วิจัยชี้ประเทศส่วนใหญ่มีเด็กเกิดใหม่ต่ำเกินไป อาจเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน
ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์เดอะแลนเซต (The Lancet) เมื่อวานนี้ (20 มี.ค.) เปิดเผยว่า อัตราการเจริญพันธุ์ในเกือบทุกประเทศนั้นจะต่ำเกินกว่าจะสามารถรักษาระดับจำนวนประชากรภายในช่วงสิ้นคริสต์ศตวรรษนี้ นายสไตน์ เอมิล โวลล์เซ็ต นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันเพื่อการวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ (IHME) แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเมืองซีแอตเทิลระบุว่า แนวโน้มดังกล่าวจะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำของอัตราการเกิดทั่วโลก โดยประเทศรายได้ต่ำ ซึ่งมีแนวโน้มเผชิญความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและทางการเมืองนั้น จะเผชิญภาวะ “เบบี้บูม” คือ มีเด็กเกิดใหม่จำนวนมาก ข้อมูลระบุว่า อัตราการเจริญพันธุ์ทั่วโลก (จำนวนบุตรโดยเฉลี่ยต่อผู้หญิง 1 คน) ลดลงจากประมาณเด็ก 5 คนในปี 2493 มาเป็น 2.2 คนในปี 2564 ในปี 2564 จำนวนประเทศและดินแดนต่าง ๆ ที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำกว่าระดับทดแทนประชากรที่เด็ก 2.1 คนต่อผู้หญิง 1 คนนั้น มีจำนวนถึง 110 แห่ง คิดเป็น 54% ของทั้งโลก สำนักข่าวรอยเตอร์ […]
แบงก์ชาติอินโดนีเซียตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 6% หวังพยุงค่าเงินรูเปียห์
ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase rate) ระยะเวลา 7 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ระดับ 6% ในวันนี้ (20 มี.ค.) ตามการคาดการณ์ หลังค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียเผชิญแรงกดดันตลอดหลายวันที่ผ่านมา ในขณะที่ตลาดต่าง ๆ ตอบสนองต่อการทบทวนนโยบายการเงินในประเทศเศรษฐกิจสำคัญต่าง ๆ ทั้งนี้ มติตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 6% ของธนาคารกลางอินโดนีเซียนั้นสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 31 รายในผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางอินโดนีเซียยังได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ระดับเดิม นายเพอร์รี วาร์จิโย ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย ระบุว่า การตัดสินใจครั้งล่าสุดนี้สอดคล้องกับความพยายามในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์และการควบคุมเงินเฟ้อ เงินรูเปียห์อ่อนค่าลงประมาณ 1% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเมื่อวันจันทร์เงินรูเปียห์อ่อนค่าครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนม.ค. ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะจัดประชุมนโยบายการเงิน แต่ค่าเงินรูเปียห์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปหลังธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้คงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซียสำหรับปี 2567 ที่กรอบ 4.7%-5.5% ที่มา: รอยเตอร์
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ (19 มี.ค.) ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปีหรือนับตั้งแต่ปี 2550 พร้อมกับประกาศยกเลิกนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ซึ่งถือเป็นการยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบที่ดำเนินการมาเป็นเวลานานและเป็นประเทศสุดท้ายของโลก หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าค่าจ้างของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นในปีนี้ สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า คณะกรรมการ BOJ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 0 ถึง 0.1% จากระดับ -0.1% นอกจากนี้ BOJ ได้ประกาศยุตินโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี โดยที่ผ่านมา BOJ ได้ใช้นโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวผ่านการซื้อและขายพันธบัตรดังกล่าว แถลงการณ์ของ BOJ ยังระบุด้วยว่า BOJ จะยุติการซื้อกองทุน ETF และ J-REITS ซึ่งเป็นกองทุนทรัสต์เพื่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่น และจะค่อยๆ ปรับลดการซื้อตราสารหนี้เอกชน โดยวางแผนว่าจะยุติการซื้อตราสารหนี้เอกชนภายในระยะเวลา 1 ปี อย่างไรก็ดี BOJ จะยังคงเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลญี่ปุ่นในวงเงินเท่ากับในช่วงที่ผ่านมา การดำเนินการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า […]
