเทียบกับ ในไทย จะอยู่ที่ 67% เวียดนาม 58% และสิงคโปร์ 51% ตามการศึกษาทิศทางการบริโภคในอาเซียนของยูโอบี มีเพียงอินโดนีเซียประเทศเดียวที่ทำการสำรวจแล้วมีตัวเลขที่สูงกว่า โดยพบว่า ผู้บริโภค 72% เลือกซื้อสินค้าในท้องถิ่น Raymond Chui ผู้อำนวยการบริหาร ยูโอบี มาเลเซีย และหัวหน้าประจำประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า แนวโน้มเชิงบวกที่ออกมาในผลสำรวจเป็นแรงกระตุ้นขวัญกำลังใจของผู้ประกอบธุรกิจในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ ทั้งนี้ เงินทุกๆ ริงกิตที่สนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นสามารถสร้างสิ่งที่แตกต่างได้ การที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าแบรนด์ท้องถิ่นก่อน ก็ช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจมาเลเซียทำยอดขายได้สูงขึ้น และยังกระตุ้นความเชื่อมั่นของเจ้าของกิจการและพนักงานได้ด้วย “ด้วยมาตรการป้องกันที่นำมาใช้ต่อสู้กับโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคแสดงตัวว่าจะสนับสนุนแบรนด์ท้องถิ่นผ่านการซื้อออนไลน์ และก็พบว่า ผู้บริโภคและธุรกิจจำนวนมากก็หันมาซื้อขายกันบนอินเทอรืเน็ตอยู่แล้ว” Chui กล่าว […]

สหรัฐฯ เพิ่งให้วัคซีนกับประชาชนไปแค่ 1 ล้านคน จากเป้าหมาย 20 ล้านคนในเดือน ธ.ค.

สหรัฐฯ เพิ่งให้วัคซีนกับประชาชนไปแค่ 1 ล้านคน จากเป้าหมาย 20 ล้านคนในเดือน ธ.ค.

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ขณะนี้ในสหรัฐฯ มีประชาชนกว่า 1 ล้านคนเท่านั้น ที่ได้รับวัคซีนไวรัสโคโรนาโดสแรกเมื่อช่วงเช้าวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งยังห่างไกลเป้าหมายของรัฐบาลกลางที่คนอเมริกัน 20 ล้านคนจะต้องได้รับวัคซีนภายในสิ้นปีนี้ ปัจจุบันมีวัคซีนโควิด-19 รวม 2 วัคซีนที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสในสหรัฐฯ โดยจะต้องให้วัคซีนกับประชาชนอเมริกัน 331 ล้านคนทั่วประเทศ ขณะที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ระบุว่า มีการให้วัคซีนไปแล้ว 1,008,025 ช็อต ณ เวลา 9.00 น. วันพุธที่ผ่านมา ยังเหลือวัคซีนอีกกว่า 19 ล้านโดส ที่จะต้องแจกจ่ายให้สาธารณชนเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดในเดือน ธ.ค. โดยที่มีเวลาเหลือกว่า 1 สัปดาห์เท่านั้น หรือประมาณ 8 วัน เท่ากับว่า สหรัฐฯ จะต้องให้วัคซีนกับประชาชนมากกว่า 2.1 ล้านคนต่อวัน จากนี้ไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. นี้ วัคซีน 2 […]