แบงก์ชาติจีนออกโรงวิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาล เตือนผลกระทบภาวะเงินฝืด

แบงก์ชาติจีนออกโรงวิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาล เตือนผลกระทบภาวะเงินฝืด

นายหวง ยี่ปิง หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางจีน (PBOC) และนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของจีนได้ออกบทความวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนว่า เป็นนโยบายเชิงอนุรักษ์นิยมมากเกินไป พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ โดยนับเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนักที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ PBOC จะออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานโดยอ้างบทความของนายหวงว่า นโยบายที่มุ่งเน้นการลงทุน แต่กลับละเลยการอุปโภคบริโภคนั้น ควรได้รับการเปลี่ยนแปลง และรัฐบาลควรใช้มาตรการกระตุ้นการอุปโภคบริโภค เช่น การอนุญาตให้แรงงานอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองต่างๆ และการแจกเงินโดยตรงให้แก่ประชาชน “เศรษฐกิจได้เข้าสู่ฉากทัศน์ใหม่แล้ว และอุปสงค์โดยรวม ซึ่งรวมถึงการอุปโภคบริโภค การส่งออก และแม้แต่การลงทุนนั้น ไม่ได้แข็งแกร่งเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป และในความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้กำลังกลายเป็นความท้าทายใหม่ต่อนโยบายเศรษฐกิจมหภาค” นายหวง กล่าว เศรษฐกิจจีนเผชิญกับความยากลำบากในการรักษาการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนในปีนี้ โดยอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ไตรมาส เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อ่อนแอลงนั้นได้บดบังการส่งออกที่แข็งแกร่ง ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เคลื่อนไหวใกล้ระดับ 0% เป็นเวลานานหลายเดือน ซึ่งบ่งชี้ว่า จีนยังคงเผชิญกับแรงกดดันของเงินฝืด นอกจากนี้ นายหวงได้สนับสนุนให้รัฐบาลจีนกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการผลักดันดัชนี CPI ให้ดีดตัวขึ้นแตะระดับ 2%-3% และปรับปรุงนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายนี้ โดยเขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของการชี้นำแนวทางการคาดการณ์ของตลาด […]

‘คราวด์สไตรค์’ โดนกลุ่มผู้ถือหุ้นฟ้อง กรณีทำระบบล่มทั่วโลก

‘คราวด์สไตรค์’ โดนกลุ่มผู้ถือหุ้นฟ้อง กรณีทำระบบล่มทั่วโลก

กลุ่มผู้ถือหุ้นของคราวด์สไตรค์ (CrowdStrike) รวมตัวกันฟ้องร้องบริษัท โดยกล่าวหาว่า บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์รายนี้หลอกลวงพวกเขาด้วยการปิดบังข้อเท็จจริงที่ว่า การทดสอบซอฟต์แวร์ที่ไม่รัดกุมของบริษัทอาจนำไปสู่การล่มของระบบทั่วโลกเมื่อวันที่ 19 ก.ค. ซึ่งส่งผลให้คอมพิวเตอร์กว่า 8 ล้านเครื่องหยุดทำงาน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ในการยื่นฟ้องแบบกลุ่มต่อศาลรัฐบาลกลางในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส เมื่อคืนวันอังคาร (30 ก.ค.) ผู้ถือหุ้นระบุว่า พวกเขาได้พบว่า คำรับรองของคราวด์สไตรค์เกี่ยวกับเทคโนโลยีของบริษัทนั้นเป็นเท็จและทำให้เข้าใจผิดอย่างร้ายแรง โดยซอฟต์แวร์ที่อัปเดตไปนั้นกลับเต็มไปด้วยข้อบกพร่อง จนทำให้ระบบของบริษัทต่างๆ ทั่วโลกล่ม กระทบไปถึงสายการบิน ธนาคาร โรงพยาบาล และหน่วยงานฉุกเฉิน กลุ่มผู้ถือหุ้นกล่าวว่า เมื่อผลกระทบจากการที่ระบบล่มเริ่มเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง ราคาหุ้นของคราวด์สไตรค์ก็ร่วงลง 32% ในช่วง 12 วันถัดมา ส่งผลให้มูลค่าตลาดของบริษัทหายไป 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ด้านนายจอร์จ เคิร์ตซ์ ซีอีโอของคราวด์สไตรค์ถูกสภาคองเกรสเรียกตัวมาให้ข้อมูลชี้แจง ส่วนสายการบินเดลตาแอร์ไลน์ (Delta Air Lines) ก็มีรายงานว่า ได้ว่าจ้างทนายความชื่อดังอย่างนายเดวิด บอยส์ เพื่อฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย คำฟ้องดังกล่าวยังระบุถึงคำพูดของนายเคิร์ตซ์ในการประชุมทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ […]