ตัวเลขเศรษฐกิจ ‘จีน’ สดใสขึ้น ค้าปลีก-การผลิต-ลงทุน ดีขึ้นกว่าที่คาด
จีนเผยข่าวดี ตัวเลขการผลิตอุตสาหกรรม-ค้าปลีก-ลงทุนสินทรัพย์ถาวร ในเดือนม.ค.-ก.พ. สูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ (18 มี.ค.) ว่า ยอดค้าปลีกในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. 2567 ปรับตัวขึ้น 5.5% ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5.2% ขณะที่ยอดค้าปลีกทางออนไลน์พุ่งขึ้น 14.4% ในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ขณะเดียวกัน การผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ปรับตัวขึ้น 7% ซึ่งแข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5% ส่วนยอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ปรับตัวขึ้น 4.2% ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.2% สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดนี้ถือเป็นหลักฐานล่าสุดที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจจีนซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากรัฐบาลจีนประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยในวันนี้ ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่พิสูจน์ว่า รัฐบาลจีนจะสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ประมาณ 5% ในปีนี้ได้หรือไม่ ## ยอดลงทุนอสังหาฯ ลดลงในอัตราชะลอตัว สำนักงานสถิติฯ ยังเปิดเผยข้อมูลยอดการลงทุนและยอดขายอสังหาริมทรัพย์เดือน ม.ค.-ก.พ. “ปรับตัวลงในอัตราที่ชะลอตัวลง” โดยได้แรงหนุนจากการที่รัฐบาลจีนพยายามยับยั้งภาวะขาลงเรื้อรังในภาคดังกล่าว การลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนลดลง […]
ถึงคราว ‘เยอรมนี’ เผชิญวิกฤติอสังหาฯ Vonovia ประกาศขาดทุนครั้งใหญ่ 7.36 พันล้านดอลล์
วันที่ 15 มีนาคม 2567 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า หุ้น Vonovia บริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของเยอรมัน ลดลง 6% ในการซื้อขายวันที่ 15 มี.ค.2567 หลังรายงานการขาดทุนครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในปี 2566 ซึ่งเป็นสัญญาณล่าสุดของความตึงเครียดในภาคอสังหาริมทรัพย์ Vonovia กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เผชิญภาวะขาดทุน 6.76 พันล้านยูโร หรือราว 7.36 พันล้านดอลลาร์ นั้นมากกว่า 10 เท่าของการขาดทุน 669.4 ล้านยูโรในปี 2565 การขาดทุนเกิดขึ้นเมื่อ Vonovia ลดมูลค่าอพาร์ทเมนท์มากกว่า 500,000 ห้อง ลง 1.07 หมื่นล้านยูโร หรือ 11.4% ส่งผลให้มูลค่าพอร์ตโฟลิโอของบริษัทลดลงเหลือ 8.4 หมื่นล้านยูโร รอล์ฟ บุค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Vonovia กล่าวว่า “การล่มสลายของการประเมินมูลค่าถือเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่เราเคยเห็นมา” […]
ราคาน้ำมันโลกพุ่งเกือบ 3% รับสต็อกน้ำมันดิบลด-ยูเครนถล่มโรงกลั่นน้ำมันรัสเซีย
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งเกือบ 3% ในวันพุธ (13 มี.ค.) สุงสุดในรอบ 4 เดือน หลังสหรัฐฯ เปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินลดลงเกินคาด นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากคาดการณ์ที่ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกอาจชะลอตัวลงหลังยูเครนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซีย ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 2.16 ดอลลาร์ หรือ 2.8% ปิดที่ 79.72 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 2.11 ดอลลาร์ หรือ 2.6% ปิดที่ 84.03 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย.ปีที่แล้ว สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันเบนซินของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในกลุ่มพลังงาน อยู่ที่ 2.9% สู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2566 หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ […]
วงในเผย ‘หลี่ เฉียง’ จ่อไม่ประชุมกับซีอีโอต่างชาติในงาน CDF ปลายเดือนมี.ค.นี้
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานในวันนี้ (12 มี.ค.) โดยอ้างแหล่งข่าวว่า นายหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ไม่มีความตั้งใจที่จะประชุมกับซีอีโอต่างชาติในงาน China Development Forum (CDF) ช่วงปลายเดือนมี.ค.นี้ งาน CDF จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยรัฐบาลจีนตั้งแต่ปี 2543 ณ บ้านพักรับรองของรัฐเตี้ยวหยูไถ (Diaoyutai State Guesthouse) โดยถือเป็นเวทีระดับสูงที่ซีอีโอระดับโลกและผู้กำหนดนโยบายจีนจะได้พบปะและหารือเกี่ยวกับการลงทุนจากต่างประเทศ ผู้เข้าร่วมขาประจำ ได้แก่ นายทิม คุก ซีอีโอแอปเปิ้ล และนายเรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้งบริดจ์วอเตอร์ แอสโซซิเอทส์ องค์ประกอบสำคัญของงานในแต่ละปี คือ การประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีจีนกับซีอีโอต่างชาติเพื่อแลกเปลี่ยนคำถามและมุมมอง โดยแหล่งข่าวกล่าวว่า แม้ว่านายหลี่ยังคงวางแผนที่จะเข้าร่วมงาน CDF ในวันที่ 24-25 มี.ค.นี้ แต่เขาจะไม่จัดการประชุมดังกล่าว แหล่งข่าวยังเสริมว่า แผนสำหรับงานฟอรั่มยังไม่เสร็จสมบูรณ์และอาจมีการเปลี่ยนแปลง การตัดสินใจที่จะไม่จัดการประชุมในงาน CDF เกิดขึ้นไม่นาน หลังจากที่จีนประกาศว่าจะยกเลิกการแถลงข่าวหลังการประชุมสภาของนายกรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในงานที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปฏิทินเศรษฐกิจและนโยบายของจีน […]
‘อุเอดะ’ ย้ำเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่อแววยุตินโยบายดอกเบี้ยติดลบ
นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยในวันนี้ (12 มีค.) ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่า BOJ จะยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในอนาคตอันใกล้นี้ ในระหว่างตอบคำถามต่อรัฐสภา นายอุเอดะ กล่าวว่า “แม้ว่าข้อมูลสถิติบางอย่างจะส่งสัญญาณถึงความอ่อนแอ แต่ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป” ผู้ว่าการ BOJ ระบุว่า ในขณะที่ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลส่งสัญญาณชะลอตัว แต่การใช้จ่ายด้านทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่นยังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ้อยแถลงของนายอุเดอะในเรื่องการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ส่งผลให้ค่าเงินเยนร่วงแตะระดับต่ำสุดระหว่างวัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวอย่างมากในตลาด เนื่องจากเทรดเดอร์กำลังพิจารณาว่า BOJ จะดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 ในสัปดาห์หน้า หรือในเดือนเม.ย. โดยการประชุมคณะกรรมการ BOJ ครั้งต่อไปจะเสร็จสิ้นในวันที่ 19 มี.ค.นี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ค่าเงินเยนร่วงลงมากถึง 0.3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แตะ 147.43 เยน ในขณะที่ดัชนีนิกเกอิปรับตัวลงเล็กน้อย ทั้งนี้ นายอุเอดะกล่าวว่า เขาต้องการประเมินข้อมูลล่าสุด เพื่อพิจารณาว่าธนาคารบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ยั่งยืนแล้วหรือยัง พร้อมระบุเสริมว่า […]
วงในเผยทางการจีนสั่งแบงก์ใหญ่ช่วยอุ้มบ.อสังหาฯ ‘Vanke’ ขอเจ้าหนี้เลื่อนกำหนดชำระ