ผู้ว่า BOJ ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก หากเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อเติบโตตามเป้า

ผู้ว่า BOJ ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีก หากเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อเติบโตตามเป้า

นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังจากที่ประชุม BOJ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0.25% จากระดับ 0%-0.1% และปรับลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นรายเดือนลงสู่ระดับ 3 ล้านล้านเยน (2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในสิ้นปี 2569 จากระดับ 6 ล้านล้านเยน โดยการตัดสินใจดังกล่าวถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินขนานใหญ่ที่ BOJ ดำเนินการมาเป็น 10 ปี สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายอุเอดะกล่าวกับผู้สื่อข่าวในเรื่องการอุปโภคบริโภคว่า “แม้การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้ออาจจะส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภค แต่ว่าการอุปโภคบริโภคก็ยังคงอยู่ในทิศทางที่แข็งแกร่ง ส่วนข้อมูลด้านค่าจ้างแสดงให้เห็นว่าการจ่ายค่าจ้างปรับตัวสูงขึ้น โดยผลการสำรวจของเราบ่งชี้ว่าค่าจ้างปรับตัวขึ้นเป็นวงกว้างในหมู่บริษัทขนาดเล็ก และเราคาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างจะกระจายตัวเป็นวงกว้างขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการอุปโภคบริโภคและเงินเฟ้อ” ส่วนในเรื่องเงินเฟ้อ นายอุเอดะ กล่าวว่า “เรายืนยันว่า เงินเฟ้อด้านการบริการปรับตัวสูงขึ้นด้วย และเราคาดว่าวงจรของค่าจ้างและเงินเฟ้อที่สูงขึ้นปานกลางเช่นนี้จะดำเนินต่อไป นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินเยนยังส่งผลให้ราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องระมัดระวังความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงเกินเป้าหมาย” “แม้เราได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และการดำเนินการของเราจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก” นายอุเอดะ กล่าว ผู้ว่าการ […]

ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์กว่า 200 คน มองเศรษฐกิจโลกปีนี้ดีขึ้น แต่กังวลเงินเฟ้อ

ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์กว่า 200 คน มองเศรษฐกิจโลกปีนี้ดีขึ้น แต่กังวลเงินเฟ้อ

รอยเตอร์เผยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์กว่า 200 คน นักเศรษฐศาสตร์มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้า ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเติบโตของจีดีพีโลกปีนี้เป็น 3.1% จากคาดการณ์ครั้งก่อน (เดือนเมษายน) 2.9% แต่ยังกังวลว่ามีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะสูงขึ้น  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2024 รอยเตอร์ (Reuters) รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากกว่า 200 คน ที่รอยเตอร์สำรวจในช่วงวันที่ 8-25 กรกฎาคม 2024 ว่า นักเศรษฐศาสตร์มีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้า แต่มองว่ายังคงมีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมั่นใจกับคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามที่คาดไว้ ผลสำรวจโดยเฉลี่ยคาดว่า เศรษฐกิจโลกจะเติบโต 3.1% ทั้งในปีนี้และปีหน้า โดยเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ 2.9% และ 3.0% ในการสำรวจเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และสอดคล้องกับการคาดการณ์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ด้วย  โดยมี 24 ประเทศ/เศรษฐกิจชั้นนำจากทั้งหมด 48 แห่งที่รอยเตอร์สำรวจ ได้รับการปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนเมษายน […]

นักวิทย์เผยภาวะโลกร้อนทำปริมาณน้ำฝนผันผวน พายุไต้ฝุ่นรุนแรงขึ้น

นักวิทย์เผยภาวะโลกร้อนทำปริมาณน้ำฝนผันผวน พายุไต้ฝุ่นรุนแรงขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ระบุในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวันนี้ (26 ก.ค.) ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลให้รูปแบบปริมาณน้ำฝนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดพายุไต้ฝุ่นและพายุเขตร้อนอื่น ๆ มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วย สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ในสัปดาห์นี้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และจีน ต้องเผชิญกับไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดของปีนี้ ส่งผลให้โรงเรียน ธุรกิจ และตลาดการเงินต้องปิดทำการ เนื่องจากความเร็วลมพุ่งสูงถึง 227 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ประชาชนหลายแสนคนตามแนวชายฝั่งตะวันออกของจีนต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อนที่พายุจะพัดขึ้นฝั่งในวันพฤหัสบดี (25 ก.ค.) นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า พายุเขตร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทีมนักวิจัย นำโดยจาง เหวินเสีย จากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน ได้ศึกษาข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในอดีต พบว่าประมาณ 75% ของพื้นที่บนบกทั่วโลกมี “ความแปรปรวนของหยาดน้ำฟ้า” เพิ่มสูงขึ้น หรือมีความแปรปรวนระหว่างช่วงฝนตกกับช่วงแห้งแล้งมากขึ้น นักวิจัย กล่าวในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ว่า อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นทำให้ชั้นบรรยากาศสามารถกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณน้ำฝนผันผวนมากขึ้น “(ความแปรปรวน) เพิ่มขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่ รวมถึงออสเตรเลีย ซึ่งหมายถึงช่วงหน้าฝนจะมีฝนตกชุกขึ้นส่วนช่วงหน้าแล้งก็จะแห้งแล้งกว่าเดิม” นายสตีเวน เชอร์วูด […]

หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ทำพิษ

หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ทำพิษ

การร่วงลงของหุ้นยักษ์ใหญ่หลายบริษัทที่ก่อนหน้านี้เป็นตัวขับเคลื่อนตลาดหุ้นให้เพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทต่อจุดอ่อนในการซื้อขายหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และทำให้เกิดความกังวลว่าหุ้นหลายตัวที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นมากเกินไปจะเผชิญกับความผันผวนที่มากขึ้น รายงานผลประกอบการรายไตรมาสที่น่าผิดหวังจากเทสลา (Tesla) และอัลฟาเบท (Alphabet) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล (Google) จุดชนวนให้เกิดการเทขายหุ้นในตลาดอย่างรุนแรงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (24 ก.ค.) โดยดัชนี Nasdaq Composite ที่เน้นบริษัทด้านเทคโนโลยีร่วงลง 3.6% ซึ่งเป็นการปรับลดลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. ปี 2565 ส่วนดัชนี S&P 500 ปรับลดลง 2.3% โดยรายงานผลประกอบการก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการที่กำลังจะเปิดเผยจากบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อื่น ๆ โทมัส มาร์ติน (Thomas Martin) ผู้จัดการกองทุนอาวุโสของบริษัท โกลบอลท์ (GLOBALT) กล่าวว่า “นี่เป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนที่ได้ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีสารสนเทศและบริษัทที่มุ่งเน้นการเติบโตจำนวนมากเกินไป และกลยุทธ์ในการเทรดคือ จะต้องกระจายการลงทุนให้มีความหลากหลายมากขึ้น” ความอลหม่านเกิดขึ้นหลังจากการมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กระตุ้นให้เกิดการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเวลานานหลายเดือนในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีขนาดยักษ์ใหญ่และบริษัทที่เติบโตสูงจำนวนหนึ่ง รวมถึงผู้ผลิตชิปอย่าง เอนวิเดีย (Nvidia), ไมโครซอฟท์ (Microsoft) และแอมะซอน (Amazon) ที่ผลักดันให้ดัชนี […]

Barclays ปรับเพิ่มเป้าหมาย ‘ดัชนี S&P 500’ แตะ 5,600 จุด ในปี 2567

Barclays ปรับเพิ่มเป้าหมาย ‘ดัชนี S&P 500’ แตะ 5,600 จุด ในปี 2567

Barclays ปรับเพิ่มเป้าหมาย ‘ดัชนี S&P 500’ แตะ 5,600 จุด ในปี 2567 เพิ่มคาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) สำหรับบริษัทดัชนีเป็น 241 ดอลลาร์ จาก 235 ดอลลาร์ วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า Barclays ธนาคารใหญ่ของอังกฤษ ปรับเพิ่มเป้าหมายดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้นจาก 5,300 จุด เป็น 5,600 จุด ในปี 2567 โดยคาดว่า กำไรของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่จะมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง Barclays มีมุมมองเช่นเดียวกับ Citigroup และ Goldman Sachs ในการปรับเพิ่มเป้าหมายประจำปีสำหรับดัชนี S&P 500 โดยมีความหวังว่า ดัชนีในสหรัฐฯ […]

อินเดียลุยต่อ งบฯ ปี 67-68 คงเป้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 11.11 ล้านล้านรูปี

อินเดียลุยต่อ งบฯ ปี 67-68 คงเป้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 11.11 ล้านล้านรูปี

รัฐบาลอินเดียประกาศในวันนี้ (23 ก.ค.) ว่า จะเดินหน้าใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลถึง 11.11 ล้านล้านรูปี (1.3285 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2568 โดยมีเป้าหมายกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานให้กับประเทศอินเดียที่มีประชากรมากที่สุดในโลก สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า แผนการใช้จ่ายดังกล่าวยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากงบประมาณชั่วคราวที่นำเสนอในเดือนก.พ.ก่อนการเลือกตั้งทั่วไประดับชาติ “เม็ดเงินนี้คิดเป็น 3.4% ของ GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ของเรา” นางนิรมาลา สิธารามาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินเดีย กล่าวในระหว่างการแถลงงบประมาณของรัฐบาลกลาง สำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน รัฐบาลได้จัดสรรเงิน 1.5 ล้านล้านรูปีเป็นเงินกู้ระยะยาวแก่รัฐต่างๆ เพื่อนำไปใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียได้เพิ่มการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็น 2 เท่า เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนระยะยาวต่อ GDP คิดเป็น 3.4% ในปีปัจจุบัน เพิ่มขึ้นจาก 1.7% ในปี 2562-2563 นักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า การใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานให้ผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ (Multiplier […]