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานในวันนี้ (11 มี.ค.) โดยอ้างแหล่งข่าววงในว่า หน่วยกำกับดูแลของจีนเพิ่งเรียกประชุมกับสถาบันการเงินเจ้าต่างๆ เพื่อหารือเรื่องบริษัทว่านเคอ (Vanke) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่รัฐบาลจีนหนุนหลัง โดยทางการขอให้ธนาคารรายใหญ่ๆ เพิ่มการสนับสนุนทางการเงินแก่ว่านเคอ และขอให้ผู้ถือตราสารหนี้นอกตลาดยอมขยายเวลาชำระหนี้ออกไปด้วย แหล่งข่าววงในระบุว่า หน่วยกำกับดูแลของจีนกำชับให้สถาบันการเงินรีบเข้าช่วยเหลือว่านเคอโดยด่วน นอกจากนี้ ทางคณะมนตรีรัฐกิจเองก็เข้ามาประสานงานเรื่องช่วยว่านเคออีกด้วย ทั้งนี้ นักลงทุนพากันเทขายหุ้นและหุ้นกู้ของว่านเคอกันยกใหญ่ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกลัวว่าบริษัทมีปัญหาสภาพคล่อง โดยแต่ก่อนตลาดมองว่า ว่านเคอเป็นบริษัทอสังหาฯ ที่มีฐานะการเงินมั่นคง แต่ภายหลังกลับมีรายงานข่าวว่าว่านเคอไปขอขยายเวลาชำระหนี้กับบริษัทประกันบางแห่ง “ธนาคารต้องเข้ามาดูแลเรื่องการจัดหาเงินทุน (ของว่านเคอ) ส่วนบริษัทประกันก็ต้องยอมขยายเวลาชำระตราสารหนี้นอกตลาด เพื่อให้เกิดการการันตีว่า (ว่านเคอ) จะจ่ายคืนหุ้นกู้ในตลาดได้” แหล่งข่าวคนหนึ่ง กล่าว อีกแหล่งข่าวหนึ่งบอกกับทางรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ว่านเคอได้ส่งคำร้องขอขยายเวลาชำระหนี้ไปยังบริษัทประกันอย่างไท่คัง (Taikang), PICC P&C และนิวไชน่าไลฟ์ (New China Life) ความกังวลเกี่ยวกับฐานะการเงินของว่านเคอเกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทอสังหาฯ จีนหลายแห่งผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงยักษ์ใหญ่ของวงการอย่างเอเวอร์แกรนด์ (Evergrande) และคันทรี การ์เดน (Country Garden) นับตังแต่ตลาดอสังหาฯ จีนเข้าสู่วิกฤตหนี้สินในปี […]
‘คริสตาลินา จอร์เจียวา’ อยากนั่งผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟต่อสมัยสอง
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในเมื่อวานนี้ (7 มี.ค.) ว่า นางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) สนใจที่จะดำรงตำแหน่งผู้นำต่อไปเป็นสมัยที่สองอีก 5 ปี จากที่จะหมดวาระในวันที่ 30 ก.ย.นี้ นางจอร์เจียวา เพิ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากนายบรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของฝรั่งเศส ในการประชุมกลุ่ม G20 ที่เซาเปาโล โดยระบุว่า เธอทำงานได้ “ยอดเยี่ยม” ในการนำไอเอ็มเอฟและฝรั่งเศสจะสนับสนุนการดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง การสนับสนุนของนายเลอ แมร์ มีความสำคัญมาก เนื่องจากประเทศในยุโรปมักเสนอชื่อผู้สมัครเพื่อเป็นผู้นำของไอเอ็มเอฟ แม้ว่าประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ทั้งหมดจะต้องเห็นชอบร่วมกันก็ตาม โดยการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะตกเป็นของคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นางจอร์เจียวาให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า เธอกำลังมุ่งเน้นไปที่งานในปัจจุบันและไม่ได้ครุ่นคิดว่าจะแสวงหาตำแหน่งในวาระใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ นางจอร์เจียวา ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวบัลแกเรีย เป็นผู้หญิงคนที่สองที่ได้เป็นผู้นำไอเอ็มเอฟ และเป็นคนแรกจากประเทศในตลาดเกิดใหม่ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ ในช่วงแรกของการดำรงตำแหน่ง นางจอร์เจียวาถูกวิจารณ์ทั้งจากภายในและภายนอกไอเอ็มเอฟ เนื่องจากเธอพยายามผลักดันให้มีการพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรายงานการประเมินเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก รวมถึงให้ความสนใจอย่างมากต่อตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา นางจอร์เจียวามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ยูเครนได้รับเงินกู้จำนวนมาก เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่ตึงเครียดจากสงครามกับรัสเซีย นอกจากนี้ […]