บริการทั่วโลกฟื้นหลังไอทีล่ม หุ้น ‘คราวด์สไตรก์’ ร่วง 12%

บริการทั่วโลกฟื้นหลังไอทีล่ม หุ้น ‘คราวด์สไตรก์’ ร่วง 12%

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. สำนักข่าวบีบีซีและรอยเตอร์ รายงานว่า ธุรกิจและบริการต่างๆ ทั่วโลกเริ่มทยอยกลับมาดำเนินตามปกติอีกครั้ง ภายหลังการล่มของระบบไอทีทั่วโลกที่กินเวลาหลายชั่วโมง ในวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่เป็นผลมาจากการอัพเดตซอฟต์แวร์ที่ผิดพลาดของคราวด์ สไตรก์ บริษัทความมั่นคงทางไซเบอร์ที่ส่งผลให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของบริษัท ไมโครซอฟท์ล่ม การให้บริการสายการบินบางส่วนเริ่มกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง หลังเที่ยวบินหลายพันเที่ยวบินถูกยกเลิกจากปัญหาด้านระบบไอทีที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ทางสายการบิน คาดว่า เที่ยวบินอาจล่าช้า หรือยกเลิกต่อเนื่องไปตลอดช่วงสุดสัปดาห์นี้ ด้านธุรกิจต่างๆ กำลังรับมือกับการรับคำสั่งซื้อที่ตกหล่นและติดค้างซึ่งอาจใช้เวลาแก้ไขหลายวัน นอกจากนั้นแล้ว การล่มของระบบไอทีอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อบริษัทต่างๆ ที่จ่ายเงินค่าจ้างให้กับพนักงาน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ ด้านการเดินทางทางรางอาจเจอกับความล่าช้า รวมถึงสถานีโทรทัศน์สกายนิวส์ของอังกฤษและเอบีซีของออสเตรเลียที่มีปัญหาในการออกอากาศได้เริ่มกลับมาออกอากาศอีกครั้งเช่นกัน นายพีต บูติเจิจ รัฐมนตรีคมนาคม สหรัฐฯ กล่าวว่า ปัญหาของระบบไอทีดูเหมือนว่าจะได้รับการแก้ไขแล้ว และการคมนาคมอาจกลับมาเป็นปกติอีกครั้งในวันที่ 20 ก.ค. ปัญหาของระบบไอทีครั้งใหญ่เริ่มขึ้นในเวลา 19.00 น. ตามเวลากรีนิช ของวันที่ 18 ก.ค. ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของไมโครซอฟท์ที่ใช้ซอฟต์แวร์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ CrowdStrike Falcon จนต่อมาปัญหาดังกล่าวเริ่มส่ง ผลกระทบเป็นวงกว้างในวันที่ […]

สหรัฐฯ เปิดเผยแผนเพิ่มการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในทวีปอเมริกา

สหรัฐฯ เปิดเผยแผนเพิ่มการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในทวีปอเมริกา

นายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ เปิดเผยในวันพุธ (17 ก.ค.) เกี่ยวกับแผนการใหม่สำหรับประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกา ที่จะเพิ่มการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งมีความสำคัญในเกือบทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมสมัยใหม่และเป็นภาคส่วนที่จีนควบคุมอยู่ “แผนการนี้จะเพิ่มศักยภาพของประเทศต่างๆ ในการประกอบ ทดสอบและบรรจุเซมิคอนดักเตอร์ โดยเริ่มจากเม็กซิโก ปานามา และคอสตาริกา” นายบลิงเกนกล่าว ขณะที่เขาเปิดการประชุมกับ 11 ประเทศในลาตินอเมริกา นายบลิงเกน กล่าวว่า ทวีปอเมริกาควรมีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้เซมิคอนดักเตอร์กับสิ่งต่างๆ ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงตู้เย็นและระบบอาวุธ นายบลิงเกน ยังเรียกร้องให้มีการลงทุนมากขึ้นในทวีปอเมริกา เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และระบุย้ำว่า เป้าหมายของ 12 ประเทศในการประชุมครั้งนี้ คือ การจัดสรรเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า การประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งนี้ จัดขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมืออเมริกาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นโครงการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนเปิดตัวเมื่อ 2 ปีก่อน สำหรับการประชุมสุดยอดครั้งต่อไปนั้นมีกำหนดจัดขึ้นในปีหน้าในประเทศคอสตาริกา ที่มา: เอเอฟพี